Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
"มีเดีย อินเทลลิเจนซ์" โมเดลธุรกิจโฆษณาใหม่             
 


   
search resources

มีเดีย อินเทลลิเจนซ์, บจก.
Advertising and Public Relations




นับเป็นครั้งแรกที่ค่ายโฆษณายักษ์ระดับภูมิภาคได้มีการจับมือทำธุรกิจ ร่วมกัน ถึง 3 ค่ายด้วยกัน ประกอบด้วย บริษัท ฟาร์อีสท์ แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท สปา แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด และบริษัท ไทยฮาคูโฮโด จำกัด โดยทั้ง 3 บริษัทได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด เพื่อดำเนินการวางแผนสื่อโฆษณาและซื้อขายสื่อโฆษณาโดยเฉพาะ อันส่งผลให้การวางแผนและการซื้อโฆษณาที่ทำให้กับลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น

มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท โดยผู้ร่วมทุนทั้ง 3 บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากันคือ 33.33% มีวศิน เตยะธิติ (กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟาร์อีสท์ฯ) เป็นประธานบริษัท และกรรมการบริหาร 2 ท่านคือ กิตติ ชัมพุนท์พงศ์ (ประธาน บริษัท สปาฯ) และฮิเดโอะ ฮามานากะ (ประธานบริหาร บริษัท ไทยฮาคูโฮโด)

สำหรับที่มาของการร่วมทุนกันในครั้งนี้ วศินทำหน้าที่เป็นตัวแทนเล่าว่า เกิดจากการที่ตลาดสื่อโฆษณามีการเปลี่ยนแปลงมากในช่วง 3 ปีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่ตลาดสื่อโฆษณาเป็นตลาดของผู้ขาย ได้เปลี่ยนมาเป็นตลาดของผู้ซื้อแทน และมีความยืดหยุ่นในการต่อรองมากกว่าในอดีต นอกจากนั้นยังมีการรวมตัวกันของบริษัทกับบริษัทโฆษณาในประเทศไทย เพื่อจัดตั้งบริษัทซื้อขายสื่อโฆษณาโดยเฉพาะที่เรียกว่า Media Specialist รวมทั้งเอเยนซีโฆษณาบางแห่งยังมีการแยกฝ่ายมีเดียออกเป็นหน่วยงานอิสระ เพื่อทำหน้าที่ซื้อขายสื่อโฆษณาให้กับลูกค้ารายอื่นๆ เพิ่มเติมจากลูกค้าประจำ

"ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการต่อรองซื้อขายสื่อให้แก่ลูกค้า ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้น เราจึง ได้รวมตัวกันเพื่อก่อตั้งมีเดีย อินเทล-ลิเจนซ์ขึ้น"

อย่างไรก็ดี ในเบื้องต้นของการเปิดบริษัทนี้ จะเริ่มจากการซื้อขายสื่อเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่รวมไปถึงการวางแผน ซึ่งวศินคาดว่า บริษัทจะสามารถดำเนินการได้ครบทั้ง 2 ส่วนภายใน 6 เดือนข้างหน้า สำหรับเป้าหมายในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 42 นี้ วศินได้ประมาณการยอดบิลลิ่งของมีเดีย อินเทลลิเจนซ์ไว้ที่ประมาณ 500 ล้านบาท และสำหรับในปี 43 ทั้งปี ยอดบิลลิ่งน่าจะอยู่ที่ 1,800 ล้านบาท โดยมีพอร์ตลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ขึ้นมาอยู่ อันดับ 3 รองจากมาย แชร์ และลินตาส ตามลำดับ (ในแง่ของยอดบิลลิ่ง)

"เดิมเราทั้ง 3 บริษัทจะมียอดบิลลิ่งกระจัดกระจายอยู่ในระดับล่างๆ แต่ก็ยังอยู่ในทอปเท็น แต่เมื่อเรารวมกันแล้ว ทำให้เราก้าวมาอยู่ในอันดับ 3 ทันทีในปีหน้า แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายหลัก ของเรา เป้าหมายหลักเราอยู่ที่ Service & Creativity ที่เราจะมีให้แก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น" กิตติกล่าวในฐานะกรรมการบริหารบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ "ผมมีความเชื่อมั่นใน Philosophy ของการทำงานของทั้ง 3 ฝ่ายที่อยู่ภายใต้พื้นฐานเดียวกันคือ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่อำนาจ และไม่เห็นแก่เงินมากเกินไป จึงทำให้พวกเราถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากัน"

ส่วนในแง่ของการปฏิบัติงานจริง ลูกค้าอาจจะเกิดความเคลือบแคลงได้ว่า ทั้ง 3 บริษัทจะรักษา "ความลับ" ของพวกเขาได้มากน้อยแค่ไหน นี่เป็นประเด็นที่ผู้บริหารจะต้องชี้แจงแก่ลูกค้าที่แต่ละบริษัทรับผิดชอบอยู่ ให้เข้าใจถึงหลักการในการทำงานของมีเดีย อินเทลลิเจนซ์ว่า "ทั้งสามบริษัทร่วมทุนกันเฉพาะในการวางแผนและการซื้อขาย สื่อเท่านั้น (Buyer & Planner) แต่ในส่วนอื่นของบริษัทยังมีการแข่งขันกันอยู่ และ "ความลับ" ของลูกค้าคือสิ่งที่พวกเราทั้ง 3 ต้องต่างคนต่างเก็บให้ดีที่สุด" วศินกล่าวชี้แจง

เขากล่าวอีกว่า เขาเคยมีบทเรียน จากการจับมือพันธมิตรที่ผิดพลาดมาแล้ว ซึ่งทำให้เจ็บปวดมาก ดังนั้นในครั้งนี้จึงระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us