ถามหา "อัศวินม้าขาว" กรณี บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ล้มเลิกแผนขายหุ้นเพิ่มทุนในต่างประเทศและหันมาระดมทุนในประเทศแทน
ด้วยการออกหุ้นกู้วงเงิน 1.2 หมื่น ล้านบาท ยังเป็นการก้ำกึ่งกันที่จะมองว่าเป็นความล้มเหลวครั้งสำคัญของปูนใหญ่
หรือเป็นการปรับตัวตามสถาน การณ์ได้อย่างรวดเร็วยิ่ง เพราะสภาพคล่องในประเทศมีเหลือเฟือ
แต่สำหรับกรณี ธนาคารทหารไทย (TMB) ที่จำใจยกเลิกแผนเพิ่มทุนชั่วคราว หลังจากอกหักจากการออกไปโรดโชว์ขายหุ้นเพิ่มทุนต่างประเทศจำนวน
1 พันล้านหุ้น มูลค่า 15,000 ล้านบาท ถือเป็นการ "ช็อก" วงการสถาบันการเงินไทยได้พอสมควร
สาเหตุที่ TMB ไม่สามารถขายหุ้นในต่างประเทศได้ตามเป้า ว่ากันว่าส่วนหนึ่งเกิดจากตลาดการลงทุนของโลกกำลัง
"ปิดลง" อีกทั้งความวิตกกังวลต่อการลดค่าเงินหยวนของจีน และเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในอเมริกา
รวมถึงปัญหา Y2K ส่งผลให้นักลงทุนชะลอการลงทุน
ที่สำคัญ นักลงทุนเหล่านี้พยา-ยามกดดันราคาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ TMB
ให้ต่ำลงจากที่ตั้งเอาไว้ 12-15 บาทต่อหุ้น เหลือเพียง 10-11 บาทต่อหุ้น
ซึ่ง TMB รับไม่ได้ จึงต้องกลับมามือเปล่าเพื่อทบทวนแผนการเพิ่มทุนใหม่
บรรยากาศช่างแตกต่างจากวันที่ 19 ตุลาคม 2542 ที่ธนาคารกสิกรไทย (TFB)
เปิดให้จองหุ้นเพิ่มทุน โดยใช้ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นแหล่งระดมทุน
ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับ จากนักลงทุนเกือบ 30,000 คน ทั้งๆ ที่ให้สิทธิ์ซื้อได้เพียง
2,000 หุ้นต่อคนเท่า นั้น บ่งบอกถึงชื่อ ชั้น ระหว่างสองธนาคารได้พอสมควร
อย่างไรก็ตาม TMB ยังมีวิธีเพิ่มทุนหลายทางเลือก โดยเฉพาะการนำหุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
(ซูเปอร์แคปส์) ที่ออกไปแล้วจำนวน 9,600 ล้านบาท เข้ากองทุนขั้นที่ 1 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของมาตรการ
14 สิงหา
แม้กระทั่งการขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปเหมือนที่ธนาคารกสิกรไทยประสบความสำเร็จมาแล้ว
แต่คงต้อง "คิดหนัก" เพราะขนาดนักลงทุนต่างประเทศยังไม่สนใจเลย ดังนั้น
ถ้า TMB ตั้งราคาเอาไว้สูงเหมือนเดิม โอกาสที่จะผิดหวังซ้ำสองนั้นมีสูง
อีกวิธีที่ TMB หวังไว้มากและ ร่ำลือว่าน่าจะเป็นไม้เด็ด คือ ดึงเศรษฐีตัวจริง
ทักษิณ ชินวัตร แห่ง บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) เข้ามาซื้อหุ้นจากปัจจุบันที่ถืออยู่ใน
TMB ประมาณ 5% เพิ่มเป็น 10-20% ถ้าสำเร็จจะส่งผลให้ เสี่ยแม้วกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทันที
คาดว่า TMB คงหาทางออกที่ดีที่สุดและไม่ด่วนตัดสินใจในเร็ววัน เนื่องจากปัจจุบัน
TMB เป็นธนาคารที่มีตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เพียง 31% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในระบบ
อีกทั้งได้ตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญ 60% และมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน
BIS 12.7% แถมยังไม่ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการเสื่อมของสินทรัพย์ที่รุนแรงไปจนถึงสิ้นปี
2543 แม้ว่าจะเกิดผลขาดทุนอีกหลายไตรมาส ก็ตาม
แต่ TMB จำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อนำมากันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้ครบ
100% และยังต้องการเงินจำนวนหนึ่งไปจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อให้ตัวเลขความสามารถการทำกำไรออกมาสวยหรู
ควันไฟที่เกิดขึ้นใน TMB ที่ไม่มีความดึงดูดให้กับนักลงทุนตามคาดหวัง
ธนาคารจะสามารถหาต้นตอของต้นกำเนิดไฟและดับได้หรือไม่ คอยดูกันต่อไป