Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
เอดีเวนเจอร์+ดาต้าแมท ส่วนผสมที่ยังไม่ลงตัว             
 


   
search resources

ดาต้าแมท, บมจ.
เอดีเวนเจอร์




แม้จะเป็นการปรับตัวสู่พื้นฐานธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่เป็นจริง แต่อนาคตของการร่วมมือของทั้งสอง จะพัฒนามากกว่านี้หรือไม่ ยังเป็นคำถาม ที่ยังไม่มีคำตอบ

ถึงแม้ว่า ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเอดีเวนเจอร์ และดาต้าแมทจะอยู่ในรูปของการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ หรือ business alliance จะไปไม่ถึงขั้นร่วมลงทุน joint venture ก็ตาม แต่เป็นบทสะท้อนของการปรับตัวธุรกิจดอทคอม ที่ต้องเข้าสู่พื้นฐานของธุรกิจ ที่เป็นจริง

ธุรกิจอินเทอร์เน็ตต้องเข้าสู่พื้นฐาน (fundamental) คำว่า "ซื้อเว็บ" ไม่น่าจะมีอีกแล้วในธุรกิจอินเทอร์เน็ต ถึงแม้จะสร้าง hit rateเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็หาเงินเลี้ยงโปรแกรมเมอร์กับเว็บมาสเตอร์ไม่ได้ ทำแอพพลิเคชั่น และบริการ ให้ full scale น่าจะได้เงินมากกว่า" คำกล่าวของจุไรรัตน์ อุณหกะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอดีเวนเจอร์ จำกัด

เอดีเวนเจอร์ ต้องผ่านบทเรียนมาไม่น้อย จากการเริ่มต้นธุรกิจจัดตั้งเป็นกองทุนนวัตกรรรม กว้านซื้อเว็บไซต์ เพื่อหาสมองใหม่ๆ บุกเบิกเข้าสู่ธุรกิจเว็บไซต์ท่า portal web ตามกระแสของ อินเทอร์เน็ตของเมืองไทยเวลานั้น

แต่หลังจากผ่านการลองผิดลองถูก มา 1 ปีเต็ม เอดีเวนเจอร์ ก็เริ่มรู้แล้วว่า การทุ่มซื้อเว็บไซต์จำนวนมากๆ นำมาพัฒนาใหม่ ต้องสร้างทีมงานอัดฉีด โปรโมชั่น และทุ่มเรื่องการตลาด เพื่อสร้างชื่อเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ลำพังรายได้ค่าโฆษณาจากแบนเนอร์ ยังเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับตลาดเมืองไทย ที่ยังถูกจำกัดด้วยจำนวนผู้ใช้ ที่มีอยู่แค่ 8-9 แสน ราย ย่อมไม่ใช่คำตอบของธุรกิจที่ดี

รายได้จากโฆษณาบนเว็บไซต์ทั้งหมดของชินนี่ นับตั้งแต่วันเปิดบริการ จนถึงเวลานี้ จุไรรัตน์เปิดเผยว่า ทำมาได้ 5 ล้านบาท มาจากเว็บไซต์ของ hunsa. com เป็นหลัก รายได้นี้เทียบไม่ได้กับสัดส่วนการลงทุน ที่ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

การตัดสินใจยุบกองทุนนวัต กรรม และจ่ายชดเชยเงินให้กับเว็บไซต์ ที่ยกเลิกการลงทุนไป นำเว็บไซต์ ที่เหลือมารวมอยู่ในชื่อของ shinee เว็บไซต์เดียว เพื่อลดค่าใช้จ่ายการตลาด ขณะเดียวกัน เอดีเวนเจอร์ก็หันมาบุกเบิกธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ โดยเฉพาะตลาดทางด้าน business to business หรือ บีทูบี ที่ประเมินกันว่า เป็นธุรกิจ ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดสำหรับเมืองไทยเวลานี้คือ การปรับตัว ที่ชัดเจนที่สุด

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ธุรกิจบริการด้านบีทูบี ไม่เหมือนกับลูกค้าทั่วไป ลูกค้าองค์กรต้องการบริการที่เป็น มืออาชีพ จำเป็นต้องมีทีมงาน ที่มีประ สบการณ์ด้านไอที ผ่านงานด้านบริการ ดูแลรักษาระบบ มีโปรแกรมเมอร์ ที่สามารถสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ที่มีอย่างต่อเนื่อง

ทีมงานส่วนใหญ่ของเอดีเวนเจอร์ นั้น ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมารองรับกับธุรกิจเหล่านี้ ถึงแม้จะมีโครงการ joinware เพื่อสร้างโปรแกรมเมอร์ใหม่ๆ แต่เป็นโครงการที่เพิ่งเริ่มต้นกว่าจะผลิตบุคลากรได้ ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปี ไม่ทันกับความต้องการ การจับมือกับดาต้าแมท ก็ด้วยเหตุผลเหล่านี้

"เอดีเวนเจอร์ถนัดเรื่อง content แต่เราไม่ถนัด ที่ต้อง customize จะเห็นว่า ลูกค้าหลุดไปเยอะมาก เราไม่มีแรงพอจะสร้างซอฟต์แวร์ในการจัดการให้ลูกค้า และเราคงไม่สร้างทีมเอง ซึ่งดาต้า แมทจะมาช่วยเราในเรื่องเหล่านี้" จุไรรัตน์กล่าว

ดาต้าแมท คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจคอมพิวเตอร์มานาน โดยเฉพาะในธุรกิจการเป็นผู้วางระบบ system integrator หรือเอสไอ มีลูกค้าหลักเป็นสถาบันการเงิน หลายปีมานี้ดาต้าแมทหันมาพัฒนาในเรื่องของบุคลากรให้มาเรียนรู้ในเรื่องของ web bases เทคโนโลยี เพื่อสู่ธุรกิจ ด้านอี-คอมเมิร์ซ แต่ปัญหาของดาต้าแมท คือ การขาดแคลนเงินทุนในพัฒนา

"ธุรกิจอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องของรายย่อย แต่เป็นเรื่องการลงทุนขององค์กรขนาดใหญ่ ที่มีเงินทุน และนี่ก็คือ เหตุผลที่เรามาร่วมมือกับเอดีเวนเจอร์" มนู อรดีดลเชษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัทดาต้าแมท บอกเหตุผล

อันที่จริงแล้ว การตกลงระหว่างเอดีเวนเจอร์ และดาต้าแมท ไม่ได้อยู่ แค่ร่วมมือทางธุรกิจ (business al-liance) ที่ต่างฝ่ายต่างนำเอาบริการที่มีอยู่มาร่วมกันทำตลาดลูกค้าประเภท SME เท่านั้น แต่เป้าหมายของทั้งสอง คือ การร่วมทุนกันในบริษัทดาต้าลายไทย บริษัทไอเอสพีในเครือของดาต้าแมท ซึ่งจะเป็นรากฐานของการไปสู่ธุรกิจบริการดาต้าเซ็นเตอร์ และบริการลูกค้าสัมพันธ์ (customer relation ma-nagement) ที่เป็นเป้าหมายสำคัญของทั้งสอง

การลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ จำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก การลงทุนของบริการนี้เปรียบแล้วก็เหมือนกับการสร้างอสังหาริมทรัพย์ ต้องลงทุนฮาร์ด แวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้ลูกค้าองค์กรมาเช่าใช้อินเทอร์เน็ตครบวงจร ตั้งแต่บริการ access ให้เช่าพื้นที่ รับฝาก server บริการด้านเครือข่าย ข้อตกลงเบื้องต้นของทั้งสอง ก็คือ เอดีเวนเจอร์จะเข้าไปซื้อหุ้น และลงุทนในบริษัทดาต้า ลายไทย

แต่หุ้นส่วนใหญ่ของดาต้าลายไทยเวลานี้ ไม่ได้เป็นการลงทุนจากดาต้าแมทโดยตรง แต่ลงทุนผ่านบริษัทไซเบอร์เวนเจอร์ และหุ้นใหญ่ของบริษัทแห่งนี้ก็เป็นของนักลงทุนกลุ่มวินัย พงศธร เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ถือหุ้นอยู่ 80% ในขณะที่ดาต้าแมทถืออยู่เพียงแค่ 20%

ข้อตกลงเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องของดาต้าแมท แต่เป็นการเจรจาระหว่างไซเบอร์เวนเจอร์ และชินคอร์ปอเรชั่น ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ชินเองก็มี ซีเอสอินเทอร์เน็ต ที่เป็นไอเอสพีอยู่แล้ว และอีกไม่นานอินเทอร์ เน็ตกำลังจะเปิดเสรี นั่นหมายความว่าไอเอสพีรายใหม่ๆ ก็ไม่ต้องมีเงื่อนไขในเรื่องหุ้นลมให้กับการสื่อสารฯ

และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ส่วนผสมระหว่างเอดีเวนเจอร์ และดาต้าแมทอาจจะไม่สามารถบรรลุสู่เป้าหมายสูงสุดได้ ถึงแม้ว่าส่วนผสม ของทั้งสองจะเข้ากันได้ก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us