Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
สามารถกรุ๊ปเกิดใหม่             
 


   
search resources

สามารถกรุ๊ป




สามารถคอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัท สื่อสารโทรคมนาคมอีกรายที่ประสบปัญหากับวิกฤติเศรษฐกิจ ค่าเงินบาทลอยตัว อันเป็นผลมาจากโครงสร้างธุรกิจสื่อสารของเมืองไทย ที่ไม่มีเทคโนโลยีของตัวเองต้องซื้อจากต่างประเทศ มาใช้งาน

วันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ก็เป็นคราวของสามารถกรุ๊ปได้ฤกษ์จรดปากกาเซ็นสัญญาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ทั้งหมด 19 ราย ที่มี Credit Lyonnais เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ที่เป็นเจ้าของหนี้ 40% ของมูลหนี้ทั้งหมด 7,700 ล้านบาท

ที่มาของคะแนนเสียง 84% ที่เจ้าหนี้ยอมให้การประนอมหนี้ผ่านไปได้ ก็ต้องอาศัยกลยุทธ์เข้าช่วย เพราะต้องหยั่งเชิงเจ้าหนี้ทั้งหมดด้วย โดยเฉพาะรายใหญ่อย่าง Credit Lyoannais เพราะ หากรายนี้อนุมัติให้แผนประนอมหนี้ผ่าน แล้ว ที่เหลือก็ง่ายขึ้น

"เวลาเราจะโหวตเสียง เราต้องมั่นใจก่อนว่าสถาบันการเงินไหนจะยอมโหวตให้เรา ต้องให้โหวตก่อน ส่วนที่ไม่แน่ใจ หรือไม่โหวตให้ต้องไปไว้ทีหลัง เพราะตามวิสัยของคน ถ้าเห็นคนแรกไม่อนุมัติ คนหลังก็เริ่มไม่แน่ใจแล้ว โดยเฉพาะเจ้าหนี้ญี่ปุ่น จะไม่ยกมือเลย แต่ถ้าเสียงส่วนใหญ่ให้ผ่าน เขาก็ยอม" ทอม เครือโสภณ ผู้บริหารที่มีบทบาทสำคัญมากต่อการประนอมหนี้ในครั้งนี้ แต่ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเล่า

เงื่อนไขของการประนอมหนี้ของสามารถกรุ๊ป ก็คือการที่เจ้าหนี้ยอมยืดเวลาชำระหนี้ออกไปอีก 7 ปี มีระยะเวลาปลอดหนี้ถึง 30 มีนาคม 2001 จาก นั้นจึงเริ่มทยอยใช้หนี้ และจะต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 3% ของหนี้ทั้งหมด โดยจะพิจารณาจากสภาพกระแสเงินสดของสามารถกรุ๊ปเป็นสำคัญ คือจะต้องเก็บไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 20% และไว้ชำระหนี้ 80%

ทอมบอกว่าการที่เจ้าหนี้ยอมประนอมหนี้ในครั้งนี้ เป็นเพราะความเชื่อมั่นในแผนธุรกิจของสามารถกรุ๊ป เพราะการประนอมหนี้ในลักษณะนี้ เท่ากับว่าเป็นการที่แบงก์ยอมลงเงินเพื่อซื้ออนาคตกับสามารถอีกครั้ง และเป็นสาเหตุที่สามารถไม่เลือกวิธีการลดหนี้ (haircut) เพราะสามารถเองก็ยังต้องการเงินทุนจากสถาบันการเงินเหล่านี้มาใช้ลงทุนในระยะยาว

"สิ่งที่แบงก์ต้องการจากเราคือ ความสามารถในการทำกำไร ซึ่งก็มาจาก แผนธุรกิจของเรา ที่จะมาจากธุรกิจที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นสามารถเทลคอม โครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท เพจเจอร์"

แม้การประนอมหนี้ในครั้งนี้จะทำให้สามารถกรุ๊ปปลดภาระอันหนักหน่วงไปได้เปลาะหนึ่งเท่านั้น แต่ปัญหาของสามารถกรุ๊ป คือ การที่ต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขัน โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ดิจิตอลโฟน ที่แม้จะถูกแยกออกจากการลงทุนของสามารถคอร์ปอเรชั่น คือไม่รวมอยู่ในหนี้เงินกู้ 7,700 ล้านบาทนี้

"เราแยกดิจิตอลโฟนออกมาจากสามารถคอร์ปอเรชั่นตั้งแต่แรกแล้ว เพราะต้องใช้เงินลงทุนเยอะ เราไม่อยาก ให้เป็นภาระกับบริษัทแม่ และอนาคตลูกคนนี้ก็อาจจะใหญ่กว่าแม่ก็ได้"

แต่ปัญหาของดิจิตอลโฟนนั้น ไม่ใช่เรื่องเงินกู้ เพราะเงินที่ใช้ในการขยายส่วนใหญ่มาจากซัปพลายเออร์ แต่ปัญหาคือ คุณภาพของการให้บริการ ที่ยังเป็นปัญหาตลอด เพราะที่ผ่านมาดิจิตอลโฟนก็ใช้วิธีการโรมมิ่งใช้เครือ ข่ายของแทค ยังไม่มีการลงทุนขยายเครือข่ายของตัวเองเท่าไหร่

การได้นอร์ทเทิร์นเทเลคอม หรือ นอร์เทลมาเป็นซัปพลายเออร์รายใหม่ ที่ให้ซัปพลายเออร์เครดิตเกือบ 100% และการหันมาใช้อุปกรณ์ของนอร์เทลนี้เอง ทำให้สามารถเชื่อมั่นกับอนาคตที่ฝากไว้กับซัปพลายเออร์รายนี้ หลังจากที่สถานีฐานทั้ง 260 เปลี่ยนมาใช้ของนอร์เทลจะทำให้สถานการณ์ในด้านบริการของดิจิตอลโฟนกระเตื้องขึ้น

"ปลายปีนี้ถ้าสถานีเครือข่ายเสร็จ แต่เรายังไม่ดีขึ้น เราก็ตาย" คำกล่าวสั้นๆ ของทอม

สามารถกรุ๊ปก็เหมือนกับอีกหลายบริษัท ที่ได้รับบทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ การขาดโครงสร้างการจัดการที่ดี และความพร้อมของบุคลากรไม่ได้เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้หลายบริษัทไปไม่รอดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงทิศทางใหม่หลังวิกฤติเศรษฐกิจ

"เมื่อเรามีรถแล้ว มีน้ำมันแล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือ คนขับ ถ้าคนขับไม่ดีรถก็วิ่งไม่ได้"

ความหมายของทอมก็คือ ทิศทางของธุรกิจ ไม่ใช่เป้าหมายของสามารถกรุ๊ปเพราะหากพนักงานไม่มีคุณภาพ หรือไม่มีโครงสร้างการจัดการที่ดีแล้ว ธุรกิจก็ไม่สามารถเดินไปได้แม้ ว่าทิศทางของธุรกิจจะดีแค่ไหนก็ตาม

การก้าวไปสู่การจัดการบุคลากรที่เป็นมาตรฐานสากล กลายเป็นเป้าหมายสำคัญของสามารถกรุ๊ปมากกว่าทิศทางธุรกิจ

ระบบการจัดการบุคลากรของคอมแพค และนอร์เทล เป็นส่วนหนึ่งของต้นแบบของสามารถกรุ๊ปที่จะใช้ในการวางรากฐานโครงสร้างการจัดการทาง ด้านบุคลากร รวมถึงการดึงเอามืออาชีพ สกลวรรณ ค้าเจริญ อดีตผู้บริหารของบริษัทโค้กที่สามารถดึงมาเพื่อวางแผนปรับปรุงเรื่องการฝึกอบรมบุคลากรโดยเฉพาะ

"ต่อจากนี้ไปพนักงานของสามารถกรุ๊ป จะต้องผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรมินิเอ็มบีเอให้ผู้บริหารเข้าเรียน หรือพนักงานของสามารถทุกคนจะต้องผ่านการฝึกอบรมการส่งอีเมล" ศิริชัย รัศมีจันทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าว

และนี่ก็คือ ส่วนหนึ่งในการปรับตัวของธุรกิจโทรคมนาคม (Telco) หลัง วิกฤติเศรษฐกิจ และเตรียมรับมือกับอนาคตข้างหน้า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะตอบโจทย์และเรียนรู้การแก้ปัญหาได้เร็วกว่ากัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us