Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
ขนมไข่ไฮโซ ของปฏิญญา ควรตระกูล             
 


   
search resources

ปริญญา ควรตระกูล




ปฏิญญา ลูกสาวสุดหล่อคนเล็ก ของปัญญา ควรตระกูล ได้ใช้เวลาว่างจากการดูแลโครงการของกลุ่ม "ปัญญากรุ๊ป" ดั้นด้นลอดลายมังกร ไปยังเกาะฮ่องกง ซื้อสูตรขนมไข่ egg-tarts กลับมาขายที่เมืองไทย ธุรกิจขายขนมอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ทำเล่นๆ ของลูกเศรษฐี อย่างที่หลายคนคิดแน่นอน

เพราะปฏิญญา หรือชื่อที่ใครๆ เรียกกันติดปากว่า "คุณต๊อป" นั้นเธอไม่ เคยทำอะไรเล่นๆ หลังจากจบการศึกษาทางด้าน Photo Art มาจากประเทศ อเมริกา เธอก็ได้เข้ามาช่วยธุรกิจของครอบครัวอย่างจริงจังทันทีตั้งแต่ปี 2531 ด้วยงานโครงการสนามกอล์ฟปัญญา

รีสอร์ท ที่อำเภอบางพระ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเคยเป็นสนามกอล์ฟติดอันดับในสมัยหนึ่ง (ปัจจุบันขายต่อให้กับกลุ่มแนเชอรัลปาร์คไปแล้ว) และหลังจากนั้น ก็ยังทำงานด้านพัฒนาที่ดินต่อเนื่องมาตลอดเช่นโครงการบ้านจัดสรรและสนาม กอล์ฟที่ปัญญาอินทรา โครงการบ้านจัดสรร สนามกอล์ฟที่ปัญญาสุวินทวงศ์ ปัจจุบันเธอมีตำแหน่งเป็นกรรมการรองผู้จัดการ ดูแลทางด้านการตลาดการขาย และสปอร์ตคอมเพล็กซ์ในโครงการ

เป็นที่รู้กันว่าเธอและพี่ชายอีกคน หนึ่งคือบริพัชรนั้น เป็นแขนซ้ายขวา ที่สำคัญของปัญญา ควรตระกูล มานาน

แต่ ณ วันนี้เมื่องานทางด้านธุรกิจที่ดินซบเซาลงไปตามภาวะเศรษฐ-กิจ เธอก็เริ่มมองหาธุรกิจใหม่ๆ ทำตาม ประสาคนที่ยังมีไฟแรง อยู่เฉยๆ ไม่เป็น

ธุรกิจร้านขายขนมเลยเกิดขึ้น และสาเหตุที่เป็นขนมไข่ ก็เพราะว่าเธอได้ไปพบขนมไข่สูตรอร่อยจากซอกมุมของถนนสายหนึ่งในฮ่องกงที่มีรสเอร็ด อร่อยเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นขนมของโปรดที่ต้องแวะไปซื้อทานทุกครั้งหากมีโอกาสไปฮ่องกง จนในที่สุดได้ตัดสินใจที่จะซื้อสูตรขนม และนำมาเปิดโรงงานผลิตกันสดๆ ที่เมืองไทยและมั่นใจว่าจะต้องขายได้แน่นอน

การใช้เงินก้อนใหญ่ทุ่มซื้อสูตรขนมอาจจะไม่ยาก แต่การลงมือทำตามสูตรจนมีรสชาติที่เหมือนต้นตำรับก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายนัก เธอใช้เวลาศึกษาวิธีการทำขนม และเทคนิคต่างๆ อยู่ที่ฮ่องกงประมาณ 2 อาทิตย์และลงทุนจ้าง พ่อครัวจากที่โน่นกลับมาสอนต่อที่เมืองไทยอีกหลายครั้งจนทำเป็น พร้อมๆ กันนั้นเธอก็เริ่มมองหาทำเลที่จะเปิดร้านขนม โดยพุ่งเป้าไปที่สยามสแควร์ซอย 3 เพราะเป็นทำเลย่านใจกลางเมือง เป็นแหล่งของคนที่มีรายได้ดีเดินกันคับคั่งตลอดเวลา และยังเป็นถนนที่เชื่อมต่อไปยังเซ็นเตอร์พ้อยท์ แหล่งนัดพบแห่งใหม่ของวัยรุ่นย่านสยามสแควร์ แต่เธอก็ใช้เวลาหาที่เปิดร้านนานพอสมควรเพราะไม่มีห้องว่างให้เธอเช่าได้เลย

โชคดีที่อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกชื่อดัง ผู้เป็นน้องชายของพวงเพชร คุณแม่ของเธอ และมีศักดิ์เเป็นน้าชายแท้ๆ ทนเสียงออดอ้อนของหลานสาวคนนี้ไม่ได้จึงยอมย้ายออฟฟิศของรังสรรค์ สถาปัตย์ ซึ่งตั้งอยู่ในซอยนี้มานานกว่า 10 ปีไปอยู่รวมกันกับออฟฟิศบ้านฉัตรเพชร บริเวณต้นซอยสยามสแควร์ซอย 3 แทน

ร้านขนมขนาดกะทัดรัดพื้นที่ประมาณ 40 ตารางเมตรจึงเกิดขึ้น โดย มีเพื่อนสนิท ดวงฤทธิ์ บุนนาค เข้ามาช่วยตกแต่ง และเปิดร้านไปเรียบร้อยแล้วเมื่อประมาณกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา

เธอลงทุนไปทั้งหมดในเรื่องค่าสูตรขนม ค่าตกแต่งร้าน ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำขนม หมดเงินไปประ-มาณ 5 ล้านบาท เงิน 5 ล้านบาทกับการขายขนมชิ้นละ 30 บาท ต้องขายอีกกี่ชิ้น กี่วัน ถึงจะคืนทุน คนที่คุ้นเคยกับการทำธุรกิจ 100 ล้าน, 1,000 ล้าน เคยขายบ้านหลังสองหลังหรือที่ดินสักแปลงในยามเศรษฐกิจดีๆ กำไรอาจจะเกิน 5 ล้านบาทแล้วด้วยซ้ำไป ดังนั้นเธอคงไม่ใจเย็นเสียเวลาค่อยทำค่อยไปกับธุรกิจตัวใหม่นี้แน่นอน

การที่จะให้มีกำไร และสามารถคืนทุนได้เร็ว จะต้องมีการขายแฟรนไชส์ ของร้านขนมนี้ไปพร้อมๆ กันด้วยคือสิ่งที่เธอตั้งใจไว้ตั้งแต่เริ่มคิดทำธุรกิจตัวนี้ เธอตั้งราคาของแฟรนไชส์ไว้ที่ 8 แสนบาท แบ่งจ่ายเป็น 3 งวด งวดสุดท้ายนั้นหมายความว่าผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไปจะต้องมั่นใจว่าทำเป็น รสชาติเหมือนจริงๆ จึงจะจ่ายเงิน เธอบอกว่าเพื่อให้คุ้มค่ากับเงิน 8 แสนบาท ควรจะทำขนมให้ได้ภายในเวลา 1 เดือน

"ต้องเปิดเป็นแฟรนไชส์ ถึงจะอยู่รอด ถ้าไม่ใช้วิธีนี้เราอาจจะทำให้ต้นทุนถูกลงได้ แต่รสชาติไม่เหมือนที่ฮ่อง- กงก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าจะให้เหมือนเขาก็ต้องยอมรับเรื่องต้นทุนสูง ดังนั้นตอนนี้ส่วนผสมทุกอย่างนอกจากแป้งเราได้อิมพอร์ตมาจากฮ่องกง และออสเตร-เลีย"

โดยที่เธอและทีมงานจะช่วยเป็นที่ปรึกษาในเรื่องทำเล การตกแต่งร้าน ที่จะต้องใช้สีส้มและสีเหลืองซึ่งเป็นโทนสีหลักของโลโกของร้าน ช่วยในการสั่งซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ของการทำขนม รวมทั้งเป็นผู้ผสมแป้งในการทำขนมส่งให้ลูกค้าแฟรนไชส์ทุกวันด้วย

ในช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดร้านปรากฏว่ายอดขายขนมไข่ไฮโซนี้สูงถึง 800-1,000 ชิ้นต่อวัน จากที่ตั้งเป้าไว้เพียง 4-500 ชิ้นเท่านั้น

"ตอนนี้ขนมหมดนะคะ แต่จองคิวไว้ประมาณ 5 โมงถึงจะได้ค่ะ" ปฏิญญา บอกกับ "ผู้จัดการ" ในบ่ายวันหนึ่ง ต้องมีการรอคิวจริงเพราะขนมไข่ต้องทานร้อนๆ จึงจะอร่อย และที่ฮ่องกงเองก็ต้องรอคิวกันอย่างนี้เพราะอบไม่ทัน

สาเหตุที่ขนมไข่นี้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าในช่วงแรกๆ น่าจะมาจากส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น ลูกค้าส่วนหนึ่งในย่านนี้ล้วนแล้วแต่เป็นบรรดาไฮโซ ที่คุ้นเคยกับการเดินชอปปิ้งที่ฮ่องกง และ รู้จักขนมนี้มาก่อนแล้ว ส่วนคุณต๊อปเองก็เป็นคนที่มีบุคลิกที่สนุกสนานเฮฮา มีเพื่อนฝูงมากมาย การดึงเอาเพื่อนๆ ในวงการบันเทิงมาร่วมถือหุ้น เช่น อานนท์ สายแสงจันทร์ หรือปู แบล็คเฮด สายธาร คีรินท์นนท์ และสุธีร์ สีหอุระกูล มาร่วมถือหุ้น ก็ช่วยสร้างลูกค้าอีกกลุ่มเช่นกัน

หรือแม้แต่การช่วยประโคมข่าวในหน้าสตรีของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ก็ทำให้ยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน

ดังนั้นความสำเร็จในช่วงนี้อาจจะยังไม่ใช่บทพิสูจน์ความสำเร็จที่แท้จริง จนกว่าวันเวลาจะผ่านไปสักระยะหนึ่ง

แต่วันนี้ ปฏิญญาได้ลงมาเป็นแม่ค้าเต็มตัว ไม่น่าเชื่อว่าผู้หญิงที่มีบุคลิกห้าวๆ ลุยๆ อย่างเธอ และคุ้นเคยกับการคุมงาน สั่งงานคนงานผู้ชายในโครงการปัญญากรุ๊ป จะสามารถพูด จาคะขาก็เป็นด้วย หวานสนิทกว่าขนมไข่ ของเธออีกแน่ะ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us