Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
DC ในอเมริกา 5 ผู้ส่งออกเชียงใหม่             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล ณพงษ์ สงวนนภาพร
ข้อมูลบุคคล ไพรัช โตวิวัฒน์
ข้อมูลบุคคล สุคินท์ วงศ์ษา
ข้อมูลบุคคล นิธิกาญจน์ สุริยะกมล
ข้อมูลบุคคล ปิยะวาท บัวจีน
ข้อมูลบุคคล ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

   
search resources

ไพรัช โตวิวัฒน์
ณพงษ์ สงวนนภาพร
สุคินท์ วงศ์ษา
นิธิกาญจน์ สุริยะกมล
ปิยะวาท บัวจีน
ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ
SMEs




ในเดือนสิงหาคม 2541 ผู้ผลิตสินค้าหัตถอุตสาหกรรม 5 ราย ในเชียงใหม่ซึ่งเรียกตัวเองว่าผู้ส่งออกรายย่อยได้ร่วมมือกันผลักดันโครงการตั้งศูนย์กระจายสินค้าของตนเอง ในประเทศอเมริกาได้สำเร็จ

โครงการนี้อาจจะเป็นกระดานหกที่นำพวกเขาพุ่งสู่เพดานการผลิตเพื่อการส่งออกขนานใหญ่ และมีเครือข่ายการสร้างแบรนด์ของตัวเองในตลาดต่างประเทศโดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการตลาดแบบเดิม

เชียงใหม่ถือเป็นแหล่งผลิตสินค้า หัตถอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศ กล่าวได้ ว่า มีผู้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้ อาทิ กระดาษสา ผ้าไหม เซรามิค เครื่องปั้น ไม้แกะสลัก ดอกไม้ประดิษฐ์ ฯลฯ มากกว่า 300 ราย ส่วนใหญ่รองรับตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศ และผลิตเพื่อการส่งออกเมื่อมีออร์เดอร์จากผู้นำเข้า

มีเพียง 10 % เท่านั้น ที่ถือว่าเป็น ผู้ผลิตรายใหญ่ ที่มีศักยภาพเพียงพอใน ด้านการผลิต การดีไซน์ และการสร้างยี่ห้อเพื่อการส่งออกด้วยลำแข้งตัวเอง ขณะที่ส่วนใหญ่จัดเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือเล็กมาก

โอกาสธุรกิจก่อนหน้านั้นของพวกเขาก็คือ ตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศ ส่วนใหญ่วางขายที่ไนท์บาร์ซ่า

ส่วนเรื่องส่งออกต้องรอออร์เดอร์ ของผู้ค้าจากต่างประเทศ ซึ่งมักจะเข้าหา แหล่งผลิตของดีราคาถูกในพื้นที่นี้มาไม่น้อยกว่า 15 ปีแล้ว

การรับจ้างผลิตตามแต่จะมีผู้สั่งเข้ามา เป็นการทำธุรกิจที่เสี่ยงมาก สำหรับ สินค้ากลุ่มศิลปะหัตถรรมและของที่ระลึก

เพราะว่าอุตสาหกรรมนี้สามารถที่ จะลอกเลียนแบบได้ง่าย พื้นฐานของอุตสาหกรรมแบบ Labor Intensive หาก คู่แข่งมีต้นทุนต่ำกว่าออร์เดอร์จะหลุดไปทันที

และยิ่งมองย้อนกลับมาเรื่องพัฒนาการของเทคโนโลยีปัจจุบัน ที่ผู้ผลิตรายย่อยจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกเริ่ม เปิดโชว์รูมในเว็บไซต์เพื่อลดต้นทุน การ เปรียบเทียบแหล่งผลิตและราคาจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น

อีกทั้งพัฒนาการของดีไซน์ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนไม่สูงมากของสินค้าในกลุ่มนี้ ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยในปัจจุบันมีความเสี่ยงจากการแข่งขันสูงมากเพิ่มขึ้นไปอีก

ข้อจำกัดของ รายย่อย...แน่นอน ! ประการต้นๆ ก็คือ เงินทุน ซึ่งในแง่ของการตลาดผู้ผลิตรายย่อยมีต้นทุนไม่มาก ที่จะออกไปแสดงสินค้าหรืองานโชว์ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ออกไปได้ก็ไม่ได้ทำเลที่ดี

"ออกงานแฟร์ทีหนึ่งรับออร์เดอร์ กลับมาทำตามคำสั่ง ปีหน้าก็ไปใหม่" เป็น คำสรุปของ ณพงษ์ สงวนนภาพร นายก สมาคมผู้ผลิตและส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ หรือ NOHMEX

ณพงษ์ เป็นเจ้าของแนวความคิด สร้าง DC-Distribution Center ในต่างประเทศบอกว่า โครงการนี้คือการแก้ปัญหาให้กับผู้ผลิตรายย่อยอย่างแท้ จริง ไม่ว่าในเรื่องของการตลาด หรือ การ วางแผนการผลิตในระยะยาว นอกจากนั้นรูปแบบของโครงการสามารถที่จะยืดหยุ่นปรับแปลงให้เหมาะสมกับผู้ผลิต สินค้าแต่ละรายในอนาคต

ณพงษ์ เป็นเจ้าของกิจการส่งออก ของเล่นจากไม้ยางพาราขนาดไม่ใหญ่มาก เขาได้ความคิดนี้จากการเดินทางไป ร่วมแสดงสินค้าที่อเมริกา เมื่อปี 2536 โดยครั้งนั้นมีลูกค้ารายย่อยถามหาตัวสินค้าจำนวนมากในระหว่างวันงาน แต่ปรากฏว่า เขาไม่สามารถจะส่งมอบสินค้า ได้ตามต้องการ เพราะสินค้าที่นำไปเป็นเพียงตัวอย่างโชว์ และหากจะส่งมอบสินค้าปลีกล็อตเล็กๆ ก็ต้องใช้เวลาในการ จัดส่ง ซึ่งลูกค้าก็รอไม่ได้

" งานโชว์ส่วนใหญ่เรามุ่งหวังลูก ค้าที่เป็นผู้นำเข้า สั่งซื้อล็อตใหญ่ๆ แต่ในงานกลับมีรายย่อยจำนวนมาก เราหา สินค้าให้เขาไม่ได้ จึงเกิดความคิดว่า เรา น่าจะมีโกดังสินค้าในพื้นที่เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มนี้"

แนวคิดดังกล่าว ได้เริ่มก่อตัวและ พัฒนารูปแบบมากขึ้น ณพงษ์ บอกว่า การ รุกทำตลาดให้กับกลุ่มรายย่อย หรือค้าปลีก ในประเทศอเมริกาโดยตรง น่าจะทำได้ควบคู่กับการมีโกดังสินค้าที่นั่น ข้อดีก็คือ เป็นการลัดขั้นตอนไม่ต้องรอคำสั่งซื้อจากผู้นำเข้า และน่าจะเป็นทางออกระยะยาวในด้านการตลาดที่สามารถ สร้างแบรนด์ของตัวเองได้ด้วย

โอกาสในการผลักดันแนวคิดให้เป็นจริงเริ่มขึ้นเมื่อ ณพงษ์ เข้ารับตำแหน่ง นายกสมาคมผู้ส่งออกฯ NOHMEX ในปี 2538 ได้เริ่มขายไอเดียดังกล่าวให้กับสมาชิก และเดินทางไปอเมริกาเพื่อศึกษา ตลาดรอบแรก โดยมี สุคินท์ วงศ์ษา ทายาทรุ่น 2 ของห.จ.ก. เอื้องคำแกะสลัก ในฐานะกรรมการฝ่ายวิชาการของสมาคมฯ เป็นผู้ร่วมผลักดัน

เขาใช้เวลาในการอธิบาย ถกเถียง รูปแบบที่เหมาะสมระหว่างเพื่อนในกลุ่ม ผู้ส่งออกรายย่อยด้วยกันนานพอสมควร ซึ่งระหว่างนั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยประสบมรสุมทางเศรษฐกิจ การขยับเพื่อ ทำโครงการพิเศษขึ้นมาจึงค่อนข้างยากลำบาก

โครงการเริ่มเป็นรูปร่างจริงจัง ใช้ เวลาอีกหลังจากนั้นกว่า 3 ปี โดยได้จัดTrip เดินทางเพื่อศึกษา เรียกว่า Study Mission นำสมาชิกของสมาคมที่สนใจ 10 บริษัทไปดูสภาพการณ์จริงที่ 3 เมือง คือ นิวยอร์ก แคลิฟอร์เนีย และ ไมอามี วัตถุประสงค์คือ จัดหาพื้นที่เหมาะสมทำเป็นศูนย์กระจายสินค้า และเจรจากับ คู่ค้าที่อยู่ในความสนใจ

Benny Kwong ชาวอเมริกันฮ่องกง กับ วินัย ชวลิต เจ้าของบริษัท Pandee Computor เป็นชาวไทยที่ทำธุรกิจคอมพิวเตอร์ในเมืองเบิร์กเลย์ ทั้งคู่เป็นนักธุรกิจ 2 รายแรกที่ให้ความสนใจโครงการนี้ เดินทางมาเชียงใหม่หลังจาก Trip เสร็จสิ้น 3 เดือน เพื่อเจรจารายละเอียดก่อตั้ง DC ให้เป็นรูปธรรม

เงื่อนไขของ Benny Kwong ซึ่งมีโกดังและร้านค้าส่งในเมือง ซาครา-เมนโต้ แคลิฟอร์เนีย แตกต่างจากข้อเสนอของวินัย

Benny ทำธุรกิจนี้อยู่ก่อนแล้วจึง ต้องการสินค้ากลุ่มตกแต่งบ้าน ในระดับ กลางขึ้นไป ทางอเมริกา รับผิดชอบการจัดจำหน่ายและการขนส่งสินค้าจากเมืองไทย ขณะที่ผู้ส่งออกไทยเสนอให้เครดิตในการรับสินค้าไปจำหน่าย ในส่วน ของการขายนั้นใช้การตั้งราคาร่วมกันและจะแบ่งกำไรจากยอดขายปลีกอีกส่วนหนึ่ง

ในระบบนี้ ผู้ส่งออกไทยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการส่งออกปกติ ที่ผู้นำเข้า ต่างประเทศจะโอนเงินค่าสินค้ามาให้ทันที ไม่ต้องรับผิดชอบกรณีสินค้าขายไม่ได้ อีกทั้งมีต้นทุนดอกเบี้ยระหว่างที่สินค้าเดินทางและรอจัดจำหน่าย

แต่ก็ได้รับเครือข่ายการตลาดกับ ส่วนแบ่งในยอดขายปลีกชดเชยกลับคืน มา ส่วนข้อเสนอจาก วินัย DC ประจำเมืองเบิร์กเลย์นั้นแตกต่างจาก Benny ตรงที่วินัยต้องการสินค้ากลุ่มกลางลงมา ถึงล่าง เพื่อกลุ่มเป้าหมายลูกค้ารายย่อย ที่เป็น Consumer จริงๆ โดยใช้ระบบขายตรงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ระหว่างที่ DC ทั้งสองรายดังกล่าว อยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดเพื่อตัดสินใจร่วมค้านั้น ได้มีผู้ที่อยู่ในข่ายจะเป็น DC อีกรายหนึ่งก็เดินทางมาพบผู้ประกอบการเชียงใหม่

นั่นคือ เมธี วัฒนะสิริโรจน์ ผู้นำ เข้าสินค้าจากอเมริกามาจำหน่ายในไทย เจ้าของบริษัท AI Design ที่เมือง ชาร์-ล็อต ซิตี้ รัฐนอร์ทโคโรไลนา ได้กลายเป็น DC แห่งแรกให้กับผู้ประกอบการจากเชียงใหม่เพียงชั่วระยะเจรจาเพียงข้ามวัน

โดยมีผู้ส่งออก 5 รายแรกที่เห็นชอบจะผลักดันโครงการนี้ให้เป็นรูปธรรม ผ่าน DC รายนี้

และมีสินค้าที่จะส่งไปเป็นล็อตทดลองกับเงินลงขันอีกจำนวนหนึ่ง เป็น ค่าลงทุน ! ห.จ.ก.เอื้องคำแกะสลัก, บริษัท ยูไนเต็ดอาร์ท, บริษัท เซรามิคส์เน็ตเวิร์ค, บริษัทคิงส์ คอลเลคชั่น และ บริษัท Nealann Floral&Craft เป็น 5 กิจการ แรกที่ตัดสินใจเข้าโครงการนี้

ทั้งหมดได้เข้าร่วมในกิจกรรม Study Mission ที่อเมริกามาก่อนจึงสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

ไพรัช โตวิวัฒน์ จาก Nealann เป็นบุตรของอดีตประธานหอการค้า เชียงใหม่ วิบูลย์ โตวิวัฒน์ นอกจากกิจการส่งออกดอกไม้ เขายังเป็นผู้กระ จายสินค้าประเภทคอนเซสชั่นแนร์ ให้กับ กลุ่มยูนิลีเวอร์ด้วยจึงมองเห็นภาพของ DC ได้อย่างปรุโปร่ง

ในบรรดาผู้ส่งออกรายย่อยทั้งหมด ดูเหมือนว่าไพรัชจะมีสายป่านที่ยาวที่สุดคนหนึ่งจากฐานธุรกิจดั้งเดิมของตระกูลและกิจการส่วนตัว เขามองว่า DC เป็นโอกาสทางการตลาดจากเดิมที่ตลาดหลักของเขา นอกจากนั้นเขายังใช้สายสัมพันธ์ส่วนตัวเจรจาหา DC รายใหม่ๆ มาเสริมอีกด้วย ล่าสุดกำลังเจรจา กับคู่ค้าที่เมืองดัลลัส เพื่อทำเป็น DC รายต่อไป

สำหรับ ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ จาก คิงส์คอลเลคชั่น ผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา เพื่อการตกแต่ง นั้นเขาบอกว่า เขาใช้เวลา ตัดสินใจเพียงชั่วอึดใจเดียว ด้วยความเป็นคนหนุ่มที่มีสไตล์กล้าได้กล้าเสีย เขาว่าโครงการนี้มีแต่ได้ไม่มีเสีย

ขณะที่ นิธิกาญจน์ สุริยะกมล กิจการเซรามิคฯ เป็นของครอบครัวเธอ ในฐานะเจนเนอเรชั่นที่สอง ซึ่งเพิ่งจะแยก กิจการจากปันเจียงเซรามิค ทำผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นลายคราม และเลียนของเก่า มา สู่เซรามิคแบบแฮนด์เพนต์ ยอมรับว่าการ อธิบายรายละเอียดเรื่องเหล่านี้ให้กับผู้ใหญ่เป็นเรื่องค่อนข้างยาก โดยเฉพาะโครงการที่ต้องใช้การลงทุน และต่างไปจากกระบวนการที่เคยปฏิบัติมา .. แต่ด้วยการที่เดินทางร่วมคณะไป เธอคิดว่า ช่องทางการตลาดสำหรับผู้ผลิตเซรามิค รายเล็ก ๆ ในต่างประเทศ โดยใช้แบรนด์ ของตัวเองต้องใช้วิธีนี้เท่านั้นที่เหมาะสมที่สุดกับภาวะนี้

สุคินท์ วงศ์ษา เจนเนอเรชั่นของเอื้องคำแกะสลัก ที่ขึ้นมารับผิดชอบ กิจการเต็มตัวเขามองว่า ตลาดอเมริกาเป็นตลาดใหญ่มาก มีความหลากหลายในตัวเอง หากเลือกพื้นที่เหมาะสมก็จะสามารถเจาะตลาดได้ และเป็นช่องทางของผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่จะสามารถ ทำตลาดให้เหมาะสมกับกำลังการผลิตได้

สิ่งที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องลงทุนกับโครงการ DC ก็คือ

1.ต้นทุนดอกเบี้ยจากกรณีที่ต้องส่งสินค้าจากโรงงานไปยังอเมริกา ที่ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนบวกด้วยระยะเวลาในการจัดจำหน่ายออกไปจากมือ DC หากขายได้หมดนั่นหมายถึงเขา ต้องส่งสินค้าไปนานถึง 6 เดือนจึงจะได้เงินต้นและกำไรกลับคืนมา

2. ต้นทุนด้านภาษีอากร โดยต้อง แจ้งการส่งออกสินค้าเพื่อขอคืนภาษีกับสรรพากรทันทีที่สินค้าหลุดไปจากท่าเรือ ขณะที่ข้อเท็จจริงเขายังไม่มีรายได้คืนกลับมาความยุ่งยากในเรื่องนี้ มีต้นทุนการเงินเกี่ยวข้องด้วย โดยที่พวกเขาต้อง จ่ายภาษีส่งออก และไม่ได้รับภาษีมูลค่าเพิ่มคืนในทางปฏิบัติ จนกว่าสินค้าจะขาย ได้ หากเป็นระยะข้ามปีภาษี ก็คือ ต้นทุน ภาษีที่ต้องจ่ายไปก่อน

3. ความเสี่ยงในความผิดพลาด กรณีที่สินค้าไม่สามารถกระจายได้ หรือ DC ไม่ชำระเงินคืนกลับมา เพราะว่า ดีล ธุรกิจในจุดเริ่มต้นนี้ไม่มีสัญญาอย่างเป็น ทางการ โอกาสที่สินค้าจะหายไปทั้งตู้คอนเทนเนอร์ก็มีอยู่เช่นเดียวกับกรณีที่จำเป็นต้องขายลดราคาเพื่อเอาทุนคืนหากขายสินค้าไม่ได้

และ 4. เงินลงขันประมาณ 4 แสนบาท เพื่อให้ DC เมธี วัฒนะสิริ-โรจน์ จากเมืองชาร์ล็อต ซิตี้รายนี้เป็นค่า ใช้จ่ายเพื่อจองบูธออกร้านในงาน High-Point ซึ่งเป็นงาน Fair ด้านการตกแต่งบ้านที่ นอร์ทโคโรไลนา ซึ่งกำหนดจัดใน เดือนตุลาคมนี้

หลังจากเจรจาจัดตั้ง DC แห่งแรกสำเร็จ ก็เริ่มเกิด DC ใหม่ตามมา 2 ราย คือ วินัย ชวลิต ที่เบิร์กเลย์ ได้สั่งสินค้าจากเอื้องคำแกะสลัก กับเซรามิคส์ เน็ตเวิร์คไปจำหน่าย โดยเหตุผลที่สั่งสินค้าจากผู้ประกอบการเพียงสองรายเพราะว่า ลักษณะตลาดขายของผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น จะเน้นลูกค้ากลุ่มทั่วไปใช้การจัดส่งผ่านไปรษณีย์ ซึ่งเป็นสินค้าขนาดเล็ก มีราคาไม่มาก

ส่วน DC ของ Benny Kwong ที่แม้จะล่าช้าไปบ้างแต่ก็กลับมาเป็น DC รายใหญ่ที่สุด โดยสามารถเจรจากับผู้ส่งออกไทยในสมาคม NOHMEX ได้ถึง 10 รายด้วยกัน คือห.จ.ก. วีซี.แบมบู, บ.เชียงใหม่พลอยลิน, บ.สยามรอยัล-ออร์คิด, ร้านบายแฮนด์, บ.ใจฟ้าเครื่องเขินเชียงใหม่, บ.เชียงใหม่ดำรงอุตสาห-กรรม, บ.ยูไนเต็ดอาร์ท

และมี 3 รายที่เป็นสมาชิกก่อตั้งคือ นีลแลนน์, เซรามิคเน็ตเวิร์ค กับ เอื้องคำแกะสลัก ร่วมในโครงการ DC ของ Benny Kwong ด้วย

จะพบว่า การตัดสินใจเข้าร่วมให้ DC ใดเป็นคู่ค้า ขึ้นกับการเจรจาตกลงระหว่าง 2 ฝ่าย และขึ้นกับสภาพการตลาด ที่เป็นจริง

DC จำนวน 3 รายที่เริ่มดำเนินการในเวลานี้ มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออก ไปอย่างชัดเจน เช่น บางรายต้องมีเงินลงขันเพื่อให้ DC นำไปใช้ในการประชา-สัมพันธ์ แต่บาง DC ต้องการเลือกสินค้า เองให้เหมาะสมกับกำลังที่ตนเองมี

ณพงษ์ บอกว่า รูปแบบตั้งศูนย์กระจายสินค้าแบบนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ มีหลายประเทศทั่วโลกทำประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ในส่วนของผู้ส่งออกภาค เหนือที่เพิ่งจะเริ่มดำเนินการกันได้เพราะ ว่า ก่อนหน้านี้ผู้ผลิตสินค้าในไทยมีออร์-เดอร์ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ บางรายเฉพาะ ผลิตตามออร์เดอร์ให้ทันก็เป็นเรื่องยาก แต่ในยุคที่ราคาต้นทุนของสินค้าเริ่มมีคู่แข่ง และเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าไปนั้น ผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่เคลื่อนไหวจะ เสียเปรียบในระยะยาว

"การร่วมมือกันในระหว่างกลุ่มผู้ ส่งออก เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย โดยที่บางรายถึงกับเป็นคู่แข่งกันในทางการค้าด้วย ซ้ำ การรวมกลุ่มกันทั้งเรื่องการเจรจา การ นัดหมายผลิตสินค้าให้ทันโหลดสินค้าเข้า ตู้คอนเทนเนอร์ หรือการลงขัน เพื่อทำโปรโมชั่นร่วมกัน ทำให้แก้ปัญหาด้านการตลาดให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่ ก่อนนี้ไม่มีอำนาจต่อรองมากนัก"

ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ จากคิงส์คอลเลคชั่น นับเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับอานิสงส์จากโครงการนี้มากที่สุดคนหนึ่ง

เขาอยู่ในกลุ่มก่อตั้ง 5 ราย เข้าร่วมกับ DC เพียงรายเดียวก็คือส่งให้กับ AI Design ในล็อตแรกเขาส่งสินค้าไป เมื่อ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา จำนวนประมาณ 55 ลูกบาศก์เมตร พร้อมกันนั้นเขาได้ส่งตัว อย่างสินค้าอื่นๆ ในรูป CD-ROM ไปด้วย ปรากฏว่า เมื่อสินค้า เดินทางไปถึงได้ไม่ กี่วันก็ขายได้หมดทันที และมียอดสั่งจอง จากตัวอย่างใน CD-ROM เพิ่มมาอีก

สินค้าล็อตที่สองของเขาที่ส่งไปเมื่อปลายเดือนสิงหาคมก็เพื่อรองรับ ออร์เดอร์ทั้งหมด หมายความว่าสินค้าใน สองล็อตขายได้หมด..และเป็นการขายได้ก่อนสินค้าจะไปถึงเสียอีก

และในการส่งสินค้าครั้งหลังก็ส่ง ตัวอย่างสินค้ากลุ่มต่อไป คือ เพื่อจะขาย ในฤดูคริสต์มาส เขาบอกว่าในอนาคตอันใกล้ เขาสามารถที่จะแยกการส่งสินค้า ออกมาส่วนตัวได้ โดยไม่ต้องรอรวมการ โหลดเข้าตู้พร้อมกับรายอื่นๆ เนื่องจาก มีปริมาณมากเพียงพอ ขณะที่ในทางการเงิน ก็จะเริ่มมีเงินค่าสินค้าที่ขายในล็อตแรกไหลกลับเข้ามาเพื่อเป็นทุนหมุน เวียนในการผลิตสินค้ารอบต่อๆ ไป

กำไรของณรงค์ศักดิ์ต่อล็อต ก็คือ ราคาส่งจากโรงงาน บวกกับส่วนแบ่งกำไร จากราคาขายปลีกที่ตลาดอเมริกา

แถมยังขายในแบรนด์ของเขาเอง เพื่อสร้างตลาดในระยะยาว เป็นกำไรที่มองไม่เห็นอีกทางหนึ่ง !

จากเดิมที่เขาจะได้เฉพาะราคาขายส่ง FOB ที่ได้จากผู้นำเข้า ซึ่งเขาก็ต้องรอให้มีการสั่งซื้อสินค้าเสียก่อน ขณะ ที่ราคาขายปลีก ณ ตลาดอเมริกาอาจจะ บวกไปถึง 7 เท่าจากราคาส่งของเขา

แต่ความสำเร็จของณรงค์ศักดิ์ อาจจะเป็นเครื่องรับประกันความสำเร็จโดยรวมของโครงการนี้ไม่ได้

เพราะหากสินค้าล็อตที่ส่งไปของ ผู้ผลิตบางรายยังขายไม่ได้ในระยะเวลา 3 เดือน หมายความว่า ทุนในการผลิตสินค้า รอบต่อๆ ไปของผู้ผลิตรายนั้นจะขาดหาย ไปในทันที

ทางสมาคม NOHMEX ได้พยายามแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยการ พัฒนารูปแบบของสินค้ากันในกลุ่มส่งออก โดยได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์ ส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จัดจ้าง Interior Designer ระยะเวลา 5 เดือน เพื่อออกแบบเซ็ตสินค้าในกลุ่มเช่น กระถางกับแจกัน ชุดเครื่องชามกับเครื่อง ตกแต่งในบ้าน เพื่อให้เข้าชุดกัน บางกรณี อาจขอให้เสริมสีสันหรือดัดแปลงแบบ เป้าหมายหลักคือ สินค้าจากผู้ส่งออกที่ชำนาญกันคนละอย่างสามารถจะเข้าชุดกันเป็น Collection ซึ่งจะมีศักยภาพทางการตลาดได้ดีกว่า แยกกันขายซึ่งเสี่ยงต่อการทำตลาดมากกว่า

แต่ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการนี้ทราบดีว่านี่คือการลงทุน

เพื่อประโยชน์ในการตลาดระยะยาว เพื่อให้มีช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเอง ในยุคที่การแข่งขันของสินค้ากลุ่มนี้รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

ณพงษ์ สงวนนภาพร

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลานนาวู้ดเด้นโปรดักส์ จำกัด

อายุ 46 ปี

การศึกษา สถาปัตยกรรม ม.ศิลปากร

ประสบการณ์ นายกสมาคมผู้ผลิตและส่งออก

สินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ

บริษัท ลานนาวู้ดเด้นโปรดักส์ จำกัด

กิจการ ผลิตของเด็กเล่นจากไม้ยางพารา

ก่อตั้ง 2533 ทุนจดทะเบียน 8 ล้านบาท

กำลังการผลิต 360,000 ชุด/ปี

ยอดขาย (41) 33 ล้านบาท

ตลาด อเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี

ไพรัช โตวิวัฒน์

กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท Nealann Floral&Craft

อายุ 40 ปี

การศึกษา บริหารธุรกิจ ม.รามคำแหง

ประสบการณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการแสดงสินค้า ณ เมือง Rotterdam เนเธอร์แลนด์ และ Frankfurt เยอรมนี ของ Center for the promotion of imports from developing country

ผู้จัดการบริษัทนีลแลนน์ จำกัด ผู้รับสัมปทาน กระจายสินค้าเครือยูนิลีเวอร์ ในบางส่วนของ เชียงใหม่, ลำพูน (ถึงปัจจุบัน)

ผู้จัดการส่งออกข้าวในเครือบริษัท

โรงสีข้าวเชียงใหม่ไทยวิวัฒน์ (ถึงปัจจุบัน)

 

บริษัท Nealann Floral&Craft

กิจการ ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์

ก่อตั้ง 1984 (2527)

ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท

กำลังการผลิต 1.8 ล้านชิ้น/ปี

ยอดขาย (41) 3 แสน ดอลลาร์สหรัฐ

ตลาด อเมริกา เบลเยียม สเปน ญี่ปุ่น

สุคินท์ วงศ์ษา

ผู้จัดการทั่วไป หจก.เอื้องคำแกะสลัก

อายุ 31 ปี

การศึกษา MBA, Finance and Marketing , Wagner College, New York

ห.จ.ก. เอื้องคำแกะสลัก

ก่อตั้ง 2505

ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท

กำลังการผลิต 24 ตู้คอนเทนเนอร์ / ปี

ยอดขาย (41) 6 ล้านบาท

ตลาดในประเทศ 50% ยุโรป อเมริกา

ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย อิสราเอล

นิธิกาญจน์ สุริยะกมล

ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทเซรามิคส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด

อายุ 31 ปี

การศึกษา MBA, Indiana University

ประสบการณ์ บ.โกดัก ประเทศไทย

 

บริษัท เซรามิคส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด

ก่อตั้ง 2540

ทุนจดทะเบียน 6 ล้านบาท

กำลังการผลิต 36 ตู้คอนเทนเนอร์ / ปี

ตลาด ยุโรป อเมริกา

ปิยะวาท บัวจีน

กรรมการผู้จัดการบริษัท ยูไนเต็ด อาร์ต จำกัด

อายุ 35 ปี

การศึกษา MBA,Rockford Colledge,Illinois

ประสบการณ์ ส่งออกในธุรกิจครอบครัว

ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่มบ่อสร้าง

บริษัท ยูไนเต็ด อาร์ต จำกัด

ก่อตั้ง 1992

ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท

ยอดขาย(41) -

ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทคิงส์ คอลเลคชั่น จำกัด

อายุ 32 ปี

การศึกษา บริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาด ม.กรุงเทพ

Diploma of Business , Perth Institute of Business & Technology

ประสบการณ์ บ.ไนท์สปอร์ตโปรดักชั่น

บ. ยูเนียนโมเสคอินดัสเตรียล

บ.อเมริกันสแตนดาร์ด

บริษัท คิงส์ คอลเลคชั่น จำกัด

ผลิตเครื่องตกแต่งจากเครื่องปั้นดินเผา

ทุนจดทะเบียน

ก่อตั้ง 2538

กำลังการผลิต 8 พันชิ้น/เดือน

ตลาด อเมริกา แคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย

ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น กัมพูชา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us