สาหร่ายเกลียวทอง เป็นสินค้าสาหร่ายอัดเม็ดแบรนด์ไทยที่ใช้เวลาร่วม 10 ปี
เพื่อทำให้เป็นที่รู้จักในท้องตลาด ซึ่งเป็นปกติของสินค้ากลุ่มอาหารเสริมโดยรวมที่เพิ่งจะมาบูมเอาในช่วง
4-5 ปีหลังนี่เอง และส่วนใหญ่ของสินค้าใน กลุ่มนี้เป็นสินค้านำเข้าแทบทั้งสิ้น
สำหรับสาหร่ายเกลียวทอง พวก เขาเพิ่งผ่านพ้นช่วงเวลาของการบุกเบิก เข้ามาสู่ระยะของการเก็บเกี่ยว
โดยเริ่มมีการสั่งซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งถือเป็นแหล่งที่มีการบริโภคอาหารชนิด
นี้มากที่สุดแห่งหนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้น องค์การเภสัชกรรมกำลังอยู่ระหว่างการ
เจรจาสั่งผลิตอาหารเสริมชนิดนี้เพื่อจำหน่ายภายใต้ชื่อ Aminos-18
สมชาย และ เจียมจิตต์ บุญสม สองสามีภรรยาตัดสินใจทำธุรกิจสาหร่าย
อาหารเสริมนั้น พวกเขามีความรู้เบื้องต้น เฉพาะว่า สาหร่ายเกลียวทอง สายพันธุ์
Spirulina Platensis สามารถจะเพาะขยายเพื่อนำมาเป็นผลผลิตได้ ไม่มีโนว์-ฮาวในส่วนของกระบวนการเลี้ยงเพาะขยายในเชิงอุตสาหกรรม
ทั้งไม่มีความรู้ เรื่องการตลาดที่เป็นธุรกิจจริงๆ เขาทั้งสองมีเพียงความมั่นใจว่า
สาหร่ายของไทยจะเป็นอาหารให้มนุษย์ได้เช่นเดียวกับที่ต่างชาติทำสำเร็จมาแล้ว
ในเวลานั้น เจียมจิตต์ รับราชการ เป็นนักวิชาการอยู่ที่กรมประมง จึงมีโอกาสได้รับทุนจาก
FAO และอีกหลาย ทุนต่อเนื่องกันเช่น USAID และสถาบัน วิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อให้ทำวิจัยสาหร่ายพันธุ์ไทย
ในระหว่างพ.ศ.2530-32 และทำให้พบว่าประเทศไทยมีสาหร่ายชนิดหนึ่งที่เป็นสายพันธุ์เฉพาะสามารถนำมาเป็นอาหารได้
ขณะที่สมชายเป็นวิศวกร ประจำการประปานครหลวง เขามีฐานความรู้เรื่องน้ำและระบบการควบคุมน้ำเป็นอย่างดี
ปัจจุบันสมชายอายุย่าง 61 ปี ส่วนเจียมจิตต์ยังรับราชการเป็นประมงจังหวัดลำพูน
มีพนักงานในฟาร์มและการตลาดประมาณ 30 คนเท่านั้น
นั่นก็คือ พวกเขามีฐานความรู้จาก การวิจัยเท่านั้น แต่สิ่งที่เขาต้องทำคือการ
เริ่มต้นอุตสาหกรรมแบบฟาร์ม !
ช่วงเริ่มต้นผ่านไปไม่นาน พวกเขา รู้ว่า การผลักดันให้สาหร่ายเป็นผลผลิตออกมาเพื่อจำหน่ายในเชิงธุรกิจไม่ได้ง่าย
ดายอย่างที่คิดฝันในตอนต้น เพราะในช่วงเวลานั้น ประเทศที่เป็นเจ้าแห่งอาหาร
เสริมสาหร่ายอย่างญี่ปุ่นก็เพิ่งจะค้นพบความลับของสาหร่าย
เกลียวทองได้ประมาณ 10 ปี อีกทั้ง โนว์ฮาวในการเพาะเลี้ยงได้ถูกปิดเป็นความลับ
สมชายเล่าว่า ตอนที่ภรรยาได้ รับทุนให้วิจัยสาหร่ายพันธุ์ไทยนั้น ได้พยายามจะรวบรวมข้อมูลเรื่องดังกล่าวจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะจากญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นยักษ์ใหญ่ในการผลิตและบริโภค อาหารชนิดนี้
และมาพบว่า มีบริษัทยักษ์ ใหญ่ของญี่ปุ่นแห่งหนึ่งคือ Siam Algae มาตั้งโรงงานที่สมุทรปราการ
เพื่อเพาะสาหร่ายส่งออก 100% เมื่อได้ติดต่อขอเข้าเยี่ยมชมกลับไม่ได้รายละเอียดติดมือ
กลับมามากนัก จนเมื่อการวิจัยเสร็จสิ้นและได้รับความมั่นใจว่า ประเทศไทยมีพันธุ์สาหร่ายเกลียวทองและสภาพบรรยา
กาศที่ดีในการขยายพันธุ์ทางการค้า นอกจากสายพันธุ์ที่ได้แจกจ่ายไปตามแหล่งวิชาการต่างๆ
ตามระบบของงานวิชาการแล้ว พวกเขาได้ตัดสินใจจะเดินเส้นทางสายธุรกิจในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย
จดทะเบียนตั้งบริษัทกรีนไดมอนด์ เมื่อ 13 ก.ค.2532 ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน
บาท
และเริ่มบ่อทดลองบ่อแรกซึ่งถูกสร้างขึ้นมาในพื้นที่ขนาด 100 ตร.ม. ที่บ้านพักในกรุงเทพฯ
เฉพาะบ่อทดลอง พวกเขาก็รู้ว่านี่เป็นงานไม่ง่ายเลย แตกต่างจากบ่อขนาด 3 ตร.ม.
ที่เคยเลี้ยงใน ห้องทดลองทางวิชาการ
การเลี้ยงเป็นฟาร์มกับในห้องทดลองนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการควบคุมอุณหภูมิ
ระบบ น้ำ การบำบัดน้ำ ไปจนถึงการอัดเม็ด เช่น ได้มีการทดลองนำสาหร่ายที่เก็บเกี่ยวแล้วมาตากแดด
แทนเข้าเครื่องอบแห้ง (Spray Dryer) ที่มีราคาสูงถึงเครื่องละล้านกว่าบาท
หรือรูปแบบของบ่อที่ไม่ ใช้บ่อซีเมนต์ซึ่งรักษาความสะอาดยากมา ใช้บ่อโพลีเอธิลีน
แต่ก็มีปัญหาเรื่องการติดตั้งกังหันอากาศเพื่อให้น้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา จึงต้องดัดแปลงสร้างโครงเหล็กครอบด้านบน
เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ ฯลฯ การทดลองแบบค่อยเป็นค่อยไปกินเวลานานถึง 2 ปี ก่อนที่เขามั่นใจว่า
สามารถจะขยายบ่อในรูปของฟาร์มได้
สาหร่ายเกลียวทอง เป็นสาหร่าย สีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ถึงขนาดที่ต้องใช้ผ้ากรองขนาด
50 ไมครอน มาจับ แตกต่างกับภาพของสาหร่ายทะเล ที่รู้จักกันทั่วไป ขนาดของมันในแต่ละเซลล์ผงมีเพียง
9-25 ไมครอน กล่าวได้ว่า ในน้ำ 1 แก้วที่ตักขึ้นมาจากบ่อเลี้ยง จะมีเพียงสีเขียวของน้ำเท่านั้นที่มองด้วย
ตาเปล่าเห็น แต่ไม่สามารถจะเอามือไปจับ สาหร่ายดังกล่าวได้ มีรสจืดคล้ายสาหร่าย
ทะเล ความน่าทึ่งของสาหร่ายชนิดนี้ อยู่ที่ปริมาณของสารอาหาร เช่น มีวิตามินบี
12 สูงกว่าที่มีในตับ 2.5 เท่า, มีเบต้าแค-โรทีน มากกว่าหัวแครอท 25 เท่า,
มีกรด อะมิโนครบทั้ง 18 ชนิดภายในตัวของมัน หรือมีกรดไขมัน แกมมาไลโนเลนิค
หรือ GLA มากกว่า 3 เท่าของที่อยู่ในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เป็นต้น
เจียมจิตต์ เป็นผู้ที่ขนานนาม "สาหร่ายเกลียวทอง" แปลจากชื่อพันธุ์
Spirulina เป็นคนแรก อันสืบเนื่องมาจากลักษณะของสาหร่ายชนิดนี้เป็นรูปเกลียวขดยาว
และใช้ชื่อนี้ในหนังสือแปล งานวิจัยของญี่ปุ่นเรื่อง "ความลับของสาหร่ายเกลียวทอง
ผลทางการรักษาโรค ที่ญี่ปุ่นค้นพบ" ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ
โดยเป็นผลงานแปลลำดับที่ 105 ของสถาบันดังกล่าว
จนขณะนี้ชื่อของสาหร่ายเกลียวทอง ได้กลายมาเป็นชื่อสามัญของอาหาร เสริมชนิดนี้
ที่ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มของ ไดมอนด์กรีนเอง หรืออาหารเสริมชนิด เดียวกันที่มีผู้นำเข้ามาล้วนแต่ใช้ชื่อนี้เพื่อ
การตลาดเกือบทั้งสิ้น โดยที่ตัวของ สมชายเองมองว่า ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ของชื่อดังกล่าวก็คือ ภรรยาของเขา โดย กรีนไดมอนด์ ขออนุญาตใช้ชื่อในทางการ
ค้าควบคู่กับชื่อ GD-1 ที่เป็นยี่ห้อทางการค้าแต่สำหรับผู้จำหน่ายรายอื่นๆ
นั้น กลับไม่มีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการ
"ภรรยาของผมกำลังพิจารณาปกป้องชื่อของสาหร่ายเกลียวทอง ไม่ให้ มีการนำมาใช้โดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้
ที่ตั้งชื่อนี้ขึ้นมา เพราะก่อนหน้านี้ประ เทศไทยไม่รู้จักชื่อสาหร่ายนี้
เพิ่งจะได้ ชื่อก็ตอนมีการวิจัย และตั้งชื่อขึ้นมาให้เป็นไทย ปรากฏว่ามีหลายยี่ห้อซึ่งเข้ามาภายหลังวงเล็บข้างขวดว่า
สาหร่ายเกลียวทองเหมือนกับของเรา"
แต่การได้มาของสาหร่ายดังกล่าว ให้มากพอจะทำเป็นสารอาหารให้คนกินได้นั้น
จะต้องใช้การเพาะเลี้ยงจำนวนมาก เพื่อนำมาอัดเม็ดรวมกัน
การทำให้สาหร่ายขยายพันธุ์ได้นั้น จะต้องมีระบบการจัดการที่ค่อนข้าง
ยุ่งยาก
ความยุ่งยากซับซ้อนที่ต้องอาศัย ความรู้พื้นฐานทางวิชาการ ทำให้พวกเขา
สามารถเก็บเกี่ยวสาหร่ายจากบ่อทดลอง ได้โดยใช้เวลาในช่วงนี้ถึง 2 ปีคือ ระหว่าง
พ.ศ.2533-35 จึงมีความมั่นใจที่จะทำฟาร์มขนาดใหญ่
การศึกษาของเจียมจิตต์ ระหว่าง การทำวิจัยพบว่านักวิชาการของญี่ปุ่น
ระบุว่า ประเทศไทยมีความเหมาะสมที่สุดในการเพาะขยายพันธุ์สาหร่ายเกลียวทอง
โดยมีสภาพอากาศและน้ำที่เหมาะสมที่สุด เขาจึงเลือกที่ดินของตนเองขนาด 25
ไร่ในเขตอ.แม่วาง ห่างจาก ตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 40 ก.ม. ซึ่งเดิมเตรียมไว้เพื่อทำไร่
มาเป็นฟาร์มสาหร่าย
พ.ศ.2535 หลังจากเริ่มทำบ่อเลี้ยง ขนาด 100 ตร.ม. จำนวน 4 บ่อที่เชียงใหม่
สาหร่ายเกลียวทองของบริษัท กรีนไดมอนด์ ก็ได้รับ อ.ย. ในช่วงกลางปี และสามารถผลิตออกมาในรูปผลิตภัณฑ์
สาหร่ายในแคปซูล เมื่อพ.ศ.2536
นับจากพ.ศ.2536 จนถึง 2539 เป็นช่วงเวลาของการเริ่มต้นการทำตลาด ผลิตภัณฑ์สาหร่ายเกลียวทอง
สมชายและเจียมจิตต์ได้พบกับบริษัทจำหน่ายตรงหลายแห่งที่ติดต่อเข้ามาเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายให้
แต่การเจรจาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะราคาขายปลีก ต่อขวดต้องเพิ่มสูงขึ้นประมาณ
5 เท่าตัว จากราคาขาย ขณะที่สมชายต้องการ รักษาระดับราคาขายปลีกขวดละประ
มาณ 500 บาท จึงไม่ตกลง
การทำตลาดในยุคบุกเบิกของสาหร่ายเกลียวทองค่อนข้างเป็นไปได้ช้า อยู่ในรูปปากต่อปากมากกว่าการรุกอย่างจริงจัง
พื้นที่ตลาดสำคัญคือกรุงเทพฯ แต่ กระนั้นก็ตามยอดขายสุดท้ายในปี 2539 เคยเติบโตถึงเดือนละ
1 หมื่นขวด (ขวด ละ100 เม็ดแคปซูล)
ถือเป็นยอดขายที่สวยงามมากคือเฉียด 5 ล้านบาท/เดือน เมื่อเทียบกับ ต้นทุนองค์กรขนาด
30 คนแห่งนี้
แนวโน้มยอดขายที่โตถึงระดับหมื่นขวด ในช่วงดังกล่าวเป็นยอดขายที่ กำลังการผลิตต่อเดือนในพื้นที่บ่อ
400 ตร.ม. ไม่เพียงพอ ประกอบกับบริษัท ดีทแฮล์มได้ติดต่อเข้ามาขอเป็นตัวแทน
จำหน่ายให้กับสินค้าสาหร่ายเกลียวทอง สมชายและเจียมจิตต์ ตอบตกลงไปในทันที
โดยมีเงื่อนไขคือ ดีทแฮล์มจะสั่งสินค้าอย่างต่ำเดือนละ 10,000 ขวด หาก กรีนไดมอนด์
ต้องการขายปลีกต้องสั่งซื้อ กลับมาจากดีทแฮล์ม
พร้อมกันนั้นได้ขอกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย สาขาสันป่าตอง จำนวน 10 ล้านบาทเพื่อขยายกิจการ
รองรับการ ขยายตัวทางการตลาดที่ตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะ มียอดขายเดือนละไม่น้อยกว่า
3 หมื่นขวด
เงินจำนวนดังกล่าวนำมาลงทุนทำ ออฟฟิศขายในตัวเมืองเชียงใหม่ และ ขยายบ่อเลี้ยงจาก
400 ตร.ม. เป็น 5,000 ตร.ม. ซึ่งจะมีผลผลิตเป็นสาหร่ายสดเดือนละ 1 ตัน หรือเป็นขวดประมาณ
3 หมื่นขวด
นอกจากนั้นมีการพัฒนาผลิต ภัณฑ์จากสาหร่ายผงในแคปซูล เพิ่มเป็น เม็ดยาบรรจุขวด
(ขวดละ 120 เม็ด) เพื่อ เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าที่ต้องการรสชาติและกลิ่นของสาหร่าย
แต่ปรากฏว่าสถานการณ์เศรษฐ-กิจไม่เป็นใจ ยอดขายที่เคยสูงถึงหมื่นขวดตกลงมาเรื่อยๆ
จนถึงระดับต่ำสุด 3 พันขวด
และที่สำคัญ 3 พันขวดดังกล่าวเป็นยอดที่กรีนไดมอนด์ซื้อกลับมาจากดีทแฮล์มเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าประจำ
โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ ในที่สุดสัญญาการจัดจำหน่ายดังกล่าวต้องถูกยกเลิกไป
เมื่อต้นปี 2542 ที่ผ่านมา
และลดราคาขายปลีกขวดละ 580 บาทจากที่ดีทแฮล์มตั้งไว้ เหลือ 481 บาท/ขวด
สมชายบอกว่าดีทแฮล์มดันยอด ไม่ได้จริงๆ เพราะว่าภาวะโดยรวม แต่ก็ยังให้รายชื่อลูกค้ากลุ่มร้านขายยาที่ติดต่อ
เอาไว้ 400 กว่าร้านให้ทางบริษัทติดต่อจัดจำหน่ายเอาเอง ซึ่งเวลานี้ก็มีการ
ติดต่อ กันจำนวนหนึ่ง
เขายอมรับว่า ในช่วงของการบุกเบิกคิดค้นรูปแบบของการขยายพันธุ์ ในรูปฟาร์ม
ยังมีความรู้พื้นฐานในเรื่องวิศวกรรมมารองรับ แต่เรื่องการตลาดนี้ บริษัทแทบจะไม่ชำนาญเลย
จึงต้องอาศัย การโปรโมตแบบปากต่อปาก ผ่านทางสมาคมที่เกี่ยวกับโรคเฉพาะ เช่น
สมาคม โรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคนี้สั่งซื้อเข้ามาโดยตรงจำนวนมาก หรือการเข้ามาเยี่ยม
ชมกิจการของกลุ่มต่างๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี แม้ในการจัดจำหน่าย เพื่อรองรับการผลิตแบบ Mass ยังไม่ประสบความสำเร็จ
แต่ก็มีข่าวดีแทรกเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกัน
นั่นคือ มีลูกค้ารายหนึ่ง เป็นคนไทยที่ทำธุรกิจในญี่ปุ่น ติดต่อเข้ามาเพื่อขอทำตลาดในญี่ปุ่น
ในช่วงประมาณปลายปี 2539
การขอ อ.ย. ของประเทศญี่ปุ่นไม่มีรายละเอียดมาก โดยทางการของญี่ปุ่นขอรายละเอียดการวิจัยส่งให้ไป
และขอเงื่อนไขว่า การส่งแบบอัดเม็ดจะต้องไม่มีสารผสมเพื่อเพิ่มปริมาณและสารที่ช่วยในการคงรูปของเม็ด
สารทั้งสองตัวนี้ คือ Magnesium Stearate 0.5% กับ Silicon Dioxide ซึ่งในวงการยาส่วนใหญ่ใช้กันเพื่อ
ทำให้สมุนไพรหรือตัวยาเกาะกันเป็นเม็ด ยาได้
"มาตรฐานของญี่ปุ่นก็คือ ต้องไม่ มีโลหะหนักปนอยู่ในตัวยา ซึ่งของเราไม่
มีสารเหล่านี้อยู่แล้ว เขาจึงขอเพียงราย งานรับรองการวิจัยและขอในการปรับเทคนิคการอัดเม็ด
เพื่อให้ได้สาหร่ายทั้ง 100% ใน 1 เม็ด"
กรีนไดมอนด์ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการแก้ปัญหานี้ โดยใช้เทคนิค ที่ง่ายที่สุด
นั่นคือ ขณะที่เข้าอบในตู้ทำความร้อน จะมีระดับอุณหภูมิหนึ่งที่เม็ดยาจะดีดตัวมาจากถาด
ซึ่งหากนานกว่านั้นความร้อนจะทำให้ตัวยาติดกับถาดและแกะออกมายาก
"อ.ย. ยังงงเลยเมื่อเราบอกว่าเรา คิดค้นวิธีอัดเม็ดโดยไม่ต้องใช้สารผสม
ซึ่งแท้จริงแล้วการพัฒนาสาหร่ายเกลียวทองมาตั้งแต่ต้น เราเลือกใช้เทคนิคแบบ
ง่ายที่สุดมาตลอด เช่น ไม่ต้องมีเครื่องเป่าแห้ง ไม่ต้องซื้อเครื่องกรองตัวละเป็น
หมื่นๆ มา ใช้ผ้าในท้องตลาดแต่คำนวณ แรงน้ำที่จะมาปะทะกับผ้าให้ถูกต้องแทน
ต้นทุนของเราจึงต่ำ" สมชายเล่าให้ฟัง
ตัวแทนจำหน่ายในญี่ปุ่นขอทำโลโกสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศของเขา โดยใช้ชื่อ
Earth feel : New Spirulina Gold : GD-1 บนโลกสีฟ้า โดยที่ยังพ่วงแบรนด์
GD-1 ของกรีน ไดมอนด์เอาไว้ตอนท้าย
ยอดขายในญี่ปุ่นระยะเกือบ 2 ปี ที่ผ่านมาไม่สูงนัก และประสบปัญหาในเรื่องค่าเงิน
อย่างไรก็ตามยังมียอดสั่งที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ และล่าสุดตัวแทนจำหน่ายรายดังกล่าวยื่นเรื่องขอทำตลาด
ในประเทศเกาหลีอีก 1 พื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา
นอกจากนั้นข่าวดีตัวที่สองก็คือ องค์การเภสัชกรรม ได้ประสานเพื่อขอให้ กรีนไดมอนด์ผลิตสาหร่ายให้เพื่อเป็นอาหารเสริมจำหน่ายในนามของ
Aminos-18 หมายถึงสารอาหารที่มีกรด อะมิโนครบทั้ง 18 ตัว โดยอยู่ในขั้นตอน
เจรจารายละเอียดในเรื่องการเงิน
สมชายบอกว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่าน มาเขาต้องขอพักหนี้ 10 ล้านบาทกับธนาคาร
โดยหยุดการส่งเงินเมื่อดอกเบี้ย แตะระดับ 20% แต่เวลานี้เขาคาดว่าจะสามารถชำระเงินได้อีกครั้งหนึ่งในปลายปีนี้
โดยที่การตลาดแบบผสมผสานของเขาคือ มีทีมเจาะตรงร้านค้า-ร้านขายยา และโรงพยาบาล
กับการเน้นเชิญ กลุ่มที่สนใจไปเยี่ยมชมฟาร์มเพื่อประ โยชน์ในการตลาดแบบปากต่อปาก
สำหรับตลาดในประเทศ ซึ่งเวลานี้มีผู้นำ เข้าจากจีน อเมริกา และญี่ปุ่น มาวางจำหน่ายประมาณ
10 ยี่ห้อเป็นคู่แข่งสำคัญ และเริ่มมีผู้ผลิตชาวไทยทำการผลิตสินค้าชนิดนี้ด้วย
เช่น ที่อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งสมชายระบุว่า ได้พนักงาน ของเขาไปช่วยในการผลิตโดยเริ่มมาได้
2-3 ปีแล้ว
ขณะนี้เขาเริ่มมีการสั่งสินค้าล็อต ใหญ่จากองค์การของรัฐมาเสริมกับการตลาดในต่างประเทศ
เขายืนยันว่า สาหร่ายเกลียวทอง กำลังพ้นจากยุคบุกเบิกมาสู่ยุคของการเก็บเกี่ยวแล้ว