Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
metta.com ขายเสื้อบนเว็บ             
 


   
search resources

เมตตา ตันติสัจจธรรม
Web Sites




บริเวณห้องจัดเลี้ยงในห้องบอลรูมของโรงแรมโอเรียนเต็ล เมื่อค่ำคืนของวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา คลาคล่ำไปด้วยแขกรับเชิญระดับไฮโซ เพื่อมาดู แฟชั่นโชว์ของห้องเสื้อเมตตา หนึ่งในร้านตัดเสื้อระดับแนวหน้าของเมืองไทย

แต่งานในวันนั้นไม่เหมือนกับการจัดแฟชั่นครั้งที่ผ่านๆ มา ไม่ใช่เพราะการว่างเว้นการจัดเดินแฟชั่นไปถึง 2 ปีเต็ม แต่เป็นครั้งแรกที่เมตตา ตันติสัจจธรรม เจ้าของห้องเสื้อเมตตา ใช้คอนเซ็ปต์ "woman on the web" ใช้สำหรับงานแฟชั่นโชว์ครั้งล่าสุดของเธอ ด้วยการถ่ายทอดการเดินแฟชั่นโชว์ให้ผู้ชมดูได้บนเว็บไซต์ "thaicast.com" ของเคเอสซีอินเตอร์เน็ต ให้เปิดดูสามารถดูได้พร้อมๆ กับแขกรับเชิญภาย ในงาน

ถึงแม้ว่าการจัดงานในวันนั้นจะยังคงให้ความสำคัญกับการเดินแฟชั่น จนละเลยที่จะเน้นย้ำในเรื่องการถ่ายทอดบนเว็บไซต์ ที่เป็นคอนเซ็ปต์สำคัญไปอย่างน่าเสียดายก็ตาม และภาพที่ปรากฏบนเว็บไซต์ในวันนั้นยังไม่ราบรื่นเท่าที่ควร แต่ก็นับได้ว่าเป็นสิ่งหนึ่ง ที่กำลังสะท้อนให้เห็นว่า ระยะห่างระหว่างอินเตอร์เน็ตกับธุรกิจ หรือกับ ผู้หญิง กำลังแคบลงทุกที การใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ทางธุรกิจขยาย ตัวออกไปมากไม่เว้นแม้กระทั่งในวงการ แฟชั่นของเมืองไทย

เมตตาก็เหมือนกับผู้หญิงหรือคนอีกหลายคน ที่อินเตอร์เน็ตยังห่างไกลกับตัวเธอมาก แต่นั่นเป็นเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เมื่อเธอมีโอกาสได้มาสัมผัส กับอินเตอร์เน็ต จากการชักชวนเพื่อนสนิทที่ร่ำเรียนมาด้วยกันตั้งแต่สมัยเด็ก กนกวรรณ ว่องวัฒนสิน แห่งเคเอสซี เป็นผู้จุดประกายการเข้ามาสัมผัสกับอินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลแฟชั่น และรวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ใน การทำธุรกิจ

เมตตาเริ่มต้นใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อติดตาม แฟชั่นใหม่ๆ ทุกวันนี้เมตตาไม่ต้องรอ โวคเล่มใหม่ หรือนิตยสารเล่มใหม่จากต่างประเทศแต่เธอจะเปิดดูในเว็บไซต์ vouge.com และ firstview.com เพื่อดูแฟชั่นใหม่ล่าสุด ที่เธอพบว่าการดูจากบนเว็บเร็วกว่านิตยสารอย่างเทียบกันไม่ได้

เธออาจไม่ได้เป็นคนเดียวที่มองเห็นโอกาสเหล่านี้ แต่เธอมีโอกาสได้ลงมือทำได้ก่อนดีไซเนอร์คนอื่นๆ และก่อนหน้าเดินแฟชั่นโชว์เพียงวันเดียว

เว็บไซต์ "metta.kst.net" ที่เธอทำขึ้นมา ถูกใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์งาน บอกถึงคอนเซ็ปต์ของการจัดแฟชั่นโชว์ในวันนั้น ประวัติของเธอรวม ถึงข้อมูลของช่างแต่งหน้า และช่างทำผม และโฉมหน้าของนางแบบและนายแบบในวันนั้น พูดง่ายๆ ก็คือใช้เป็นการ pre-view ให้ดูข้อมูลของงานแฟชั่นก่อนวันเดินแบบจริง

และหลังจากวันงาน รูปของแขก รับเชิญทั้ง 500 คน จะถูกบรรจุลงเว็บไซต์ พร้อมกับเรื่องภาพของงานในวันนั้นจะเก็บเป็นข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อสร้าง แรงจูงใจให้คนที่มาในงาน ได้แวะเวียนมาที่เว็บไซต์ของเธอที่ไม่ได้เป็นแค่สื่อในการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักร้านเมตตา ที่เธอจะใส่ข้อมูลผลงานการออก แบบเสื้อผ้าตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วงการ คือปี 1992 มาจนถึงปัจจุบันเท่านั้น

เมตตายังทำเว็บไซต์นี้เป็นช่องทางในการค้าขายเสื้อผ้าของเธอด้วยนั่น ก็คือ การทำอีคอมเมิร์ซแบบง่ายๆ

เมตตาวางคอนเซ็ปต์การขายเสื้อผ้าบนเว็บ จะต้องมีความแตกต่างไปจากเสื้อผ้าที่ขายในร้านซึ่งจะมีรายละเอียดมากกว่า แต่เสื้อที่ขายบนเว็บจะต้องเป็นแบบง่ายๆ และที่สำคัญจะต้องมีระดับราคาที่ต้องถูกกว่าเสื้อผ้าที่ขายอยู่ในร้านของเธอตามปกติ ราคาที่จำหน่ายจะอยู่ในช่วง 1,000-4,000 บาท เพื่อสนองตอบกับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ซึ่งเป็นผู้ใช้ส่วนใหญ่บนอินเตอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม เมตตารู้ดีว่า แม้อินเตอร์เน็ตจะทำให้โอกาสของธุรกิจเสื้อผ้าเปิดกว้างขึ้น แต่การซื้อขายเสื้อผ้าผ่านเว็บก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของคนไทยที่ยังไม่ชินกับการซื้อขายของบนเว็บ และการซื้อเสื้อผ้าส่วนใหญ่ก็ยังต้องลอง เธอจึงไม่ได้คาดหวังในเรื่องรายได้จากบนเว็บมากนัก ตัวเลขที่เธอวางไว้ คือ 20-30% ของยอด ขายที่ได้จากร้านขายของตามปกติ

และการซื้อขายบนเว็บของเธอก็ยังไม่ได้เป็นอีคอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ ที่สามารถชำระบัตรเครดิตได้ทันที แต่ก็ยังเป็นเพียงแค่การสั่งซื้อเสื้อเท่านั้น เพราะการชำระเงินก็ยังอยู่ในรูปของการให้ลูกค้าจ่ายธนาณัติ หรือโอนเงินเข้าบัญชี จากนั้นเสื้อผ้าที่ลูกค้าสั่งไว้จึงจะส่งไปรษณีย์ไปให้

"เราต้องการเปิดโอกาสให้ลูกค้า ต่างจังหวัด และคนไทยต่างประเทศได้รับความสะดวกมากขึ้น แทนที่จะโทรศัพท์มาสั่ง และเราส่งไปรษณีย์ไปให้ เขาก็มาสั่งผ่านบนเว็บไซต์"

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางใช้สื่ออินเตอร์เน็ตจับลูกค้าที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น ที่เมตตาหวังว่าคนกลุ่มนี้ในอีก 4-5 ปี เด็กพวกนี้จะกลายมาเป็นลูกค้าของเธอ

แต่ก่อนที่จะไปถึงในจุดนั้น สิ่งที่เธอพบจาก "สื่อ" อย่างอินเตอร์เน็ตก็คือการเป็นสื่อราคาถูก เมื่อเทียบกับการ ลงโฆษณาในแมกกาซีน การทำเว็บไซต์ ของเธอก็ใช้เงินไปประมาณ 10,000 บาท

อนาคตที่เธอเตรียมไว้ก็คือ การทำเว็บไซต์เกี่ยวกับแฟชั่นของไทย ที่จะเป็นการรวบรวมผลงานของดีไซเนอร์ในไทยที่มีอยู่ราว 20-30 คน และการตอบปัญหาเกี่ยวกับความสวยความงามบนเว็บไซต์ เช่น การแต่งหน้า หรือการแต่งตัวให้เหมาะสม

และนี่ก็คือส่วนหนึ่งของธุรกิจความงามกับอินเตอร์เน็ต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us