Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
TISCO ถือหุ้นบลจ.เต็มร้อย             
 


   
search resources

ทิสโก้, บง. - TISCO
อัญชลี บุนนาค




เตรียมโอนย้ายพอร์ตสำรองเลี้ยงชีพ เป็นไปอย่างเงียบเชียบและเรียบ ร้อย บง.ทิสโก้จัดทำข้อเสนอซื้อ(bid)หุ้น บลจ.บริหารทุนไทย จากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ 3 ราย ซึ่งได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, บงล.กรุงไทยธนกิจ และแบงเกอร์ ทรัสต์ รวม 75% ในราคาหุ้นละ 491 บาท จากราคาที่มีมูลค่าตามบัญชี 160 บาท หรือให้พรีเมียมสูงถึง 200% กว่า เหตุที่ให้ราคาสูงเพราะบง.ทิสโก้ต้องการใบอนุญาตบริหารกองทุนรวม เพื่อทำธุรกิจด้านเงินทุน และหลักทรัพย์ให้ครบวงจร

ทั้งนี้ บง.ทิสโก้เพิ่งปรับตัวในเรื่องการปรับโครงสร้างทุน การแยกกิจการบล.และบง.ออกจากกันเสร็จเรียบร้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

อัญชลี บุนนาค กรรมการผู้จัดการบลจ.ทิสโก้ เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ก่อนหน้านี้ บลจ.บริหารทุนไทยมีผู้ถือหุ้นรวม 4 รายในสัดส่วนเท่าๆ กัน ทีนี้เมื่อต้นเดือนกันยายน ทุกฝ่ายก็เห็นพ้องต้องกันว่าการมีหุ้นคนละนิดละหน่อยทำให้บริหารงานไม่ได้เต็มที่ ก็เลยตกลงกันว่าให้มีการเสนอ bid ใครให้ราคาดีก็ได้ไป ทิสโก้เสนอราคาดีที่สุด ก็เลยชนะ ได้ถือ 100% เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทิสโก้ก็มีความตั้งใจ ที่จะเข้ามาบริหารเต็มตัว"

อัญชลีเปิดเผยด้วยว่าทิสโก้วางแผนที่จะสร้างธุรกิจบริหารกองทุนให้เติบโตมาก โดยตอนนี้บลจ.บริหารทุนไทยซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นบลจ.ทิสโก้เพื่อ

สะท้อนการเป็นเครือข่ายเดียวกับบง. และบล.ที่ต่างใช้ชื่อทิสโก้เหมือนกัน (ต่อไปจะเรียกบลจ.ทิสโก้) มีใบอนุญาต บริหาร กองทุนรวมเพียงอย่างเดียว

"ที่ผ่านมาเนื่องจากผู้ถือหุ้นไม่ได้เข้ามาบริหารอย่างจริงจัง อย่างทิสโก้ก็ถือแค่ 25% แต่ตอนนี้ถือเต็ม 100% แล้ว ก็ตั้งใจเข้ามาเต็มที่ เมื่อก่อนนี้บลจ.แห่งนี้บริหารกองทุนมูลค่าแค่ 2,000 ล้านบาทเท่านั้นคิดเป็นมาร์เก็ตแชร์แค่ 2% เท่านั้น ก็จะเห็นว่าน้อยมาก เราก็ตั้งใจว่าจะบุกในด้านนี้" (ดูตารางกองทุนที่อยู่ภายใต้การบริหารของบลจ.ทิสโก้)

ทั้งนี้ อัญชลีถือได้ว่าเป็นอดีตลูก หม้อคนหนึ่งของทิสโก้ เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี บัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วไปจบ MBA Finance จากมหาวิทยาลัย Wisconsin Madison สหรัฐฯ จบแล้วก็มาทำงานที่บงล.ทิสโก้ ระหว่างปี 1980-1993 ดูแลงานด้าน portfolio investment และงานด้าน underwrite หลักทรัพย์

เธอมีความรู้ดีมากในเรื่องหลักทรัพย์ เพราะอยู่กับตลาดนี้มาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่บูม แต่มาวางมือไประยะหนึ่งเพราะลาออกจากทิสโก้ไป 6 ปีด้วยโปรแกรม early retirement เธอเล่าว่า "ตอนแรกก็คิดจะไม่ทำงานแล้ว แต่ก็ยังทำ part time บ้างให้กับธุรกิจของครอบครัวเล็กๆ น้อยๆ แต่ไม่ได้ทำเต็มเวลาที่ไหนเลย และก็ยังติดตามข่าวตลาดทุนอยู่ตลอดเวลา" แล้ว ปลิว มังกรกนก ก็ขอให้กลับมาทำงานอีกที่บลจ.ทิสโก้ เธอจึงเข้ามาร่วมงานเมื่อ 1 ตุลาคม 1999 นี่เอง

ภารกิจแรกของอัญชลีเมื่อเข้ามาคือการย้ายสำนักงานไปรวมอยู่ที่ตึกทิสโก้ ถนนสาทร และการปรับปรุงการบริหาร งาน การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ ทำเรื่องขอใบอนุญาตบริหารกองทุนส่วน

บุคคล (private fund) รวมทั้งยื่นเรื่องกับก.ล.ต.ขออนุญาตออกกองทุนใหม่ประเภท flexible fund ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกได้ในเดือนธันวาคมปีนี้

นโยบายเรื่องกองทุนรวมนั้น อัญชลีกล่าวว่า "เราวางแผนที่จะเน้นในเรื่องคุณภาพ ก็คือเราจะเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำผลกำไรให้ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณ และในเรื่อง ระบบงานนั้น เราจะทำให้มีระบบที่ดี ทันสมัย" นี่คือในส่วนของกองทุนรวม

นอกจากนี้ทิสโก้ก็ยังมีนโยบายในเรื่องการขอใบอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลเพิ่มด้วย "เนื่องจากปีหน้าทางการจะออกกฎบังคับให้กองทุนสำรอง เลี้ยงชีพบริหารงานภายใต้ใบอนุญาตกองทุนส่วนบุคคล ทางบลจ.จึงวางแผน ที่จะขอใบอนุญาตนี้ เพื่อให้สามารถบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วย"

ทั้งนี้ บล.ทิสโก้เป็นผู้บริหารกอง ทุนสำรองเลี้ยงชีพมีมูลค่ารวมประมาณ 38,000 ล้านบาท ถือเป็นผู้ครองตลาดฯรายใหญ่ในสัดส่วน 22% "เมื่อบลจ.แห่ง นี้ได้ใบอนุญาตเรียบร้อย เราก็จะทะยอยโอนลูกค้าของบล.เข้ามาบริหารในบลจ. เป็นการแยกการทำงานอย่างชัดเจน"

ในส่วนของกองทุนประเภทอื่นๆ นั้น อัญชลีกล่าวว่า "เรื่อง Property Fund นั้นเราไม่ค่อยสนใจ เราไม่มีนโยบาย เพราะมันเป็นการไปประมูลจากทางการและเป็นการช่วยลูกหนี้ ซึ่งเราไม่มีนโยบาย"

เหตุที่เธอเลือกออก Flexible Fund เป็นกองแรกก็เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการลงทุน แม้เธอจะค่อนข้างมีการมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับภาวะเศรษฐ กิจไทยอย่างมากในปีหน้าและเชื่อมั่นว่าเป็นปีที่ตลาดอยู่ในระยะเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น (bull market)

"กองทุนประเภทนี้เหมาะแก่การลงทุนในภาวะปัจจุบัน เพราะหากเป็นกองทุนหุ้นทุน ทางกฎ ก.ล.ต.จะกำกับว่าลงทุนในหุ้นห้ามต่ำกว่า 65% หรือหาก เป็นตราสารหนี้ ก็ต้องลงในตราสารหนี้ทั้งหมด ทีนี้หากเป็นยืดหยุ่น เราสามารถลงทุนได้ทั้งหุ้นทุนและตราสารหนี้ ตั้งแต่ 0%-100% เพราะฉะนั้นเราจะ สามารถ move อะไรต่างๆ ได้คล่องตัว หากตลาดหุ้นดีเราก็จะเข้าลงทุนในตลาดหุ้นหมด หากตลาดหุ้นไม่ดีเราก็ move มาตราสารหนี้ได้เลย 100%" อัญชลีกล่าวถึงการออก Flexible Fund กองแรกของเธอ

เธอกล่าวถึงตลาดทุนว่า "เรามองว่าจะดีแล้วในปีหน้า เศรษฐกิจประเทศไทยตอนนี้ถึงจุดต่ำสุดแล้วตอน นี้มันกำลังอยู่ในช่วงต้น ช่วงแรกๆ เลย ของภาวะกระทิง เพราะฉะนั้นมันจะค่อนข้าง volatile เยอะหน่อย สาเหตุที่เชื่อว่าต่ำสุดแล้วก็เพราะว่า indicator ต่างๆ ออกมาแล้วเป็นบวก อย่างแบงก์ ชาติก็บอกว่าผลผลิตเพิ่มขึ้น corporate sale ก็เพิ่มขึ้น GDP growth ก็มีการปรับเป้ากันหลายหน และล่าสุด IMF ปรับมาเป็น 4% ในปีนี้ ปีหน้าก็ต้องสูงกว่าแน่ๆ และเมื่อมองดูบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มองดูที่ผลกำไร หากเราตัดพวกสถาบันการเงินและบริษัทที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างกิจการออก ดูกำไรของบริษัทเหล่านี้และหักตัว foreign exchange loss ออก มันจะเป็นบวกแล้ว เริ่มเป็นบวกมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ คือเมื่อก่อน มันเป็นลบมาตลอด แย่มากทุกบริษัท แต่เมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเป็นบวกแล้ว เท่ากับว่าผลประกอบการปกติเริ่มกลับมาเป็นบวกแล้ว ประกอบกับสภาพคล่องตอนนี้ก็เหลือเฟือ อัตราดอกเบี้ยก็ต่ำ และผู้คนก็ออมเงินกันแบบไม่ยอม ลงทุนเลย อย่าง gross domestic saving ปกติจะอยู่ที่ 34%-35% ของ GDP แล้วเคยลงไปที่ 30% ตอนที่ลูกโป่งแตก แต่ตอนนี้มาอยู่ที่ 38% คือตอนนี้คนไม่ค่อยใช้เงิน ไปออมกันหมด ดังนั้นเมื่อตลาดดี คนก็มีกำลังเงินที่จะเข้ามาเยอะ" นั่นเป็นทัศนะคร่าวๆ ของกรรมการผู้จัดการบลจ.หน้าใหม่ในวงการ ซึ่งก็แน่นอนว่าเมื่อเธอออกกองทุน Flexible Fund ของเธอมาในเดือนธันวาคมนี้ เธอย่อมทยอยเก็บหุ้นดีๆ เข้าพอร์ตตาม แนวทางที่กล่าวมา

กองทุนที่เธอจะออกมาจะขาย public โดยมีการแต่งตั้ง selling agent ได้แก่ บง.ทิสโก้ และธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เช่น ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เป็นต้น ทั้งนี้บริษัทมีฐานลูกค้าเพียง 20,000 ราย เท่านั้น แต่ก็ตั้งเป้าว่าจะขายกองใหม่นี้ได้มาก เพราะได้รับการสนับสนุนจากบง.ทิสโก้เต็มที่ในเรื่องฐานลูกค้าซึ่งทิสโก้ มีฐานลูกค้า funding และลูกค้าตั๋วสัญญาใช้เงินที่ใหญ่มาก และมีชื่อเสียงที่ดีมากว่า 30 ปี

อย่างไรก็ดี เธอยอมรับว่าในระยะสั้นนี้เป็นเรื่องลำบากที่จะได้ลูกค้าจากฐานอื่นๆ เพราะ performance ของเธอยังไม่โชว์ออกมา "เราจะ improve performance ของเรา และเมื่อเราสามารถโชว์ต่อ public ได้แล้ว เราคงจะขายหน่วยลงทุนได้ง่ายขึ้น คือขายด้วยตัวเอง ไม่ต้องโฆษณามาก"

เป้าหมายที่เธอจะทำตอนนี้คือการปรับปรุงบริษัทข้างใน ด้าน investment team จะมีการเพิ่ม fund manager มากขึ้น มีการจัด training ทั้งภายในและภายนอก ปรับปรุง performance ของกองทุน ในแง่ back office ก็จะมีการปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์โดยได้ความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ และในอนาคตระยะยาวมีแนวทางที่จะให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อขายได้โดยสะดวก เช่นอาจจะส่งคำสั่งผ่านอินเตอร์เน็ตได้

ต่อประเด็นที่ว่าการแข่งขันในตลาดการบริหารกองทุนรวมมีสูงมากนั้น เธอมองว่า "แม้สภาพการแข่งขันจะสูงมากแต่ก็ยังพอจะแข่งขันกันได้ คือตอนนี้ค่อนข้างลำบาก เพราะว่าสภาพตลาดหุ้นซบเซา คนก็กลัว ไม่ค่อยอยากมาซื้อหน่วย และรายย่อยก็มีความ รู้เรื่องนี้น้อย หากเราให้ความรู้เขา และสภาพตลาดดีขึ้นมา มันยังมีทางเติบโตได้อีกเยอะ นอกจากในแง่บลจ. นอกจากบริหารกองทุนรวมแล้ว ยังสามารถ บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วย ซึ่งมันก็จะขยายไปได้อีกไกล"

ส่วนความขัดแย้งในอุตสาห-กรรมนี้ เธอมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา "หลายคนก็หลายความคิดแม้แตกต่างกันก็เป็นเพียงแค่หลักการ น่าจะพอพูดคุยกันได้ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรช่วยๆ กันทำงานดีกว่า ปีที่ผ่านมา ก.ล.ต.ออกกฎหมายมาเยอะมากก็เป็นทิศทางที่ชัดเจน ช่วยให้คนทำงานได้สะดวกมากขึ้น อย่างเช่นให้มีการตั้งกองทุนแบบต่างๆ เยอะมาก จากที่เมื่อก่อนไม่มี เมื่อมีการออกกฎมาชัดเจน มันก็ช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น"

อย่างไรก็ดี การจะออกกองทุนประเภทต่างๆ ต้องมองสภาพตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งอัญชลีเห็นว่าเมื่อสภาพตลาด หุ้นจะเริ่มกลับคึกคักนั้น ก็ควรที่จะออก กองทุนหุ้นทุนหรือ Equity Fund จะดีที่สุด แต่ว่าที่เธอออกเป็น Flexible Fund ก็เพื่อที่จะให้ดีกว่า Equity Fund เพราะมีความยืดหยุ่นกว่าในเรื่องการเคลื่อนย้ายการลงทุน

เมื่อตลาดเริ่มอยู่ตัว อัญชลีมีแนวคิดว่าเธออาจจะออก Sector Fund ก็ได้ หรืออาจจะเป็น Specialist Fund เป็นต้น ส่วนกองทุนเดิมที่มีอยู่แล้วนั้น อัญชลีจะยังไม่ทำอะไรกับกองเก่าเหล่านี้ในช่วงระยะแรก เพราะจะเน้นในเรื่องการทำ performance ก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านก็จะหันมาดูว่ากองที่มีนโยบายเหมือนก็อาจจะเอามารวมกันได้ "แต่ไม่ใช่เรื่องรีบร้อน เพราะว่ากองทุนของเรายังมีน้อยอยู่ ไม่เหมือนที่อื่นที่มีการบริหารหลายกอง ใช้คนเยอะเกินไป ก็ต้องเอามารวมกันเพื่อการประหยัด ตอนนี้เราไม่ลำบากอะไรที่จะบริหารต่อไป แต่เราก็มี long term plan ว่ากองทุนที่มีนโยบายเหมือนกันน่าจะเอามารวมกัน"

บลจ.ทิสโก้ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากบง.ทิสโก้เต็มที่ในทุกๆ ด้าน แต่ในส่วนของการบริหารจัดการกองทุน การตัดสินใจลงทุนนั้น อัญชลีกล่าวว่า "เราต้องทำของเราเอง ทิสโก้จะไม่เข้ามายุ่งในเรื่องนี้ บลจ.เป็น entity ที่แยกออกจากกันเด็ดขาด และเราก็จะ treat เหมือนเป็นโบรกเกอร์รายหนึ่ง"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us