Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
อีคอมเมิร์ซ สนามรบใหม่ของแกรมมี่             
 


   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
E-Commerce




ใครจะรู้ว่าในไม่ช้านี้ เราสามารถเดินเข้าไปในร้านขายเทป และก็เลือกเพลงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลือกเพลงจากอัลบั้มของศิลปินต่างๆ จากนั้นก็โหลดใส่แผ่นและเดินไปจ่ายเงินก็ได้เพลงกลับมาฟังแบบรวมฮิตชนิดที่ตัวเองเป็นคนเลือก หรือที่เรียกว่า customize CD เพราะบางคนต้องซื้อเทปทั้งม้วนเพราะชอบแค่เพลงเดียว ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของแผนแม่บทธุรกิจคอมเมิร์ซของแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

กระแสของเทคโนโลยีที่มีต่อธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำให้ค่ายเพลงขนาดใหญ่ หมดความหมายไปเยอะ กรณีของเดวิด โบวี่ ศิลปินชื่อดังที่ตอบรับกระแสอินเตอร์เน็ตออกอัลบั้มแสดงสดผ่านเว็บไซต์ ให้แฟนเพลงดาวน์โหลดเพลงจากเว็บไซต์ ทำเอาค่ายเพลงใหญ่ๆ ทั่วโลกต้องหนาวๆ ร้อนไปตามๆ กัน

ค่ายเพลงใหญ่ของไทยอย่างแกรมมี่เองก็อยู่เฉยไม่ได้ แม้ว่าปรากฏ การณ์เหล่านี้จะยังไม่ส่งผลมาถึงเมืองไทยในเวลาอันใกล้ แต่การเติบโตของ อินเตอร์เน็ต ทำให้ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริหารของ

แกรมมี่ ตอบรับกับกระแสของคลื่นอินเตอร์เน็ตอย่างไม่มีเงื่อนไข

หากมองลึกลงไปอีก ลูกค้าส่วนใหญ่ของแกรมมี่ก็เป็นกลุ่มวัยรุ่นจนถึงคนเริ่มทำงานอยู่แล้วในมือ เป็นกลุ่มเดียวกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเวลานี้ก็ล้วนแต่เป็นนักเรียน นักศึกษา ที่แกรมมี่คุ้นเคยดีอยู่แล้ว แกรมมี่จำเป็นต้องรักษาฐานลูกค้าของตัวเองไม่ใช่แค่สื่อวิทยุ และทีวี แต่ต้องรวมไปถึงกระแสความร้อนแรงอย่างสื่ออินเตอร์เน็ต

"ธุรกิจนี้มันโตเร็วมาก โทรทัศน์เคยต้องใช้เวลาถึง 14 ปีกว่าจะมีคนดูถึง 60 ล้านคน แต่อินเตอร์เน็ตใช้เวลาไม่ถึง 4 ปี เท่านั้น มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว เป็นปรากฏการณ์ที่เรามองข้ามไม่ได้" คำประกาศของไพบูลย์ที่มีต่อธุรกิจนี้

แกรมมี่รู้ดีว่า จุดแข็งของตัวเองอยู่ที่ธุรกิจเพลง ที่แกรมมี่ยึดครองฐานข้อมูลเพลงจำนวนมาก การโลดแล่นอยู่บนธุรกิจอินเตอร์เน็ต แกรมมี่จึงต้องรักษาจุดแข็งด้วยการทำตัว content provider เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าจะผันตัวเองมาสร้างเครือข่ายเป็นผู้ให้บริการอิน-เตอร์เน็ต (ไอเอสพี)

ก้าวแรกของการเข้าสู่ธุรกิจนี้ของแกรมมี่ไม่ต่างไปจากคนอื่นๆ คือ เริ่มจากการสร้างประชาคมของตัวเองบนอินเตอร์เน็ต ด้วยการสร้างเว็บไซต์ให้คนมาใช้ และเมื่อจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จากนั้นจึงจะสามารถก้าวไปสู่การทำอีคอมเมิร์ซ ที่เป็นจุดหมายปลาย ทางที่ทุกคนเฝ้ารอ เพราะเชื่อว่าจะเป็นตัวที่สร้างรายได้ให้อย่างแท้จริง

ระหว่างนี้แกรมมี่ก็อยู่ระหว่างการจัดทำเว็บไซต์ เป็นผลงานของทีมงานเพียง 5 คน จากภายในและภายนอกมาร่วมกันสร้างให้เว็บไซต์นี้กลายเป็นศูนย์รวมของเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ที่มีข้อมูลหลากหลาย เป็นทั้งแหล่งรวมลิงค์ที่ไปเชื่อมโยงกับเว็บไซต์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และเนื้อหาที่จะสร้างขึ้นเอง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแกรมมี่จะมีเนื้อหา และศิลปินที่จะสร้างกิจกรรมใหม่ๆ บนเว็บ เช่น เปิดให้อีเมลคุยกับเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ หรือ คริส-ติน่า อากีล่า แต่อินเตอร์เน็ตยังคงความเป็นธุรกิจที่ไร้โมเดลแน่นอน และไม่มีอยู่ในตำราเล่มใด

"เราไม่รู้ว่าอะไรจะประสบความสำเร็จบ้าง ไม่รู้ว่าใครจะชอบอะไร มันไม่มีโมเดลที่แน่นอนบนอินเตอร์เน็ต ทุกอย่างเราต้องทดลองไปเรื่อยๆ เนื้อ หาบนเว็บก็ต้องลองใส่ไป ดูการตอบรับของผู้ใช้อันไหนดีเราก็ทำต่อไป อันไหนไม่ดีเราก็หยุด" วราวิช กำภู ณ อยุธยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงาน พัฒนาธุรกิจ บริษัทแกรมมี่ กล่าวถึงการสร้างเว็บไซต์แกรมมี่ที่ยังไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ทุกอย่างต้องลองผิดลองถูก

การเป็นเจ้าของ content เพลงมหาศาลในมือ ทำให้แกรมมี่กลายเป็นสาวเนื้อหอมที่ถูกรุมตอม จากทั้งชินคอร์ป สามารถ และเอ็มไอเอช ทั้ง 3 รายนี้รู้ดีว่าสิ่งที่เว็บไซต์ของเมือง ไทยยัง ขาดแคลนอย่างมากก็คือ content แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายของแกรมมี่ เพราะสิ่งที่แกรมมี่ต้องการคือ เทคโนโลยีใหม่ หรือประสบการณ์ที่สำเร็จแล้วจากการทำธุรกิจนี้ แต่ธุรกิจอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน และที่สำคัญทุกคนล้วนแต่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของต่างชาติทั้งสิ้น และแกรมมี่ก็มีเงินทุน พร้อมที่จะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากไหน

"เราจะทำเองไม่ไปรวมกับใคร เพราะเราเป็นเจ้าของ content อยู่แล้ว และทุกคนก็ล้วนแต่ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาทั้งนั้น อินเตอร์เน็ตก็ยังเป็นเรื่องใหม่ของทุกคน ไม่มีใครรู้ดีกว่าใครในธุรกิจนี้" คำกล่าวของวิสิฐ ตันติสุนทร ประธานกรรมการบริหาร บริษัทแกรมมี่ เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กล่าว เป็นการปิดทางผู้ถือหุ้นในไทย แต่ไม่ใช่สำหรับบริษัทจากต่างชาติ ที่เป็นเจ้าของแอพพลิเคชั่นดีๆ มาให้กับเว็บไซต์ของแกรมมี่

และนี่เองที่แกรมมี่จะมีพันธมิตร จากต่างชาติ ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือทำเว็บไซต์ประสบความสำเร็จเข้ามาร่วมถือหุ้น ที่คงจะเปิดเผยชื่อได้ในเวลาไม่นานนี้

"แกรมมี่ให้ความสำคัญกับธุรกิจ นี้มาก ถ้าเราทำ เราไม่ได้ลงทุนเพียงแค่ 1 ถึง 2 ล้านบาท เพราะตรงนี้มันเป็น การเชื่อมถึงวิชั่นของเราในอนาคต" วิสิฐ กล่าว เพราะตัวเลขที่แกรมมี่วางไว้คร่าวๆ ก็คือ 100-200 ล้านบาทสำหรับการ รังสรรค์ธุรกิจนี้

การเข้าสู่ธุรกิจด้านการศึกษา (Education) ด้วยการเปิดเป็นสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนสอนดนตรี คณิตศาสตร์ สอนกีฬา สอนคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มด้วยการจับมือกับสถาบันนวภาษา เปิดโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษไปแล้วนั้น ไม่ได้มีเป้าหมายอยู่เพียงแค่การที่แกรมมี่ต้องการมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ หรือโรงเรียนสอนดนตรี เพื่อการขยายฐานของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจากวัยรุ่นที่ชอบเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มาสู่กลุ่มลูกค้าที่เป็นเด็กเล็ก และกลุ่มที่ไม่ต้องการเสพเอ็นเตอร์เทนเม้นท์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป้าหมายสำคัญของแกรมมี่ก็คือ การสร้าง content ทางด้านการศึกษา และ Edu-tainment ที่เป็นส่วนผสมระหว่างการศึกษาและความบันเทิง แทนที่จะมีแต่บันเทิงเพียงอย่างเดียว

"เวลานี้เราจับหัวและจับหางของธุรกิจไว้ได้แล้ว เราชำนาญเรื่องเอ็น-

เตอร์เทนเม้นท์ แต่เราไม่เชี่ยวชาญในเรื่องการศึกษา ซึ่งเราก็ไปจับกับคนที่เขามีประสบการณ์อย่างสถาบันนวภาษา สิ่งที่เราทำต่อไปก็คือ ส่วนที่อยู่ตรงกลาง ที่เป็นการผสมผสานระหว่างเอ็นเตอร์เทน เม้นท์ และการศึกษา ตรงนี้จะเป็นส่วนที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาอยู่ในรูปของเอ็ดดูเทนเม้นท์ และจากตรงนี้จะเป็น ซีดี เทป หรืออินเตอร์เน็ตก็ได้ เพราะเรามี Content อยู่ในมือแล้ว" วราวิชชี้แจง

นั่นก็หมายความว่า นอกจากการยึดกุม content ด้านเอ็นเตอร์เทน เม้นท์แล้ว แกรมมี่จะกลายเป็นเจ้าของ content ในด้านการศึกษา กีฬา ภาษาอังกฤษ ที่จะมาป้อนให้กับสื่อต่างๆ ของ แกรมมี่ วิทยุ โทรทัศน์ รวมทั้งสื่ออย่างอินเตอร์เน็ต

วิสิฐมองอินเตอร์เน็ตเป็น "สื่อ" อีกประเภทหนึ่งนอกเหนือจากโทรทัศน์ และวิทยุ ที่จะมาเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจหลักของแกรมมี่ ในอนาคตข้างหน้าการถ่ายทอดสดรายการของแกรมมี่ จะไม่ได้อยู่ในรูปของวิทยุและโทรทัศน์เท่านั้น แต่จะรวมไปถึงการถ่ายทอดในเว็บไซต์

เช่นเดียวกับการกำหนดให้เว็บไซต์แกรมมี่ เป็นช่องทางจัดจำหน่ายเทป และซีดี นอกเหนือไปจากการขายผ่านยี่ปั๊ว และร้านค้าย่อย และอิมเมจิน

"ผมกำลังศึกษาเรื่องระบบการชำระเงิน ผมว่ากฎหมายอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะเราอาจใช้เดบิตการ์ด หรือชำระเงินด้วยวิธีอื่น"

สิ่งที่วิสิฐมองว่าแกรมมี่จะได้อะไรจากการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต การทำตลาดแบบ global business เท่ากับว่า ลูกค้าที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา หรือในยุโรป ก็สามารถซื้อเทปหรือซีดีของแกรมมี่ในรายเดียวกับที่ซื้อในเมืองไทย (ไม่รวมค่าส่งสินค้า)

"เราจะขายของทุกอย่างในแกรมมี่ ผมมองว่าเป็นการเพิ่มช่องทางขายให้ กับผม และไม่ได้แค่ตลาดในประเทศเท่านั้น แต่มันเป็นตลาดที่จะไปได้ทั่วโลก"

นอกเหนือจากลูกค้าจะสามารถ ดาวน์โหลดเพลงที่ชอบจากเว็บไซต์ ลูกค้ารายไหนไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การมีตู้ KIOS ไว้ตามห้างสรรพสินค้า แหล่งชุมชน ให้ลูกค้าสามารถดาวน์โหลด เพลงจากบนเว็บ เรียกว่าเป็น customize CD หรือซีดีตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

ที่สำคัญก็คือ แกรมมี่จะไม่ต้องแบกสต็อกเทป หรือ ซีดี จำนวนมากๆ ไว้ในร้านค้าอีกต่อไป เมื่อลูกค้าสามารถเลือกอัลบั้มเพลงจากศิลปินต่างๆ จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อเลือกอัลบั้มที่ชื่นชอบ เหมือนกับการเลือกหนังสือในห้องสมุด ต่อไปร้านอิมเมจินก็สามารถลดขนาดจากร้านใหญ่โต ที่ต้องเสียค่าเช่าที่มากมายอีกต่อไป

และนี่เองที่แกรมมี่ไม่ยอมตกขบวนรถไฟสายนี้ ขึ้นอยู่กับว่าแกรมมี่จะทำได้สำเร็จเหมือนกับที่ทำบนสื่อวิทยุ และโทรทัศน์หรือไม่ เมื่ออินเตอร์เน็ตไม่มีคำว่าค่ายใหญ่หรือค่ายเล็ก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us