1
ซีพีหรือกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้การนำของธนินท์ เจียรวนนท์ สร้างธุรกิจที่มีจุดแข็งที่สุด
เป็นบุคลิกของสังคมเศรษฐกิจไทย นั่นคือการใช้เทคโนโลยีของโลกประยุกต์เข้ากับสังคม
เกษตรกรรมที่เมืองไทยเป็นศูนย์กลาง สร้างผลผลิตการเกษตรอย่างมีประสิทธิ ภาพ
มีผลผลิตและมูลค่าเพิ่มต่อเนื่อง จนกลายเป็นฐานของอุตสาหกรรมอาหาร ภายใต้เครือข่ายการผลิตและการตลาดที่กว้างขวางระดับภูมิภาค
จุดแข็งนี้โดดเด่นมากที่สุดรายหนึ่งในเอเชียเลยทีเดียว โดยใช้เวลาการสร้างธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ภายใต้ผู้นำคนเดียว เพียง 40 ปีเศษเท่านั้น
ปี 2514 คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ของตะวันตก
ด้วยการร่วมมือกับ ARBER ACRES แห่งสหรัฐฯ ในช่วงสังคมอเมริกันกำลังขัดแย้งในตัวเองอย่างหนัก
อันเนื่องมาจากการทำสงครามเวียดนามที่ยืดเยื้อ ขณะที่ธุรกิจ อเมริกันยังไม่ให้ความสำคัญในการลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างจริงจัง
พวกเขาคิดว่าเทคโนโลยีที่ถ่ายทอดให้ซีพี ไม่ได้คุกคามธุรกิจของเขาเองโดยตรง
ความรู้ใหม่กว่านั้น ซีพีนำมาประยุกต์มี 2 แนวทาง
หนึ่ง - เทคโนโลยีของการพัฒนา พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงโตเร็ว เนื้อมาก ซึ่งเป็นโมเดลการผลิตพื้นฐานของเทคโนโลยีการเกษตรยุคใหม่
สอง - ความรู้ด้านการจัดการที่ว่าด้วยการดำเนินธุรกิจการเกษตรครบวงจรเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารต้น
ทุน ซึ่งถือเป็นโมเดลธุรกิจที่เหมาะกับ สังคมขนาดใหญ่เช่นสหรัฐฯ ในขณะนั้น
ความรู้แนวทางที่สองนี้ก่อผลกระทบสังคมที่มีการผลิตทางการเกษตร แบบเดิมค่อนข้างมาก
ซีพีขยายธุรกิจจากเมล็ดพันธุ์พืช สู่การผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง
เป็นการขยายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และก้าวกระโดดอย่างมากในช่วงที่สังคมไทยพัฒนาการผลิตทางการเกษตรเพื่อการส่งออก
ที่นอกเหนือจาก การส่งออกข้าวอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ขณะ เดียวกันกระบวนการผลิตของซีพีใหญ่มากขึ้น
มีอิทธิพลมากขึ้น ถึงขั้นครอบ งำธุรกิจการเกษตรแบบใหม่ของไทย เป็นภาพของการผูกขาด
อันเนื่องจากความใหญ่ จึงได้สร้างผลสะเทือนด้านลบต่อเกษตรรายย่อย ในฐานะสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรดั้งเดิม
เป็นแรงกดดันสำหรับสังคมไทยอย่างหนึ่ง จนในที่สุดซีพีก็หาทางออก ด้วยการขยายธุรกิจเหล่านี้ออกไประดับภูมิภาค
เป็นความชาญฉลาดที่นอกจากจะลดความขัดแย้งทางสังคมแล้ว ยังเข้าสู่และยึดตลาดโลกอย่างแนบแน่น
มั่นคงมากขึ้น โมเดลธุรกิจของซีพีนี้ถือเป็นความสำเร็จของธุรกิจที่น่ายกย่องอย่างมาก
เป็นตัวอย่างธุรกิจที่ก้าวหน้า เป็นธุรกิจที่สะท้อนภาพของสังคมธุรกิจในระดับโลก
ชนิดไม่มีธุรกิจใดในเมืองไทยทัดเทียม แม้แต่เครือซิเมนต์ไทยก็ยังถือว่าโมเดลธุรกิจล้าหลังกว่าซีพียิ่งนัก
ความสำเร็จนั้นมาจากการพัฒนาความรู้ใหม่ขึ้นในกระบวนการผลิตซึ่งถือว่า
ซีพีเป็นเจ้าแรกๆ ที่มีผลึกความรู้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้อันเกิดจากการประยุกต์ใช้กับสังคมไทยที่มีบุคลิกเฉพาะได้อย่างเหมาะสม
ซีพีจึงกลายเป็นกิจการไทยที่ให้ความสำคัญของการประกอบการที่เป็นจริงมากกว่าผู้ประกอบการยุคใหม่ๆ
ที่มองการประกอบการเป็นเพียงบันไดขั้นต้นของกระบวน Financial Engineering
ความสำเร็จของซีพี นำความเชื่อ มั่นตนเองอย่างสูงของธนินท์ เจียร- วนนท์
ซึ่งถือเป็นผู้นำธุรกิจที่อยู่ในวัยหนุ่ม กระฉับกระเฉงอย่างมาก ขณะเดียวกัน
ความริเริ่ม การบุกเบิกธุรกิจ ได้สร้างชื่อเสียงให้กับสังคม ซีพีได้ค้นพบในเวลาต่อมาว่า
ในความสำเร็จอย่าง ยิ่งใหญ่นั้นนำมาซึ่งสายสัมพันธ์กับอำนาจรัฐอย่างแนบแน่นและต่อเนื่อง
สายสัมพันธ์จึงกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าในช่วงเวลาต่อมาอย่างน้อย 15 ปีที่ผ่านมา
ในภาวะการเมืองดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ฐานของอำนาจเดิม ที่ซ่อนอยู่ภายใน
ไม่ว่าข้าราชการประจำ หรือกองทัพ
นี่คือ มรดกทางความคิดของผู้ประกอบการยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองยึดถือต่อเนื่อง
แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ อย่างธนินท์ เจียรวนนท์ ก็หลงเข้าไปในวังวนนี้อย่างลุ่มลึก
ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ซีพีจะรุกสู่ธุรกิจใหม่ตามทฤษฎีการผลิตของ โลกตะวันตก
ไปสู่อุตสาหกรรมพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น ปิโตรเคมี และสู่ธุรกิจบริการที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การเข้าสู่ธุรกิจใหม่ครั้งสำคัญได้มาโดยง่าย จากสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจ
ซึ่งธนินท์ เจียรวนนท์ มีความฝันว่าจะเป็นแกนธุรกิจใหม่ของกลุ่มในอนาคต
แม้ว่าธุรกิจนี้ ตามความรู้ทางธุรกิจสมัยใหม่ของตะวันตก จะบอกว่าธุรกิจใหม่สร้างความมั่งคั่งได้รวดเร็วกว่าการเกษตรหลายเท่านัก
ในความเป็นจริง เกือบๆ 10 ปีซีพีก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายอันบรรเจิดนี้ได้
ทั้งๆ ที่ทรัพยากรทั้งมวลของกลุ่มซีพี จะให้น้ำหนักมากที่สุดในการทุ่มโถมลงไปในธุรกิจใหม่
เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น เข้าใจว่าเป็นการลงทุน ที่สูงกว่าสินทรัพย์ของฐานอุตสาหกรรมการเกษตรเดิมหลายเท่า
ความล่มสลายของเศรษฐกิจไทย ในช่วงเกือบ 2 ปีมานี้ ซีพีและธนินท์ เจียรวนนท์
ได้รับบทเรียนการเรียนรู้เทคโนโลยีครั้งที่สองในการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ยุคดิจิตอล
- เทคโนโลยีสารสนเทศ มิใช่เทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิตหรือประสิทธิภาพในการผลิตโดยตรง
หากเป็นการสร้างเครือข่ายและการจัดการข้อมูลเพื่อการผลิต เพื่อการตัดสินใจ
- เทคโนโลยีนี้ตอบสนองการสร้างเครือข่ายเพื่อประโยชน์กับธุรกิจระดับโลก
เป็นเทคโนโลยีที่ไม่สามารถ ประยุกต์เข้ากับสังคมใดสังคมหนึ่ง อย่างอิสระหากแต่เป็นเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน
ซึ่งไม่มีวันที่ซีพีจะประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อสร้างธุรกิจที่มั่นคง และมีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับโลกได้เลย
- สังคมไทยยังไม่พร้อม หรือมีบุคลิกในการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิ ภาพและเหมาะสมกับระดับเทคโนโลยีของโลก
มันเป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งที่แตกต่างและคนละเรื่องกับการเรียนรู้เทคโนโลยีทางการเกษตรในช่วง
40 ปีของซีพีอย่างสิ้นเชิง
19 มีนาคม 2542
2
"ธนินท์ เจียรวนนท์ จำต้องไปพบบิล เกตต์ที่ประเทศมาเลเซีย เมื่อปีที่แล้ว
ทั้งๆ ที่เมื่อ 1 ปีก่อนหน้านั้น บริษัทไมโครซอฟท์ในประเทศไทย ประกาศไว้ล่วงหน้าว่า
บิลล์ เกตต์ จะ มาเมืองไทยเพื่อพบผู้นำไทยหลายคน รวมทั้งธนินท์ เจียรวนนท์
ด้วย
โครงการผลิต Set Top Box ภาษาไทยก็เกิดขึ้น จากการสนทนากันระหว่างผู้ยิ่งใหญ่
2 คน
การแถลงข่าวถึงผลของการสนทนาครั้งนั้น โดยพนักงานบริหารคน ใหม่ ที่เป็นข้าราชการระดับสูงกระทรวง
ต่างประเทศ และลูกชายคนหนึ่งของธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งวางตัวดูแลธุรกิจที่ทันสมัย
ดูประหนึ่งว่ากลุ่มซีพีให้ความ สำคัญกับโครงการนี้ไม่น้อยเหมือนกัน
สาระของเทคโนโลยี Set Top Box อย่างหยาบๆ เป็นเพียงแต่นำสินค้า ที่มีอยู่ในตลาดสหรัฐฯ
ซึ่งใช้มาตรฐานโดย Microsoft WIindows Techno- logy เพื่อทำให้ทีวีทำงานแบบคอมพิว
-
เตอร์ได้ โดยเฉพาะการทำมาค้าขายในยุคใหม่ ที่เรียกว่าการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Commerce) อาทิ การใช้บริการอินเตอร์เน็ต Video on Demand และ
Home Shopping ซึ่งคาดกันว่าจะเป็นบริการในอนาคตของสังคมทั่วไป ตามแนวคิดของบิลล์
เกตต์
สำหรับกลุ่มซีพีแล้ว โครงการนี้สามารถอรรถาธิบายได้ว่าเป็นจิ๊กซอว์ ชิ้นหนึ่งในการสร้างบริการทั้งเครือข่ายที่เป็น
Logistic และ Physical
Set Top Box Technology ทำให้ เกิดบริการเสริมบนเครือข่ายโทรศัพท์ พื้นฐาน
และเสริมกับบริการเคเบิลทีวี ซึ่งซีพีเพิ่งเจรจารวมกิจการกับกลุ่มชินวัตรสำเร็จก่อนหน้านี้
กลายเป็นดีลสำคัญในยุคเศรษฐกิจล่มสลาย ก่อนที่จะเจ๊งกันหมด
นอกจากนี้ ยังเสริมความเข้มแข็งกับกลุ่มธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะอาศัยเครือข่ายร้าน
7-ELEVEN ให้ร้านเหล่านี้มีสินค้าใหม่บริการชุมชน ตามความสามารถของ Set Top
Box Technology ในกรณีผู้บริโภคไม่ต้อง การซื้อ Set Top Box ไว้ที่บ้าน"
ข้อความข้างต้นมาจากสาระของข้อเขียนของผมเองที่พยายามวาดภาพธุรกิจใหม่ของกลุ่มซีพีเมื่อต้นปี
2541
ซึ่งดูเหมือนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกลุ่มซีพีว่าด้วยธุรกิจใหม่ที่ดูแลโดยลูกชายสองคนของธนินท์
เจียรวนนท์ ซึ่งถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทาง การเมื่อสัปดาห์ก่อน ลูกชายที่ผ่านการศึกษาจากระบบอเมริกัน
ในช่วงที่เทค-โนโลยีสารสนเทศในประเทศนั้นกำลังเติบโตและพัฒนา ได้เข้ามาบริหารกิจการในกลุ่มธุรกิจใหม่อย่างเต็มตัว
ในบริษัทเทเลคอม โฮลดิ้ง กิจการที่เข้า ถือหุ้นในธุรกิจใหม่ เทเลคอมเอเซีย
ผู้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2 ล้านเลขหมายในเมืองหลวง รวมทั้งกิจการ
Pay TV รายเดียวของเมืองไทยด้วย
ลูกชายของเขาทั้งสอง(สุภกิจและศุภชัย เจียรวนนท์) เข้าเริ่มงานสำคัญในวัยหนุ่ม
(35 ปีและ 32 ปีตามลำดับ) แม้ว่าพวกเขาจะเริ่มต้นด้วยวัยที่มากกว่าบิดาประมาณ
10 ปี ในช่วงที่ธนินท์ เจียรวนนท์ จำเป็นต้องมาดูแล กิจการซีพีในยุคต้นๆ
ซึ่งกำลังมีปัญหาในปี 2506 ขณะที่มีอายุเพียง 24 ปีเท่านั้น แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นคล้ายๆ
กัน
พวกเขาเข้ามาพร้อมกับการจัดวางกลุ่มธุรกิจใหม่ในกลุ่มสื่อสารและเทคโนโลยีในยุคของการปรับตัวครั้งใหญ่
มาจากแรงกดดันจากภาวะความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจไทยครั้งสำคัญ ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีมากและสำคัญมาก
ธนินท์ เจียรวนนท์ ยังแสดงให้เห็นความเป็นผู้ประกอบการที่กล้าหาญ พร้อมให้ทายาทของเขาได้ทดสอบในบททดสอบที่หนักหน่วงที่สุด
ภาพกลุ่มธุรกิจใหม่ที่ว่านี้ มี เทเลคอมเอเซียเป็นฐานของเครือข่าย ถึงแม้ว่าจากนี้ไปภายใต้กระบวนการประนอมหนี้
ผู้ถือหุ้นจากตะวันตกจะมีบทบาทครอบงำกิจการเครือข่ายโทร-ศัพท์พื้นฐานสำคัญของไทยมากขึ้นก็ตาม
ก็เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับและยอมรับได้ว่านอกจากภาระหนี้สินมากมายอันจำเป็นต้องสะสางแล้ว
ในยุคของการเปิดเสรีการสื่อสารที่จะมาถึงไม่ช้านั้น ซีพีย่อมเข้าใจดีว่าธุรกิจนี้
เขาไม่มีทางจะรักษาความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจนี้ได้ตามลำพัง ตามความเข้าใจใหม่ของการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศจากวิกฤติ
เขายอมจะเป็นหุ้นส่วนเพื่อแชร์ผลประโยชน์ทางธุรกิจบ้างก็เพียงพอแล้วสำหรับยุทธศาสตร์ใหม่ทางธุรกิจ
ขณะเดียวกันก็พยายามสร้างบุคลิกธุรกิจใหม่ของซีพีที่ชัดเจนจากเครือข่ายนั้นคือการเข้ายึดครองธุรกิจ
Pay TV อย่างเหนียวแน่นด้วยการถือหุ้นใน UBC อย่างเด็ดขาด ด้วยการซื้อหุ้นทั้งหมดจากกลุ่มชินวัตร
เมื่อต้นๆ ปีที่ผ่านมา พร้อมกันนั้น 7-ELEVEN ก็เป็นเครือข่ายธุรกิจค้าปลีกแห่งเดียวที่ใหญ่ในประเทศ
ซีพีก็รักษาสัดส่วนการถือหุ้นข้างมากเอาไว้ ในขณะที่ผ่องถ่ายกิจการค้าปลีกอื่นๆ
ที่ไม่มีเครือข่ายมาก มาย เช่น 7-ELEVEN ออกไป
แม้ว่าบทสนทนาระหว่างซีพีกับไมโครซอฟท์ ตามภาพใหญ่ที่ผมวาดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว
จะเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาพอสมควร แม้ว่าความเคลื่อนไหว ประการสำคัญที่ว่าด้วยโครงการ
Set Top Box จะไม่มีความคืบหน้าใดๆ ไม่มีสัญญาณตอบสนองที่ดีจากไมโครซอฟท์
ก็ตาม แต่ดูเหมือนภาพนั้นก็ยังประทับ อยู่ในความคิดทางยุทธศาสตร์ของธนินท์
เจียรวนนท์ และลูกชายของเขาทั้งสองอย่างแนบแน่น
นี่คือการเรียนรู้ที่เป็นการผจญภัย ครั้งใหญ่ของซีพี ที่ว่าด้วยเทคโนโลยียุคที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงในอุตสาห-กรรมเกษตร
23 มีนาคม 2542
3
ตั้งแต่วิกฤติการณ์เศรษฐไทยเกิดขึ้น ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซีพีได้ออกทีวีหลายครั้งเพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
ผมคิดว่าไม่มีแนวความคิดครั้งใดที่มีสาระมีความหมายเท่ากับครั้งล่าสุด ในรายการสนทนาของไอทีวี
เพราะไม่ใช่แนวความคิดในการส่งสัญญาณถึงนักการเมืองที่เขาสนับ สนุน หากเป็นการตกผลึกครั้งสำคัญของบทเรียนธุรกิจที่ผ่านความล้มเหลวและผิดพลาดของกลุ่มซีพีเอง
ในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา
บทเรียนการกระโจนเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคม ปิโตรเคมี ด้วยการลงทุนครั้งใหญ่
โดยหวังว่าระบบสัมปทานของ รัฐไทย จะทำให้ธุรกิจมั่นคงยั่งยืน เช่น ธุรกิจมาจากระบบสัมปทานต่างๆ
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมานั้น เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้ง
ใหญ่ของซีพี
ทั้งๆ ที่ประวัติศาสตร์พัฒนาการยุคแรกของกลุ่มซีพีในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาล้วนมาจากความสามารถในการผลิต
และการสร้างเครือข่ายการตลาดโดยไม่มีระบบสัมปทานเป็นฐานแต่อย่างใด
ในยุคที่สอง การเข้าสู่ธุรกิจระบบสัมปทานโทรคมนาคม ภายใต้แรงกดดันการเปิดเสรี
และเทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาเครือข่ายระดับโลก ทำให้กลุ่มซีพีต้องเผชิญวิกฤติการณ์ครั้ง
ร้ายแรงที่สุดช่วงหนึ่ง
การปรับตัวจากวิกฤติก็คือความ พยายามสร้างธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มจากเครือข่ายการสื่อสาร
โดยเฉพาะมุ่งสู่เป้าหมายการทำการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการปรับตัวอย่างมีโฟกัสมากขึ้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังอยู่ในกระบวนการความพยายามสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่ยังไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจได้โดยเร็ว
ที่สำคัญดูเหมือนเป็นการขยายตัวทางธุรกิจที่ไม่ได้ใช้ความชำนาญในยุคแรกเลย
ทำให้ภาพของอาณาจักรธุรกิจใหม่ ที่ไม่กลมกลืน ไม่ได้แชร์ทรัพยากร ความรู้และประสบการณ์เท่า
ที่ควร
นี่คือปัญหาที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดขององค์กรธุรกิจยุคใหม่ ยุคแห่งการแข่งขันระดับโลกและยุคของการสร้างเครือข่ายที่เกื้อกูลกัน
มิใช่โมเดลการขยายตัวแบบแนวตั้งแนวนอนของซีพีในอดีตอีกแล้ว
จะโดยมีการวางยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ที่ลึกซึ้งหรือไม่ก็ตาม แนวความคิดใหม่ของกลุ่มซีพี
ที่ขยายความโดยธนินท์ เจียรวนนท์ ว่าด้วยแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการบริหารองค์กรโดยรวม
เมื่อสัปดาห์ ที่แล้วนั้น มีร่องรอยของความพยายาม ในการปรับยุทธศาสตร์องค์กร
ภายใต้แรงบีบคั้นครั้งสำคัญทีเดียว
หนึ่ง - ซีพีกำลังเดินแผนการสร้างองค์กรธุรกิจเครือข่าย (network corporation)โดยแต่ละหน่วยในเครือข่ายเกื้อกูลกันไปมา
ซึ่งมิใช่โมเดลการแตกตัวทางธุรกิจตามแนวตั้งและแนวนอนอีกต่อไป
กลุ่มซีพีมีอุตสาหกรรมอาหารเป็นฐานที่เข้มแข็ง มีเครือข่ายการผลิต การตลาด
กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นร้อยๆ แห่ง
ดูเหมือนว่ากลุ่มนี้พยา-ยามให้การบริหารงานที่อิสระจากกันใน แต่ละหน่วยเชื่อมกัน
แชร์ทรัพยากร ต่างๆ ร่วมกัน ภายใต้การบริหารงานที่มีทิศทางร่วมกัน เกื้อกูลกันอย่างเต็มที่
สอง-เป็นความพยายามอย่างเป็นรูปเป็นร่างให้ฐานอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นฐานธุรกิจเก่าแก่
เชื่อมกับเครือข่ายค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งมีโมเดลชัดเจนในเมืองไทยจากการขยายตัวนับพันแห่งของร้าน
7-ELEVEN โดยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลการบริหารการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
การค้าแบบใหม่นี้จะทำให้อุตสาหกรรมอาหาร ที่มีเครือข่ายกว้างขวางมีตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น
เป็นเครือข่ายที่ทรงพลัง
สาม-ความเป็นไปได้ของแนวทางใหม่ข้างต้นจะไม่เกิดขึ้น หากองค์กรบริหารโดยรวมของกลุ่มซีพีไม่มีความ
รู้ ไม่มีความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการข้อมูลสำคัญต่างๆ
ในองค์กรเพื่อการดำเนินธุรกิจที่มียุทธศาสตร์ มีเป้าหมาย ที่แน่ชัด ให้ดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการหลัง ก็คือบทสนทนาที่ไม่ใคร่มีใครให้ความสำคัญมากนักในรายการสนทนาทางทีวีของธนินท์
เจียร-วนนท์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ผมถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ลงลึก และเข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ลึกซึ้งมากกว่าองค์กรอื่นในประเทศไทย
ดังข้อเขียนของผมเมื่อปีที่แล้วที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรง
"องค์กรธุรกิจใหญ่ของไทยยังหลงทาง คิดว่าไอทีก็คือความทันสมัยอย่างฉาบฉวย
การทำงานหากินที่มีเป้าหมายเลิศหรูแต่ไม่เป็นจริง ทั้งๆ ที่องค์ กรของพวกเขาไม่มีการจัดการข้อมูลภายในทำนองว่า
"รู้เรื่องของเราดีที่สุดเสียก่อนจะรู้เรื่องคนอื่น" อย่างจริงจังเลย
ระบบบัญชีเป็นระบบพื้นฐานของ การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้บริหาร แต่ระเบียบการบัญชีล้าหลัง
กว่าจะปรากฏตัวเลขออกมาก็ช้าเกินไปแล้ว ในองค์กร ขนาดกลางและใหญ่มีข้อมูลมากมายที่จำเป็นกว่าข้อมูลทางบัญชีและการเงิน
ที่จะต้องจัดระบบเพื่อการประมวลอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสามารถใช้ได้อย่างทันท่วงที
ข้อมูลตัวเลขทางบัญชี ทางการเงินทุกวันนี้เปิดเผยหรือแต่งให้ต้องตามมาตรฐานการบัญชี
กลายเป็นมาตร ฐานขั้นต่ำที่สุดไปแล้ว ในขณะที่การจัดการเพื่อการเปิดข้อมูลอย่างมีประสิทธิ
ภาพเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพนั้นสำคัญมากกว่า
ขณะเดียวกันการขายข้อมูลสิน ค้า และข้อมูลว่าด้วยความสามารถของ คนในองค์กร
เป็นสิ่งที่ต้องจัดระบบและหามาตรวัดที่แน่นอนได้
ที่สำคัญกว่านั้น การแปลงข้อมูล ที่อยู่ตามบุคลากรในองค์กรมาเป็นสมบัติ
ความรู้ขององค์กรนั้น เป็นเรื่องที่ยังไม่มี ใครจะเข้าใจ
ดังนั้น เรื่องของไอทีจึงเป็นเรื่องการประยุกต์การจัดการ มิใช่ความสามารถของไอทีล้วนๆ
อย่างที่เข้าใจ
นี่คือจุดอ่อนของเขาเอง ที่สังคมธุรกิจไทยยังไม่ผ่านหรือเข้าใจปรัชญาเบื้องต้นที่ว่า
"รู้จักตัวเองให้ดีที่สุดก่อน" เลย
ซีพียุคนี้จึงน่าติดตามมากกว่ายุคใดๆ