Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
เชียงใหม่ยุคที่ 3 ต้นแบบ SMEs             
 


   
search resources

SMEs
Chiangmai




ไม้สัก เป็นเศรษฐกิจกระแสหลักของเชียงใหม่ และหัวเมืองภาคเหนือมายาวนานกว่า 100 ปี นับจากการที่มีบริษัททำไม้ต่างชาติเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อเนื่องมาถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม้สัก เป็นตัวการเปลี่ยนโฉมหน้า ของเชียงใหม่อย่างขนานใหญ่ในแทบทุกมิติ นับตั้งแต่ด้านการเมือง ที่ผูกกับการดึงอำนาจในการจัดการผลประโยชน์ตัวนี้จากเจ้าผู้ครองนคร เข้าสู่อำนาจส่วนกลางในสมัยร.5 และก็มีการให้สัมปทาน กับบริษัทชาติตะวันตก เช่น อี๊สต์เอเชีย-ติ๊ก และบอมเบย์เบอร์ม่า จนแม่ปิงฝั่งตะวันออกกลายเป็นเขตที่คนต่างชาติทั้งฝรั่งและจีนมาปักหลักกันในยุคนั้น

ไม้สักนำมาซึ่งการพัฒนาด้านสังคม เช่น โรงเรียนและโรงพยาบาล จาก มิชชันนารีอเมริกันที่ปักหลักอยู่ระหว่างบริษัทของกลุ่มพ่อค้าไม้อังกฤษ โดยมีเรื่องเล่ากันว่าทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยชอบหน้ากันเท่าใดนัก

ต่อมาก็เริ่มเปิดสัมปทานป่าให้กับ ทุนจีน แต่น่าเสียดายที่ตระกูลทุนจีนทำไม้ยุคแรกๆ ไม่มีตกทอดหรือปักหลักกัน ในเชียงใหม่เลย เช่น ตระกูลโสภโณดร ของนายอากรเต็ง "เตียอูเต็ง" หรือ หลวง อุดรภัณฑ์พานิช เขาเป็นจีนที่ผูกขาดทั้งการค้าและทำไม้ในภาคเหนือในกำมือในช่วงดังกล่าว แต่อากรเต็งและทายาทก็เลือกจะปักหลักในเมืองหลวงมากกว่าจะอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ (อ้างอิงจากประยุทธ์ สิทธิพันธ์, คนหมายเลขหนึ่ง, พิบูลย์การพิมพ์ 2507 )

ผลประโยชน์จากไม้สัก เริ่มกระจายจากมือฝรั่งหลังจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 มาสู่ทุนท้องถิ่น เป็นตำนานการ เกิด "พ่อเลี้ยงไม้" หลายตระกูลในยุคต่อมา และยังเชื่อมโยงกับการสร้างกระแสเศรษฐกิจใหม่ทางการเกษตรคือ ใบยาสูบ ให้กับทุนท้องถิ่นกลุ่มนี้อีกทางหนึ่ง โดยยาสูบเริ่มเป็นพืชเศรษฐกิจให้กับภาคเหนือหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองไม่นานนัก

อย่างไรก็ตาม ไม้สัก ได้กลายเป็น อดีตของกระแสเศรษฐกิจหลักของเชียงใหม่และภาคเหนือจากนโยบายปิดป่า เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง เหลือเพียงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเพียง กลุ่มเดียวคือ ยาสูบ ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ภาย ใต้การควบคุมของโรงงานยาสูบ กระ-ทรวงการคลัง ปริมาณที่เหลือจากโควตา รับซื้อจะถูกส่งออก และเป็นผลประโยชน์ ปีละนับพันล้านบาทให้กับกลุ่มผู้ค้าใบยา

หมดจากยุคไม้สัก การค้าได้กลายเป็นเศรษฐกิจกระแสหลักของทุนรุ่นใหม่ พัฒนาการของเศรษฐกิจเมือง เชียงใหม่ในยุคต่อมา มีรากฐานมาจากการค้าของพ่อค้าชาวจีน จากภาคกลางที่ เริ่มเข้ามาบุกเบิกก่อสร้างตัวหลังจากการ ปฏิรูปการปกครอง และชาวจีนกลุ่มนี้เอง ที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตทางเศรษฐกิจของเชียงใหม่ในช่วง 50 ปีหลัง

แท้จริงแล้วที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อันเหมาะสมของเมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์ กลางตามธรรมชาติต่อการค้าเชื่อมโยงกับพื้นที่ต่างๆ ตอนในไม่ว่าจะเป็น พม่า หรือ จีนตอนใต้ ก่อนหน้าที่จะมีการค้าขายทาง เรือกับศูนย์อำนาจกรุงเทพฯ ช่วงรัชกาลที่ 5 และ 6 ได้มีคาราวานสินค้าเรียกว่า ขบวนวัวต่าง โดยชาวฮ่อ และเงี้ยว ค้าขายเชื่อมโยงกันภายในพื้นที่เป็นระยะ เวลานานมากแล้ว

ชาวจีนอพยพยุคแรก เลือกใช้การ เดินทางค้าขายด้วยเรือ เรียกว่าเรือแม่ปะ หรือ หางแมงป่อง ล่องค้าขายกับกรุงเทพฯ และหัวเมืองรายทาง จนกระทั่ง ทางรถไฟสายเหนือได้เชื่อมมาถึงสถานี เชียงใหม่ในพ.ศ. 2464 ยิ่งกลายเป็นปัจจัย เร่งอย่างรุนแรงต่อการเติบโตทางการค้า และการสร้างตัวของทุนจีนในยุคต่อมา

ปลายอ้อ ทองสวัสดิ์ ได้ศึกษาภาวะขยายตัวของทุนจีนในเชียงใหม่หลัง จากที่ทางรถไฟมาถึง ในวิทยานิพนธ์เรื่อง นายทุนพ่อค้ากับการก่อและขยายตัวของ ระบบทุนนิยมในภาคเหนือ (2464-2523), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพบว่าการ สะสมทุนจากการค้าในกลุ่มชาวจีนที่เพิ่ง เข้ามาในเชียงใหม่เป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะจากการค้าข้าว และนำเครื่องอุปโภคบริโภคเข้ามาจำหน่ายในเชียงใหม่

คนกลุ่มนี้กลายเป็นธุรกิจหลักที่สร้างเมืองเชียงใหม่ในเวลาต่อมา

รูปแบบความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเชียงใหม่กับศูนย์อำนาจเศรษฐ-กิจในกรุงเทพฯ ถือเป็นพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ก่อรูปอย่างต่อเนื่อง

แต่กรอบของความสัมพันธ์ในทางการค้าระหว่างหัวเมืองใหญ่กับศูนย์ กลางกรุงเทพฯ ยังเป็นไปในรูปของการพึ่งพิงที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

ตัวแบบของการพึ่งพิงของธุรกิจหัวเมืองกับอำนาจส่วนกลางนั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวแต่การเติบโตของธุรกิจหัวเมืองนั้น มีการพึ่งพิงอำนาจทางการเมืองควบคู่กัน ไปด้วย

กลุ่มธุรกิจที่สำคัญของเชียงใหม่ ในยุคการขยายตัวทางการค้า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เช่น

กลุ่มชินวัตร โดยเริ่มจากอากร-เส็ง ต้นตระกูลชินวัตรที่อพยพมาจากจันทบุรี จากการเป็นนายอากรแต่มีเหตุการณ์ขัดแย้ง จนเห็นช่องทางของการค้าผ้าไหม จึงอพยพครอบครัวไปปักหลักที่สันกำแพง ในพ.ศ.2453 ซึ่งยุคนั้นเป็นชุมชนใหญ่ด้านตะวันออกที่ห่างไกลเชียงใหม่พอสมควร เติบโตมาจากการค้าผ้าไหม ลูกหลานรุ่นต่อมาของ ชินวัตรแม้ว่าส่วนหนึ่งจะแยกไปประกอบ อาชีพอื่น แต่กิจการสำคัญคือผ้าไหมยัง เป็นหลักอยู่

กลุ่มชุติมา-นิมมานเหมินท์ เริ่มต้นจากหลวงอนุสารสุนทร (ซุนฮี้ แซ่ฉั่ว) ที่มีความผูกพันกับอำนาจรัฐเป็นนายอากรหมาก และสะสมทุนจากที่ดินเป็นเจ้าของตลาดสดใหญ่ๆ และร้านค้าชื่อ ชัวย่งเส็ง

ลูกหลานของตระกูลนี้มีบทบาท อย่างมากในเชียงใหม่ยุคพ.ศ.2500 เป็นต้นมา เริ่มบุกเบิกกิจการค้าใหม่ๆ ให้ กับเมืองเชียงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ สร้างโรงแรมชั้นหนึ่งแห่งแรกคือ โรงแรม รินคำ เพื่อรองรับอนาคตทางการท่องเที่ยวที่ก่อนหน้านี้คนเชียงใหม่ยังมองไม่ ออกว่าการท่องเที่ยวจะเป็นเศรษฐกิจหลักของเมืองได้อย่างไร

กลุ่มตันตรานนท์ การค้าปลีกของ ตระกูลตันตรานนท์ ภายใต้ชื่อ "ห้างตันตราภัณฑ์" ได้กลายเป็นตำนานการค้าของเชียงใหม่อย่างสมบูรณ์ไปแล้ว ภายหลังที่ต้องสูญเสีย "ยี่ห้อ" ให้กับกลุ่มเซ็นทรัล-โรบินสัน เมื่อ 2 ปีก่อน แต่ก็ยัง คงมีกิจการค้าปลีกของตนในรูปของ ซับแอเรียไลเซนส์ ร้าน 7-อีเลฟเว่น และ ริมปิงซุปเปอร์สโตร์

ตัวแบบของการค้าที่เริ่มต้นจากร้านของชำ สั่งสินค้าจากต่างประเทศและ ของอุปโภคบริโภคมาจำหน่าย ขยายมาสู่ห้างสรรพสินค้าประเภท Department Store แห่งแรกในภูมิภาค แต่ก็ทนแรงเสียดทานของการแข่งขันในธุรกิจนี้ที่ เน้นทุนเป็นหลักไม่ได้

นอกจาก 3 กลุ่มซึ่งเป็นที่รู้จักกัน ในระดับประเทศ ก็ยังมี ตระกูลศักดาธร เจ้าของบริษัทนิยมพานิช ผู้เติบโตจากการ เป็นเอเยนต์จำหน่ายสินค้าตั้งแต่รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เครื่องไฟฟ้า มาจนถึง คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ที่ปัจจุบันมีสาขาในภาคเหนือตอนบนหลายจังหวัด

ตระกูล เลียวสวัสดิพงษ์ ซึ่งต้นตระกูลเติบโตมาจากการค้าทางเรือ มีธุรกิจที่หลากหลายตั้งแต่เป็นตัวแทนขาย รถยนต์ เครื่องไฟฟ้า และทำร้านอาหารที่โด่งดังที่สุดในเชียงใหม่เพราะได้ต้อนรับ แขกระดับ เมดเดลีน อัลไบรต์ กับ มาดามคลินตัน มาแล้ว

สุดท้ายของกลุ่มธุรกิจที่เติบโตอย่างชัดเจนในยุคของการค้าคือ ตระกูลกิตติบุตร เจ้าของเชียงอินทร์พลาซ่า ย่าน ไนท์บาร์ซ่าเป็นกลุ่มที่สะสมทุนจากการค้า ทางเรือเช่นเดียวกัน

กรอบธุรกิจการค้าแบบเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า หรือการต้องพึ่งพิงส่วนกลาง เริ่มจะกลายเป็นปัญหาให้กับธุรกิจในยุคการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ อันสืบเนื่องมาจากความซับซ้อนทางการตลาดที่มากขึ้น

กรณีการดึงอำนาจในการจัดซื้อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์รวมระหว่าง เซเว่น-อีเลฟเว่น กับกลุ่มตันตราภัณฑ์เจ้าของซับแอเรียไลเซนส์ เมื่อช่วงปีที่ผ่าน มาเสมือนกับการลดอำนาจต่อรองของกลุ่มในการสั่งสินค้าจากซัปพลายเออร์สำหรับกิจการค้าปลีกของตัวเองไปในตัว

การเปิดเสรีทางการตลาดสินค้ารถยนต์ ทำให้เอเยนต์ หรือดีลเลอร์รายเดิม ไม่สามารถที่จะผูกขาดการขายสินค้า เฉพาะในพื้นที่ได้อีกต่อไป ลักษณะเช่นนี้ไม่จำกัดเฉพาะสินค้ารถยนต์เท่านั้น

เหล่านี้เป็นตัวอย่างของข้อจำกัดเรื่องเพดานการเติบโตของธุรกิจที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจของ หัวเมืองมาแต่เดิม

แม้ว่าในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู ทุน ท้องถิ่นในยุคการค้าได้ขยายไลน์ธุรกิจออกมาอย่างกว้างขวางและหลากหลาย เช่น โรงแรมและการบริการ หรืออสังหา-ริมทรัพย์ แต่ทว่าธุรกิจกลุ่มนี้จะมีปัจจัย สำคัญที่บ่งชี้การอยู่รอดหรือเติบโตในอนาคต นั่นคือ ทุนที่มากเพียงพอ ซึ่งธุรกิจในพื้นที่ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีข้อจำกัด เรื่องนี้แทบทั้งสิ้น

ยุคที่ 3 ของเชียงใหม่

ทางออกของรายย่อย

ยุคการค้าของธุรกิจเชียงใหม่ เฟื่องฟูที่สุดในระยะก่อน พ.ศ.2530 เล็ก น้อยต่อเนื่องมาจนถึงเวลานี้ แต่ในระหว่างนั้นการท่องเที่ยวเริ่มเป็นเศรษฐ-กิจหลักอีกขาหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สินค้าหัตถอุตสาห-กรรมกลายเป็นสินค้าเพื่อรองรับการท่องเที่ยว จากเดิมเป็นการผลิตในครัวเรือนเพื่อยังชีพ

บ้านบ่อสร้าง และอำเภอสันกำแพง และขยายตัวเป็นถนนสายการท่องเที่ยว นับจากปี 2520 เป็นต้นมา ในเวลาเดียวกันมีการขยายตัวของธุรกิจ บริการอย่างขนานใหญ่ควบคู่กันไป

กลุ่มธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยวมากที่สุดกลุ่มหนึ่งคือ ตระกูลบูรณุปกรณ์ ที่ปัจจุบันมีกิจการของที่ระลึกและการผลิตหัตถอุตสาห-กรรมตลอดเส้นทางสายนี้ นอกจากนั้นยังมีโรงแรมระดับ 5 ดาว 4 ดาวและ 3 ดาวครบวงจรอยู่ในมือ จนที่สุดนาย ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ ได้ก้าวขึ้นมาเป็น นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่คนปัจจุบัน

น่าสังเกตว่านายปกรณ์ถือเป็นนายกเทศมนตรีมีฐานของทุนจากภาคการท่องเที่ยวโดยตรง ขณะที่นักการเมืองท้องถิ่นในยุคก่อนจะมีฐานจากการค้า เช่น นายวรกร ตันตรานนท์ ของ กลุ่มตันตราภัณฑ์ หรือแม้แต่นายณรงค์ ศักดาธร จากนิยมพานิช ในยุคก่อนหน้านั้น

กลุ่มธุรกิจสินค้าหัตถอุตสาห-กรรมอาศัยฐานจากนักท่องเที่ยว ทั้งในและนอกประเทศ มีพัฒนาการที่น่าจับตามอง ทั้งในแง่กลยุทธ์การตลาด-เทคโนโลยี การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และ การจัดการ สืบเนื่องมาจากการแข่งขันภายใน และส่วนหนึ่งได้รับแรงบีบจากแหล่งผลิตประเภทเดียวกันในต่างประเทศ

ผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีมากกว่า 100 รายเฉพาะผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในสมาคมผู้ส่งออกสินค้าหัตถอุตสาหกรรมภาคเหนือ ล่าสุดมี 67 ราย ซึ่งเป็น กลุ่มผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งตัวเลขผู้ส่งออกที่แท้จริงมีมากกว่านี้เพราะบางส่วนเข้าสังกัดองค์กรอื่นๆ เช่น สภาอุตสาหกรรม หรือหอการค้า

แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นกิจการประเภทรับจ้างผลิตตามออร์เดอร์ หรือ ตามแบบที่ได้รับมา โดยอาศัยฐานฝีมือและต้นทุนแรงงาน แต่ก็มีกิจการอีกส่วน หนึ่งที่มีการนำกลวิธีการจัดการสมัยใหม่ ที่น่าสนใจเข้ามา

เช่น ผ้าไหมวิลาสินี ของตระกูลชินวัตรรุ่น 4 สายคงประยูร ที่อาศัยฐาน ธุรกิจผ้าไหมมาประยุกต์นำวัสดุอื่นๆ มา ทอเข้าด้วยกันกลายเป็นสินค้าผ้ากลุ่มใหม่ที่เน้นไปในงานตกแต่ง Home Decorate เพื่อตลาดส่งออก เป็นต้น

น่าสังเกตว่า ธุรกิจขนาดย่อมในกลุ่มนี้กลับไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐมากนัก โดยเวลานี้ภาครัฐไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับมูลค่าการส่งออกของธุรกิจ กลุ่มนี้ เช่น รายงานประจำปี 2541 ของธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาภาคเหนือ ระบุสั้นๆ เพียงว่า สินค้าที่ส่งออกผ่านท่าเรือกรุงเทพ และแหลมฉบัง ส่วนหนึ่ง ดำเนินการโดยผู้ส่งออกจากส่วนกลาง แต่ อีกส่วนหนึ่งส่งออกโดยผู้ประกอบการในภาคเหนือ แม้จะไม่มีข้อมูลที่จัดเก็บหรือประมาณไว้ แต่คาดว่ามีมูลค่าในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าภาคเกษตร

ขณะที่ น.ส.กาญจนา เทพารักษ์ ผ.อ. ศูนย์ส่งเสริมการส่งออกภาคเหนือ กระทรวงพาณิชย์ ยอมรับว่า ไม่สามารถ หาตัวเลขการส่งออกของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมในกลุ่มหัตถอุตสาห-กรรมได้ เพราะว่าส่วนใหญ่จะส่งโดยทางเรือ ทางสำนักงานทำได้เพียงตัวเลขประมาณการจากสถิติการขอใบแหล่งกำเนิดสินค้า หรือ ฟอร์ม เอ. แต่ก็เป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มที่จะเข้าไปขายในยุโรปและเป็นกลุ่มที่มีกฎให้แจ้งแหล่งกำเนิดสินค้า

อย่างไรก็ดี ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ภายใต้ภาวะการพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก กลุ่มธุรกิจรุ่นใหม่ ที่อาศัยฐานการผลิตดั้งเดิมที่เป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ อาทิ กลุ่มไม้แกะสลัก เซรามิก ผ้าไหมและผ้าฝ้าย ไปจนถึงสินค้ากลุ่มเกษตร ที่ อาศัยลักษณะภูมิประเทศเทือกเขาสูง เช่น ส้มที่อำเภอฝางได้สร้างกระบวนธุรกิจรูป แบบใหม่ขึ้นมาอย่างน่าสนใจ

ที่สำคัญคือเป็นรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพลังเศรษฐกิจจากส่วนกลาง เช่น รูปแบบการค้าลักษณะตัวแทน ขายในอดีต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us