Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
กุลรัตน์ เชิดจารีวัฒนานันท์ "เทรนด์มาจากยุโร เรายังต้องตามเขา"             
 

   
related stories

ชะเลียงเซรามิค เป้าหมายแฟรนไชส์ทั่วโลก

   
search resources

ไทยพอทเทอรี่ อินดัสตรี
กุลรัตน์ เชิดจารีวัฒนานันท์
Ceramics




รางวัล Prime Minister's Export Award'42 ประเภทออกแบบผลิตภัณฑ์ดีเด่น ที่ชะเลียงฯ ได้รับมาล่าสุดนั้น ต้องยกเครดิตนี้ให้กับ กุลรัตน์ น้องสาวของพงษ์ศักดิ์ เชิดจารีวัฒนานันท์ โดยที่เธอมีตำแหน่งรับผิดชอบเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ของบริษัท

แผนก R&D ของกุลรัตน์ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2541 จาก เดิมเป็นงานที่แทรกอยู่ในกระบวนการผลิตรวม โดยกุลรัตน์บอกว่า สาเหตุ หลักของการตั้งเป้าพัฒนาการออกแบบของตัวเองเกิดจาก สภาพการแข่งขัน ทางการตลาดที่สูงมากก่อนปี 2539 และจีนเป็นตลาดที่แย่งลูกค้ากลุ่มรับจ้างผลิตตามใบสั่ง

กุลรัตน์ จบการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ จากเอแบค หลังจากนั้นก็ เข้ามาทำธุรกิจร่วมกับพี่ชาย แรกทีเดียวเธอทำการตลาดพร้อมๆ กับงานดีไซน์ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นการควบคุมคุณภาพให้เป็นตามสเป็กมากกว่าที่จะเน้น การออกแบบเอง

เธอบอกว่า ประสบการณ์ในการเดินทางไปต่างประเทศปีละ 2-3 ครั้ง ดูตัวอย่างสินค้าและศึกษาแนวทางการออกแบบของสำนักออกแบบเซรามิคใหญ่ๆ ที่ตั้งอยู่ใน อิตาลี อังกฤษ และสแกนดิเนเวียน จึงเอามาปรับปรุงแบบ ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

ระยะเวลา 2 ปีของการจับงานออกแบบสินค้า ขณะนี้เธอได้จดทะเบียน ลิขสิทธิ์การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปแล้วมากกว่า 10 คอลเลกชั่น และเกือบทั้งหมดได้รับการตอบสนองจากตลาดต่างประเทศ

"แบบของเราได้รับการยอมรับจากผู้นำเข้าและผู้ค้าสินค้าเซรามิค รายใหญ่ของยุโรป คือ Witard of Chelsea ซึ่งมีสาขาทั่วทั้งยุโรป ให้ใช้คำว่า Design by Jalieng "

เธอกลั่นประสบการณ์เล่าว่า เทรนด์ของสินค้าเซรามิค ส่วนใหญ่มาจากยุโรป โดยเฉพาะยุโรปตอนใต้ สำนักใหญ่ๆ ที่เป็นผู้กำหนดว่าฤดูใดสีหรือรูปแบบใดจะมา อยู่ที่ อิตาลี และอังกฤษ ขณะที่อเมริกาเป็นตลาดที่ตาม กระแสของยุโรปแต่ก็มีรูปแบบรายละเอียดที่ต่างกันออกไปบ้าง หากเราทำ ให้ยุโรปยอมรับได้ ตลาดทั้งโลกก็จะยอมรับเรา

"กระแสเปลี่ยนแปลงของสินค้าตกแต่งทั้งในและนอกบ้านของยุโรปเปลี่ยนเร็วมาก คือ ช้ากว่าแฟชั่นเสื้อผ้าไปนิดเดียว เพราะว่าสภาพภูมิอากาศ หนาว ทำให้ต้องใช้เวลาในบ้านมากกว่านอกบ้าน ในฤดูใบไม้ผลิ สีสันการ ตกแต่งจะสว่าง สดใส พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงต่อฤดูหนาว ก็จะเปลี่ยนมาเป็นโทนสีเข้มเพื่อให้บ้านดูอบอุ่น คนยุโรปจะเปลี่ยนเซ็ตการตกแต่งบ้านบ่อยๆ ถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก"

เราจับจุดได้ว่า รูปทรงผลิตภัณฑ์ประเภทชุดถ้วยชามบนโต๊ะ จะเปลี่ยน ช้ากว่าสี ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการจับคู่สีที่กำหนดตลาด เช่น น้ำเงิน-เหลือง เปลี่ยนมาเป็น เขียว-เหลือง ฤดูล่าสุด มาเป็น ม่วง-เขียว จะมีสีหลักที่ยืนพื้น อยู่ เช่น เขียว เป็นต้น

"รายละเอียดของตลาดแต่ละโซนก็ต่างไปอีก แม้ว่ายุโรปใต้จะเน้น ม่วง-เขียว แต่ทางสแกนดิเนเวียน ต้องมีโทนสีที่อ่อนลง เป็นสีสดและอ่อนกว่า ยุโรปใต้

การติดตามกระแสของรสนิยมในแต่ละตลาด และการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ ของผู้ผลิตรายใหญ่ในยุโรปเป็นหน้าที่ของกุลรัตน์ ที่ต้องติดตามอย่าง ใกล้ชิด เพื่อรองรับภารกิจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ปีละอย่างน้อย 3 รอบ รอบละ 6-7 คอลเลกชั่น

"เทรนด์ของเรายังต้องตามยุโรป และต้องตามให้ทัน แต่ต้องนำมาปรับ เพื่อให้เข้ากับรสนิยมของแต่ละตลาดด้วย"

หน้าที่อีกอย่างของกุลรัตน์ก็คือ การสร้างคอลเลกชั่นสินค้าเพื่อรองรับ เครือข่ายร้านชะเลียง ซึ่งเป็นกิจการของบริษัทเอง

"คอลเลกชั่นสินค้าตกแต่ง ต้องรวมเอางานเซรามิคและงานอื่นๆ ให้เป็นเซ็ต มีสไตล์เดียวกัน เช่น ชุดเครื่องชา ผ้าปูโต๊ะ ผ้าม่าน ไปจนถึงกรอบรูป เชิงเทียน ของตกแต่งอื่นๆ ฯลฯ งานกลุ่มนี้จะเป็นสินค้าหลักของร้านที่กำลัง ขยายทั้งในและนอกประเทศ ส่วนเซ็ต สินค้าก็คือ กลุ่มสินค้าที่มีลักษณะการ ออกแบบเดียวกัน ในแต่ละคอลเลกชั่น มีสินค้าหลายเซ็ต"

งานที่กุลรัตน์ได้รับการยอมรับมาก คือ คอลเลกชั่นที่ชื่อว่า Natural-1 เป็นงานของกลุ่ม เทอรา-คอตตา ทำเป็นชุดกระถางดอกไม้ ซึ่งมีคำสั่งซื้อเต็มกำลังการผลิต และ มีการลอกเลียนแบบมากที่สุดแบบหนึ่ง เป็นสาเหตุให้มีการจดทะเบียน ลิขสิทธิ์ในเวลาต่อมา

"ลูกค้าหลายประเทศสั่งแบบสินค้ากลุ่มนี้เข้ามา แต่เราทำให้ไม่ทัน เขาก็สั่งกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ในเวียด-นาม จีน หรือแม้แต่ในเชียงใหม่ ลอกตามแบบของเรา"

หน้าที่หลักจริงๆ ของกุลรัตน์ ก็คือ การพยายามจะหนีธุรกิจคู่แข่งในด้านการออกแบบ และสร้างการยอมรับในชื่อสินค้าตัวเองให้เร็วที่สุดและต้องทำต่อเนื่องไม่มีหยุด เพราะว่าธุรกิจนี้ การตามทันดีไซน์และลอกแบบเป็น สิ่งที่รวดเร็วมาก

ที่สำคัญ ธุรกิจเซรามิคในอนาคตจำเป็นต้องมีการดีไซน์เป็นองค์ประ-กอบสำคัญที่สุดองค์ประกอบหนึ่ง

หากต้องการอยู่รอดในระยะยาว !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us