ชาวเยอรมัน เป็นชาติแรกที่พยายามจะค้นคว้าหาแหล่งอาหารชนิดใหม่ทดแทนการขาดแคลนอาหาร
โดยเริ่มสนใจการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ปัญหาการขาดแคลนอาหารของเยอรมนีในยุคนั้นรุนแรง ถึงขนาดว่าต้องเอาอาหารสัตว์มาเปลี่ยนเป็นอาหารคน
และนักวิทยาศาสตร์เยอรมัน พุ่งเป้าวิจัยยีสต์ชนิดที่กินได้ และสาหร่ายสีเขียวคลอเรลลา
ในยุคนั้น การทดลองพบว่ายีสต์แบ่งตัวได้เร็วมีคุณค่าโปรตีนสูง แต่ต้องใช้สารอินทรีย์เช่น
น้ำตาลเป็นอาหาร ขณะที่สาหร่ายคลอเรลลา แบ่งตัวช้ากว่า ทว่า ต้องการเพียง
อากาศ น้ำ และแสงแดด เท่านั้น
ซึ่งในเชิงอุตสาหกรรมแล้ว การเพาะเลี้ยงสาหร่ายจะ เหนือกว่าการเพาะเลี้ยงยีสต์
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 วงการวิทยาศาสตร์ของโลกเริ่มสนใจที่จะค้นคว้าแหล่งอาหารจากสาหร่าย
คลอเรลลา โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้สาหร่ายทะเลเป็น อาหารมานานแล้ว
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาวะการขาดแคลนอาหารเริ่มปะทุขึ้นอีกครั้งอย่างชัดเจน
ทั้งฟากยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นให้ความสนใจการเพาะเลี้ยงอาหารจากสาหร่ายขนาดเล็กเพิ่มขึ้น
แต่มาเป็นรูปร่างแท้จริงในช่วงหลังสงคราม แล้ว
ช่วงนั้นยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์จากค่ายใดที่รู้จัก สาหร่าย Spiruling หรือสาหร่ายเกลียวทองเลย
รู้จักกันแต่เพียงสาหร่ายคลอเรลลา ซึ่งเป็นสาหร่ายขนาดเล็กมากชนิดหนึ่งเท่านั้น
แม้ว่า ภาวะการขาดแคลนอาหารของโลกจะดีขึ้นมาแล้ว แต่วงการวิทยาศาสตร์ก็ยังพยายามจะค้นคว้าเรื่องดังกล่าวต่อไป
โดยเฉพาะอเมริกา กับ รัสเซีย ซึ่งมีความคิดจะใช้สาหร่ายเป็นอาหารในอวกาศ
และในระยะหลังนี่เองที่เริ่มมีแนวคิดใช้สาหร่ายในวงการสุขภาพ
พ.ศ.2500 เป็นช่วงเวลาที่โลกได้ค้นพบสาหร่ายตัว ใหม่ คือสาหร่ายเกลียวทอง
ซึ่งดีกว่า คลอเรลลาทั้งในด้านคุณสมบัติ และการเพาะเลี้ยง
พวกเขาพบว่า ในทางธรรมชาติสาหร่ายเกลียวทองถูก ใช้เป็นอาหารในทวีปแอฟริกามานานแล้ว
เพราะเป็นสาหร่ายที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ความหนาแน่นของมันทำให้ชนเผ่าพื้นเมืองใช้ภาชนะตัก
หรือนำมาทำให้แห้งเพื่อเป็นอาหาร เลี้ยงชีวิตของทวีปที่ขาดแคลนอาหารอย่างหนักแห่งนี้
เม็กซิโก ซึ่งเป็นแหล่งสาหร่ายเกลียวทองทางธรรมชาติ ประเทศหนึ่ง ถือเป็นประเทศแรกที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายในเชิงอุตสาหกรรม
ซึ่งหากมองว่าได้มาโดยบังเอิญก็ได้ เมื่อบริษัท ผลิตโซดาแห่งหนึ่งพบสาหร่ายในแหล่งน้ำวัตถุดิบ
ต่อมามีการ วิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง จนองค์การอาหารและยาของเม็กซิโก ให้การยอมรับในพ.ศ.2516
ในวงการวิทยาศาสตร์โลก นำเรื่องการค้นพบและการศึกษาเรื่องสาหร่ายชนิดนี้เข้าที่ประชุมระหว่างชาติ
เรื่อง จุลชีววิทยาประยุกต์เมื่อพ.ศ.2510 ที่ประเทศเอธิโอเปีย และพบว่า นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่พบสาหร่ายนี้เป็นคนแรก
คือ ชาวเยอรมัน ชื่อ เดอเบน ในพ.ศ. 2370 แต่กลับมีคนให้ ความสนใจมันอย่างจริงในพ.ศ.2500
ล่วงมาแล้ว
ประเทศฝรั่งเศส นับเป็นชาติแรกๆ อีกชาติหนึ่งที่วิจัย เรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังเพื่อนำมาทำเป็นอุตสาหกรรมอาหาร
โดยเริ่มเมื่อพ.ศ.2506 โดยศ. คลีเมนต์ แห่งสถาบันวิจัยสัตว์ น้ำฝรั่งเศส
สำหรับญี่ปุ่น ได้เริ่มนำสาหร่ายจากเอธิโอเปียมาวิจัย ในพ.ศ.2511 หลังจากนั้นได้นำผลการวิจัยให้บริษัท
เกรท-เธอร์ เจแปน เคมิคัล อิงค์ อินดัสตรี ในอีก 2 ปีต่อมา และพบ ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศในเอเชียที่มีความเหมาะสมต่อการ
เจริญเติบโตของสาหร่ายเกลียวทอง
เกรทเธอร์ เจแปนฯ ตั้งบริษัทลูกในประเทศไทย ชื่อว่า บริษัทสยามแอลจี
ในพ.ศ.2519 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ส่งกลับไปญี่ปุ่น
ในชื่อว่า อาหารสุขภาพลีนากรีน และ ไฮลีนา มีกำลังการผลิตปีละ 100 ตัน
จะเห็นว่า โนว์ฮาวในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ในรูปอุตสาหกรรมนั้นเพิ่งจะมีการพัฒนาขึ้นมาในไม่กี่สิบปีหลังมานี้
สำหรับประเทศไทยเริ่มจะรู้จักสาหร่ายชนิดนี้ และเริ่มศึกษาวิจัยในช่วงพ.ศ.2530
จนสามารถมีฟาร์มสาหร่าย ของ ไทยเองในช่วง 10 ปีหลังมานี้เอง