Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
ปิดไซบีเรียคาเฟ่             
 


   
search resources

ไซบีเรียคาเฟ่
Networking and Internet
กุลเทพ นฤหล้า




ร้านไซบีเรียคาเฟ่ นับเป็นธุรกิจอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ที่เปิดตัวขึ้นมาท่ามกลางกระแสการเกิดของอินเตอร์ เน็ตในเมืองไทย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยสองพี่น้องเชื้อสายอินเดียที่เกิดเมืองไทย กุลเทพ นฤหล้า จากการซื้อลิขสิทธิ์ร้านไซบีเรีย มาจากประเทศอังกฤษ

กุลเทพ ก็เป็นเหมือนกับผู้ประกอบการในยุคเริ่มแรก ที่มีโอกาสได้สัมผัสกับร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ตั้งแต่สมัยไปร่ำเรียนอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทำให้กุลเทพมองเห็นโอกาสของการทำธุรกิจแนวนี้ในเมืองไทย ที่คลื่นของอิน เตอร์เน็ตเพิ่งเคลื่อนตัวเข้ามาไม่นาน

นอกจากธุรกิจของการเป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) แล้ว ธุรกิจร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่นิยมทำกันในยุคเริ่มแรก เพราะเท่ากับเป็นการสนองตอบต่อลูกค้าต่างประเทศที่เดินทางเข้าเมืองไทย ซึ่งเป็นกลุ่มที่คุ้นเคยกับการใช้อินเตอร์ เน็ตอยู่แล้ว และยังรองรับกับกลุ่มนักธุรกิจที่ต้องออกนอกสถานที่ หรือกลุ่มคนที่อยากสัมผัสกับอินเตอร์เน็ตแต่ไม่มีเครื่องพีซี ร้านไซบีเรียคาเฟ่ ถือกำเนิดขึ้น มาที่หัวมุมริมถนนปากซอยสุขุมวิท 24 ด้วยรูปลักษณ์ของร้าน ขนาด และกิจกรรมที่มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เต็มไปด้วยกลิ่นอายของอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ของเมืองนอก ไม่ว่าจะเป็นถ่ายทอดแฟชั่นโชว์จากเมืองนอกบนอินเตอร์เน็ต หรือการจัดคอนเสิร์ตย่อยๆ เพื่อถ่ายทอดลงบนเว็บ ทำให้ไซบีเรียคาเฟ่กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกระแสอินเตอร์ เน็ตที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น

แต่ 3 ปีผ่านไป พร้อมๆ กับการ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ อินเตอร์เน็ต ธุรกิจที่ยังหาโมเดลชัด เจนไม่ได้ การขยายตัวของจำนวนสมาชิก เครื่องพีซี กระแสของอีคอม-เมิร์ซ ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ที่มีดาษ ดื่น ทุกซอกมุมของถนนสุขุมวิท และในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ เมื่อหลายคนมองว่าธุรกิจไม่ได้มีมากไปกว่าการเจียดเนื้อที่ในร้านเล็กน้อย เอาโต๊ะมาวางเอาเครื่องพีซีมาวางต่อโมเด็ม สมัครเป็นสมาชิกอินเตอร์เน็ต แค่นี้ก็เป็นธุรกิจหารายได้เข้ากระเป๋าได้แล้ว

ไซบีเรียจึงหนีกฎการตลาดไม่พ้น เมื่อ supply เพิ่มขึ้นมากกว่า demand ยิ่งเมื่อมาเจอการแข่งขันของร้านไซเบอร์ คาเฟ่แบบไทยๆ ไร้รูปแบบด้วยแล้วจาก นาทีละหลายสิบบาท ก็เหลือเพียงนาทีละบาทเดียว ร้านไซเบอร์คาเฟ่ที่เคยเป็นสีสันของอินเตอร์เน็ตยุคเริ่มต้นต้องหันมาทบทวนตัวเอง

"ตอนนี้เราอยากจะปรับปรุงธุรกิจ ใหม่ จำนวนร้านมันเยอะกว่าลูกค้า ร้านตัดเสื้อยังมีอินเตอร์เน็ตเลย และมันก็ไม่ attractive อีกแล้ว แต่ไม่ใช่เราจะไม่เปิดอีกแล้ว เพียงแต่เราต้องมานั่งดูอีกทีเพื่อหารูปแบบใหม่"

หลังร้านไซบีเรียปิดลง เหลือไว้แต่เพียงสาขาเล็กๆ ที่ตึก omni ซึ่งเป็นของตระกูลเขาแล้ว กุลเทพก็หันไปทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบอินเตอร์เน็ต รับพัฒนาเว็บไซต์ และธุรกิจโซลูชั่นเกี่ยวกับการทำอีคอมเมิร์ซ และจะหันไปทำธุรกิจเกี่ยวกับการเทรนนิ่ง โดยยังคงร่วมมือกับไซบีเรียประเทศอังกฤษซึ่งก็ มีธุรกิจทางด้านนี้อยู่แล้ว

และอีกไม่นานกุลเทพจะเผยโฉมเว็บไซต์ใหม่ ที่เป็น portal web ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมืองไทย จะมี 2 ภาษาคือไทยและอังกฤษ ข้อมูลจะมีทั้งที่ร่วมมือกับแหล่งข้อมูลจากที่อื่นๆ และ ทำขึ้นเอง และจะมีส่วนที่เป็นชอปปิ้งมอลล์ เพื่อวางอนาคตสำหรับการทำอี- คอมเมิร์ซ

การมองแนวโน้มของธุรกิจ portal web ของกุลเทพ ก็ไม่ต่างจากเจ้าของ portal web อื่นๆ ที่ต้องการสร้างประชาคมของตัวเองขึ้นมาบนเว็บไซต์ เพื่อจะนำไปสู่การสร้างธุรกิจในอนาคต และถึงแม้ว่า โมเดลของธุรกิจ portal web ยังไม่ได้มีมากไปกว่ารายได้จากโฆษณาจากแผ่นป้าย (brandner) ที่มีรายได้เดือนละไม่เกินหมื่นบาท แต่กุลเทพยังเชื่อเหมือนกับเจ้าของ portal web อื่นๆ ที่ต้องการวิ่งไปกับแนวโน้มของธุรกิจนี้

"มันก็เหมือนกับการทำอินเตอร์ เน็ตคาเฟ่ ที่ต้องปรับตัวตลอด เมื่อไปไม่ได้เราก็ปิด ส่วน portal web ก็ยังไม่มีรูปแบบชัดเจน เพียงแต่ทุกคนก็เห็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ธุรกิจอินเตอร์ เน็ตเราต้องจับชีพจรให้ได้"

ถึงแม้ว่าไซบีเรียคาเฟ่ต้องปิดตัวลงชั่วคราว เพื่อไปค้นหาโมเดลธุรกิจใหม่ ให้กับตัวเอง อินเตอร์เน็ตคาเฟ่สไตล์ไทย

ก็ยังคงขยายตัวแทรกซึมไปทั่วทุกหัวระแหงของกรุงเทพฯ

ผู้ประกอบการรายใหญ่ ล็อกซ อินโฟ หนึ่งในผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของเมืองไทย ที่สร้างรูปแบบอินเตอร์ เน็ตคาเฟ่ของตัวเอง โดยอาศัยจุดแข็งที่มีอยู่ ทั้งไอเอสพีที่มีความพร้อมในเรื่องของเน็ตเวิร์ก และความรู้ในเรื่องของบริการ และมีเครือข่ายธนาคารกสิกรไทย มาประยุกต์ผสมเป็นการให้บริการอิน เตอร์เน็ตแก่ลูกค้าในรูปของบัตรเติม เงินให้ผู้ใช้สามารถซื้อบัตรเติมเงินที่มีชื่อบริการว่าไอคูล และเดินไปใช้อินเตอร์เน็ตตามร้านที่ติดสัญลักษณ์ ไอคูล และเมื่อเงินในบัตรหมดผู้ใช้สามารถไปเติมเงินยังจุดต่างๆ เช่น ธนาคารกสิกรไทย และนำมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ

ทุกวันนี้ล็อกซอินโฟทยอยขายแฟรนไชส์ให้กับผู้สนใจลงทุนตามแหล่งชุมชนต่างๆ ของกรุงเทพฯ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งตราบใดที่กระ- แสของอินเตอร์เน็ตยังคงเดินหน้าต่อไป รายเก่าจากไปรายใหม่ก็เข้ามา แทนที่ เป็นกฎธรรมชาติของธุรกิจ

และนี่เองที่ทำให้กุลเทพ และ ไซบีเรีย ก็ยังพร้อมที่จะวิ่งไปกับกระแสของอินเตอร์เน็ต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us