Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
Kipling ลิงตัวนี้ 2 ปีแล้วยังเสน่ห์แรง             
 


   
search resources

Kipling
ศิริกาญจน์ ศักดิเดชน์ ภานุพันธ์ ณ อยุธยา




เมื่อครั้งกระเป๋า Kipling ที่มีเจ้าลิงตัวน้อยห้อยมาเป็นสัญลักษณ์ด้วยนั้น เดินทางไกลมาจากเมือง "Ant-werp" ประเทศเบลเยียม และเข้ามาระบาดที่ป่าคอนกรีตของเมืองไทยเมื่อประมาณปลายปี 2541 นั้น ไม่มีใครคาดคิดเลยว่าวันหนึ่งมันจะกลายเป็นแฟชั่นยอดฮิตของคนไทยไปได้

แต่แล้วภาพของฝูงชนกลุ่มหนึ่งที่จอแจแออัดกันอย่างคับคั่งเพื่อเข้าคิวไปซื้อกระเป๋า หน้าร้าน Kipling บนศูนย์การค้า สยามดิสคัฟเวอรี่ ตลอดเวลา 2 วันในช่วงวันลดราคา 30% เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา จนทางร้านต้องปิดประตูกันคนไว้ด้านนอก แล้วแจกบัตรคิวในการให้เข้าไปซื้อโดยเปิดประตูให้ลูกค้าผ่านเข้าไปได้ครั้งละประมาณ 30 คนเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมหมายถึงกระเป๋ายี่ห้อนี้มันโดนใจคนไทยกลุ่มหนึ่งเข้าไปแล้วอย่างจัง

บทสรุปนี้ถูกยืนยันเพิ่มขึ้นอีกเมื่อมีโอกาสผ่านไปเห็นภาพในร้านบนสยามดิสคัฟเวอรี่ ดิเอ็มโพเรียม หรือที่ชั้นล่างตึกมณียา ราชประสงค์ ซึ่งเป็นการขายในราคาปกติ เพราะจะพบว่าในร้านไม่เคยร้างราจากลูกค้าเลยโดยเฉพาะในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์

Kipling เป็นสินค้าที่ติดตลาดไปแล้ว ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือในช่วงเวลาประมาณ 1 ปีที่ผ่านมาจึงมีปัญหาสินค้าปลอมออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นถนนสายเล็กสายใหญ่ตรอกเล็กซอกน้อย หรือแม้แต่บนศูนย์การค้า ใหญ่ๆ และแหล่งชุมชนของวัยรุ่นทั่วๆ ไป จึงมีกระเป๋าที่มีลิงห้อยเป็นสัญลักษณ์ไปทั่วเหมือนกัน โดยมีตั้งแต่สนนราคาใบละ 199 บาท ถึงใบละ 1 พันบาทขึ้นไปขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่เอามาทำเลียนแบบ

"ถ้าปลอมดีหน่อยก็อาจจะดูยาก แต่ถ้าจะมองจริงๆ แล้วไม่เหมือนหรอกค่ะไม่ว่าจะเป็นซิป ฝีเข็ม และรายละเอียดภายในของกระเป๋าที่สำคัญคือคุณภาพของวัสดุ" ศิริกาญจน์ ศักดิเดชน์ ภานุพันธุ์ ณ อยุธยา ประธานบริษัท มณียา คอนเซ็ปต์ เจ้าของลิขสิทธิ์ Kipling ในเมืองไทย ให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ"

"แต่บางครั้งเราก็โมโหและเหนื่อย หน่ายกับคนกลุ่มนี้นะคะ เพราะไม่ลงทุน การตลาดก็ไม่ต้องทำภาษีก็ไม่ต้องเสีย ข้อสำคัญการที่มีใครสนับสนุนของปลอม มันก็เท่ากับสนับสนุนให้คนทำผิดเราไม่น่าจะสร้างค่านิยมที่ผิดๆ " แต่อย่างไรก็ ตามเธอยืนยันว่าสินค้าปลอมไม่มีผลเท่าไหร่นักเพราะนับวันรายได้ของยอดขายของจริงก็ยังเพิ่มขึ้น

"ปลอมได้ปลอมไป ของจริงเราก็จะเปิดสาขาเพิ่มที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์อีก 2 ร้านภายในปีนี้ โดยเปิดที่อิเซตันชั้น 1 และที่เซ็นชั้น 4 รวมทั้งหมดก็เป็น 6 สาขาแล้ว ของปลอมเราก็สู้กันต่อไป กฎหมายเขาก็ต้องจัดการบ้างตามสมควร"

ศิริกาญจน์ อดีตบัณฑิตเกียรตินิยมเหรียญทองจากคณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ฯ และ MBA จาก Georgetown University Washington D.C. คนนี้เป็นลูกสาวของพายัพ ศรีกาญจนา แห่งกลุ่มอาค-เนย์ประกันภัย เป็นภรรยาของ ม.ร.ว. ทินศักดิ์ ศักดิเดชน์ ภานุพันธุ์ ลูกชายคนที่ 2 ของ คุณหญิงมณี สิริวร-สาร เจ้าของตึกมณียา และเจ้าของบทประพันธ์เรื่อง "ชีวิตเหมือนฝัน" ที่สนุกเสียจนวางไม่ลงและเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ชีวิตหลังแต่งงานกับคุณชายทินศักดิ์ ศิริกาญจน์ได้เข้ามาช่วยคุณชายทินศักดิ์ทำธุรกิจในบริษัทมณียาเรียลตี้ซึ่งกำลังพัฒนาโครงการอสังหาริม-ทรัพย์บนที่ดินมรดกหลายโครงการ และโครงการล่าสุดคือ "เดอะรอยัลราชดำริ" ซึ่งจะประกอบไปด้วยโรงแรมระดับ 5 ดาวและศูนย์การค้าเธอเลยต้องการที่จะหาสินค้าแบรนด์เนมใหม่ๆ เข้ามาขาย ในพื้นที่รีเทลของโครงการตนเอง

สาเหตุที่เลือก Kipling นี้ ศิริ กาญจน์เล่าย้อนให้ฟังว่าเคยซื้อฝากน้องสาวคนหนึ่งที่เกิดปีลิงคือเอื้อเอ็นดู ดิศกุล อาจารย์คณะศิลปกรรม จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วปรากฏว่าเป็น ของฝากที่เป็นที่ถูกใจมาก ใครเห็นใครก็ชอบราคาก็ไม่แพงเกินไปนัก รวมทั้งคาดการณ์ดูแล้วมั่นใจว่าต่อไปไลฟ์สไตล์ ของคนไทยต้องเปลี่ยนไปแน่ ก็เลยตัดสินใจเซ็นสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่าย ในเมืองไทย แต่เมื่อโครงการเดอะรอยัล ราชดำริ ชะงักงันไปเพราะภาวะวิกฤติทางการเงิน หุ้นส่วนอย่างกลุ่ม ศรีวิกรม์ ก็เกิดมรสุมทางการเงิน ทำให้โครงการนี้ต้องชะลอการก่อสร้างออกไป และทุกวันนี้ก็ยังค้างคา โดยกำลังรอเจรจากับผู้ร่วมทุนชาวต่างประเทศคนใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเจรจาสรุปผลกันได้ในเร็วๆ นี้

ดังนั้นร้านแรกของ Kipling จึงไปเปิดในโครงการสยามดิสคัฟเวอรี่ ของชฎาทิพ จูตระกูล เพื่อนรักรุ่นน้องของเธอคนหนึ่งแทน ซึ่งร้านแรกของเธอนี้ค่อนข้างใหญ่พื้นที่กว้างถึง 110 ตารางเมตร แต่ด้วยความมั่นใจในตัวสินค้าและคอนเซ็ปต์ของศูนย์การค้าเองทำให้เธอเกิดความกล้าที่จะลงทุน พร้อมๆ กับไปฝากขายสินค้าในดีพาร์ทเมนต์สโตร์ของเซ็นทรัลชิดลม และเมื่อศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียมเปิดสาขาที่ 3 ก็เลยเกิดขึ้น ส่วนสาขาที่ 4 ก็คือร้านค้าชั้นล่างของตึกมณียา ราชประสงค์

นอกจากการทุ่มเทงบประมาณทางด้านการตลาดในช่วงแรก โดยการลงสื่อโฆษณาการจัดแฟชั่นโชว์แล้วจนเป็นที่รู้จักกันระดับหนึ่งแล้ว ภาวะวิกฤติ ทางการเงินที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นส่วนสำคัญ ในการสร้างโอกาสให้ Kipling ในเมืองไทยฮิตติดตลาดได้เร็วขึ้น เพราะเมื่อมีปัญหาทางการเงิน ไลฟ์สไตล์ของคนไทยส่วนใหญ่ก็เริ่มเปลี่ยนไปจริงๆ กลาย เป็นการใช้ชีวิตที่ง่ายๆ สบายๆ ขึ้นไม่เป็นแบบแผนนัก

"เรามองว่าราคามันพอสมควรนะ คะ แบบก็เป็นอะไรที่ง่ายๆ เป็นกระเป๋าผ้าไนล่อนที่ทนแดดทนฝน สมบุกสมบัน ไม่ต้องใช้แบบระมัดระวังอะไรนักเหมาะ กับยุคสมัยเพราะเดี๋ยวนี้คนไม่ได้แต่งตัวเนี้ยบกันนักหนาซึ่งมันเหมาะกับยี่ห้อนี้ แล้วที่สำคัญเมืองไทยเป็นเมืองร้อน สีสันของกระเป๋าที่หลากสี เข้ากับเมืองร้อนได้ดี มันเป็นสีที่ดูแล้วสดใสมีชีวิตชีวา"

"ตอนแรกใครๆ ก็มองว่าเราทำเล่นๆ ไม่ใช่เลย เราเอาจริงเลยล่ะค่ะ เงินทั้งนั้นนะที่เราลงไป เราคิดอยู่แล้วว่ามันต้องดีแน่ แต่ไม่คิดว่ามันจะฮิตได้ขนาดนี้ เพราะในประเทศอเมริกาหรือยุโรป สินค้า ตัวนี้ไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก แต่จะเป็นที่เลือกใช้ในบางโอกาสมากกว่าเช่นวันพักร้อนเที่ยวป่าเที่ยวเขา"

แผนการตลาดอีกอย่างหนึ่งซึ่ง

ศิริกาญจน์ไม่คิดว่าจะมีผลมากมายแต่กลับได้ผลจริงจัง คือการที่บริษัทนี้มีผู้ถือหุ้นเล็กๆ กระจายกันหลายคนแล้วต่างคนก็ต่างช่วยกันถือเป็นการโปรโมตไปในตัวด้วย ต่อมาเด็กวัยรุ่นหน่อยเห็น เข้าก็เลยเอาอย่าง นอกจากผู้ถือหุ้นในแวดวง "ไฮโซ" ที่มีฐานะช่วยโปรโมตสินค้าให้ทางอ้อมแล้ว โดยบุคลิกส่วนตัวของศิริกาญจน์เองก็เป็นคนที่สนุก สนานเฮฮา และมีเพื่อนฝูงที่อยู่ในวงสังคมมากมายซึ่งน่าจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้สินค้าตัวนี้ติดตลาดได้เร็วขึ้นจาก แวดวงของลูกค้าที่เป็นผู้ใหญ่กระจายไปยังบรรดาลูกหลานของไฮโซฯ เหล่านั้น แล้วระบาดไปยังสังคมชั้นกลางและล่างอย่างรวดเร็ว

สำหรับราคาของกระเป๋า Kipling นี้มีตั้งแต่พันกว่าบาทขึ้นไปถึงหมื่นกว่าบาท ซึ่งเป็นกระเป๋าเดินทางแต่ราคาที่ขายดีที่สุดในเมืองไทยจะอยู่ที่ราคาประมาณ 2-3 พันบาท ส่วนกลุ่มเป้าหมายลูกค้า มีตั้งแต่เด็กวัยรุ่น ไปจนถึงวัยกลางคน และคนสูงอายุ

นอกจากสาขาในกรุงเทพฯ แล้ว ศิริกาญจน์ยังวางแผนบุกตลาดในต่างจังหวัดอีกด้วยเช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น ซึ่งจำเป็นต้องหาหุ้นส่วนซึ่งเป็นคนท้องที่ ส่วนสาขาในกรุงเทพฯ นั้น เธอมีเพื่อนฝูงมากมายที่ต้องการเป็นซับเอเยนต์จากเธอไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนกันให้ละเอียดรอบคอบอีกครั้ง ภาพพจน์ของสินค้าเป็นสิ่งที่เธอต้องการระวังมากที่สุด เพื่อจะได้ทำ ให้ "ลิง" ตัวนี้คึกคะนองบนถนนสายแฟชั่นในเมืองไทยให้นานที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us