Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
เพลินเพื่อรู้             
 





หนังสือเล่มกะทัดรัดจัดพิมพ์ประณีตฉบับนี้ เป็นผลต่อเนื่องจากหนังสือเพลินเล่มโต ซึ่งอาจารย์ชัยอนันต์พัฒนาจากปรัชญาการศึกษาที่สานต่อพระราโชบายของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ที่ทรงเน้นสร้างวิธีคิดแบบพับลิคสกูลขึ้นในประเทศไทยคือ วชิราวุธวิทยาลัย

โรงเรียนวชิราวุธฯ ก็คือสถานที่ซึ่งอาจารย์ชัยอนันต์กำกับดูแลและบริหารอยู่ในตำแหน่งผู้บังคับการ เรียกว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ แต่มีภาระหน้าที่มากกว่าครูใหญ่หรืออาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนโดยทั่วไป ในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีถึงพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี 2453 ทรงความตอนหนึ่งว่า

"ข้าพเจ้าต้องการให้การศึกษาเป็นสิ่งเพลิดเพลินสำหรับเด็ก เพื่อว่าในภายหน้าเขาเหล่านั้นจะได้หวนไปรำลึกถึงชีวิตที่ได้ผ่านมาเมื่ออยู่ในโรงเรียนว่าเป็นสิ่งสนุก ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้เอาโรงเรียนของข้าพเจ้าไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นๆ ซึ่งมีจุดประสงค์ต่างกัน ถ้าข้าพเจ้าต้องการแต่เพียงโรงเรียนประเภทธรรมดาแล้ว ข้าพเจ้าคงจะได้สร้างโรงเรียนเช้ามาเย็นกลับ หาใช่โรงเรียนกินนอนไม่"

ด้วยวิธีคิดตามแนวนี้ บวกกับประสบการณ์ของท่านผู้บังคับการ ซึ่งผ่านการเรียนในวชิราวุธมาก่อนพบว่าลำพังการเรียนเพื่อจำย่อมต่างไปจากเพื่อรู้ และการเรียนควรมุ่งไปยัง "ความรู้ "มากกว่า "ความจำ" ทำให้วิธีคิดของคำว่าเพลิน {มาจาก learn+play=plern (เพลิน)} หมายความว่าการเล่นในโรงเรียนสามารถโยงไปถึงการเรียนได้หมด

ที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน "เพลินเพื่อรู้" ไม่ใช่ด้วยเหตุผลที่หนังสือเล่มนี้เป็นภาคทฤษฎีและการปฏิบัติตามหลักการ "เพลิน" เท่านั้น

แต่เป็นหนังสือที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ กับผู้อ่านได้มาก มีความหลากหลายต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของนักเรียนอย่างลึกซึ้ง

อย่างน้อยการบวกประสบการณ์ สร้างบรรยากาศให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน ได้ตั้งเป็นคัมภีร์มานานแล้วในกระบวนการปฏิรูปการศึกษาไทย แต่ดูเหมือนจะเป็นคัมภีร์หนีห่างความจริงไปมากโรงเรียนในปัจจุบันมีอุปกรณ์การศึกษา ใช้วิดีทัศน์คอมพิวเตอร์ มีเทคนิคการเรียนการสอนพัฒนาไปมาก แต่การวัดผลด้วยความจำการออกข้อสอบทดสอบยังอยู่กับที่

อ.ชัยอนันต์ชี้ว่าเด็กๆ แปรสภาพ เป็นผู้ควบคุมกระบวนการเรียนรู้ได้ และ ด้วยวิธีคิดแนวใหม่นี้ การศึกษาจะเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่มีมิติต่างจากความคิดเก่า

การรู้ และความรู้ มีความแตก ต่างกันมาก

การรู้เป็นทักษะอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นทักษะหมายถึงการปฏิบัติ และเมื่อปฏิบัติแล้วเกิดการรู้ตามขั้นตอน เป็นระบบ ทำให้เข้าถึง "ความรู้"

ครูเป็นผู้เปิดทาง เด็กเป็นผู้ค้นหา

การศึกษาเป็นเวทีที่เด็กเข้ามาเรียนรู้ด้วยความเพลิดเพลิน

การเรียนแบบเดิมมีวิธีการอย่างหนึ่งที่ครูจะ "สั่ง" หมายถึงสั่งให้เรียนสั่ง ให้จำ ทำให้ระบบการสั่งไม่สร้างกระบวน ความคิดที่พัฒนาศักยภาพของเด็ก

นอกจากนี้อาจารย์ชัยอนันต์ชี้ว่าระบบการศึกษาด้านหลัก แยกชั้นตามอายุ ไม่มีการคละเด็ก เว้นแต่กิจกรรมเสริม หรือการเรียนดนตรี และกีฬา

ระบบการศึกษาแบบรวมศูนย์ขาดความยืดหยุ่น

ความรู้กลายเป็นชุดความรู้ ขาดบูรณาการ ไม่เชื่อมโยง

ทั้งหมดทำให้การศึกษาที่วัดผลไม่สามารถสร้างคุณภาพและวัดความสามารถของเด็กได้อย่างรอบด้าน

ความรู้นั้นแยกโดยรายละเอียดเป็นองค์ความรู้หรือตัวความรู้ ปรากฏตามสื่อการสอน แบบเรียน วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารได้

ส่วนการรู้ก็เป็นไปตามวิธีการสอน ซึ่งมีหลายรูปแบบ

อาจารย์ชัยอนันต์อุทิศบทว่าด้วย "อย่างไร" ให้กับยุทธศาสตร์การศึกษาและการคิดแบบพหุวิถี ซึ่งมีความหลากหลาย เพื่อมาแก้ปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างสภาพแวดล้อมกับระบบการศึกษาให้กลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้

ยุทธศาสตร์การคิดแบบพหุวิถก็คือสร้างแนวทางไว้หลากหลาย และปฏิบัติการได้หลายชุดตามสภาพแวดล้อมมากกว่ามุ่งไปด้านเดียว

ส่วนสำคัญที่สุดก็คือส่วนปฏิบัติการจากทฤษฎีที่เรียกว่า บันทึกประสบ การณ์ ประกอบด้วยการใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึมมาใช้ในห้องเรียนโดย ม.ล.อาภาวดี จรูญโรจน์ การสอนให้เด็กสร้างรายการวิทยุมีส่วนระดมสมอง การเตรียมคิดทำรายการ ส่วนรายการโทรทัศน์ เด็กๆ ได้โจทย์ให้คิดเองทำเอง เช่น สารคดี เกมโชว์ หรือรายการสยองขวัญ รวมถึงการโฆษณา นี่สำหรับเด็ก ป.6

ส่วนวิชาใหม่ Design + Technology โดยศราวุธ กัญญาพันธุ์เป็นพื้นวิชาในวชิราวุธ ให้รู้พื้นฐานกระบวนออกแบบและสุนทรียศาสตร์ ซึ่งใช้พื้นฐานด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

มีบทเรียน, ตัวอย่างจริงๆ อย่างหลากหลาย แม้กระทั่งวิชาภาษาอังกฤษ วรนาถ อนุสสรนิติสาร ให้เด็กเลือกสิ่งที่อยากจะเรียน เด็กไม่เลือกศัพท์ง่าย แต่เลือกศัพท์น่าสนใจแม้จะยาก

เด็กเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากสิ่งที่ชอบ เรียนรู้เรื่องชนชาติต่างๆ มีโครงการแม้กระทั่งระดมความเห็นเกี่ยวกับอาหาร

การสอนอย่างเพลิดเพลิน เช่น วิชาการละคร ส่วนหนึ่งของความเชื่อมั่นและการแสดงออก

ทั้งหมดในภาคทฤษฎี และบทบันทึกประสบการณ์ทำให้หนังสือเล่มเล็กนี้เป็นเสมือนตัวแทนของปริมณฑลใหม่แห่งการเรียนรู้

และบทเรียนเหล่านี้นำไปใช้ได้ในการปรับปรุงวิธีคิด การเรียนรู้ ไม่แต่ในโรงเรียน แต่ใช้ได้ตั้งแต่โรงงานไปถึงห้องปฏิบัติการทางวิชาชีพ รวมทั้งการบริหาร และสร้างวิธีมองปัญหาอย่างสร้างสรรค ์ในรูปแบบของการเตรียมพร้อมให้องค์กรทางธุรกิจรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เมื่อก้าวย่างของสหัสวรรษใหม่มาถึง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us