ปูนซีเมนต์นครหลวง ก็เหมือนกับอีกหลายธุรกิจ ที่ต้องเพิ่มขีดความสามารถให้กับตัวเอง
รู้จักใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ สร้างระบบการขาย ที่รวดเร็ว ทั้งหมดนี้ คือ
เงื่อนไขของการทำธุรกิจในโลกปัจจุบัน
"เวลานี้สินค้าเหมือนกันหมด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับบริการที่ใครจะเหนือกว่ากัน"
จันทนา สุขุมนนท์ รองประธาน อาวุโส (การตลาดปูนซีเมนต์) บริษัทปูน ซีเมนต์นครหลวง
บอกถึงความจำเป็นในการนำไอทีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์
นี่คือ สาเหตุที่ทำให้ปูนซีเมนต์ นครหลวงตัดสินใจ "กระโดดข้าม"
จากการให้ดีลเลอร์ใช้แฟกซ์สั่งซื้อปูนตรานกอินทรี และตราเพชรมาใช้อินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อ
ความคาดหวังของปูนซีเมนต์นครหลวงก็คือ ยอดสั่งซื้อปูนซีเมนต์ ที่เพิ่มขึ้นจากตัวแทนจำหน่าย
จากความสะดวก ที่จะได้รับจากระบบการสั่งซื้อผ่านระบบ websales โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา
การสั่งซื้อสามารถ ทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเข้าถึงข้อมูล ในทุกๆ ส่วน ที่จำเป็น
เช่น ประเภทสินค้า และราคาในช่วงโปรโมชั่น ตรวจสอบยอด สั่งซื้อยอดค้างชำระ
และสต็อกสินค้า และระบบยังถูกเชื่อมต่อกับระบบ ขนส่งสินค้า fleet management
ใช้ในการติดตามสินค้า ทำให้ดีลเลอร์รู้ได้ทันทีว่า สินค้าจะมาถึงมือได้เมื่อไร
"เมื่อดีลเลอร์ได้รับความสะดวกมากขึ้น ได้เห็นข้อมูลที่รวดเร็ว เวลา ที่ใช้ในการทำงานสั้นลง
เขาจะเอาเวลาไปใช้ประโยชน์ ไปขยายตลาด ผลที่ตามมา ก็คือ ยอดการสั่งซื้อ ที่เพิ่มขึ้น"
ในทำนองเดียวกันกับปูนซีเมนต์ นครหลวง คำสั่งซื้อทุกใบ ที่ผ่านระบบ websales
ก็คือ ฐานข้อมูลลูกค้า ที่จะถูก นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการตลาดในอนาคต
อันที่จริงแล้ว โครงสร้างธุรกิจปูนซีเมนต์ แม้จะไม่มีความสลับซับซ้อน เหมือนกับบางธุรกิจ
แต่เงื่อนไข ที่จำเป็น ของธุรกิจนี้ ตัวสินค้า ที่จะเก็บไม่ได้นาน หากผลิต
หรือเก็บสต็อกสินค้าไว้เกินความจำเป็น ย่อมหมายถึงการสูญเสีย รวมทั้งการแข่งขันระหว่างธุรกิจด้วยกัน
จำเป็นต้องอาศัยข้อได้เปรียบทางการตลาดที่ต้องเข้าถึงความต้องการของลูกค้า
ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบงานภายใน มีระบบสื่อสารที่ดีพอ
งานนี้ปูนซีเมนต์นครหลวง ยอม ควักเงินลงทุนซื้อเครื่องพีซี และออกค่าอินเทอร์เน็ต
60 ชั่วโมง และเช่าโรงแรมแชงกรี-ลา จัดอบรมการใช้งาน 2 วันเต็ม ให้กับตัวแทนจำหน่ายทั้ง
600 รายฟรี เพราะหากไม่ทำเช่นนี้จะรอให้ดีลเลอร์ควักเงินซื้อเครื่องเอง ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะทำได้ครบทุกราย
ตามเป้าหมายของปูนซีเมนต์นครหลวง ก็คือ เริ่มทดลองกับดีลเลอร์ 27 รายก่อน
จากนั้น จะติดตั้งให้ กับดีลเลอร์จนครบ 100 ราย ภายในสิ้นปี และจะขยายเพิ่มอีก
600 ราย ภาย ในสิ้นปี 2544
แต่ไม่ว่าจะเป็นระบบ websales system หรือระบบใดก็ตาม ที่เป็นการให้บริการที่ผ่านเว็บไซต์
จำเป็นจะต้องมีระบบหลังบ้านที่ดี ด้วยเหตุนี้ปูนซีเมนต์นครหลวงตัดสินใจลงทุนล้างระบบภายในใหม่ทั้งหมด
นำเอาซอฟต์แวร์ sap มูลค่า 200 ล้านมาใช้งานสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศภายในองค์กรเชื่อมแผนกงานภายใน
ทั้งแผนกการตลาด คลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การก้าวไปสู่บริการรูปแบบใหม่
ที่ใช้ web เทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน
เพราะทันที ที่ข้อมูลดีลเลอร์คีย์คำสั่งซื้อผ่านระบบ websales ข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงไปยัง
server กลาง ที่เช่าศูนย์คอมพิวเตอร์ บริษัท NIIT ตั้งอยู่ ที่อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์
ซึ่งจะทำหน้าที่กระจายคำสั่งไปยังสำนักงานใหญ่ของปูนซีเมนต์นครหลวง ที่ถนนเพลินจิต
สำนักงานฝ่าย ขาย ที่ศูนย์สินค้ารถไฟ พหลโยธิน และโรงงานผลิต ที่สระบุรี แต่ละฝ่าย
จะเชื่อมโยงถึงกันด้วยระบบ sap
งานนี้ Holderbank ผู้ถือหู้นใหญ่ของปูนซีเมนต์นครหลวง ที่เข้ามาถือหุ้นเมื่อ
3 ปีที่แล้ว มีส่วนช่วยได้มาก Holderbank เป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่
1 ใน 3 ของโลก มีเครือข่ายการลงทุนในหลายประเทศ ล่าสุดคือ การลงทุนในบังกลาเทศ และเวียดนาม
ประสบการณ์ ของ Holderbank มีส่วนช่วยในเรื่องของการนำไอทีมาประยุกต์ใช้งาน
และการสร้างธุรกิจแนวใหม่ ที่มุ่งเน้นในเรื่องการบริการ แทน ที่จะขายผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์เพียงอย่างเดียว
ด้วยสภาพการแข่งขัน และไม่ ต้องเผชิญกับปัญหาปูนล้นตลาด ทุกวันนี้ปูนซีเมนต์นครหลวง
ไม่ได้ผลิต และขายปูนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องหันมาขาย "บริการ"
พ่วงด้วย ที่เรียกว่า โครงการวีไอพี ในกรณีของการผลิตเสาเข็ม ที่จะให้บริการตั้งแต่การขายปูนควบคู่ไปกับเทคนิคการทำเสาเข็ม
รวมถึงการจัดส่งสินค้า ที่ต้องได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงความจำเป็นที่ต้องมีไอทีที่ดี
"เวลานี้การผลิตปูนล้นตลาด ฉะนั้น เราจะต้องแข่งกันในด้านบริการ เพื่อกระตุ้นยอดขาย
โดยที่จะเริ่มจาก ข้อมูลข่าวสาร ที่จะต้องแข่งกัน ที่ความเร็ว เราต้องมีทุกอย่างให้เขาใช้"
เป้าหมายในเฟสต่อไป หลังจาก ที่ระบบ websales ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้างระบบ
sales and distribution ก็คือ การเชื่อมต่อจากระบบซื้อขายเข้ากับระบบการผลิต
ใบสั่งซื้อทุกใบ จะสามารถเช็กได้ตลอดเวลาว่า ปูนซีเมนต์ ที่สั่งซื้อออกจากโรงงานมาถึงเมื่อไร
ตาม ที่การันตีไว้ คือ หากดีลเลอร์ สั่งซื้อก่อนเ ที่ยง ไม่เกิน 300 กิโลเมตร
จะมาถึงได้ภายในวันรุ่งขึ้น
ในแง่ของปูนซีเมนต์นครหลวงเอง เมื่อคำสั่งซื้อของลูกค้ามาถึงก็จะไปตัดสต็อก ที่คลังสินค้าโดยอัตโนมัติ
นั่นหมายความว่า ฝ่ายผลิตจะสามารถผลิตสินค้าได้ตามออร์เดอร์โดยไม่ต้องผลิตทิ้งไว้
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการประยุกต์ ใช้ไอที ก็ เพื่อประโยชน์เหล่านี้
เวลานี้ปูนซีเมนต์นครหลวงยังติด ตั้งทำระบบ Automatic refill เป็นการเชื่อมโยงระบบสั่งซื้อกับดีลเลอร์รายใหญ่
ที่มีถังไซโล ด้วยการติดเครื่องวัด (อินดิ เคเตอร์) ไว้ ที่คลังสินค้าของดีลเลอร์ราย
นั้น เมื่อปูนซีเมนต์ ที่เก็บไว้ในคลังสินค้า ถูกขายจนถึงจุดที่กำหนดไว้ ข้อมูลจะวิ่ง ที่ปูนซีเมนต์นครหลวง
เพื่อเตรียมส่งสินค้าให้ได้ทันกับความต้องการ
เมื่อการติดตั้งระบบไอที เฟส 1 และเฟส 2 เสร็จสิ้นลง ขั้นต่อไปคือ การ
ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายใน นั่นหมายถึงการที่ข้อมูลจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน
คลังสินค้าจะสามารถบริหารสินค้าในสต็อกไม่ให้สินค้าผลิต ในขณะที่ฝ่ายการตลาดจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลจัดรายการส่งเสริมการขาย
เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการตลาด
ที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทุกคนในตลาดปูนซีเมนต์ก็ต้องไป
"ท้ายที่สุด คู่แข่งของเรา ที่มีอยู่ในเวลานี้ ก็ต้องไปเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะไปก่อนกัน
และทำได้ถูกใจมากกว่ากัน" เหตุผลสุดท้ายของผู้บริหารปูนซีเมนต์นครหลวง