Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
ช่างทำผมออนไลน์             
 


   
search resources

ชลาชล แฮร์สตูดิโอ
สมศักดิ์ ชลาชล
salondebkk.com




หากเป็นเมื่อหลายปีก่อนหลายคนคงนึกไม่ออกว่า ร้านตัดผม หรือ ร้านเสื้อผ้าจะมาเกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต ได้อย่างไร แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกแล้วสำหรับชั่วโมงนี้ เมื่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้ถูกมองว่า "เทคโนโลยี" ไกลตัวแต่กลาย เป็นเครื่องมือทางการตลาดชั้นเยี่ยมขึ้นอยู่กับจินตนาการของแต่ละคนจะประยุกต์ใช้ได้สำเร็จเพียงใด

สมศักดิ์ ชลาชล เจ้าของร้าน ชลาชล แฮร์สตูดิโอ เป็นหนึ่งในเจ้า ของร้านทำผมที่มองเห็นโอกาสของการใช้ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ เข้ากับธุรกิจร้านตัดผม

สมศักดิ์ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในช่างทำผมชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ที่อยู่กับธุรกิจนี้มาไม่น้อยกว่า 20 ปี และเมื่อ 7 เดือนที่แล้ว เขาได้ตั้งร้าน salon de BKK ขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าดิเอ็ม โพเรียม และจัดว่าเป็นการฉีกรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากร้านตัดผมทั่วไป

ร้าน salon de BKK ของเขา เกิดขึ้นมาภายใต้คอนเซ็ปต์ของการเป็นแหล่งรวมช่างทำผมชื่อดังของเมืองไทยอย่าง บุษบา เปรมเจริญ, สมพร ธิรินทร์ ยังรวมไปถึงช่างแต่งหน้าชื่อดัง อย่างลูกน้ำ สุคนธ์ สีมารัตนกุล, ทองหล่อ ฉิมเจริญ ให้มาใช้เป็นสถานที่ในการให้บริการตัดผมหรือแต่งหน้าให้กับลูกค้าที่อยู่ใจกลางเมือง ด้วยการแบ่งรายได้ระหว่างร้าน และช่างทำผมหรือช่างแต่งหน้าฝ่ายละ 50%

เป้าหมายของร้าน salon de BKK ไม่ได้มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในแถบใจกลางเมือง ที่จะมาพบช่างตัดผมหรือช่างแต่งหน้าเจ้าประจำ ได้สะดวกขึ้นเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงลูกค้าชาวต่างชาติที่เดินทางมาทำงานหรือพักผ่อนในเมืองไทย และอนาคต สมศักดิ์ยังมองไปถึงการเปิดสาขา salon de BKK ในประเทศต่างๆ

"จริงๆ แล้วช่างฝีมือของคนไทยเก่งไม่แพ้ต่างชาติ โดยเฉพาะในเรื่องการเกล้าผม คนไทยเก่งมากในเรื่องนี้ แต่ที่แล้วมาคนไทยกลับไม่มีโอกาสไปทำงานในต่างประเทศเลย เราหวังว่าร้านนี้จะเป็นส่วนที่จะโปรโมตช่างผมของคนไทย ทุกอย่างในร้านจะเป็นของคนไทย นางแบบก็จะเป็นคนไทย"

การโปรโมตฝีมือช่างทำผมและช่างแต่งหน้าของเมืองไทยจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากสำหรับการทำร้านภายใต้ แนวทางนี้ และนี่เองที่ทำให้สมศักดิ์ นึกถึงการมีเว็บไซต์เพื่อใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ร้านของเขาไปทั่วโลก

สมศักดิ์ ได้ญาติผู้น้องที่ชื่อประพุทธิ์ กำลังเอก (พรประภา) ซึ่งร่ำเรียนอยู่ประเทศอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก และจบมาทางด้านคอมพิวเตอร์มาเป็นคนออกแบบและทำเว็บไซต์ www. salondebkk.com ให้

ข้อมูลในโฮมเพจนี้จะบรรจุเรื่อง ราวเกี่ยวกับประวัติช่างทำผม ช่างแต่งหน้า แนวโน้มของทรงผมใหม่ๆ ตลอดจนแฟชั่นโชว์ของเขาที่จัดขึ้นในช่วงที่ ผ่านมา รวมถึงราคาค่าบริการและแผนที่การเดินทางมาที่ร้าน salon de BKK และอีเมลเพื่อไว้ตอบปัญหาแก่ลูกค้า

ผลตอบรับที่ได้มาก็คือ มีลูกค้าต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่มาใช้บริการในร้านโดยเห็นข้อมูลจากเว็บไซต์ และนี่เองทำให้แรงบันดาลใจในการนำระบบอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีมาใช้ประยุกต์ เข้ากับธุรกิจของเขาถูกลงลึกในรายละเอียดมากขึ้น

จะว่าไปแล้วประสบการณ์ของการอยู่ในแวดวงช่างทำผมระดับแนวหน้าถึง 20 ปีเต็ม อาจไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้เขามองเห็นการใช้ประโยชน์จากการใช้อินเตอร์เน็ต สมศักดิ์เป็นช่างทำผมในเวลานั้นเพียงไม่กี่คน ในยุคนั้นที่จบระดับปริญญาตรี เอกสาขาวิชาจิตวิทยาจากวิทยาลัยครูสวนสุนันทา และหันมาเอาดีกับการเป็นช่างทำผม ใช้ชีวิตเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนสอนตัดผมเกตุวดี อยู่หลายปี ซึ่งเป็นทั้งแหล่งบ่มเพาะความรู้เบื้องต้น ก่อนจะมาเปิดร้านชลาชลเป็นของตัวเองเมื่อสิบปีที่แล้ว

นิสัยส่วนตัว สมศักดิ์ เป็นคนชอบเรียนรู้แสวงความรู้ใหม่ๆ เขาเคยต้องขายบ้านมรดกชิ้นเดียวที่เขาได้รับจากแม่ เพื่อแลกกับการมีเส้นทางเดินชีวิตของตัวเอง แทนที่จะช่วยทำธุรกิจโรงสีของครอบครัวซึ่งสมศักดิ์นำเงินทั้งหมด 1 ล้านบาทที่ได้จากการขายบ้าน ไปใช้เก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำผมในต่างประเทศ

"ผมไปมาหมดเกือบทุกประเทศ ไม่ว่าที่ไหนที่เขาบอกมีโรงเรียนสอนทำผมดีๆ ก็ไปๆ มาๆ เมืองไทยกับเมืองนอกหลายปี" สมศักดิ์เล่าถึงประสบ การณ์หาความรู้ในอดีต และนี่เองที่ทำ ให้การรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในธุรกิจทำผมจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขา

สมศักดิ์เริ่มใช้อินเตอร์เน็ตเมื่อ 2 ปีมาแล้ว จากการแนะนำของกนกวรรณ ว่องวัฒนสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเคเอสซี อินเตอร์เน็ต เพื่อนรุ่นน้องที่เป็นผู้จุดประกายความคิด ในการเข้าไปท่องอินเตอร์เน็ต เพื่อหาข้อมูลเกี่ยว กับแฟชั่นทรงผมใหม่ๆ

สมศักดิ์ไม่ได้มองประโยชน์จากการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการค้าโดยตรง แต่เขาเห็นประโยชน์ในเรื่องการใช้เครื่องมือในการสร้างภาพพจน์ และใช้เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์มากกว่าอย่างอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่เขาได้ผลตอบรับอย่างดีจากเว็บไซต์ salondebkk.com มาแล้ว ทำให้เขา เห็นโอกาสของการนำไอทีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจร้านทำผมอย่างเป็นระบบครั้งแรก

สมศักดิ์นำระบบแฟรนไชส์มาใช้กับการขยายสาขา เพื่อแก้ปัญหาที่ต้องไปกู้เงินแบงก์มาลงทุน แต่วิธีนี้ทำ ให้เขาต้องควบคุมคุณภาพร้านแฟรนไชส์ อย่างเข้มข้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์ของชลาชล แทบจะไม่ต้องทำอะไร ยกเว้นลงทุนเรื่องเงินเพียงอย่างเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นการออกแบบร้าน ช่างทำผม พนัก งานในร้าน จะถูกส่งจากสถาบันฝึกอบรม ของชลาชลทั้งหมด ยกเว้นแคชเชียร์ ในร้านเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เป็นของผู้ซื้อแฟรนไชส์

ที่แล้วมาสมศักดิ์ต้องใช้วิธีการตรวจสอบร้านแฟรนไชส์เหล่านี้ด้วยตัวเอง ซึ่งก็เหมือนร้านทำผมอื่นๆ ที่กว่าจะเช็กยอดรายได้ของแต่ละร้านได้ก็ต้อง คอยถึงตอนเย็นเพื่อให้ร้านแฟกซ์รายละเอียดเข้ามา หรือแม้แต่การคอยโทรศัพท์ เพื่อตรวจสอบมารยาทของพนักงานรับโทรศัพท์ของร้านแฟรนไชส์แต่ละแห่งแบบไม่ให้ทันตั้งตัว

ภายในอีกไม่ถึงเดือน ร้านแฟรน ไชส์ชลาชลทั้ง 3 สาขานี้ จะถูกบริหารงานโดยผ่านระบบเครือข่าย (network) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล (online) ระหว่างสำนักงานใหญ่ซอยทองหล่อ และร้านแฟรนไชส์เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้สมศักดิ์สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวของรายได้และค่าใช้จ่ายได้ตลอดเวลา และที่สำคัญคือ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงแผนการตลาดต่อไป

"เราอยู่ในวงการแฟชั่นเราต้องวิ่งตลอด ระบบไอทีไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับธุรกิจนี้อีกต่อไป เมื่อเรานำไอทีมาใช้แล้ว ทำให้เราสามารถดูได้ทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นรายได้ หรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดภายในร้าน เราสามารถควบ คุมได้หมด เป็นจุดที่ทำให้เราจำเป็นต้องก้าวให้ทันกับเรื่องเหล่านี้"

สำนักงานใหญ่ในซอยทองหล่อ ซึ่งเป็นทั้งสถาบันฝึกอบรมช่างทำผม เพื่อ ป้อนให้กับร้านแฟรนไชส์เหล่านี้ จะมี เครื่องแม่ข่าย (server) จะเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร้านแฟรนไชส์ทั้ง 3 สาขา ที่ตั้งอยู่ในห้างเซ็นทรัลพระราม 3 ซีคอนสแควร์ และสยามเซ็นเตอร์ ซึ่งจะต้องติดตั้งเครื่องคอม พิวเตอร์ ในแต่ละวันข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดทั้งหมดจากร้านแฟรนไชส์ทั้ง 3 แห่งจะถูกถ่ายโอนไปที่สำนัก งานใหญ่โดยผ่านเครือข่ายคู่สายโทรศัพท์ และโมเด็ม

"ที่สำนักงานใหญ่จะตรวจสอบข้อมูลความเคลื่อนไหวของยอดขาย และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายในร้านได้ตลอด ถ้าเวลาจะไปไหนก็จะมีโน้ตบุ๊คเสียบเข้ากับโทรศัพท์ จะสามารถเช็กได้ตลอดเวลาว่า ร้านแฟรนไชส์แต่ละแห่งเขามีรายได้เป็นอย่างไร เราเช็กได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหน ไม่ต้องรอจบวันแล้วจึงแฟกซ์มาเพื่อเก็บลงคอมพิว-

เตอร์อีกที แต่นี่ไม่ต้องเราเช็กดูได้ตลอด"

สมศักดิ์ยังพบว่าข้อมูลที่ถูกออน ไลน์อย่างทันท่วงทีนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับตัวเขาในแง่ของการบริหารงานเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ในเรื่องของการวางแผนการตลาด เมื่อสาขาใดที่มีปัญหาเรื่องยอดรายได้ตก จากข้อมูลที่สามารถรับรู้ตลอดเวลา

นอกเหนือจากค่าแฟรนไชส์ 5 แสนบาท ค่าตกแต่งร้าน 3 ล้านบาท

และส่วนแบ่งจากยอดรายได้อีก 10% ที่ต้องให้กับร้านชลาชลเพื่อแลกกับการซื้อแฟรนไชส์ในเวลา 5 ปี ผู้ที่ซื้อแฟรน ไชส์ร้านชลาชล จะต้องเจียดเม็ดเงินอีกประมาณ 1 แสนบาทไว้ในเรื่องของการติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และค่าเช่าคู่สายความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงมายังสำนักงานใหญ่ซอยทองหล่อ

สำหรับสมศักดิ์แล้ว เขามองว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามากสำหรับการทำธุรกิจ ในยุคใหม่ ที่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวให้ทันโดยเฉพาะในเรื่องของข้อมูล ไม่เพียงการรับรู้สถานการณ์รายได้ในแต่ละวันแล้ว ระบบเครือข่ายนี้จะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการควบคุมสต็อกของวัตถุดิบที่จะใช้ภายในร้านให้สัม-พันธ์กับการใช้งานไม่ต้องมีสต็อกมากเกินไป

ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เว็บไซต์ ชลาชล.คอม จะเปิดตัวขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ และใช้ในการสร้างลูกค้าสัมพันธ์ ด้วยระบบอีเมลไว้คอยตอบปัญหาใหักับลูกค้า และไว้เป็นที่รับฟังคำติชมจากลูกค้า ซึ่งเป็นการควบคุมคุณภาพวิธีหนึ่งของสมศักดิ์ หรือแม้แต่การจัดกิจกรรมทางการตลาดผ่านเว็บไซต์นี้

"เราจะใช้เว็บไซต์นี้เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลแนวโน้มของทรงผมใหม่ๆ ต่อไปเราไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณา ลงตามสื่อต่างๆ ซึ่งแพงมาก อีกหน่อยเราไม่ต้องตอบปัญหาผ่านรายการวิทยุ แต่ใช้เว็บของเราตอบคำถามได้เลย เพราะมันเป็นสื่อสองทางอยู่แล้ว หรือจะทำเป็นรายการโทรทัศน์บนเว็บก็ได้ หรือใช้โปรโมชั่นจัดกิจกรรมร่วมกับลูกค้าก็ยังได้" นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากแนวคิดของสมศักดิ์ ดีไซเนอร์ทรงผม ที่คลุกคลีกับเส้นผมมา 20 ปี ที่กำลังนำไอทีมาประยุกต์กับธุรกิจทำผม เพื่อตอบสนองคำที่ว่า "เราอยู่ในวงการแฟชั่น เราต้องวิ่งตลอด"

และนี่คือส่วนหนึ่งของช่างทำผมยุคนี้ที่มีต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และไม่ใช่สมศักดิ์เท่านั้น บุษบา เปรมเจริญ เจ้าของร้านทำผมดูเอ้ ก็เป็นอีกผู้หนึ่งต้องสัมผัสกับอินเตอร์เน็ตจากอาชีพช่างทำผมโดยตรง

เมื่อบรรดาเจ้าของผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ต่างก็หันมาใช้วิธีการอบรมตัวแทนจำหน่ายผ่านอินเตอร์เน็ต เช่นเดียวกับบริษัท sebastian เจ้าของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผมจากสหรัฐอเมริกา ที่ร้านดูเอ้ของเธอเป็นตัวแทนทางเทคนิค

เมื่อก่อนนี้บุษบาต้องเดินทางไปสหรัฐอเมริกาปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อไปอบรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือทรงผมแบบใหม่ของ sebastian ซึ่งทำให้เธอต้องเสียทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

แต่ทุกวันนี้ บุษบาไม่ต้องเดินทางไปสหรัฐฯ แล้ว เพราะสามารถเรียนรู้ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต ที่สมัครเป็นสมาชิก เดือนละไม่กี่พันบาท และใส่รหัสผ่าน (password) เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของ sebastian ทุกครั้งที่มีสินค้าใหม่ หรือทรงผมแบบใหม่ๆ ออกมา

"อย่างเวลานี้ เขาจะออกเจลใส่ผมตัวใหม่ออกมา เราก็เข้าไปเปิดดูในเว็บไซต์ของเขาได้ทันที ไม่ต้องรอให้เขาส่งข้อมูลมา หรือเวลามีทรงผมใหม่ๆ วิธีการทำหรือการซอยเป็นยังไง เราก็เข้าไปดูได้เลย ภาพที่เขาแสดงก็จะเป็นวิดีโอคลิป ที่สามารถเคลื่อนไหวให้เห็นเลยว่าตัดยังไงซอยยังไง เพียงแค่ใส่รหัสผ่านเข้าไปเท่านั้น"

ไม่ใช่เพียงบุษบาเท่านั้น แต่ทุกคนในร้านได้เรียนรู้เหมือนๆ กัน และที่สำคัญจะเลือกเรียนเวลาไหนก็ได้ เวลานี้เราไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายเพื่อเดินทางไปสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป

และนี่เองที่ทำให้บุษบามองเห็นประโยชน์ที่จะได้จากอินเตอร์เน็ต เพื่อมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจทำผมของเธอ โดยเฉพาะในเรื่องของการอบรมการทำผมผ่านอินเตอร์เน็ต

"ตามปกติแล้วที่ร้านดูเอ้ จะเป็นสถาบันสอนเรื่องการทำผม แต่เป็นพวกหลักสูตรแบบ advance ให้พวกช่างมาเพิ่มเติมความรู้ ต่อไปพี่จะเปิดสอนผ่านอินเตอร์เน็ต มีรหัสผ่านให้เข้าเปิดเข้ามาเรียน ซึ่งเขาก็จะได้เรียนได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงไหน เราจะมีถ่ายทำให้คนที่เข้ามาเรียนดู ซึ่งถ้าสอนตามปกติแล้วจะใช้เวลา 1 วัน แต่ถ้าเขาเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต เขาจะเปิดดูได้ตลอดเวลาภายในช่วงระยะเวลา 1-2 เดือน"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us