Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
ดำรง เกษมเศรษฐ์ ความแตกต่างเดียวของบุญคลี             
 


   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์




เขาอยู่กับชินคอร์ปมาปีนี้เป็นปีที่

8 แล้ว และเป็นผู้บริหารที่ร่วมกับชินคอร์ปนับเป็นเวลายาวนานที่สุด เมื่อเทียบกับผู้บริหารคนอื่นๆ ของชินคอร์ป

ดร.ดำรงค์ เป็นผู้บริหารระดับสูงไม่กี่คนที่ไม่ได้เข้าร่วมก๊วนกอล์ฟในหมู่ผู้บริหารของชินคอร์ป การที่อยู่สหรัฐอเมริกามายาวนานถึง 17 ปี ทำให้เขาปรับตัวเข้ากับสังคมไทยไม่ง่ายนัก การพักผ่อนของเขาหากไม่ไปต่างจังหวัด ที่ดร.ดำรงค์ซื้อบ้านพักเอาไว้ในหลายจังหวัดแล้ว ส่วนใหญ่จะอยู่กับครอบ ครัว

"ผมมีเพื่อนเยอะ แต่เพื่อนที่สนิทมากๆ ไม่มี ผมเป็นคนค่อนข้างไม่ยุ่งกับใคร ไม่ได้สนิทกับใครเป็นพิเศษ เพราะทางธุรกิจทำแบบนั้นไม่ได้ ลูกน้องถือเป็นเพื่อน เป็นแบบฝรั่ง กลับบ้านอยู่กับครอบครัว" ดร.ดำรงค์บอกถึงบุคลิกส่วนตัวของเขา

ดร.ดำรงค์เป็นหนึ่งในสมองไหลที่ไปใช้ชีวิตในเมืองนอกมานานถึง 17 ปีเต็ม เป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงที่สอบชิงทุนไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบ ไปเรียนระดับไฮสคูล 3 ปี ก่อนจะเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเขาใช้เวลาเพียง 4 ปี ใช้ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก สาขาวิศวะไฟฟ้า ที่สถาบัน M.I.T. จากนั้นก็ใช้ชีวิตทำงานที่สหรัฐอเมริกาอีก 10 ปี

ประสบการณ์ทำงานส่วนใหญ่ของ ดร.ดำรงค์จะเริ่มตั้งแต่วางโครงการ และบริหารจนโครงการเดินได้ก็จะส่งมอบให้ลูกค้า เช่นที่เขาทำให้กับเจนเนอรัล อิเล็กทริกส์ และโครงการ Integrated of knowledge เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไอบีเอ็ม เอทีแอนด์ที ฮันนี่เวล

ดร.ดำรงค์บินกลับเมืองไทยมาในยุคที่ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในไทยกำลังเริ่มต้น และเป็นช่วงเวลาเดียว กับการได้สัมปทานใหม่ของทักษิณ

เป้าหมายแรกของงานปักหลักทำงานในไทยของ ดร.ดำรงค์ คือ โครงการดาวเทียมไทยคม แต่ทำได้ไม่นานก็ต้องย้ายไปดูไอบีซี ซึ่งกำลังประสบปัญหาเรื่องขาดทุน

"ผมย้ายไปดูไอบีซี เพราะตอนนั้นเขากำลังเดือดร้อน ไฟไหม้อยู่ ถูกสั่งให้ไปดับไฟ ไปทำมา 3 ปีครึ่งก็ย้ายมา ดาวเทียม ไฟก็ไหม้ไอบีซีต่อ จนเรียบ"

การลดบทบาทของทักษิณออกจากชินคอร์ปในช่วงหลายปีมานี้ และเปิดทางให้มืออาชีพเข้ามาบริหารงาน ดร.ดำรงค์เป็นหนึ่งในผู้บริหารที่มีโอกาสสร้างระบบจัดการสมัยใหม่ให้กับชินคอร์ป จากโอกาสที่เปิดกว้างเหล่านี้ด้วย

เขาเป็นคนเดียวที่มีความเห็นที่แตกต่างไปจากบุญคลีหลายเรื่อง แต่สิ่งที่เขาพยายามก็คือ การสร้างการจัดการเป็นทีมงานที่โปร่งใส และทำให้ความแตกต่างดำรงอยู่ได้ ภายใต้การจัดการที่อยู่ภายใต้โครงสร้างเดียวกัน

ดร.ดำรงค์เชื่อว่าเคเบิลทีวี ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ยังมีอนาคตโอกาสรอดยังมี เพียงแต่ต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของรายการภายในประเทศ และต้องจริงจังกับการแก้ปัญหา

"ผมเสียดายไอบีซี ตรงที่ว่าต้องออกมาในช่วงองค์กรยังไม่เข้มแข็ง พอเปลี่ยนผู้บริหารมั่นล่มเลย คือ ทีมงานไม่พร้อม แต่อยู่ที่ชิน แซทเทลไลท์ ผมมีเวลาถึง 5 ปี คนก็ต่างกัน คนที่นี่มีความเชื่อมั่นสูงมาก คนที่นี่มีอิสระ เราต้องให้โอกาสเขาด้วย ระดับผู้จัดการฝ่ายเขาไม่ต้องมาถามผม เขาตัดสินใจได้เลย" ดำรงค์บอกถึงสไตล์การบริหาร

ดร.ดำรงค์ไม่เชื่อในเรื่องของหลักสูตรฝึกอบรมของผู้บริหารระยะ สั้นๆ 2-3 เดือน แม้จะเป็นสถาบันการศึกษาดังๆ ในต่างประเทศ และถึงแม้ว่าในระหว่างที่เขาทำงานที่บริษัท Rock- well ในสหรัฐอเมริกา ดำรงค์เองก็ศึกษาต่อสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยา-ลัย UCLA มาแล้วก็ตาม

เขาไม่เห็นด้วยที่ผู้บริหารบินไปเรียนหนังสือเมืองนอก 3 เดือน ในช่วงที่ชินคอร์ปอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อหลัง จากที่ปรับโครงสร้างมาได้แค่ครึ่งปี

แต่เขาก็เป็นหนึ่งใน "ซีพียู" ตาม ทฤษฎีที่ว่าด้วย Distributed ของบุญคลี ที่ถูกส่งไปเป็นประธานกรรมการบริหารในบริษัทลูก ชิน แซทเทลไลท์ นอกเหนือจากภารกิจการสะสางกิจการลงทุนในต่างประเทศของชินวัตร อิน-

เตอร์เนชั่นแนล

หลังจากหมดภาระในงานหินอย่างไอบีซี ดร.ดำรงค์กลับมาเริ่มต้นกับธุรกิจดาวเทียมไทยคมอีกครั้ง ในปี 2537 ซึ่งเป็นช่วงเวลาและดาวเทียมไทยคม 1 และ 2 เริ่มเปิดให้บริการ และเป็นช่วงเดียวกับที่ชินวัตรแซทเทลไลท์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หลังจากยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าก่อนหน้านี้เพียงปีเดียว

ในช่วงปี 2538 ชินคอร์ปได้ปรับโครงสร้างการบริหารงาน ยกเลิกตำ-แหน่งกรรมการผู้อำนวยการ กำหนดให้มีตำแหน่งรองประธานบริหารขึ้นมาแทน 2 ตำแหน่ง บุญคลีได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานบริหาร ควบคุมดูแลสายธุรกิจทั้ง 5 สาย ส่วนดร.ดำรงค์ เป็น รองประธานกรรมการบริหาร ดูแลด้าน นโยบายของกลุ่มชินวัตร

ดร.ดำรงค์ได้สร้างระบบการจัดการขึ้นภายในชิน แซทเทลไลท์ ให้อยู่ภายใต้รูปแบบมาตรฐานของมืออาชีพ ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เริ่มแรก การคัดเลือกคนที่จะมาร่วมงาน ประสบการณ์ที่ต้องมาร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดร.ดำรงค์ก็เชื่อในการบริหารแบบกระจายอำนาจ

"เด็กทำงานที่นี่จะมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่ใช่ทุกครั้งที่เจอลูกค้าที่เป็นVice President แล้วเราต้องเอา Vice President ไปชน ตอนไปตกลงกับรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของลาว เขมร ก็เป็นระดับผู้จัดการฝ่าย ไปตก ลงได้เลย ยกเว้นแต่ต้องการเชิญไปเป็นหน้าตา เราไม่มีการแบ่งขั้นตอนการทำงาน แต่เราทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้า ของ"

นับตั้งแต่ วันที่ 11 กันยายน 2542 จะเป็นวันที่ไทยคม อายุคุ้มครองดาวเทียมหมดลง และจะเป็นวันที่ดาวเทียมไทยคมจะต้องลงสนามแข่งขันอย่างแท้จริง

ดร.ดำรงค์ใช้ไทยคม 3 ในการสร้างประสบการณ์ และการเรียนรู้ในการแข่งขันระดับภูมิภาค เป็นบทแรก ตัวเลขยอดรายได้ 35% ในปี 2541 ที่ได้มาจากลูกค้าต่างประเทศเป็นการันตีแรกของความพร้อมในการแข่งขันบนน่านฟ้า

นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ด้วยการขายแบบครบวงจร Turnkey Project แล้วนั้น มาตรฐานไอเอสโอ มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยสร้างความมั่นใจการรับมือกับตลาดเสรี หลังวันที่ 11 กันยายน 2542

และบทพิสูจน์รอบใหม่ของดร. ดำรงค์ก็จะเริ่มขึ้นอีกครั้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us