ภาระหนี้โดยรวมของไทยออยล์มีจำนวน 2,170 ล้านเหรียญสหรัฐ มีรายละเอียดของเจ้าหนี้ดังนี้คือ
เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินญี่ปุ่น 41% วงเงิน 883 ล้านเหรียญสหรัฐ
" ไทย 19% " 409 "
" ยุโรป 11% " 230
" อเมริกา 3% " 75 "
" ประเทศอื่นๆ5% " 107 "
FRN(Floating Rate Note) 9% " 200 "
ดอกเบี้ยค้างจ่าย 6% " 125 "
หนี้ทางการค้า 6% " 140 "
หลังจากที่แผนการปรับโครงสร้างหนี้ของไทยออยล์ผ่านการอนุมัติจากครม.เมื่อ
23 สิงหาคม 2542 นั้น ปรากฏว่าได้มีเสียงไม่พอใจเกิดขึ้นมาในหมู่เจ้าหนี้
โดยเฉพาะเจ้าหนี้สถาบันการเงินญี่ปุ่น ที่ครองมูลหนี้สูงที่สุด ประเด็นที่ไม่พอใจมากคือเรื่องการลดมูลหนี้ลง
(haircut) ประมาณ 20% และการแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งในประเด็นนี้ปตท.และจุลจิตต์ได้พยายามเจรจากัเจ้าหนี้ญี่ปุ่นเพื่อหาทางออก
จุลจิตต์เล่าว่าเขาเข้าใจว่าแบงก์ญี่ปุ่นก็ประสบปัญหาภายในของตัวเองรุนแรงมากตอนที่เขาไปเจรจากับเจ้าหนี้ญี่ปุ่นที่โตเกียวนั้น
เขาทราบดีในตอนกลับมาว่าเขาต้องหาทางแก้ปัญหาให้เจ้าหนี้ญี่ปุ่น หรือหาทางออกไว้รอท่าในการเจรจารอบต่อๆ
ไป
สิ่งที่จุลจิตต์คิดไว้คือ"เราต้องหาคนมาซื้อหุ้นของเขาออกไป โดยที่เราต้องหาพันธมิตรร่วมทุนมา
หรือ strategic partner ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร และมันต้องใช้เวลา
อันที่ 2 ก็เป็นไปได้ที่เราจะควบรวมกิจการ ซึ่งอยู่ในแผนที่เราเสนอเข้าครม.ไป
คือควบรวมกับทางฝ่ายมาร์เก็ตติ้ง หรือ oil retail ที่คุณประเสริฐ ดูแลอย
เป็นบริษัทเดียวกันเมื่อควบรวมเสร็จก็แยกออกมา และอาจจะเข้าจดทะเบียนในตลาดได้
เขา (เจ้าหนี้ญี่ปุ่น) ก็อาจ จะขายผ่านตลาดได้ แต่จริงๆ แล้วตามแผนนี้ คือถึงแม้จะมีแผนอยู่แล้ว
เราไม่รู้ว่าแผนนี้จะถูกนำมาใช้ล่วงหน้าหรือเปล่าะแต่เพราะว่าแผน ปตท. ในการควบรวมมีอยู่แล้วะแต่จะเกิดหลังจากที่ปตท.แม่แปรรูปเข้าตลาดเสีย
ก่อน คือตอนนี้เรามีกฎหมายเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นทุน ที่เรียกว่า corpor-atization
act หรือ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการตีความในศาลรัฐธรรมนูญหากมันไม่เกิดปัญหา
ปตท.ตั้งใจแปรรูปกลางปีหน้า หากมันเป็นอย่างนั้น พอแม่แปรรูปเสร็จ
ลูกที่มารวมกันก็ออกตลาดได้ หากมันเป็นอย่างนั้น แบงก์ญี่ปุ่นที่ถือเราอยู่อาจจะ
swap หุ้นกับแม่ได้ ตีราคาออกมา แล้วขายผ่านตลาดไป แต่ว่าหากลูกออกก่อนก็ขายผ่านตลาดไปตรงๆ
เลยเราเห็นว่ามันมีกระบวนการทางออกหรือ exit ได้หลายแบบ"
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการแปลงหนี้เป็นทุนของเจ้าหนี้ญี่ปุ่น ที่แม้ว่าจะมีจำนวนสูง
จริงแล้วไทยออยล์ก็มี sub debt หรือหนี้ด้อยสิทธิ์อยู่ 200 ล้านเหรียญที่อาจต้องมีการ
haircut ตัวนี้ก่อน แล้วก็แปลงเอา sub debt เข้าไปก่อน ซึ่ง sub debt นี่ปกติไม่สามารถเรียกร้องได้
ไม่เหมือน senior debt หรือหนี้ประธาน ทีนี้ก็มีดอกเบี้ยที่ไทยออยล์ไม่ได้
accrued มาตั้งแต่หยุดพักชำระหนี้ ถึงก.ย.นี่ก็ประมาณ 190 กว่าล้านเหรียญ
ก็อาจจะเอาตัวนี้ convert เข้าไปด้วย
"ดังนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ ตัว principle ของ senior debt ที่ญี่ปุ่น
กลัวกันนี่ ก็อาจจะแตะน้อยมาก ท้ายที่สุดอาจจะเหลือประมาณ 40-50 ล้านเหรียญเท่านั้น
หาก share กันหลายแบงก์มันก็ค่อยยังชั่ว คือเราก็พยายามลดปัญหาของเขาให้เหลือน้อยที่สุด
เมื่อก่อนเขากลัวกันในเรื่องที่จะ convert principle เป็นทุน ตอนนี้เราก็มาหาทางแก้
นี่คือกลับจากญี่ปุ่น มาแล้วเราก็มาหาทางแก้ประเด็นนี้"
สิ่งที่จุลจิตต์พยายามดูถัดไปคือการพยายามคุยกับนายธนาคารฝ่ายไทย เขากล่าวว่า
"พูดได้เลยว่า scheme ที่เราเสนอให้ครม.อนุมัตินี่ เจ้าหนี้ที่เป็นแบงก์ไทยค่อนข้างจะพอใจในกรอบ
แต่ว่าโดยมารยาท แม้จะพอใจก็ไม่สามารถพูดอะไรได้มาก เพราะว่าหนี้ของเจ้าหนี้ไทยประมาณ
400 ล้านเหรียญเท่านั้น เราก็ไปติดต่อไทยแบงก์ว่าเป็นไปได้ไหมว่าสัดส่วนในการแปลงหนี้เป็นทุนของไทย
แบงก์นี่จะมากกว่าญี่ปุ่นสักหน่อยซึ่งไทยแบงก์ก็ยินดีจะรับไว้พิจารณา
คือต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ามันไม่มีคำว่าตกลงหรอกในภาษาของแบงก์นี่ เราจะเจอว่า
มีเหตุมีผล reasonable frame- work, willing to consider จะไม่มีการตกลง
จนกว่าจะถึงวันสุดท้าย นี่เป็นลักษณะดีลทุกอัน"
ทั้งนี้หมายความว่าไทยแบงก์จะยอมพิจารณาแปลงหนี้เป็นทุนในสัดส่วนที่มากกว่า
แต่ว่าสัดส่วนที่ว่านี่เหลือน้อยแล้ว senior debt นี่ไม่เกิน 50 ล้านเหรียญ
โดยสรุปคือ swap ดอกเบี้ยกับตัวหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
หลังปรับโครงสร้างทุนเรียบร้อย ไทยออยล์จะมีทุนจดทะเบียนประมาณ 700
ล้านเหรียญสหรัฐ และจะทำให้มีอัตราส่วนหนี้ต่อทุนประมาณ 1.2:1 หรือใกล้ๆ
1:1 ซึ่งจะถือว่าเป็นบริษัทที่แข็งแรงมาก
ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นก็จะเปลี่ยน แบงก์ที่เป็นเจ้าหนี้ หากมีการแปลงหนี้เป็นทุน
ก็จะถือหุ้นเท่ากับปตท.คือ 49.99% ซึ่งกลุ่มแบงก์เจ้าหนี้คาดว่าคงไปร่วมกันจัดตั้งเป็นบริษัทเข้ามาถือหุ้น
คงมีกรรมการเข้ามา "แต่ผมคิดว่าเขาอยากจะเห็นทางปตท.เสนอวิธีexitให้แก่เขาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นเพราะมันไม่ใช่ธุรกิจของเขาเขาไม่อยากจะยุ่ง
"นั่นเป็นความเห็นของจุลจิตต์ต่อกลุ่มเจ้าหนี้
จุลจิตต์ไม่หนักใจในเรื่องเจ้าหนี้สักเท่าใด โดยเฉพาะข่าวที่ออกมาว่ากลุ่มเจ้าหนี้ไม่เห็นสอดคล้องกัน
"ผมเคยบอกแล้วว่าเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าจะทางยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียและเจ้าหนี้อื่นๆนี่เขาบอกว่าข้อเสนอของเรามีเหตุผลเขาพูดแค่นี้ผมก็แฮปปี้แล้วส่วนญี่ปุ่นเขาต่อว่าเราใน2-3
ประ เด็นว่าเขาทำไม่ได้มาขอ swap เขายืดหนี้ได้อย่างเดียว
ดอกเบี้ยมาขอลด เขาก็ต่อว่าซึ่งหากเขาไม่ต่อว่าซิผมประหลาดใจ"
จุลจิตต์คุ้นเคยกับวัฒนธรรมการทำธุรกิจของชาวญี่ปุ่นดี เพราะเขาร่วมงานกับนักลงทุนญี่ปุ่นมานาน
ตลอดอายุการทำงานของเขาก็ว่าได้ "ผมทำงานกับญี่ปุ่นมา 30 กว่าปีพวกผู้รับเหมาทั้งหมดเราใช้ญี่ปุ่นหมดเพราะว่า
หนึ่งราคามันต่ำสุด และสองเรา bid แบบ turn key ทำเสร็จแล้ว มีหลักการการทำงานดีมาก
มันก็ช่วยไม่ได้ที่เขาจะได้งาน เราก็ชินกับการเจรจากับพวกผู้รับเหมา หรือแม้แต่ที่เรากู้เงินในอดีตมา
200 กว่าล้านเหรียญ สมัยท่านเกษมจาติกวณิชอยู่ที่ Bank of Tokyo เป็น lender
ใหญ่ก็เจรจาทุบโต๊ะกันมาประเภทที่ว่า take it or leave it กันเลยคืออันนี้เป็นคล้ายวัฒนธรรมทางธุรกิจของญี่ปุ่นที่เรียกว่าคาบูกิ"
จุลจิตต์เล่าว่า"คนที่สอนธุรกิจทางด้านญี่ปุ่นให้ผม คือคุณพีรศิลป์
ศุภผลศิริ ประธานไทยธนาคาร เมื่อก่อนเป็นลูกน้องผม ทำงานเรื่องกู้เงินกู้ทองสมัยโน้นมาด้วยกันแกบอกว่าญี่ปุ่นนี่หากเราชักซามูไรออกมาแล้วต้องฟันนะ
ไม่งั้นก็อย่าไปชักก็ทำงานไปคุยกันไป nurse กันไปพบกันไป"
ด้วยเหตุที่คุ้นชินกับวัฒนธรรมธุรกิจของญี่ปุ่น จุลจิตต์จึงไม่กังวลใจในเรื่องที่มีนายธนาคารญี่ปุ่นออกมากล่าวว่าไม่พอใจในแผนปรับโครงสร้าง
หนี้ของไทยออยล์เพราะเบื้องหลังทั้งตัวเขาและรมต.สุวัจน์ลิปตพัลลภ
ซึ่งดูแลกระทรวงอุตสาหกรรม ต่างก็พบปะเจรจากับเจ้าหนี้แบงก์ญี่ปุ่นอยู่ตลอดเวลา
"คือข้างหลังผมก็แอบคุยกับแบงก์ประธานแบงก์คนโน้นคนนี้ รมต. ท่านก็คุย
แต่ว่าเอ่ยไม่ได้ว่าแบงก์ไหน คือถ้าไม่มีการคุยกัน มันก็คงตกลงกันไม่ได้
ไม่ยอม แต่ถ้าถึงจุดที่ผู้ใหญ่ๆ มานั่งคุยกัน มันเป็นแนวทางที่เห็นชัดว่ามันคงจบ
แต่ว่าก่อนจะจบมันก็คงจะต่อรองกันระเบิดเลย เวลายาวไป ดอกเบี้ยไม่ได้ มันต้องมีการต่อรองกันมาก
ทำอย่างไรควบรวมให้เห็นชัดเจน exit ได้ไหม ให้เห็นชัดเจนเป็นต้น
แต่พวกนี้เราไม่ค่อยห่วง เพราะว่าในแง่ของเรา framework ที่ออกมาจาก
ครม.นี่จบแล้วถ้าถามว่างานปรับโครงสร้างหนี้นายจุลจิตต์ทำจบแล้วยัง
ผมจบแล้วนะ ผมคิดว่าผมจบแล้วนะ ผมทำมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว
ในแง่ขององค์กรบริษัท ในแง่ของรัฐบาลให้การสนับสนุนนี่ผมมีดีลมากองบนโต๊ะเรียบร้อยแล้ว
ที่เหลือนั้นเป็นการเจรจาต่อรองเล็กๆน้อยๆและ
มันต้องเกิดขึ้นอยู่ดีเหมือนกับว่าวันนี้ผมมี
letter of intent แล้ว ผมจบแล้ว ผมก็ทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว"
จุลจิตต์คิดว่าภารกิจเบื้องต้นในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ไทยออยล์
เวลานี้เขาทำจบแล้ว
"mission อันสุดท้ายของผม คือให้แผนผ่านเจ้าหนี้" จุลจิตต์กล่าว