ภาคแรกหมายเหตุ
ข้อเขียนชิ้นนี้คัดมาจากส่วนหนึ่งของหนังสือ "TECHNOVISION บทเรียนลับผู้จัดการ"
ของผม ซึ่งคาดว่าจะวางจำหน่ายในกลางเดือนพฤศจิกายน 2542 นี้
"ผมจึงตัดสินใจนำ "ความคิด" ที่ไม่เคยเปิดเผยต่อสาธารณชนมาก่อน
จากประสบการณ์ตรงในเรื่องการบริหารธุรกิจข้อมูลข่าวสาร ตั้งแต่ยุคเก่าถึงยุคใหม่
มาเปิดเผยในลักษณะบันทึกความทรงจำ
มันเป็นเพียง "ไอเดีย" ที่พยายามไม่พาดพิงถึงคนอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าผลึกความคิดจากประสบการณ์ตรง
จะเป็นบทเรียนที่มีค่า ผู้อ่านคงได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยในยุคนี้ยุคที่ต้องแชร์ความคิด
ความรู้ และประสบการณ์ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ และควรทำ"
"ผมตั้งใจจะไม่พูดถึงความสำเร็จและล้มเหลวกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตรงจาก
ความคิด ทั้งหมดนี้ เพราะผมยังรอให้กาลเวลาพิสูจน์สิ่งต่างๆ รวมทั้งการค้นคว้าหลักฐานต่างๆ
ให้ครบถ้วนรอบด้านมากกว่านี้ และหวังว่าสักวันหนึ่งงานเขียนที่สมบูรณ์ที่ว่า
ด้วยบทเรียนทั้งมวลจะเกิดขึ้น แต่ผมไม่รับปากจะเกิดขึ้นเมื่อใด" (ส่วนหนึ่งของคำนำ)1.
เทคโนโลยีใหม่ หนังสือพิมพ์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนิตยสารในเครือผู้จัดการ
เริ่มใช้คอมพิวเตอร์สำหรับนิตยสารรายเดือน ซึ่งคอมพิวเตอร์ราคาเครื่องละเกือบๆ
1 แสนบาทในปี 2530 ทำหน้าที่เป็นเพียงเครื่องพิมพ์ดีดที่มีลิควิดเปเปอร์เท่านั้น
เมื่อผมย้ายมาเป็นบรรณาธิ-การบริหารหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ในปี
2531 ผมก็เป็นคนแรกในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่มีเครื่องคอม พิวเตอร์ใช้
ผมมีความสะดวกในชีวิตในการเขียนข่าวมากขึ้นเป็นการส่วนตัวเท่านั้น ผมยังไม่ได้เล็งเห็นประโยชน์โดยตรงขององค์กรเลย
ซึ่งผมก็เริ่มหงุดหงิดว่าทำไมคอมพิวเตอร์ราคาแพง จึงมีประโยชน์น้อยเหลือเกิน
ความคิดที่จะใช้คอมพิวเตอร์ให้มีประโยชน์มากขึ้นในระบบงานกองบรร-ณาธิการนั้น
ถูกจุดประกายเริ่มแรกจาก KODAK ซึ่งมีสินค้าการบริหารจัดหน้าหนังสือพิมพ์
โดยเฉพาะกระบวนการเรียงพิมพ์และทำฟิล์มก่อนพิมพ์ ซึ่งเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ
เรียกว่าระบบ ATEX มาเสนอขายระบบที่ว่านี้กับผู้จัดการถึงแม้ว่าเทคโนโลยีเฉพาะของ
KODAK (ตอนนี้แยกกิจการออกจาก KODAK แล้ว) ที่ว่านี้ มีข้อจำกัดหลาย ประการ
ก็ทำให้ผมเกิดความคิดกว้างขึ้น ผู้จัดการสนใจเทคโนโลยีนี้มาก ผม และทีมงานเล็กๆ
ถึงกับเดินทางไปสิงคโปร์เพื่อศึกษาความสามารถของระบบที่ว่านั้นอย่างลึก เพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะกับงานเราหรือไม่
ผลสรุปก็คือไม่เหมาะ
อย่างไรก็ตาม ความคิดในการ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการงานกอง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ถูกฝังในหัวผมอย่างลึกและแนบแน่นเสียแล้ว
เมื่อผมเริ่มนำคอมพิวเตอร์แมค อินทอชมาใช้มากขึ้นในกองบรรณาธิ-การรายวันในช่วงต้นๆ
ผมได้เรียกผู้ขาย หลายรายมาคุยเพื่อให้พวกเขาหารายละเอียดความสามารถของเครื่องแมคอิน
ทอชที่มากกว่าใช้กันในตลาด เพื่อการเรียงพิมพ์และจัดหน้าเท่านั้น พวกเขาต้องหาข้อมูลจากผู้ผลิตในสหรัฐฯ
มากพอดู เป็นการศึกษาร่วมกันและทดลอง ใช้ที่สนุกพอควร
เป็นความกล้าหาญและบ้าบิ่นพอใช้ทีเดียว ที่ผมพยายามจะทำให้ แมคอินทอชในเมืองไทยทำงานมากกว่าที่เคยทำในสองระดับ
ทั้งนี้เป้าหมายที่สำคัญก็คือลดเวลาการทำงานของกระ-บวนการก่อนพิมพ์ (Prepress)
หลังจากมีต้นฉบับแล้วให้สั้นลงที่สุด คุณทราบหรือไม่ว่า ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์บ้านเรากระบวนการที่ว่านี้ใช้เวลามากเหลือเกิน
หัวใจของหนังสือพิมพ์รายวันก็คือปิดข่าวได้ช้าที่สุด เพื่อให้ข่าวที่ตีพิมพ์ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้นสดที่สุด
หนึ่ง-เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย เพื่อการส่งต้นฉบับของนักข่าวไปยังทีมงานจัดหน้าอย่างรวดเร็ว
ระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ มิใช่การทำงานแบบเดิม ซึ่งนักข่าวพิมพ์ข่าวลงในคอมพิวเตอร์แล้วพรินท์กระ-ดาษออกจาก
Printer เพื่อนำต้นฉบับกระดาษให้พนักงานเรียงพิมพ์ พิมพ์ขึ้นมาใหม่ตามคอลัมน์ที่กำหนดเพื่อการตัดแปะจัดหน้า
ระบบใหม่เป็นส่งไฟล์ข่าวเป็นดิจิตอลไม่ต้องพิมพ์ใหม่ ไม่ต้องพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษเกินความ
จำเป็น
สอง-เพื่อการจัดหน้าหนังสือพิมพ์อัตโนมัติทุกขั้นตอน คอมพิวเตอร์แมคอินทอชมีซอฟต์แวร์ในการจัดหน้าหนังสือพิมพ์ดีที่สุดแห่งหนึ่ง
แต่การจัดหน้าในบ้านเราก็เพียงจัดเฉพาะ Text (เนื้อข่าว) ส่วนภาพประกอบก็เว้นช่องสี่เหลี่ยมไว้ให้แผนกทำเพลทจัด
การอีกทอดหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นการทำงานทันสมัยที่ล่าช้าไม่ได้เรื่องอย่างหนึ่ง
ผมศึกษาเรื่องนี้เพื่อจะทำให้การทำงาน Prepress จบลงอย่างรวดเร็วไม่มีขั้นตอนมากมายเช่นที่ทำอยู่
จะต้องซื้อ เครื่องพิมพ์ฟิล์ม (Image Setter) ขนาดใหญ่เท่ากับหน้าหนังสือพิมพ์
เครื่องสแกนภาพ ลงไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อการจัดหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีเนื้อหาข่าวและภาพอย่างสมบูรณ์ครั้งแรกในเมืองไทย
ตลอดจนการเชื่อมสัญญาณดาวเทียมส่งภาพการจัดหน้าที่เป็น ดิจิตอลระหว่างคอมพิวเตอร์จากกอง
บรรณาธิการไปยังคอมพิวเตอร์โรงพิมพ์ โดยตรง โดยยกเลิกการจัดส่งแบบ เดิมที่ทำเพลทออกมาแล้วก็ให้พนัก
งานมอเตอร์ไซค์ส่งโรงพิมพ์อีกทอด หนึ่งซึ่งก็ต้องลุ้นมิให้มีเกิดอุบัติเหตุ
หรืออุปสรรคใดๆ ในการเดินทางให้เสียเวลามากเกินความจำเป็น
นี่คือโมเดลการจัดการในเรื่องกระบวนการ Prepress ที่สมบูรณ์ แบบและอัตโนมัติแห่งแรกในวงการหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยในต้นปี
2534 ซึ่งถือเป็นการจัดการว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีเป็นสำคัญ ทำให้ผมเข้าใจว่าทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเทคโนโลยีใน
บ้านเราล้วนตกลงกันด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องลงแรงและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานใดๆ
ซึ่งก็ยังคงความเชื่อนี้อยู่ในปัจจุบัน เป็นการลงทุนกับเทคโนโลยีที่ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันจึงกลายเป็นต้นแบบของการจัดหน้าแบบใหม่
เป็นโมเดลลูกค้าใหม่ที่ทำให้ผู้ขาย แมคอินทอชในประเทศไทยนำไปอ้าง อิง สามารถขายเครื่องได้เป็นล็อตใหญ่ๆ
เป็นครั้งแรก โดยที่ผู้ขายแมคอินทอชไม่ต้องลงแรงทำการตลาดแบบใหม่และพวกเขาก็ยังไม่เข้าใจและระลึกคุณูป-
การของเราในครั้งนั้นเลยแม้แต่น้อย
นี่ก็คือความง่ายและหยาบอีกประการหนึ่งในวงการเทคโนโลยีไทย
ที่สำคัญสำหรับผมและผู้จัดการ จากประสบการณ์ครั้งสำคัญครั้งนั้นทำ ให้เป็นพื้นฐานของการประยุกต์เทคโน-โลยีเข้ากับเป้าหมายของงานอันเป็นการพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลข่าวในเวลาต่อมา
ซึ่งเป็นโมเดลการจัดการข้อมูลที่ สำคัญและยังทันสมัยที่สุดของอุตสาห-กรรมสารสนเทศไทย
"สถานการณ์และปัญหา
1. แนวโน้มของมาร์จินของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) ลดลงตลอดเวลา
มิใช่เป็นปัญหาเฉพาะเมืองไทยหากเป็นแนวโน้มทั่วโลก
- ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ตั้งแต่กระดาษ เครื่องจักร และเทคโนโลยีการผลิตที่ต้องเปลี่ยนบ่อยครั้ง
เพื่อเร่งสปีด และความสวยงาม
- บุคลากรมีปัญหามากขึ้นโดย เฉพาะในเมืองไทยที่ธุรกิจข่าวสารพัฒนาไปอย่างมาก
สื่อชนิดต่างๆ ขึ้นอย่างมากมาย การรักษาคนมีความสามารถเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของพัฒนา
การของธุรกิจนี้
- ต้นทุนการจัดส่ง มีแนวโน้มสูงขึ้น จากค่าแรง ปัญหาการจราจรติดขัด
ปัญหาการจัดส่ง ไม่เพียงแต่ต้องดำเนินการให้ตรงเวลาเท่านั้น ยังจะต้องบริหารให้การจัดส่งมีประสิทธิภาพในด้านต้นทุนด้วยกล่าวคือ
ต้องสามารถ สร้างระบบความสัมพันธ์ เวลา ปริมาณ เพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด
2. โครงสร้างราคาสื่อสิ่งพิมพ์ไทย ถูกกำหนดโดยผู้นำตลาด ในราคาที่ต่ำมาก
เป็นการยากลำบากในการปรับราคา ขณะเดียวกันอัตราค่าโฆษณาแจ้งความที่ถูกปรับโดยเฉลี่ย
20% ต่อปี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาถึงจุดที่สูงมากแล้วซึ่งมีความเป็นไปได้ในการปรับให้สูงขึ้นอีกน้อยลง
เนื่องจากมีสื่อโฆษณาใหม่ๆ พัฒนาหลากหลายมากขึ้น
ในเวลาเดียวกัน ยุคของการเพิ่มยอดอยู่ตลอดเวลา ก็กำลังล้าสมัยเพราะสื่อสิ่งพิมพ์ต้องการยอดขายปริมาณ
"เหมาะสม" มากกว่า "มากที่สุดที่จะมากได้" การกระจายของเมืองและกลุ่มผู้อ่าน
การเพิ่มยอดมากไป จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงขึ้นอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมไม่มีเหตุผลที่มีน้ำหนักในการเพิ่มอัตราค่าโฆษณา
3. เมื่อระบบสื่อสารพัฒนาไปมากขึ้นสื่อมวลชน (mass media) ซึ่ง สื่อสิ่งพิมพ์ทำหน้าที่มาตลอดนั้น
จะถูกทดแทนด้วยสื่อทาง วิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้แต่ online เนื่องจากข้อได้เปรียบในเรื่องความเร็ว
และค่าบริการที่ต่ำกว่า จากนี้สื่อสิ่งพิมพ์จะต้องปรับตัวเป็นสื่อเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
แนวทางและโอกาส
หลัก-เป็นที่ชัดเจนและถูกต้องที่สุด คือการสร้างเครือข่ายภายในระบบฐานข้อมูล
ที่สามารถใช้เครือข่ายข่าวรายวันของสื่อสิ่งพิมพ์มาอยู่ส่วนกลาง เพื่อพร้อมสร้าง
Derivative Product ได้โดยใช้ทั้งมิติ time-base (จาก realtime ไปจนถึง data
base) และชนิดของสื่อจาก printed media ไปจนถึง multimedia ซึ่งคาด ว่าในยุค
Information Age จะพัฒนา ไปอย่างมาก
แนวทางหลักนี้เป็นทางออกที่สำคัญที่สุด เพื่อดำรงความสามารถในการแข่งขันของเราในระยะยาว
จากนี้ไปผู้จัดการมิใช่ Publishing House หากมีกิจการที่อยู่ใน Information
Industry อย่างเต็มตัว และผมเชื่อมั่นว่าเราจะเป็นรายแรกที่ปรับตัวได้ก่อนในเมืองไทย
แผนการยุทธศาสตร์นี้ ได้แก่ปัญหาทุกข้อตามที่อ้างถึงหัวข้อสถาน การณ์และปัญหา
- สร้างมูลค่าของผลงานข่าวให้สูงขึ้นด้วย Syndicated System ที่มีประสิทธิภาพ
อันทำให้สามารถเลือกสรรค์ผลงานและเพิ่มผลตอบแทนวิชาชีพซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเกิดควบคู่กันไป
และเป็นการสร้างความเข้มเเข็งขององค์กรที่ยืนยาวที่สุด ตรงกันข้าม ปัจจุบันวงการสื่อสิ่งพิมพ์ไทยทั่วไป
คุณภาพงานพัฒนาช้า แต่ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเร็วเป็นสัญญาณว่าจะก่อปัญหาธุรกิจนี้ในไม่ช้านี้
- สร้างฐานข้อมูลข่าวโดยอัตโนมัติขึ้น เป็นฐานการพัฒนาคุณภาพงาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกมากมาย
สื่อสิ่งพิมพ์ในโลกตะวันตก ปรับตัวเรื่องนี้กันมาก เนื่องจากสังคมพัฒนาเร็ว
ซับซ้อนมากขึ้นความ ต้องการฐานข้อมูลยิ่งมากขึ้นและจะต้องเป็นฐานข้อมูลในระบบเปิดที่เชื่อมต่อกับสื่อต่างๆ
ได้อย่างราบรื่น
ปัจจุบันการลงทุนพัฒนาฐานข้อมูลของสื่อสิ่งพิมพ์ "เป็นการลงทุนที่ถูกที่สุดและสามารถสร้างผลตอบแทนคุ้มค่าที่สุด"
จากนี้ผมเชื่อว่าจะเป็นยุคต้องสร้างฐานและเครือข่ายข้อมูลข่าวสารอันยิ่งใหญ่ที่สามารถผลิต
Derivative Product แวดล้อมอย่างมากมายในทุกมิติ ซึ่งเป้าหมายอยู่ที่ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด
นี่คือยุคแห่งการพัฒนาผลิต ภัณฑ์ เพื่อความสามารถในการแข่งขันในอนาคตในยุคสังคมข่าวสาร
สื่อสิ่งพิมพ์ในสหรัฐฯ เพิ่งปรับความคิดนี้เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ญี่ปุ่น
เช่น NIKKEI ปรับตัวมากว่า 10 ปีแล้ว
แผนยุทธศาสตร์ของผู้จัดการจากนี้จะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนากองบรรณาธิการอย่างเป็นรูปธรรม
และจริงจัง อนาคตของผู้จัดการจากนี้ไปมิใช่อยู่กับการตลาดในรูปแบบเก่าอีกต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การสนับสนุนให้เป็นการสร้างฐานข้อมูล ข่าวสารให้เกิดอย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว
ผมใคร่เสนอโครงการนี้ให้เป็นโครงการของบริษัท โดยประธานกรรมการรับผิดชอบโดยตรงด้วยเหตุผล
- โครงการนี้สำคัญมากที่สุดจากนี้ไปในแง่ยุทธศาสตร์ การดำเนินงานต้องต่อเนื่องและคล่องตัวมากที่สุดที่จะทำได้
- ผู้บริหารสูงสุดจะต้องเข้าใจ และติดตามแผนงานอย่างใกล้ชิด การปรับตัวใดๆ
ต้องเกิดจากการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ในรูปคณะกรรมการ โดยไม่ปล่อยให้คนสองคนขัดแย้งกัน
ในการบริหารและแก้ปัญหาหรือความขัดแย้งใดๆ ย่อมแก้ตกโดยง่ายและทันท่วงที
อย่าให้ใครคนใดคนหนึ่งตัดสินใจเพียงลำพัง
- ระหว่างโครงการนี้ดำเนินการ อาจจะส่งผลกระทบระดับกว้างต่อการปรับตัวองค์กร
ผมเข้าใจว่าผลของการดำเนินโครงการนี้จะก่อให้เกิดการปรับองค์กรอย่างรุนแรงที่สุด
เท่าที่ผู้จัดการก่อตั้งมา ซึ่งผู้บริหารสูงสุดสามารถติดตามและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิ
ภาพ"
เนื้อหาข้างต้นมาจากบางตอนของจดหมายของผมที่เขียนถึงประธานกรรมการบริษัท
(สนธิ ลิ้มทองกุล) เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2537 เพื่อย้ำความสำคัญและภาพกว้างของแนวคิดเครือข่ายข่าวสารได้อย่างดี
จดหมายนี้มีขึ้นภายหลังแผน การนี้ประกาศและเริ่มดำเนินการมาแล้วบางส่วนเมื่อปี
2536 อย่างไรก็ตาม ต่อมาค้นพบว่าเป็นโครงการที่สำคัญมาก มีความซับซ้อนจำต้องมีบริษัทที่ปรึกษาโครงการ
การศึกษางานในต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาซอฟต์แวร์ของตนเองบางส่วน ซึ่งคาดว่าระบบที่เป็นจริงจะเกิดขึ้นก่อนสิ้นปี
2537 พร้อมกับการย้ายสำนักงานไปอยู่อาคารหลังใหม่บ้านพระอาทิตย์ ซึ่งผมเป็นคนวางระบบสำนักงานใหม่สำหรับกองบรรณาธิการ
- วางเครือข่ายสื่อสารที่สมบูรณ์ในการเชื่อมกับโรงพิมพ์ในกรุงเทพฯ (บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก)
โรงพิมพ์ในเมืองหลักของ 3 ภาค (หาดใหญ่ เชียง ใหม่ และขอนแก่น) เป็นเครือข่ายของการส่งข่าวระบบดิจิตอลทั่วประเทศ
และเพื่อการจัดพิมพ์หนังสือที่ออกพร้อม กันตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ผู้จัดการรายวันเป็นหนังสือพิมพ์รายแรกที่
มี mobile office ขึ้นที่อาคารสินธร (ที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
เพื่อ online ข่าวตลาดทุนซึ่งกำลังเป็นข่าวที่ครึกโครมที่สุดในช่วงนั้น มายังสำนักงานใหญ่
เชื่อมกับ Information Provider อื่นๆ ในการส่งข่าวสารไปให้ เช่น บริษัทบิสนิวส์
และอีกบางรายที่กำลังเจรจากันอยู่
- สำนักงานใช้กระดาษน้อยลง โดยนักข่าวทุกคนมีโต๊ะทำงานเล็กลง (ขนาดเพียง
1.2 เมตร) ใช้พื้นที่น้อยลง โดยใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นในการเก็บข้อมูล ใช้ระบบสื่อสาร
อีเมล มากขึ้น ใช้เครื่องพิมพ์ (printer) และเครื่องโทรสาร (Fax) น้อยลง
เช่นเดียวกับการใช้สัญญาณดาวเทียมซึ่งราคาถูกกว่า แทนการใช้โทรศัพท์ทางไกลติดต่อ
กับสำนักงานในต่างจังหวัด
ในปลายปี 2537 นั่นเองที่ผมเริ่ม ขยายความคิดจากเครือข่ายข่าวในระบบ
Manager News Network กว้าง ขวางขึ้นพร้อมๆ กับการเสนอตั้งสำนัก งานกองบรรรณาธิการ
"การจัดหน่วยงาน ให้มีระดับชั้นน้อยลง (de-layer) กะทัดรัด (down sizing)
และการรื้อกระบวนการทำงานใหม่ (re-engineering) เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน
กองบรรณาธิการซึ่งเป็น องค์กรหลัก ต้องทำงานอย่างสัมพันธ์กัน (integration)
ตั้งแต่กำหนดทิศทางธุรกิจงานปฏิบัติการ R&D การตลาดพื้นฐาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
การ พัฒนาบุคลากร ฯลฯ มีปัญหาสำคัญที่จะต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับการพัฒนา
ที่ต่อเนื่องมาแล้ว
1. แนวทางหลัก Information Industry สำหรับการพัฒนาผลิต ภัณฑ์ของผู้จัดการก็คือ
การเชื่อมโยงกระบวนการผลิตข่าวของผลิตภัณฑ์แต่ ละฉบับให้อยู่ในระบบเครือข่าย
(Manager News Network) และเกื้อกูลกันและกัน (Synergy) อยู่ในรูปดิจิตอล
(digital form) เพื่อสร้างฐานข้อมูลข่าวทั้งอดีตและปัจจุบัน เพื่อเตรียมความพร้อม
ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปของอนุพันธ์ หรือมูลค่าเพิ่มในทุกๆ สื่อที่พัฒนาขึ้นในอนาคต
การเตรียมความพร้อมเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งทำมามากแล้ว ขณะนี้เป็นเรื่องรอง
ที่สำคัญกว่าก็คือ การปรับกระบวนการทำงานใหม่ โดย เฉพาะผู้จัดการรายวัน ซึ่งเป็นฐานของการสร้างเครือข่ายและระบบข้อมูลข่าวสาร
อันเกี่ยวข้องกับการปรับตัวบุคลากร
ความพร้อมนี้ซึ่งถือว่าสำคัญที่สุด คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนอีก
6 เดือน เมื่อถึงตอนนั้นปัญหาการเชื่อมกับ MIS จะแก้ง่ายมาก
ผมเชื่อว่าเรามีสื่อสิ่งพิมพ์มากพอจะสร้างเครือข่ายข่าวสารอย่างยิ่งใหญ่
และมีประสิทธิภาพแล้วภายในปีนี้
2. การบริหารกองบรรณาธิการ มีความหมายกว้างขวางขึ้นกว่าความสามารถเฉพาะตัวของบรรณาธิการหรือ
ผู้สื่อข่าวอาวุโสในการแสวงหาข่าวเขียน ข่าวที่ดี หากมีความหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปตามแนวขององค์กรโดยรวม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรามีผลิตภัณฑ์แยกย่อยจำนวนมากท่ามกลางการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
จำเป็นต้องมีแนวทางชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน
- ทำอย่างไรจะให้บรรณาธิการเข้าใจแนวทางขององค์กร และแผนพัฒนางานของตนเองอย่างแน่ชัด
- ทำอย่างไรจะให้ระบบพื้นฐาน ในการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างบริหารและบุคลากร
(อาทิ ตำแหน่งงาน เงินเดือน) แต่ละหน่วยงานอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน (มาตรฐานว่าด้วยเทคโนโลยีนั้นสร้างได้ง่ายกว่าการสร้างมาตรฐานโครงสร้างองค์กร)
- เราจะมีมาตรวัดที่ชัดเจนและยอมรับได้เกี่ยวกับประสิทธิภาพองค์กร หรือความสามารถของบรรณาธิการอย่างไร
การแยกบริหารผลิตภัณฑ์เป็น Business Unit เป็นเรื่องที่ดีมาก เหมาะสมกับยุคสมัยและธรรมชาติของ
Information Industry ให้การทำงาน คล่องตัว มีประสิทธิภาพ และมีภารกิจชัดเจน
แต่สิ่งที่จำเป็นมากกว่านั้น ก็คือระบบพื้นฐานที่มีมาตรฐานเดียวกัน (open
system) เพื่อเอื้อในการเชื่อมเครือข่าย และเอื้อประโยชน์ต่อกัน
ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ ความจำเป็นในการสร้างระบบตรวจ สอบและติดตามผล
(monitoring system) ของหน่วยงานกลาง เพื่อป้อนข้อ มูล สำหรับการตัดสินใจ
การกำหนดนโยบาย ตลอดจนการประเมินผลแต่ละองค์กร
Manager News Network นอกจากจะสร้างฐานข้อมูลในการสร้างอนุพันธ์ หรือสินค้ามูลค่าเพิ่มแล้ว
ยังได้รวบรวมข้อมูลเชิงบริหาร เพื่อการติด ตามประเมินผลทั้งในแต่ละฉบับ แต่ละ
บรรณาธิการ และกลุ่มผู้สื่อข่าวได้ในอนาคตด้วย
ในอนาคตภายในระบบของกองบรรณาธิการใหม่ อาจจะรวมตัวเลขทาง บัญชีในเชิงบริหาร
จนถึงการจัดจำหน่าย และสมาชิก เข้ามาเชื่อมต่อด้วยได้นั่นคือความจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลาง
ที่จัดการแก้ปัญหาข้างต้น ที่เรียกว่าสำนักบรรณาธิการ"
นั่นคือข้อความบางส่วนของจดหมายอีกฉบับหนึ่ง ที่ผมเขียนถึงประธานกรรมการบริษัทผู้จัดการ
จำกัด ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2537
แต่ทว่าสิ่งที่ผมคิดไว้ทั้งหมด ยังไม่บรรลุ ผมได้พ้นจากตำแหน่งการบริหารกองบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ในกลุ่มผู้จัดการ
มาเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท บริการข้อมูลผู้จัดการ จำกัด (MIS ) เสียก่อน
(โปรดติดตามภาคสองในฉบับหน้า)