Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
ดร.อาร์พาด พุสซไท (Dr. Arpad Pusztai)             
โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
 


   
search resources

อาร์พาด พุสซไท




ดอกเตอร์อาร์พาด พุสซไท (Dr.Arpad Pusztai) วัย 68 ได้กลายเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับอันตราย ที่เกิดจากอาหารที่มีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมหรือ GMOs - Genetically Modified Organisms ทั้งนี้ หลังจากที่เขาได้แถลงผลการวิจัยออกมาเมื่อกลางปีที่แล้ว

ตอนนั้นดอกเตอร์พุสซไทยังคงเป็นนักวิจัยของสถาบันวิจัยโรเวตต์ (Rowett Research Institute) ในสกอตแลนด์ วิจัยโดยทดลองให้หนูกินมันฝรั่งซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม พบว่าอวัยวะภายในและระบบภูมิคุ้มกัน ของหนูทดลองเหล่านั้นถูกทำลาย พอสิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง... ดอกเตอร์พุสซไทต้องพ้นสภาพจากการเป็นนักวิจัย ของสถาบันโรเวตต์ โดยทางสถาบันวิจัยแถลงว่า การวิจัยดังกล่าวของดอกเตอร์ พุสซไทยังไม่สมบูรณ์ พร้อมกับตั้งคณะ กรรมการขึ้นมาสอบสวนและส่งเรื่องไปยัง Royal Society (RS) ของอังกฤษ

การที่ดอกเตอร์พุสซไทต้องถูก "เด้ง" ออกจากสถาบันโรเวตต์ได้กลายเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้าง ขวาง เนื่องจากมีรายงานข่าวว่า สถา บันวิจัยโรเวตต์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากบริษัท "มอนซานโต้" (Mon-santo) ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ต้องยอมรับว่า การเปิดเผยผลวิจัยของดอกเตอร์พุสซไทครั้งนี้ ได้สร้างความเสียหาย และส่งผลสะเทือนอย่างมากต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาtในสหรัฐอเมริกาและประเทศโลกที่สามที่ต้องพึ่งพาภาคเกษตรกรรมซึ่งรวมทั้งประเทศไทย

กระทั่งเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Royal Society ของอังกฤษก็ ได้สั่งถอนงานวิจัยของดอกเตอร์พุสซไทโดยให้เหตุผลว่า เป็นงานที่ไม่ตรงประ-เด็นและยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ ด้านพิษวิทยาที่ Royal Society ตั้งขึ้นมาสอบสวนเรื่องนี้ทั้ง 6 คนโดยไม่มีการเปิดเผยชื่อเสียงเรียงนามได้รายงานสรุปว่า งานวิจัยของดอกเตอร์พุสซไทมีช่องโหว่หลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเค้าโครง การปฏิบัติการและการวิเคราะห์ ทางด้านดอกเตอร์พุสซไทก็ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้คณะกรรมการของ Royal Society ว่าไม่ยอมพิจารณาบรรดาข้อมูลใหม่ต่างๆ ของเขา รวมทั้งไม่รับข้อเสนอเรื่องที่เขาขอให้มีการนำงานทดลองของเขามาถกแถลงร่วมกัน นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่าคณะกรรม การให้เวลาไม่พอกับเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการทดลองของเขานี้

"ผมรู้สึกเศร้าใจมากที่เราทั้งหมด พลาดโอกาสครั้งสำคัญ ในการที่จะแสวงหาหนทางที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าในเรื่องที่มีความหมายยิ่งนี้ มันเป็นความเชื่อของผมว่า คนส่วนใหญ่พบว่า การที่การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอาหารที่เรากินกันเป็นประจำนั้น เป็นเรื่องที่น่าวิตก โดยเฉพาะเมื่อส่อให้เห็นว่ายังมีความบกพร่องในการทำให้การทดลองทางชีวภาพถูกต้องและสมบูรณ์ จุดสำคัญก็คือว่า อาหารที่มีการ เปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนั้นจะต้องปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และผมขอย้ำความวิตกกังวลของผมในเรื่องความเข้มงวดกวดขันเกี่ยวกับการทดลอง ทางชีวภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้"

อย่างไรก็ตาม แม้ Royal Socie- ty จะปฏิเสธงานวิจัยของเขาแต่ดอก

เตอร์พุสซไทก็ไม่ได้โดดเดี่ยวเสียทีเดียว ยังคงมีนักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งที่ยืนอยู่เคียงข้างเขา โดยในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนหน้าที่ Royal Society จะพิจารณางานของดอกเตอร์พุสซไท ก็ได้มีบรรดา นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากหลายประเทศ จำนวน 20 คนออกมาให้การสนับสนุน และเมื่อ Royal Society แถลงผลสรุปแล้ว ศาสตราจารย์เอียน ไพรม์ (Ian Pryme) แห่ง University of Bergen ในนอร์เวย์ 1 ใน 20 นักวิทยาศาสตร์ชุดดังกล่าวก็ยังคงให้การสนับสนุนงานของดอกเตอร์พุสซไทเหมือนเดิม พร้อมกันนั้นก็บอกว่า ผิดหวังกับราย งานของ Royal Society ศาสตราจารย์ไพรม์อ้างว่า ดอกเตอร์พุสซไทได้ย้ำอยู่เสมอถึงผลการทดลองของเขาว่าเป็นเพียงผลเบื้องต้น และเป็นเพียงการหยิบยกคำถามเกี่ยวกับอาหาร ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมขึ้นมา เพื่อให้มีการพิจารณากันต่อ นอกจากนั้นทางดอกเตอร์พุสซไทเองก็พร้อมที่จะถกแถลงในเรื่องนี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีใครรับข้อเสนอดังกล่าว

"ทำไมถึงมาอึกอักกันในการที่จะนั่งลงและถกเถียงกันดีๆ อย่างมีหลัก มีเกณฑ์... ผมคิดว่ามันเป็นเพียงเรื่องบังหน้าเท่านั้น-เป็นเรื่องบังหน้ามาตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ (สอบสวน) แล้ว"

อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผลการทดลองของดอกเตอร์พุสซไทเป็นที่กล่าวขวัญกันมากขึ้นไปอีกก็คือเมื่อ The Lancet วารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงของโลก ได้นำรายงานการทดลองชิ้นอื้อฉาวดังกล่าว ไปตีพิมพ์ ในฉบับเดือนตุลาคม (Vol.354, No.9187, 16 Oct. 99) โดย The Lancet บอกถึงวัตถุ ประสงค์ว่า เพื่อเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ ทั้งในระหว่างนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันเอง สื่อมวลชน และสาธารณชน เกี่ยวกับความปลอด ภัยของอาหารที่มีองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม โดยในวารสารฉบับเดียวกันนี้ได้ตีพิมพ์บทวิจารณ์ ทั้งต่องานวิจัยของดอกเตอร์พุสซไทและเรื่องเกี่ยวเนื่องหลายชิ้นด้วยกัน แต่กระนั้น The Lancet ก็ได้นำตัวรายงานของดอกเตอร์

พุสซไทเสนอไว้เป็นชิ้นแรกในส่วนของ Research Letters พร้อมๆ กับรายงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่ไม่มีปัญหา

อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์เดวิด ไวท์เฮ้าส์ (Dr.David Whitehouse) บรรณาธิการด้านข่าววิทยาศาสตร์ของ BBC News Online ได้วิจารณ์ว่า ที่รายงานชิ้นอื้อฉาวนี้ได้รับการตีพิมพ์จาก The Lancet นั้น ไม่ใช่เพราะรายงานชิ้นดังกล่าวเป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ดี แต่เป็นเพราะรายงานชิ้นนี้เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายมากกว่า ความวุ่นวายอันเกิดจากความวิตกถึงอันตรายจากสิ่งที่มีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม

ดอกเตอร์ไวท์เฮ้าส์บอกว่า เมื่อกว่าทศวรรษที่ผ่านมา บรรดานักวิทยา-ศาสตร์ออกจะปลื้มเปรมว่าได้ทำให้สาธารณชน มีความเข้าใจที่ดีขึ้น และชื่นชมกับความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ แต่มาถึงเวลานี้ เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พวกเขาคาดการณ์ผิดเกี่ยวกับความวิตก ที่สาธารณชนมีต่อเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม และรวมถึงต่อตัววิทยาศาสตร์เอง

สถานการณ์ ณ เวลานี้ก็คือ เกิดคำถามในหมู่สาธารณชนว่า แท้ที่จริงแล้วเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรมเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายกันแน่!

คำถามที่ดร.อาร์พาด พุสซไทเป็นผู้จุดประกาย!

จุดดับของเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม

เทคโนโลยีทางพันธุกรรมคือเครื่องมือสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อกันว่า จะทำให้โลกสามารถผลิตอาหารได้เพียงพอที่จะเลี้ยงมนุษยชาติในอนาคต

เทคโนโลยีนี้เองที่ได้ผลักดันให้เทคโนโลยีชีวภาพกลายเป็นอุตสาห- กรรมขนาดใหญ่ที่ทรงอิทธิพลยิ่งในเวลาอันรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อชุมชนโลกอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นศักยภาพในการที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม วิถีการบริโภคของมนุษย์ ตลอดจนโครงสร้างของชุมชนเกษตรกรทั่วโลก

ขณะที่โลกตื่นเต้นไปกับเทคโนโลยีน ี้ก็เกิดกระแสต่อต้านอย่างกว้างขวาง ถึงอันตรายที่ตามมาของเทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม

เท่าที่ฝ่ายที่คัดค้านการใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม พูดถึงอันตรายที่เป็นผลพวงของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นี้ไว้ มีมากมายหลายแง่มุมด้วยกัน อาทิ ทำให้ลดความหลากหลายทางพันธุกรรม เกิดการถ่ายโอนข้ามสายพันธุ์กันของไวรัสและแบคทีเรียโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดการดื้อสารปฏิชีวนะ ในมนุษย์และสัตว์ เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อแมลง และทำให้อัตราการตายของแมลงสูงขึ้น หรืออันตรายที่ยังไม่รู้ได้ในอนาคต... หากสิ่งมีชีวิตที่มีความผิดพลาดทางพันธุกรรมเกิดหลุดออกมานอกห้องทดลอง รวมทั้งการถ่ายโอนเกี่ยวกับปัจจัยทางพันธุกรรมของพืชที่มีการตัดต่อยีนไปยังพืชชนิดอื่น ทำให้การเกษตรต้องเพิ่มการพึ่งสารเคมีและเกิดสารเคมีตกค้างในพืชมากขึ้น...

ที่สำคัญคือเกิดการครอบงำตลาดการเกษตรโลกโดยบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดใหญ่ ที่ผูกขาดเมล็ดพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมรวมทั้งผูกขาดสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรอีกด้วย.

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us