Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
เช็คสุขภาพเอเชีย ก่อนสหัสวรรษใหม่             
 





World Economic Forum สถาบันจัดอันดับขีดความสามารถในการ แข่งขันแต่ละประเทศทั่วโลก ได้สะท้อน ภาพประเทศเอเชีย ประเทศสมาชิกอาเซียนบางแห่ง สามารถรักษาฝีไม้ลายมือการบริหารเศรษฐกิจของตน ได้อย่างเฉียบขาด ขณะที่บางประเทศกลับถูกค้นพบว่าหมดเขี้ยวเล็บ

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เปรียบเสมือนบทพิสูจน์ความสามารถในการบริหารจัดการเศรษฐ กิจในช่วงที่ผ่านมาของแต่ละประเทศ อีกทั้งเป็นการวัดฝีมือผู้กุมบังเหียนเศรษฐกิจด้วย ว่าจะฉุดให้เศรษฐกิจผ่านพ้นจากความเลวร้ายไปได้อย่างรวดเร็วเพียงใด ปัจจุบันเศรษฐกิจเอเชียมีทิศทางสดใสขึ้น แรงผลักดันสำคัญคือ การใช้จ่ายภาครัฐของแทบทุกประเทศที่อัดฉีดหล่อลื่นให้กลไกเศรษฐกิจเริ่มหมุน เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจเอกชนฟื้นตัวเป็นปกติ โดยเฉพาะภาคการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจ เอเชียดีขึ้น แต่ขณะนี้การค้าแบบไร้ พรมแดนมีความยุ่งยากซับซ้อน ประเทศ ที่ยืนหยัดและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดโลกได้หนีไม่พ้นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับลด ต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ ตลอดจนการให้บริการลูกค้าอย่างซื่อสัตย์และตรงเวลา

สิงคโปร์-ฮ่องกง-ไต้หวัน : เข้มแข็ง

ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ จำนวน 59 ประเทศ โดย World Economic Forum ปรากฏว่า สิงคโปร์ รั้งอันดับ 1 (แชมป์ 4 สมัย) ในฐานะประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุดประจำปี 2542

สิงคโปร์มีขีดความสามารถในการแข่งขันเหนือชั้นกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะด้านประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาล วิสัยทัศน์กว้างไกลและโปร่งใส คุณภาพการศึกษา ตลาดแรงงานยืดหยุ่นตอบสนองธุรกิจได้ทุกประเภท การค้าคล่องตัวเน้นแข่งขันเสรี อีกทั้งยังได้ชื่อว่ามีอัตราการออมและอัตราการลงทุนอยู่ในระดับสูง รวมทั้งสัดส่วนการออมของภาครัฐต่อผลิต ภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้สิงคโปร์สามารถรักษาศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลกไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ด้านฮ่องกง แม้จะโดนพิษเศรษฐกิจเอเชียเล่นงานอย่างแสนสาหัส แต่สามารถยืนหยัดคว้าอันดับ 3 ได้สำเร็จ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฮ่องกงมีขีดความสามารถในการแข่งขันอยู่ในเกณฑ์สูง คือ นโยบายการเปิดเสรีทางการค้าและธุรกิจ เอกชนมีอิสระและบทบาทสำคัญในธุรกิจ ปลอดการแทรกแซงจากรัฐบาล ทำให้การบริหารจัดการธุรกิจมีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด

ขณะที่ไต้หวันได้วางกลยุทธ์ที่เกื้อหนุนธุรกิจเอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างทั่วถึงทำให้เศรษฐกิจแข็งแกร่ง ส่งผลให้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไต้หวันสูงถึง 95,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอัน ดับ 3 ของโลก รองจากญี่ปุ่น และจีน ทำให้ไต้หวันเป็นประเทศเอเชียเพียงประเทศเดียวที่ขยับฐานะความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันรั้งอันดับ 4 ของการจัดอันดับครั้งนี้

ไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ : อ่อนแอ

กลุ่มประเทศที่เข้าโปรแกรมความ ช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ล้วนมีฐานะย่ำแย่ลงถ้วนหน้า โดยเฉพาะไทย ขีดความสามารถในการแข่งขันถอยหลังเข้าคลอง 4 ปีซ้อน จากอันดับ 14 ในปี 2539 ร่วงลงมาอยู่อันดับ 30 ในปีนี้ ส่วนเกาหลีใต้และอินโดนีเซียถูกลดอันดับลงเช่นกันในปัจจุบัน ขีดความสามารถในการแข่งขัน ของเกาหลีใต้จัดอยู่อันดับ 22 เทียบกับอันดับ 19 ในปี 2541 และอินโดนีเซีย อยู่อันดับ 37 ในปีนี้ เทียบกับอันดับ 31 ในปี 2541 ส่วนเวียดนาม หล่นลง 9 อันดับ โดยปีนี้รั้งอันดับ 48

อย่างไรก็ดี แม้ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะได้รับผลกระทบจากวิกฤต แต่สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ กลับรักษาอันดับความสามารถในการแข่งขันของตนไว้ได้เท่าเดิม โดยเฉพาะ มาเลเซีย มีฐานะสูงขึ้นจากเดิม 1 ตำแหน่งเป็นอันดับ 16 ในปีนี้

World Economic Forum ชี้จุดบอดของชาติเอเชียที่ฉุดให้เศรษฐกิจตกต่ำและความสามารถในการแข่งขันถดถอย ประการแรก คือ เงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศมีจำนวนมาก และจัดเป็นหนี้เสียที่อันตรายถ้าการบริหารมีความหย่อนยาน ซึ่งดัชนีพื้นฐานสิ่งหนึ่งที่บ่งชี้ความมั่นคงฐานะการเงินของประเทศ ได้แก่ สัดส่วนหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นต่อทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ (debt-reserve ratio)

กรณี ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ล้วนมีสัดส่วนยอดหนี้ดังกล่าว สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะอินโดนีเซียและเกาหลีใต้ ได้ก่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นมากกว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศถึง 2 เท่า ส่วนไทยมีสัดส่วนดังกล่าวราว 1.2 เท่าในช่วงก่อนเกิดวิกฤตค่าเงินบาท

ประเทศเหล่านี้ล้วนขาดประสิทธิ ภาพในการบริหารเงินกู้ โดยเฉพาะการนำเงินกู้ยืมระยะสั้นจากต่างประเทศไปใช้ในโครงการลงทุนระยะยาว ซึ่งระยะเวลาคืนทุนนานมาก เมื่อเกิดทุนสำรองเงินตราต่างประเทศร่อยหรอลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถชำระ คืนเงินกู้ระยะสั้นได้ ขณะที่ประเทศเจ้าหนี้พยายามเร่งเรียกหนี้คืน เพราะไม่มั่นใจในสภาพเศรษฐกิจของประเทศลูกหนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ และลุกลามกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียมาจนทุกวันนี้

ส่วนประเทศอาเซียนอื่นๆ อาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีสัดส่วน debt-reserve ratio อยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะจำนวนหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นมีไม่มากเมื่อเทียบกับทุนสำรองของประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจจะได้รับความเสียหายตามประเทศเพื่อนบ้าน แต่ทั้งสองแทบไม่มีปัญหาในการชำระหนี้คืน

ไทย ขณะนี้เริ่มหายใจคล่องเมื่อสัดส่วน debt-reserve ratio ปรับลดลงเหลือ 0.64 เท่าเทียบกับสัดส่วน 1.2 เท่าในปี 2540 เนื่องจากหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นของไทยค่อยๆ ชะลอตัวลงเหลือประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนประมาณ 30,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ กลางเดือนสิงหาคม 2542

ประการต่อมา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ล่าช้า โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ให้เจริญรุดหน้าในยุคเศรษฐกิจไร้พรมแดน ไทยยังคงเป็นรองเพื่อนบ้านหลายประเทศในการกระจายและเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ พิจารณาจากจำนวนผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตกับต่างประเทศ ปรากฏว่าจำนวนผู้ให้บริการดังกล่าวเฉลี่ยต่อประชากร 1,000 คน ของคนไทยยังน้อยกว่าจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ ทั้งนี้ ไทยมีฐานะดีกว่าประเทศ เอเชียด้วยกันเพียง 3 ประเทศ ได้แก่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอินเดีย

นอกจากนี้ การกระจายระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจำเป็นต้องอาศัยโครงข่ายการให้บริการโทรศัพท์ที่กระจาย อย่างทั่วถึงในแต่ละประเทศ ประกอบกับความนิยมในการใช้เครื่องคอมพิว- เตอร์ในหมู่ประชาชนด้วย ปัจจุบัน สัดส่วนจำนวนประชากรเฉลี่ยของไทยต่อคู่สายโทรศัพท์หนาแน่นกว่าหลายประเทศในเอเชีย โดยมีสัดส่วนจำนวนประชากรเฉลี่ย 12.6 คนต่อ 1 คู่สายโทรศัพท์ เทียบกับสัดส่วนเฉลี่ยของมาเลเซีย 5.1 คนต่อ 1 คู่สาย เกาหลีใต้ 2.1 คนต่อคู่สาย สิงคโปร์ 2 คนต่อคู่สาย ไต้หวัน 1.9 คนต่อคู่สาย ฮ่องกงและญี่ปุ่น 1.5 คนต่อคู่สาย ทำให้การใช้บริการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในไทยยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาด้านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) และการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ไปโดยปริยาย

แม้กระทั่ง ความประพฤติมิชอบในแวดวงราชการ เป็นจุดบอดที่ส่งผลกระเทือนต่อการแข่งขัน โดยเฉพาะปัญหาคอร์รัปชั่นและการฉ้อฉลที่ระบาด ในวงราชการและองค์กรของรัฐ นับเป็นภัยเงียบที่กัดเซาะความสามารถในการแข่งขันอย่างมาก กระบวนการทำงานของรัฐที่ไม่โปร่งใส ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้นที่ต้องบวกค่าธรรม เนียมพิเศษดังกล่าวเพิ่มเติมรวมไปกับวงเงินลงทุนปกติ ประเทศเอเชียที่ติดอยู่ในข่ายปัญหาคอร์รัปชั่นรุนแรง ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และเวียดนาม

สำหรับประเทศไทย แม้จะไม่ติดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการคอร์รัปชั่น สูงสุด 20 อันดับแรก จากการจัดอันดับ ของ World Economic Forum แต่กรณีที่มีการร้องเรียนว่าเกิดการทุจริตและฉ้อฉลในวงราชการได้ถูกเปิดโปงออกมาเป็นระยะๆ น่าจะกระตุ้นให้ทางการรีบจัดการสืบสวนหาข้อเท็จจริง และลงโทษผู้กระทำผิด เพราะที่ผ่านๆ มาแทบทุกกรณีกลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งหายเงียบไปในที่สุด

นอกจากนี้ การเลี่ยงภาษียังเป็น การฉ้อโกงประเทศชาติโดยตรง นับเป็นปัจจัยหน่วงเหนี่ยวการพัฒนาประเทศ เนื่องจากจำนวนรายได้ของประเทศที่ควรได้รับเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ หดหายไป กลุ่มประเทศที่มีอัตราการเลี่ยงภาษีค่อนข้างสูงในเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินเดีย เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย

ส่วนประเทศที่มีอัตราการหลบเลี่ยงภาษีในระดับต่ำ ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง และสิงคโปร์ เนื่องจากประเทศเหล่านี้วางระบบการจัดเก็บภาษีอย่างรัดกุม และมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการชำระภาษีที่เข้มงวดอย่างมาก

แนวทางการพัฒนาประเทศสู่สหัสวรรษที่ 3 ของประเทศในเอเชีย ที่ครอบคลุมการพัฒนาอย่างเป็นระบบและครบวงจร หากสามารถดำเนินการได้อย่างจริงจัง เมื่อผนวกกับการเอาใจใส่เร่งปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันทางการค้า เสริมสมรรถนะในการขยายตลาดส่งออกหลัก มุ่งเจาะตลาดการค้าใหม่ๆ ยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิต คิดค้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแก่สินค้า โดยเน้น คุณภาพ เป็นตัวชูโรงทั้งในการรักษาตลาดดั้งเดิมและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเติม น่าจะช่วยฟื้นฟูขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us