Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
Tips for working day (2)             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 

   
related stories

Tip for the working day (1)




เป็นนามแฝงของนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในงานประจำด้านจิตเวช และจิตวิทยาแล้วยังมีความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เขาจะเสนอมุมมองและสาระความรู้ที่น่าสนใจในคอลัมน์"จากฝั่งพรานนก" ก่อนอื่นผมต้องขอแก้ไขข้อผิดพลาดที่ค่อนข้างจะร้ายแรงในบทความฉบับที่แล้ว ในครั้งก่อนผมพูดถึงการตั้งนาฬิกาให้เร็วไว้ประมาณ 5 นาที เพื่อเรา จะได้มีเวลาเหลือ 5 นาทีในการไปตามนัดหมายต่างๆ แต่ปรากฏว่าหนังสือฉบับที่แล้วกลับพิมพ์ตกเลข 5 ไป ซึ่งคุณผู้อ่านก็คงจะรู้สึกขัดอยู่ในใจว่าตั้งเวลาเร็วไปหนึ่งนาทีจะได้ประโยชน์อะไร ก็ขอให้เข้าใจตามนี้

อาจจะมีคนขี้สงสัยตั้งคำถามว่า แล้วตั้งเวลาให้เร็วขึ้นเป็น 10-15 นาทีไม่ ได้หรือ คำตอบคือการตั้งเวลาให้เร็วมากๆ นั้นไม่มีประโยชน์ เพราะคนตั้งเวลาก็ทราบว่าตัวเองตั้งเร็วไว้มาก ดังนั้นโอกาสที่จะชะล่าใจว่าเวลาเหลือมีมาก ทำให้พลาดได้ง่ายๆ

คราวนี้มาคุยกันต่อถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่อาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในชีวิต และการทำงานสำหรับคุณ

ลองนึกถึงสมัยเด็กๆ หรือย่างเข้า วัยรุ่น ผมเชื่อว่าเราทุกคนมักจะมีวีรบุรุษ (บางคนอาจมีวีรสตรี) บางคนอาจจะมีมากกว่าหนึ่งคนด้วยซ้ำ วีรบุรุษที่ว่านี้อาจจะมีตัวตนจริงๆ หรือเป็นเพียงตัวเอกในภาพยนตร์ญี่ปุ่นก็ตามที ลองคิดทบทวนดูว่าเราได้อะไรจากวีรบุรุษเหล่านี้ หากลองคิดดูคุณจะพบว่าสิ่งที่เราได้คือแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต หรือฟันฝ่าอุปสรรค คนที่อยู่ในวัยทำงานก็เช่นกัน วีรบุรุษในดวงใจเป็นเสมือนรูปแบบให้เราดำเนินตาม สิ่งที่ต่างกันคือ วีรบุรุษของคนวัยทำงานควรเป็นคนที่มีตัวตน และยิ่งดีขึ้นหากคนผู้นั้นเป็นคนที่เรารู้จักและสามารถพูดคุยขอคำปรึกษาได้ ที่สำคัญที่สุดคือ วีรบุรุษของ เรานั้นไม่จำเป็นต้องเป็นคนเก่งในทางธุรกิจ แต่ขอให้เป็นคนเก่งในเรื่องที่คุณสนใจและอยากจะเรียนรู้จากเขา คุณจะพบว่าสิ่งที่คุณเรียนรู้จากครูนั้นไม่ใช่เพียงแค่ความสามารถในเรื่องนั้นๆ แต่คุณมักจะได้ปรัชญาในการดำเนินชีวิตควบคู่กันไปด้วย ติดตามความก้าวหน้า ความรู้ใหม่ๆ ในวิชาชีพของคุณอย่างสม่ำเสมอ บางคนคิดว่าเรียนจบก็คือจบ ชีวิตการเรียนจบลงหลังจากออกจากวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย หากต้องการเรียนรู้อะไรเพิ่มก็ไปเรียน MBA ต่อ พอเรียนจบ MBA ก็คือจบ ไม่ต้องติดตามศึกษาอะไรต่ออีก ในความเป็นจริงแล้วความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา การเลิกสนใจใฝ่รู้ทำให้เราล้าหลังในวิชาชีพ ส่วนการเรียน MBA นั้นอย่าลืมว่าสิ่งที่ได้ก็เป็นเพียงความรู้ในขณะนั้น เมื่อคุณเรียนจบ ความรู้ความก้าวหน้าก็เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่น่าจะช่วยให้เราติดตามความก้าวหน้าใหม่ๆ ในวิชาชีพได้ดีก็คงจะไม่พ้นนิตยสารต่างๆ พยา-ยามอ่านนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพของคุณเป็นประจำ แล้วคุณจะพบว่าความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา

หากคุณพบว่าการประชุมต่างๆ ในที่ทำงานของคุณนอกจากจะเสียเวลาเป็นชั่วโมงแล้วยังไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันอีกต่างหาก ลองเปลี่ยนการประชุมให้สั้นลง โดยการกำหนดเวลาเริ่มและเลิกประชุมให้ชัดเจน มีหัวข้อของการพูดคุยให้ทราบก่อนจะเริ่ม และที่สำคัญหากกลุ่มคนที่เข้าประชุมไม่มากนักลอง เปลี่ยนรูปแบบเป็นการยืนประชุมและพูดคุยแทน คุณจะพบว่าคุณเหลือเวลา จากการประชุมมากขึ้น และการประชุมนั้นมีข้อสรุปที่ชัดเจนมากกว่าแต่ก่อน

หากการประชุมของคุณไร้ทิศทาง และไม่ไปในจุดที่คุณต้องการ ลองถาม ให้มากขึ้น และบ่อยขึ้น คุณจะพบว่าการประชุมจะถูกชักนำให้ไปในทิศทางของผู้ถาม เหตุผลง่ายๆ ที่ไม่ค่อยมีคนคิดถึงกันนักคือ เมื่อคุณตั้งคำถาม คนอื่นต้องคิดตามเพื่อตอบ และการตอบก็มักจะไปในทิศทางของผู้ถาม นั่นคือผู้ที่ถามบ่อยๆ ในการประชุมจะชักนำการประชุมไปสู่ทิศทางที่เขาต้องการ

พยายามขอความเห็นของเพื่อนร่วมงาน หรือลูกน้องของคุณบ่อยๆ เหตุ ผลง่ายๆสองประการคือ ประการแรกที่เห็นได้ชัดเจนคือ คุณจะได้รับแนวคิดใหม่ๆ หรือแนวคิดที่หลากหลายแตกต่างจากมุมมองของคุณทำให้คุณเห็นอะไรกว้างขึ้น และคิดอะไรรอบคอบขึ้น ส่วนเหตุผลประการที่สองที่คนอาจไม่ค่อยจะนึกกัน แต่เป็นเหตุผลสำคัญไม่แพ้เหตุผลแรก คือ การที่คุณถามความเห็นคนอื่นนั้นแสดงให้ผู้นั้นเห็นว่าคุณให้เกียรติเขา ทำให้เขารู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับ เงินทองไม่ใช่สิ่งที่สำคัญเพียงสิ่งเดียวในชีวิตการทำงาน แต่ความภูมิใจในเกียรติและการเป็นที่ยอมรับก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คงจะเป็นในแวดวงราชการ ที่มูลค่าตัวเงินของการได้สองขั้นนั้นน้อยมาก แต่คนก็แย่งกัน เพราะต้องการความภูมิใจมากกว่าตัวเงิน การที่คุณขอความเห็นเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องจึงทำให้เขารู้สึกว่า "เขาเป็นพวกเดียวกับคุณ"

อย่านึกว่าการขอบคุณในสิ่งที่คนอื่นทำให้คุณเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไม่มีความสำคัญอะไร หรือคุณไม่จำเป็น ต้องทำเพราะมันเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องทำให้กับคุณ ในความเป็นจริงแล้วการขอบคุณแม้จะทำในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แต่ในความจริงแล้วมันก็เหมือนกับการขอความเห็นเพื่อนร่วมงาน นั่นคือมันทำให้ผู้รับรู้สึกถึงการยอมรับ และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาทำให้กับตัวคุณ ยิ่งกับเพื่อนร่วมงานต่างองค์กร หรือคู่ค้าที่ทำธุรกิจร่วมกัน การเขียนและส่งการ์ดแสดงความขอบคุณ จะทำให้เขาประทับใจในตัวคุณ และยินดีที่จะติดต่อ หรือทำงานร่วมกับคุณต่อไป เพราะความที่ทุกคนมองว่าการขอบคุณเป็นเรื่องเล็กน้อย คุณจึงทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ค่อยจะทำกัน อย่าลืมที่จะมีความเห็นของตัวเอง การมีความเห็นของตัวเองที่ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกับคนอื่นนั้น บ่งบอกถึงความเป็นตัวของตัวเอง และความสามารถในการนำผู้อื่น หรือคิดที่จะนำผู้อื่นได้ หากคุณมีความเห็นที่ต่างจากเจ้านายและคุณมั่นใจในความคิดนั้น จงกล้าที่จะเสนอความเห็นนั้น แต่หากคุณคิดว่าคุณไม่สามารถมีความเห็นที่แย้งกับคนอื่นได้เพียงเพราะ "เจ้านายไม่ชอบ" นั่นหมายความว่าคุณควรที่จะนึกถึงการออกจากที่ทำงานนั้น และหางานใหม่ทำ เพราะบริษัทนั้นหรือที่ทำงาน นั้นคงจะประสบกับความล้มเหลวในเวลาไม่นานนัก หากวัฒนธรรมในองค์กรนั้นปฏิเสธที่จะยอมรับคนที่คิดแตกต่างออกไป

หากคุณคิดว่าคุณเป็นคนที่มีความสามารถแต่เพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายไม่ค่อยจะเห็นถึงสิ่งที่คุณทำ หรือความสำคัญของคุณโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามีการโปรโมตตำแหน่งใหม่ๆ ลองนึกถึงสองวิธีต่อไปนี้ที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่พวกเขามีต่อคุณ ประการแรก การประสบความสำเร็จในการทำงานไม่ใช่อยู่เพียงการรับผิดชอบ หรือทำงานได้ดี แต่อยู่ที่การรับผิดชอบทำงานได้ดี และที่สำคัญกว่าคือ เจ้านายทราบว่าคุณเป็นผู้ทำสิ่งนั้น หลายต่อหลายครั้งที่คนเก่งมีความสามารถไม่ได้รับการโปรโมตจากเจ้านาย หรือองค์กรของตนเพียงเพราะเขาเหล่านั้นละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ คนที่ทำงานธรรมดา หรือไม่โดดเด่น อะไรจึงมักจะได้รับความสนใจจากเจ้านาย เพราะคนเหล่านี้ พยายามให้เจ้านายรับรู้ หรือเห็นความสำคัญของสิ่งที่เขาทำ ดังนั้นนอกจากจะเก่งในการ ทำงานแล้ว อย่าลืมสื่อสารให้คนรอบข้างทราบด้วย

ประการที่สอง หากคุณมีบุคลิก หรือลักษณะการแต่งตัวและการแสดง ออกคล้ายคลึงกับเพื่อนร่วมงานที่อาวุโส หรืออยู่ในตำแหน่งงานที่สูงกว่า เมื่อถึงช่วงของการพิจารณาการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ภาพลักษณ์เช่นนี้จะติดอยู่ในความคิดของเจ้านาย ดังนั้นเขาจะคิดถึงคุณเป็นลำดับแรกๆ คิดถึงความอาวุโสของคุณว่า "พอเพียง" ที่จะไปแทนที่ หรือสามารถรับตำแหน่งที่อาวุโสขึ้น แต่หากคุณมีบุคลิกหรือการแต่งตัว เหมือนๆ กับเพื่อนร่วมงานทั่วๆ ไป แน่นอนว่า เจ้านายก็อาจจะมองว่าคุณยังคงอ่อนอาวุโสเกินกว่าที่จะรับการโปรโมต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us