Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
The Rediscovered Benjamin Graham             
 





Benjamin Graham เอ่ยชื่อของ เบนจามิน เกรแฮม คาดว่านักลงทุนชาวไทยคงไม่รู้จักเลย อาจมีผู้จัดการกองทุนบางท่านในนี้ที่พอคุ้นเคยรู้จักชื่อของเขาอยู่บ้าง แต่ในสหรัฐฯ นั้นเรียกได้ว่าเขาเป็นนักลงทุน เป็นผู้จัดการกองทุน และเป็นผู้วางรากฐานการลงทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์กที่นักลงทุนรุ่นหลังให้การยอมรับนับถือมากที่สุดคนหนึ่ง

จาเน็ท โลว์ เป็นอดีตบรรณาธิการและผู้สื่อข่าวการเงินรุ่นเก๋าคนหนึ่ง เธอเป็นผู้เรียบเรียงคัดเลือกผลงานของเกรแฮมมาตีพิมพ์ใหม่ เธอเคยเขียนหนังสือเรื่อง "เบนจามิน เกรแฮม : ว่าด้วยการลงทุนในมูลค่า" ซึ่งคนอ่านมักถามไถ่ตลอดเวลาว่าเธออ้างอิงหรือใช้อะไรเป็นวัตถุดิบในการเขียน ซึ่งมันก็คือเนื้อหาจากคำบรรยายหรือเลกเชอร์ที่เกรแฮมไปบรรยายที่ นิวยอร์ก อินสติติวท์ ออฟ ไฟแนนซ์ บ้าง การพูดในที่ต่างๆ และบทความที่เกรแฮมเคยเขียนไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ซึ่งคงจะค้นหายากมากและมีหลายชิ้นที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน โดยเฉพาะที่เป็นจดหมายและคำบรรยาย

ผู้ที่นิยมชมชอบแนวคิดการลงทุนของเกรแฮม รวมทั้งผู้ที่ชื่นชอบลูกศิษย์ของเขาคือวอร์เรน บัฟเฟตต์ จะพบว่าเครื่องมือการลงทุนของเกรแฮมไม่ได้มีจำกัดอย่างที่หลายคนคิด เขาเป็นคนแรกๆที่เสนอแนวคิดเรื่องอินเด็กซ์ฟันด์ เรื่อง arbitrage และยังมีวิธีการลงทุนอีกหลากหลายรูปแบบซึ่งจะมีปรากฏในหนังสือเล่มนี้ มีผู้อ่านบางท่านให้ความเห็นว่า"ยิ่งผมอ่านงานของเกรแฮมมากเท่าใด ผมก็ยิ่งเข้าใจว่าทำไมบัฟเฟตต์จึงชอบเขาเสียนัก ผมหวังว่าผู้อ่านท่านอื่นๆ คงจะมีความรู้สึก เช่นเดียวกับผม"

แนวคิดในเรื่องการวิเคราะห์หลักทรัพย์ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการลงทุนในมูลค่า เหล่านี้อาจเป็นเรื่องธรรมดาของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ทั่วไปในปัจจุบัน แต่ใครจะรู้ว่าแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของการลงทุนเหล่านี้มีที่มาจากเกรแฮม ก่อนหน้าเกรแฮมการ วิเคราะห์หลักทรัพย์ไม่ถือว่าเป็นวิชาชีพ เกรแฮมเป็นผู้เรียกร้องให้มีหลักสูตรนี้ขึ้นซึ่งในที่สุดก็มีการออกแบบมาเป็น Chartered Financial Analyst หรือ CFA ที่เหล่านักเรียน MBA และผู้ที่ทำงานในแผนกวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั้งหลายต้องไขว่คว้าสอบเอาใบประกาศ CFA มาห้อยท้ายในนามบัตรให้ได้

เกรแฮมจะพูดสอนให้คนลงทุนซื้อหุ้นบริษัทในราคาที่มีส่วนลดมากๆ โดยให้ดูปัจจัยต่างๆ เช่น มูลค่าหุ้นตามราคาบัญชี สัดส่วนเงินปันผล และ สัดส่วนราคาหุ้นต่อรายได้หรือ พีอีเรโช ทั้งนี้ โลว์กล่าวไว้ในบทนำว่า "เกรแฮมยังคงเป็นปราชญ์ด้านการลงทุนที่มีผู้ติดตามแนวทางของเขามากที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษนี้"

"ยิ่งผู้อ่านศึกษาหลักการการลงทุนในมูลค่ามากเท่าใด ก็ยิ่งจะมีความภักดีในแนวคิดของเกรแฮมมากเท่านั้น"

ดูเหมือนผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ต่างมีความเห็นสอดคล้องต้องกันในประเด็น นี้

โลว์เริ่มต้นอารัมภบทหนังสือของเธอว่า"เมื่อวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกได้มีโอกาสให้คำแนะนำด้านการลงทุนแก่บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คำแนะนำนั้นก็คือข้อความเดียวกันที่บัฟเฟตต์พร่ำพูดมาหลายปีดีดักให้กับใครก็ตามที่อยากจะฟังเขาพูด นั่นก็คือ ให้อ่านงานของเบนจามิน เกรแฮม บัฟเฟตต์เป็นคนแรกที่ยอมรับว่าเขาเริ่มต้นการลงทุนจากคำแนะนำของเกรแฮม คำสอนของเกรแฮม โดยเขาเอามาขยายและเพิ่มเติมเป็นแนวทางของเขาเอง บัฟเฟตต์ยืนยันว่าเบนจามิน เกรแฮม ซึ่งเป็นบิดาแห่งการลงทุนในมูลค่า ถือเป็นจุดที่ดีที่นักลงทุนควรจะเริ่มต้น และงานชิ้นคลาสสิกที่บัฟเฟตต์แนะนำให้อ่านก็คือเรื่อง The Intelligent Investor"

เกรแฮมเสียชีวิตเมื่อปี 1976 เขามีงานเขียนเป็นหนังสือเล่มเรื่องการลงทุนรวม 5 เล่ม และมีบทความ คำบรรยาย และบทความในนิตยสารต่างๆ อีกจำนวนมาก บทความของเขามีอิทธิ พลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นครั้งสำคัญๆ ด้วย อย่างน้อยก็สองครั้งคือหลังตลาดหุ้นตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 1929 และหลังช่วงภาวะตลาดหมีที่ยาวนานในทศวรรษ 1970 คำบรรยายของเขาเป็น แนวทางและแรงบันดาลใจให้แก่มืออาชีพในวอลล์สตรีทมาอย่างน้อยก็กว่าครึ่งศตวรรษ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us