10 กันยายน 2542 เป็นวันสิ้นสุดความเป็นธนาคารท้องถิ่นอีกแห่งของไทย เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
เข้าซื้อหุ้น 75% จากกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF)
ด้วยเม็ดเงินจำนวน 12,377 ล้านบาท แล้วเปลี่ยนชื่อธนาคารนครธน เป็นธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
(SCNB)
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สามารถ ถือหุ้นได้สูงถึง 75% ทั้งๆ ที่ลงทุนเพียง 12,377
ล้านบาท ขณะที่ทางการไทยโยน เงินเข้ามาถึง 14,000 ล้านบาท แต่ถือหุ้น ในธนาคารนครธนแค่
24.97% นอกจากนี้สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดยังมีอำนาจดูแลการบริหารแบบเบ็ดเสร็จ
โดยส่งคนเข้ามานั่งในคณะกรรมการบริหาร 5 คน แต่มาจาก FIDF เพียง 2 คน และกรรมการอิสระที่คัดเลือกโดยคณะกรรมการฯ
2 คน
นอกจากนี้ ยังมีข้อตกลงเกี่ยวกับผลการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้
ด้อยคุณภาพ โดยสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จะรับภาระ 15% ของหนี้ด้อยคุณภาพที่จะเกิดในอนาคต
ขณะที่รัฐบาลไทยรับภาระไปเต็มๆ 85% ในทาง กลับกันถ้าหากมีกำไรจะแบ่งตามสัด
ส่วนของการถือหุ้น
ที่สำคัญ ตลอดระยะเวลา 5 ปี ในทุกๆ 6 เดือน FIDF จะจ่ายเงินช่วยเหลือในรายได้ที่ขาดหายไปให้กับ
SCNB โดยคำนวณจากยอดคงค้างลูกหนี้ถัวเฉลี่ยย้อนหลัง 6 เดือนในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
3 เดือน บวก 1%
เงื่อนไขเหล่านี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ จากวงการพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม
ทางการก็เชื่อมั่นว่า ด้วยความสามารถของ การบริหารของแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
จะทำให้ธนาคารใหม่แห่งนี้ มีผลประกอบการดีขึ้น และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในอนาคต
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด มีสำนัก งานใหญ่อยู่ลอนดอน และถือสัญชาติอังกฤษแต่ธนาคารกลับเรียกตัวเองว่า
"GLOBAL BANK" ทั้งนี้เพราะลักษณะการทำธุรกิจจะแตกต่างจากธนาคารต่างประเทศรายอื่น
ที่ในช่วงแรกจะเน้นสร้างฐานธุรกิจเฉพาะ ในประเทศของตนให้แข็งแกร่ง ก่อนสยายปีกออกสู่ตลาดต่างประเทศ
แต่สำหรับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เริ่มต้นทำธุรกิจในต่างแดนพร้อมกับในประเทศ
เข้ามาดำเนินธุรกิจในเอเชียตั้งแต่ปี 1850 ซึ่งขณะนั้นได้เข้าไปเปิดสาขา
อินเดีย และออสเตรเลียในนามธนาคารชาร์เตอร์ด (CHARTERED BANK) ต่อมาได้ผนวกกิจการกับธนาคารสแตนดาร์ด
(STANDARD BANK) แล้วเปลี่ยน ชื่อมาเป็นสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ในปัจจุบัน
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็นธนาคารที่มุ่งดำเนินธุรกิจในตลาดเกิดใหม่ มีสำนักงานสาขาใน
50 ประเทศ เข้ามาก่อตั้งสำนักงานในไทยเมื่อปี 1894 และปัจจุบันดำเนินธุรกิจผ่านสำนักงานสาขาประจำกรุงเทพฯ