Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
ศุภาลัย ป่าสัก ที่พักใจของประทีป ตั้งมติธรรม             
 


   
search resources

ศุภาลัย, บมจ.
ประทีป ตั้งมติธรรม




จากกรุงเทพมหานคร ตรงไปบนถนนพหลโยธินบ่ายหน้าไปยังอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีด้วยระยะทางประมาณ 124 กิโลเมตรก็ถึงโรงแรม "ศุภาลัย ป่าสัก รีสอร์ท" ซึ่งเป็นอีกโครงการหนึ่งของบริษัทศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหารของบริษัทศุภาลัย บุกป่าฝ่าดงมาพัฒนาพื้นที่ดินแห่งน ี้ตั้งแต่ประมาณปี 2531 ตลอดระยะเวลาประมาณ 6 ปีตั้งแต่เปิดดำเนินการมา นับว่าเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ต้องเจอกับมรสุมหลายระลอก โดยเฉพาะช่วงเกิดวิกฤตยุคไอเอ็มเอฟใหม่ๆ แต่ในที่สุดก็สามารถผ่านพ้นวิกฤตและมีแนวโน้มจะทำกำไรได้เป็นปีแรกด้วยซ้ำไป

ประทีป เป็นคนที่รักการเดินทางท่องเที่ยวและชอบบรรยากาศของธรรมชาติอย่างมาก ดังนั้นท่ามกลางความรกเรื้อของป่า ความธุรกันดารของการคมนาคมที่ในเวลานั้นยังไม่มีถนน หน้าโครงการเป็นเพียงถนนลูกรังสีแดงที่มีฝุ่นคลุ้งไปทั่วพาดผ่าน ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง น้ำยังไม่มีใช้ แต่เขาก็อุตส่าห์มองลึกลงไปเห็นถึงความสวยงามของที่ดินผืนนี้ที่มีภูเขาและมีแม่น้ำป่าสักล้อมรอบ เป็นรูปเกือกม้า ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร และที่สำคัญใกล้กรุงเทพฯ มากกว่าแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เขาใหญ่ และจังหวัดกาญจนบุรี

จากจุดดังกล่าวทำให้เขาตัดสินใจรวบรวมซื้อที่ดินจำนวน 180 ไร่พัฒนา เป็นโรงแรมและรีสอร์ตแห่งแรกของบริษัทในเครือทันที

ประกอบกับเมื่อปี 2531 นั้น สภาพคล่องทางการเงินของเมืองไทยสูงมาก และการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ ก็เป็นเรื่องง่ายมากๆ ด้วย นักพัฒนาที่ดินหลายคนฉวยช่วงจังหวะนี้เองขยายโครงการอย่างมากมาย โดยเฉพาะการทำบ้านหลังที่ 2 ตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ และการสร้างคอนโดฯ ตากอากาศตามหัวเมืองชายทะเล

ซึ่ง ณ วันนี้ก็พิสูจน์ฝีมือในการทำงานที่ได้จากโอกาสครั้งนั้นมาหลายรายแล้ว

ถึงแม้ว่าโครงการศุภาลัย ป่าสัก จะเป็นเพียงโครงการเล็กๆ หากเทียบกับโครงการใหญ่ๆ ระดับมูลค่าหลายพันล้านบาทอีกหลายโครงการที่ประทีปกำลังบริหารในตัวเมืองกรุงเทพฯ แต่อย่างน้อยศุภาลัย ป่าสัก ก็ยังมีรายได้หมุนเวียนเข้ามาตลอดและยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวประชาสัมพันธ์ที่ดีให้กับโครงการที่อยู่อาศัยอื่นๆ ในเครือบริษัทเดียว กันไปด้วย

ความสำเร็จของโครงการเล็กๆ แห่งนี้ ก็เลยกลายเป็นที่ชาร์จแบตเตอรี่ ให้ประทีป เพื่อจะได้มีกำลังใจในการกลับมาลุยงานใหญ่ในเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี

ประทีปเล่าว่า การขายที่ดินในพื้นที่โครงการไม่ได้เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะเหลือเพียง 20% ของที่ดินแปลงย่อยทั้งหมดประมาณ 100 กว่าแปลง แต่สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับการบริหารโรงแรม มากกว่า

ในส่วนของโรงแรม เป็นตัวที่ต้องทุ่มเม็ดเงินในการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะต้องใช้คน และใช้เงินจำนวนมากในการบริหารแต่เขาก็จำเป็นต้องทำเพื่อหวังผลในระยะยาว

"การทำรีสอร์ตที่สมบูรณ์จำเป็นต้องมีโรงแรมรองรับ ถ้าเป็นรีสอร์ต

อย่างเดียวคนที่ซื้อบ้านพักไปอาจจะมีความส่วนตัวอยู่อย่างเงียบสงบก็จริง แต่จะมีความรู้สึกเปลี่ยวไป ไม่กล้ามาซื้อ ไม่กล้ามาพัก ที่สำคัญจะหาอาหารดีๆ ทานยาก"

ปัจจุบันในส่วนโรงแรมมี 114 ห้อง และยังเปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านเข้าร่วมโครงการให้เป็นห้องพักของโรงแรมได้ด้วย โดยรายได้ 60% จะเป็นของเจ้าของบ้าน ส่วนอีก 40% เป็นรายได้เข้าโรงแรม ซึ่งปรากฏว่ามีบ้านของลูกค้าประมาณ 100 หลังที่เข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้มีที่พักรวมทั้งสิ้นประมาณ 250 ห้อง รับแขกได้เต็มที่ 500 กว่าคน

โรงแรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในโครงการ เปิดบริการพร้อมกับโอนบ้านหลังแรกให้ลูกค้า เมื่อประมาณปี 2536 ซึ่งในส่วนของโรงแรมนั้น ประทีปยอมรับว่าขาดทุนมาตลอดเพราะค่าใช้จ่ายในเรื่องการบริหารสูงมาก

"มีพักหนึ่งมันใกล้จะดีขึ้น มีแนวโน้มว่าจะได้กำไรก็ยังดีใจว่าสามารถ คืนทุนได้เร็ว แต่เมื่อเกิดวิกฤตไอเอ็ม เอฟก็เลยสะดุดขาดทุนลึกไปอีกครั้ง"

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นปี 2542 เป็นต้นมาปรากฏว่ายอดจองเพิ่มขึ้นมา คืนวันเสาร์เต็มเกือบตลอด ยิ่งเข้าช่วงปลายปีอากาศหนาวคนนิยมเที่ยวภูเขามากขึ้น ประทีปเลยเพิ่มความมั่นใจว่าปีนี้จะเป็นปีแรกที่ทำกำไรได้แน่นอน

ถึงแม้เม็ดเงินกำไรยังล้างเงินขาดทุนสะสมไม่ได้ แต่ประทีปก็บอกว่าพอใจอย่างมากที่โครงการไม่หยุดกิจ การไปเหมือนอีกหลายโครงการที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันความสำเร็จอย่างหนึ่งของโครงการนี้น่าจะอยู่ที่ความตั้งใจจริงของประทีปในการทำงาน

คอนเซ็ปต์ของโครงการก็คือการสร้างเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ท่ามกลางธรรมชาติให้มากที่สุด โชคดีที่ในรีสอร์ตแห่งนี้จะมีต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไปมากมาย เช่น ต้นมะม่วง ต้นสัก ประทีปเล่าว่า

"ตอนเข้ามาดูที่ดินครั้งแรกมีต้นไม้ใหญ่ๆ มากมาย ซึ่งผมก็ชอบและตั้งใจว่าจะตัดออกให้น้อยที่สุด แต่กว่าจะรวบรวมที่ดินได้ กว่าที่จะโอนเป็นที่ของเรา ปรากฏว่าถูกตัดไปขายเยอะเหมือนกัน แต่เราก็เริ่มต้นปลูกใหม่เพิ่มขึ้นมากเหมือนกัน"

นอกจากมีขุนเขา และสายน้ำป่าสัก เป็นฉากหลังของโครงการ ประทีปยังสั่งขุดลำคลองสายเล็กๆ คดเคี้ยวไปมาในโครงการ เพื่อให้ลูกค้าได้ใกล้ชิด กับธรรมชาติมากขึ้น ทุกวันนี้ในลำคลอง สายเล็กๆ นี้ยังมีฝูงเป็ดประมาณ 7-8 ตัว คอยว่ายน้ำวนเวียนไปมา และกลายเป็น เรื่องตื่นเต้นของบรรดาแขกตัวเล็กตัวน้อยที่คอยวิ่งต้อนให้อาหาร

และด้วยความที่เป็นคนที่มีใจรักทางด้านกีฬาทำให้ในโครงการมีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ สนามเด็กเล่น สนามซ้อมกอล์ฟ สนามเทนนิส มีท่าเรือสำหรับการล่องเรือในแม่น้ำป่าสัก มีภูเขาในบริเวณใกล้ๆ กันให้ผู้สนใจได้ปีนป่าย

เป็นเพราะยังมีโครงการพัฒนาที่ดินในกรุงเทพฯ อีกหลายโครงการ ที่กำลังเจอมรสุมของภาวะวิกฤตรุมเร้าทำให้ประทีปไม่ค่อยมีเวลาแวะเวียนไปที่โครงการรีสอร์ตนี้บ่อยนัก แต่ทุกครั้งที่ไป สิ่งที่ประทีปดูแลพิเศษก็คือเรื่องสภาพแวดล้อมรอบๆ โครงการ ที่ดินแปลงไหนยังขายไม่ได้ เขาสั่งคนงานปลูกไม้ดอกไม้ผล เพื่อความสวยงาม รวมทั้งพืชสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ เพื่อเอาไปใช้ในห้องอาหารของโรงแรมด้วย

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นจุดขายที่สำคัญอย่างหนึ่งของโครงการ โดยมี "บริษัท ศุภาลัย พรอพเพอร์ตี้ แมเนจ เม้นท์ เป็นผู้จัดการบริหารโรงแรม ซึ่งจะดูแลในเรื่องค่าใช้จ่ายต่อเดือน ค่าใช้ จ่ายดูแลชุมชน ค่ารักษาความปลอดภัย ไฟแสงจันทร์ ค่าเก็บขยะ กวาดถนน ดูแลสวนส่วนกลางโดยเก็บจากเจ้าของบ้านตารางวาละประมาณ 5 บาท ส่วน ค่าดูแลสวน รดน้ำต้นไม้ 8 บาทต่อตารางวา ซึ่งเท่ากับว่าบ้านพื้นที่ 100 ตารางวาก็จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1,300 บาทต่อเดือน

บทสรุปอย่างหนึ่งที่ประทีปได้รับในโครงการนี้ก็คือพื้นที่โครงการกว้าง ใหญ่เกินไป เขาบอกว่าแทนที่จะพัฒนาพื้นที่ทั้ง 180 ไร่ แบ่งแปลงย่อยที่มีพื้น ที่ขั้นต่ำไว้ 100 ตารางวาต่อหลังนั้นหาก ทำใหม่จะพัฒนาโครงการในพื้นที่เพียง 100-120 ไร่ และแต่ละแปลงลดขนาดให้เล็กลงมาหน่อย เหลือประมาณแปลง ละ 60-80 ตารางวา ก็จะทำให้ขายง่ายขึ้น และอาจจะขายหมดไปนานแล้วก็ได้

แม้เป็นโครงการหนึ่งที่ทำยาก เหนื่อย และใช้ระยะเวลาคืนทุนนาน แต่เมื่อมันกลายเป็นโครงการที่มีอนาคต ประทีปเลยบอกว่า หากมีโอกาส เขาจะพัฒนารีสอร์ตในลักษณะนี้อีกที่จังหวัดภูเก็ต หรือที่ปราณบุรี และเขาอาจจะเลือกสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นบ้านพักเมื่อถึงเวลารีไทร์จากภาระหน้าที่การงานก็ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us