Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
ปฏิบัติการกดปุ่มของคอมแพค             
 


   
search resources

คอมแพค




ปุ่มเล็กๆ บนคีย์บอร์ดของเครื่องเพรสซาริโอ คือ สิ่งที่คอมแพคกำลังปฏิวัติตัวเอง ไปสู่การค้าแบบใหม่ในโลกของอินเทอร์เน็ต

"ในธุรกิจสมัยใหม่เราจะขายเครื่องอย่างเดียวไม่ได้แล้ว" คำกล่าวสั้นๆ ของ ก้องเกียรติ หวังวีระมิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอมแพค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่รับรู้กันทั่วไป และกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในโลกของดอทคอม

พัฒนาการของโลกอินเทอร์เน็ต เป็นแรงขับดันให้เกิดการปฏิวัติเข้าสู่โลกธุรกิจใบใหม่ ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ความเร็วในการตอบสนอง และเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ทันท่วงที และไม่ผิดพลาด คือ สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน

ในแง่ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เองก็เช่นกัน เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นสวนทางกับราคา ที่ลดต่ำลง พวกเขาจึงไม่สามารถ วางบทบาทตัวเองเป็นแค่ผู้ผลิต จากนั้น ก็ตั้งตัวแทนขายเครื่องได้อีกต่อไป แต่ต้องทำตัวเป็นผู้ให้บริการ ผู้ร่วมทุน ในการที่จะนำสินค้า และบริการของพวกเขาแทรกตัวไปในทุกพื้นที่ของธุรกิจ

ปุ่ม 7 ปุ่มด้านบนคีย์บอร์ดของเครื่องคอมแพค รุ่นเพรสซาริโอ ที่ถูกออกแบบมาแตกต่างจากพีซียี่ห้ออื่นๆ นั้น ไม่ใช่แค่การสร้างความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเวลาอันรวดเร็วเท่านั้น แต่พัฒนาจากการ ขายเครื่องไปสู่ธุรกิจ "บริการ" ที่คอมแพคกำลังเรียนรู้อย่างเข้มข้น

การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าจะได้รับบริการง่ายๆ จากปลายนิ้วมือ จะทำให้คอมแพคสามารถเก็บเกี่ยวรายได้จากบรรดาเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างความง่ายในการเข้าถึงเว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งถือเป็นกติกา ที่จำเป็นในโลกของอินเทอร์เน็ต

เว็บไซต์ของไทย ที่เซ็นสัญญาใช้ บริการนี้ของคอมแพค คือ catcha.co. th ที่เป็นบริการ search engine เว็บ ไซต์บันเทิง eotoday.com เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซ thai.com และเว็บไซต์ mweb.co.th ซึ่ง ที่มาของเว็บไซต์ทั้ง 4 ประเภทนี้ มาจากผลวิจัยของคอมแพคทั่วโลก ที่เชื่อว่า เว็บไซต์ ที่มีผู้ชมมากที่สุดจะเป็นเว็บไซต์ 4 ประเภทคือ search engine เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ชอปปิ้ง และกิจกรรม

ลูกค้าในเมืองไทย ที่ซื้อเครื่องคอมแพค รุ่นเพรสซาริโอ ในเวลานี้ จะสามารถเข้าสู่เว็บไซต์ของทั้ง 4 รายนี้ ได้ ด้วยการกดปุ่มด้านบนคีย์บอร์ด และทันที ที่ลูกค้ากดปุ่มใดปุ่มหนึ่งบนคีย์บอร์ด คำสั่งของลูกค้าจะวิ่งไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์ของคอมแพค ที่ตั้งอยู่ ที่เมือง ฮุสตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่ดักจับสัญญาณคำสั่งของลูกค้า จากนั้น จะส่งคำสั่งเหล่านี้ไปยังเว็บไซต์ ที่ถูกโปรแกรมเอาไว้

ทุกครั้ง ที่ลูกค้ากดปุ่มเข้าไปเว็บไซต์เหล่านี้ คอมแพคจะมีรายได้จากบริการนี้ทันที และยังรวมไปถึงกรณี ที่มีการซื้อขายเกิดขึ้น หรือเกิดธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ คอมแพคจะได้รับส่วนแบ่ง ที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็มีกรณี ที่เว็บจะมีการตกลงรายได้ตายตัว ขึ้นอยู่กับข้อตกลงทางธุรกิจ ที่ไม่จำกัด

เช่นเดียวกับสัญญา ที่คอมแพคเซ็นกับบรรดาเจ้าของเว็บไซต์เหล่านี้ไม่ได้จำกัด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมกัน แต่อย่างต่ำ 6 เดือน นั่นหมายความว่า เมื่อเว็บไซต์เหล่านั้น หมดสัญญาลง คอมแพคจะเปิดสำหรับเว็บไซต์รายใหม่ๆ ที่จะเข้ามา หรืออาจจะผูกประจำกับบรรดาเจ้าของเว็บไซต์เหล่านี้

"บริษัทคอมแพคเองเขาบอกผมว่า ในธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เขาให้ผมหาโครงการ เพื่อให้คอมแพคไปร่วมทุนกับบริษัทในประเทศ" ก้องเกียรติกล่าวถึงนโยบาย ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทแม่ ที่จะเป็นการปฏิวัติสู่ธุรกิจแนวใหม่ของคอมแพค ที่ไร้ข้อจำกัดในเรื่องของธุรกิจ

และนี่ก็คือ ที่มาของการเข้าร่วมทุนในโครงการกระเป๋าสตางค์อิเล็ก ทรอนิกส์ หรือ e-purse ที่คอมแพคร่วมทุนกับซีพี เซเว่นอีเลฟเว่น ธนาคาร อีก 3 แห่ง ในการร่วมกันทำโครงการที่ให้ลูกค้าสามารถใช้บัตรเดบิต ที่โหลดเงินจากบัญชีเงินฝาก ในการนำไปซื้อสินค้า และบริการในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น

การเข้าร่วมในโครงการ co-location หรือบริการรับฝาก server กับบริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย ที่ให้ลูกค้า ที่ซื้อเครื่องคอมแพค และไปใช้บริการเหล่านี้กับอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จะได้ในราคาพิเศษ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของธุรกิจในโลกยุคใหม่ ที่ต้องไม่มีคำว่าขอบเขตของธุรกิจ

"โครงการนี้ เราต้องการบอกว่าเราไม่ได้ทำในเรื่องของการสร้างตลาดเพียงอย่างเดียว แต่ทำเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้วย"

การร่วมมือกับผู้ผลิตซอฟต์ แวร์ ไมโครซอฟท์ และออราเคิลในการทำโปรแกรมร่วมกัน เพื่อสนับ สนุนให้กับบรรดาบริษัทดอทคอมเกิดใหม่ หรือการทำโปรแกรมร่วมกัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน จะเป็นเรื่องปกติสำหรับก้าวนับจากนี้

เช่นเดียวกับการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับบริษัทบีอีซีเวิลด์ ที่กำลังบุกเบิกเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ต ก็เป็น ส่วนหนึ่งในโครงการเป้าหมาย ที่ไม่มีข้อจำกัดว่าจะเป็นการร่วมมือในรูปแบบใด

"อย่าเรียกว่าเป็นกี่รูปแบบธุรกิจเลย เรียกว่าไม่มีรูปแบบเลยก็ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขายเทคโนโลยี ให้เช่า ร่วมทุน แบ่งปันผลกำไร หรือแบ่งผลประโยชน์ เราทำได้ทุกอย่าง" และนี่ก็คือ การปฏิวัติของโลก อินเทอร์เน็ต ที่ขอบเขตของธุรกิจไม่ได้อยู่ในนิยามการทำธุรกิจบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายนี้อีกต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us