Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
ธุรกิจเรือสำราญ ที่เจ้าของอาจจะไม่สำราญ             
 


   
search resources

พิชิต กุลเกียรติเดช




เมื่อวันที่ 9 เดือน 9 ที่ผ่านมา พิชิต กุลเกียรติเดช ประธานบริษัท ควีนแมรี่ ได้จัดงานฉลองครบรอบ 10 ปี และเปิดตัวเรือลำใหม่ "เพิร์ลออฟสยาม" ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว โฆษณาเรือลำใหม่ของเขาก็ปรากฏโฉมขึ้น ในช่วงไพร์มไทม์หลังข่าว 2 ทุ่มครึ่งช่อง 5

เป็นการลงทุนเพื่อก้าวใหม่ในธุรกิจเดินเรือสำราญอีกครั้งหนึ่งของเขา ภายใต้ใบหน้าที่ยิ้มแย้มนั้นมีเพียงไม่กี่คนหรอกที่รู้ว่าเมื่อประมาณ 10 ปีก่อนหลังจากเริ่มธุรกิจนี้ได้เพียงไม่นานเรียกได้ว่าต่อเรือลำแรกยังไม่ทันเสร็จ เขาก็แทบสิ้นเนื้อประดาตัวหนี้สินรุงรังจนแทบหมดกำลังใจในการทำงาน แต่เมื่อได้ตั้งสติ และค่อยๆ แก้ปัญหาด้วยความอดทน ทำให้เขามีวันนี้ขึ้นมาจนได้

พิชิตมาจากครอบครัวคนจีนที่ทำโรงงานทอผ้าอยู่ในย่านถนนเจริญกรุง เขาเองก็เรียนมาทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจากไต้หวัน กลับมาช่วยทำงานกับทางบ้านประมาณ 3 ปี หลังจากนั้นก็ไปเปิดร้านขายของที่ระลึกให้พวกนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มชาวไต้หวันจนอายุประมาณ 34 ปีก็สามารถเก็บเงินทุน สะสมไว้ก้อนหนึ่ง มาทำธุรกิจเรือสำราญ ล่องในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย ความมั่นใจว่าธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยายังเป็นจุดขายที่สำคัญได้แน่นอน

ถึงแม้จะมีประสบการณ์ที่คลุก คลีอยู่กับบรรดานักท่องเที่ยวและบริษัท ทัวร์มานานกว่า 10 ปี แต่พิชิตก็ยังขาด ความรู้ในเรื่องเรือสำราญอย่างมาก ปัญหาต่างๆ ที่ตามมาอย่างต่อเนื่องหลังจากเริ่มงานไม่นานนัก เป็นประสบการณ์ การทำธุรกิจครั้งสำคัญของเขา

อุปสรรคที่เกิดขึ้นกับงานใหม่ครั้งนี้ของเขาคือขาดความรู้ในเรื่องการก่อสร้าง เรื่องเครื่องเทคนิค เครื่องยนต์ ต่างๆ ในเรือ ซึ่งกว่าจะหาช่างที่ชำนาญแต่ละด้านมาได้ ทำเอาเรือลำแรกของเขา ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 3 ปีเศษถึงจะเสร็จสมบูรณ์ หลังจากแก้ไขแล้วหลายครั้ง ในขณะที่เวลาที่กำหนดไว้ประมาณปีครึ่งเท่านั้น

เวลาที่บานปลายออกไปทำให้เกิด ปัญหาเรื่องเงินตามมาทันที เงินตัวเองที่สะสมไว้ก็หมดเงินที่กู้ยืมแบงก์มาก็หมด และที่สำคัญเมื่อเรือพร้อมที่จะให้บริการ ก็ปรากฏว่าไม่มีลูกค้ามากเท่า ที่ควร ความอ่อนหัดในเรื่องการบริหารธุรกิจเรือสำราญ ทำให้ในช่วงเวลา 2 ปีแรกเขาขาดทุนรวมเป็นเงินและดอกเบี้ย ประมาณ 30 ล้านบาท

"เป็นช่วงเวลาที่เจ็บปวดที่สุด แต่ ละวันแทนที่จะได้คิดเรื่องงาน ทำเรื่องการตลาด ต้องคอยหลบบรรดาซัปพลาย เออร์ ที่เราค้างหนี้เขาอยู่ บุคลากรก็ทวงเงินเดือนไม่ยอมทำงานจะลาออก แบงก์เองก็ทวงหนี้เข้ามาทุกวันตอนนั้นผมเองก็คิดว่าไม่เอาแล้วล่ะยอมแพ้ ใครจะมาทำอะไรก็เชิญ" พิชิตเล่าย้อนวันในอดีตให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

แต่ในที่สุดมีอยู่วันหนึ่งที่เขาตั้งสติได้ แล้วคิดว่าจะลองต่อสู้กับอุป-สรรคต่างๆ อีกครั้งเมื่อเกิดความ "ฮึด" ขึ้นมาอย่างแรกก็คือเข้าหาเจ้าหนี้โดยตก ลงและขอโอกาสแก้ตัวใหม่ หลังจากนั้นเขาก็มีเวลากลับไปลุยเรื่องการตลาดเองอีกครั้ง โดยเริ่มจากไปหาเพื่อนฝูงคนเก่าๆ พิชิตใช้เวลาถึง 2 ปี ถึงจะตั้งตัวติด

ในปี 2539 พิชิตถึงได้ตัดใจสร้าง เรือขึ้นอีกลำหนึ่งเป็น เพิร์ลออฟสยาม 2 เรือลำนี้ตัวเรือเป็นเหล็ก มีห้องไดนิ่งรูมและหัวเรือวีไอพี จุแขกได้ประมาณ 100 ที่นั่ง และเมื่อปีที่แล้วถึงแม้เศรษฐ-กิจจะตกต่ำซึ่งสวนทางกับธุรกิจท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้นทำให้เขาเตรียมเปิดตัวเพิร์ลออฟสยาม 3 เป็นลำ ที่ 3 ขึ้น ตัวเรือยาว 29 เมตร ชั้นล่างและชั้นบนจุแขกได้ประมาณ 145 ที่นั่ง

ซึ่งการที่มีเรือมากลำนั้นจะเป็น การได้เปรียบในการบริหารงานอย่างมาก เพราะเรือลำใดเสียจะได้มีเรือสำรองได้ทัน

เรือทั้ง 3 ลำของเพิร์ลออฟสยาม มูลค่าประมาณ 90 ล้านบาท แขกส่วนใหญ่ของเพิร์ลออฟสยามจะเป็นชาว ยุโรป และญี่ปุ่น และลูกค้าคนไทย ที่จะมาจากบริษัททัวร์ 80% ที่เหลือคือบริษัทห้างร้านต่างๆ หรือคนทั่วๆ ไป

ความมุมานะ และตั้งใจจริงในการทำงาน เป็นสิ่งสำคัญที่ให้พิชิตประสบความสำเร็จไปแล้วระดับหนึ่งแต่ ในอนาคตนั้นพิชิตบอกว่าเขายังหยุดนิ่งไม่ได้ เพราะธุรกิจเรือสำราญนั้น หาเงิน ทุนสนับสนุนยากสถาบันการเงินจะไม่มีการปล่อยกู้เลย ท่าเทียบเรือที่จะหาเช่าก็ยากมาก บุคลากรที่จะมาร่วมงาน เช่น ช่างเครื่อง กัปตันเรือ ซึ่งเป็นอาชีพเฉพาะ ที่ค่อนข้างหาบุคลากรได้ยาก

นอกจากนั้นในปัจจุบันคู่แข่งก็มากขึ้นด้วย การแก่งแย่งกันรับลูกค้าบริษัททัวร์ เป็นไปอย่างดุเดือด ทางเดียว ที่ต้องทำในตอนนี้คือบริษัทจะต้องสะสม ประสิทธิภาพในการทำงานให้เข้มแข็งเพื่อที่จะอยู่รอดให้ได้ในวันข้างหน้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us