Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542
สมประสงค์ บุญยะชัย ผู้บริหารสินทรัพย์ใหญ่สุดของชิน             
 


   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
สมประสงค์ บุญยะชัย




สมประสงค์ เป็นผู้บริหารที่ได้มอบหมายจากชินคอร์ป ให้บริหารดูแลธุรกิจที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ที่สุดของชิน คอร์ป ที่มีขนาด 41,526 ล้านบาท ทำรายได้ 14,000 (ปี 2541) เป็น core business ที่สำคัญของกลุ่มชินคอร์ป

หลายปีมานี้ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เติบโตขึ้นมาเป็นลำดับ จากการขยายของตัวเลขเครื่องลูกข่ายที่เพิ่มขึ้นมาตลอด

เป็นการเติบโตที่ทำให้บริการเสริมอย่างโทรศัพท์มือถือ ขึ้นแซงหน้าโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบสื่อสารของไทย จึงเป็นเรื่องที่ผิดแผกแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆ ค่อนข้างมาก

และนี่คือความชาญฉลาดของทักษิณ ที่กลายเป็นตำนานมาจนทุกวันนี้

สมประสงค์เข้ามาทำงานอยู่กับชินคอร์ป ปีนี้เป็นปีที่ 7 ก่อนหน้านี้เคย รับราชการอยู่กองทัพอากาศได้ 2 ปี ก็ลาออกมาอยู่ปูนซิเมนต์ และไปทำงานที่ไอบีเอ็มถึง 10 ปีเต็ม ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนลาออกมาอยู่กับชินคือ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ก่อนจะมาเริ่มงานกับ ชินคอร์ปในปี 2535 ไล่เลี่ยกับผู้บริหารหลายคนเวลานั้น ความเป็นวิศวกรของสมประสงค์ ที่มีกรอบทางความคิดที่แน่ชัด บวกกับประสบการณ์หลายปีในชินคอร์ป และได้ ทำงานบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์-วิส มาอย่างต่อเนื่อง สมประสงค์เหมาะ สำหรับการดูแลรับผิดชอบธุรกิจที่มีความซับซ้อนของระบบมากที่สุดอย่างโทรศัพท์มือถือ

พื้นฐานแรกของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ก็คือการสร้างเครือข่ายเป็นขั้นตอนที่มีความยุ่งยาก สมประสงค์บอกว่ามีความสลับซับซ้อนและยุ่งมากในเกือบทุกขั้นตอน ด้วยเงื่อนไขที่ต้องครอบ คลุมพื้นที่บริการมากที่สุด ความยุ่งยากของระบบจึงเริ่มต้นมาตั้งแต่การออกแบบสถานีฐาน การเชื่อมต่อเข้ากับชุมสาย ระบบสื่อสัญญาณ ที่ต้องเชื่อมโยงเข้ากับชุมสาย ที่ต้องเช่าจากทศท. หรือแม้แต่สถานที่ติดตั้ง

เมื่อจำนวนคนใช้มากขึ้น ต้องขยายระบบที่จะมารองรับ และมาถึงขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ ที่เมื่อชุมสาย มาก โอกาสเสียก็มาก ความยุ่งยากจากปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา "จำนวนสถานีฐานที่มี 190 แห่ง จนถึงเวลานี้ที่มี 2,800 แห่ง ความสลับซับซ้อนของเครือข่ายจะต่างกันมากถ้าใครมาบอกว่าระบบขับเคลื่อนที่ ไม่มีอะไรต้องปรับปรุงแล้ว บอกเลยว่า โม้ ปัจจัยภายนอกสูงมาก เช่น เรามีสถานีทวนสัญญาณที่วังน้อย อยุธยา ในฤดูร้อน ฤดูแล้ง ในหน้าน้ำ มันมีน้ำหมดเลย มันใหญ่มากขนาดนั้น ปรากฏว่ามัน ใช้ไม่ได้ เพราะน้ำมันสะท้อนขึ้นมา สิ่งเหล่านี้ไม่มีในทฤษฎี หรือที่สุราษฎร์-ธานี มันควรจะไปไกลได้มากกว่านี้ปรากฏว่ายางพารา ดูดซับสัญญาณหมด"

คำกล่าวของสมประสงค์เป็นสิ่งที่สะท้อนว่า แม้ระบบจะซื้อหามาได้ แต่ใช่ว่าจะสำเร็จรูปจะต้องมีการแก้ไขปัญหาด้วย ที่ไม่สามารถได้มาจากเจ้า ของเทคโนโลยี ธุรกิจโทรศัพท์มือถือของเมืองไทยที่ให้สิทธิ์ผู้บริการเป็นทั้งผู้ให้บริการ และผู้นำเข้า และจำหน่ายเครื่องลูกข่าย แบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ถ้าไม่พูดถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจแล้ว ในแง่ของปฏิบัติแล้วเป็นอีกที่มาเพิ่มความสลับซับซ้อนในการทำงาน เพราะไม่เพียงแค่ต้องเกี่ยวข้องกับการตลาด ที่เกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องลูกข่าย

ตลอดเวลาที่ผ่านมา แอดวานซ์ พยายามวางตำแหน่งสินค้าให้เหนือกว่าคู่แข่งขันอย่างการควบคุมระบบการนำเข้า และการกำหนดวิถีทางการตลาด ด้วยการจัดจำหน่ายผ่านร้านค้าเทเลวิซ เพื่อรองรับกับลูกค้า นอกเหนือจากการขายผ่านดีลเลอร์ ที่ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ด้วยขนาดและความซับซ้อนของ ธุรกิจ และเงื่อนไขด้านการเงิน ที่เป็นสาเหตุของการเปิดให้มีพันธมิตร เข้ามาถือหุ้นในแอดวานซ์ ก็มาจากเงื่อนไขที่ว่า พันธมิตรนั้นนอกจากมีฐานการเงินที่แข็งแกร่งแล้ว จะต้องมีความสามารถที่จะมาช่วยในการพัฒนาเครือข่ายที่มีความสลับซับซ้อน

และนี่ก็คือที่มาของสิงคโปร์เทเลคอม

แม้กลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น จะมีสัมปทานหลักอยู่หลายโครงการ แต่ที่เป็น core business ของกลุ่มก็คือ ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ตลอดจนการปรับ ตัวของชินคอร์ปที่แล้วมา จึงมีแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เป็นโจทย์ตั้งเสมอมา

แม้รายได้มาก แต่ก็เป็นธุรกิจต้องลงทุนในการซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งเครือข่ายสูง และอุปกรณ์เหล่านี้ต้องนำเข้า จึงต้องกู้เงินมาช่วยในการขยาย วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ก็ทำเอาแอดวานซ์ประสบปัญหาไม่น้อยมีหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินบาทถึง 10,000 ล้านบาท และยอดคืนเครื่องที่เพิ่มสูงมาก

ทำให้ชินคอร์ปต้องวิ่งแก้ปัญหา ด้วยการยอมให้มีพันธมิตรเข้ามาซื้อหุ้น และนั่นคือที่มาของสิงคโปร์เทเลคอม ที่จะมาช่วยให้การพัฒนาในเรื่องของฐานการเงิน ระบบการจัดการ ตลอดจนเครือข่ายและบริการได้รับการพัฒนาไปอีกขั้น การแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เป็นธงที่ทำให้แอดวานซ์ต้อง เตรียมพร้อมในตัวองค์กรมากที่สุดเพื่อรองรับกับการแข่งขัน

"ผมมองด้วยความระมัดระวัง ขณะนี้เราดูเหมือนเป็นผู้ผ่านพ้นวิกฤตด้วยดี แต่ไม่ใช่สิ่งที่เรามาลำพองใจ เราพร้อมแค่ไหนจะแข่งขันกับเขา เราต้องยกระดับการทำงานขึ้นไป ฉะนั้นแผนงานหลายอย่างจึงเกิดขึ้น"

ภายใต้โครงสร้างใหม่ของชิน-คอร์ป เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ที่มุ่งไปที่การบริหารการจัดการที่เป็นมาตรฐานสากล ที่กลายเป็นธงนำที่ทุกบริษัทต้อง เดินตาม แอดวานซ์จึงมีหน่วยงานใหม่ ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับกับการเตรียมพร้อมในเรื่องของคนโดยเฉพาะ จะมีทีม งานที่เรียกว่า "manager school" โดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่หล่อหลอมผู้บริหารระดับผู้จัดการให้มีวิธีการทำงานที่เป็นทิศทางเดียวกัน

"งานประจำจะต้องลดระดับลง คนสายเทคนิคจะได้รับการอบรมใหม่ให้มีการเรียนรู้เรื่องของธุรกิจ การใช้อินเตอร์เน็ต การใช้ไอทีให้เป็นประโยชน์ เปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์ใหม่" นี่คือสิ่งที่แอดวานซ์กำลังเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขัน

และการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการจัดการ เป็นแรงผลักดัน ที่แอด วานซ์จะต้องปรับไปสู่การเป็นองค์กรมือ อาชีพอย่างแท้จริง โดยเฉพาะภาพพจน์ ที่จะปรากฏสู่สายตาภายนอก แม้แต่การใช้สื่อโฆษณา นับจากนี้การแข่งขันระหว่างสองค่ายโทรศัพท์มือถือ ที่เคยใช้ ข้อความโต้ตอบกันจะถูกเปลี่ยน คอนเซ็ปต์ใหม่ของการโฆษณาจะต้องบอกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเรื่องราวดีๆ ของแอดวานซ์ จะไม่มีข้อความหรือถ้อยคำกระทบกระเทียบอีกต่อไป

"เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เราบริหารงานแบบวิ่งชนงาน การทำงานเวลานี้ในเชิงจัดการต้องสูงขึ้น การทำงานที่จะอิงกับระบบไม่ใช่ขึ้นกับบุคคล คอนเซ็ปต์เดียว กับการวางมาตรฐานไอเอสโอ"

และเป็นสิ่งที่แอดวานซ์จะต้องอาศัยพันธมิตรอย่างสิงค์เทลเกื้อกูลกันในทุกๆ เรื่อง นอกจากการส่งมือบริหาร เข้ามานั่งดูแลด้านปฏิบัติการ รองมาจากสมประสงค์ และผู้บริหารมาเป็นที่ปรึกษาด้านระบบแล้ว ยังต้องมีการตั้งทีมงานเพื่อมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น สินค้าและบริการที่จะเชื่อมโยงกันในระดับภูมิภาค วันทูคอล เป็นบริการแรก ตลอด มาจากการสร้างโครงการข่าย Intel-igent network ที่เป็นเครือข่ายที่ใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อมีความพร้อมในเรื่องของเงินทุน และเป้าหมายที่ต้องรับมือกับการแข่งขันแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็คือ การที่แอดวานซ์จะมุ่งไปในเรื่อง ของการปรับปรุงในเรื่องของบริการ ที่เป็นไปอย่างจริงจังและชัดเจนมากขึ้น และลงรายละเอียดมากขึ้น ที่ปรากฏออกมาก็คือ call center ที่ถือเป็นบทแรกของการให้ความสำคัญกับการให้บริการที่ชัดเจน และที่จะตามก็คือ การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือของการให้บริการอันใหม่

ด้วยการที่เป็นธุรกิจหลักที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญ ภายใต้โครงการสร้างใหม่ที่ distribute กระจายอำนาจออกไปมีการบริหารงานเป็นของตัวเองแล้ว การเชื่อมโยงจะอยู่ภายใต้กติกาการตัดสินใจของบอร์ดและระบบเครือข่ายอยู่ และใกล้ชิดใกล้ตัวมากกว่า บริษัทลูกอื่นๆ

ไม่เพียงแต่การที่ชินคอร์ปยังคงใช้สถานที่ทำงานบนตึกชิน 1 ริมถนน พหลโยธินแล้ว ระบบบัญชีของแอดวานซ์ ก็ทำงานอยู่บนระบบซอฟต์แวร์ sap rs เช่นเดียวกับของชินคอร์ป การ ทำงานระหว่างสมประสงค์และบุญคลี ก็ยังคงร่วมมืออยู่ในระดับที่เข้มข้นเหมือนเคย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us