Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 มิถุนายน 2547
ญี่ปุ่นฮุบหุ้นฟื้นชีพแฟมิลี่มาร์ท สหพัฒน์-โรบินสันถอยฉากพร้อมเร่งผุดเครือข่าย             
 


   
search resources

สหพัฒนพิบูล, บมจ.
สยามแฟมมิลี่มาร์ท, บจก.
กนก วงษ์ตระหง่าน
แฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่น
Minimart




แฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่น ไล่ฮุบหุ้น แฟมิลี่มาร์ทประเทศไทย หลังเพิ่มทุนเป็น 800 ล้านบาท ฝ่ายไทยถอยฉากทั้งสหพัฒน์ โรบินสัน ลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือเล็กน้อยก่อนจะขายหุ้นออกหมด เปิดทางญี่ปุ่นฟื้นชีพธุรกิจ บุกตลาดไทยใหม่ หลังจากที่ซบเซาและชะลอตัวไปนาน เน้นกลุ่มสินค้าอาหาร ยันรายได้ปีนี้โตมากกว่า 50% แม้ว่าจะยังขาดทุนสะสมก็ตาม

ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกในรอบปีครึ่งหลังจากที่เข้าบริหารแฟมิลี่มาร์ทเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2546 ว่า บริษัทแม่ของแฟมิลี่มาร์ทที่ญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะขยายร้านแฟมิลี่มาร์ทไปทั่วเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเมื่อปลายปีที่แล้วได้ฉลองสาขาครบ 10,000 แห่งไปแล้วใน 4 ประเทศคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และไทย และภายในเดือนหน้าจะเปิดสาขาที่ประเทศจีน และอยู่ระหว่างการศึกษาที่จะเปิดธุรกิจในแคลิฟอร์เนียที่อเมริกา

ญี่ปุนไล่ฮุบหุ้นหวังฟื้นชีพ

ดังนั้น เพื่อให้การทำงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทสยามแฟมิลี่มาร์ทในไทย และได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เพื่อปรับแนวทางการดำเนินงานใหม่

อย่างไรก็ดี โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ยังคงเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม แต่มีการเปลี่ยนสัดส่วนการถือหุ้นใหม่ หลังการเพิ่มทุนล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนจากทุนจดทะเบียน 150 ล้านบาท เป็น 800 ล้านบาท โดยมีสยามแฟมิลี่มาร์ทโฮลดิ้ง ถือหุ้นเพิ่มเป็น 47% จากเดิมมี 31% แฟมิลี่มาร์ท ญี่ปุ่น ลดลงเหลือ 42% จากเดิม 43% อิโตชู เพิ่มเป็น 7% จากเดิม 6% โรบินสันลดลงเหลือแค่ 3% จากเดิม 13% และหลังจากนี้ทางกลุ่มสหพัฒน์จะทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นลงทั้งหมด เพื่อเปิดทางให้กับกลุ่มญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้นแทน

ทั้งนี้ผลประกอบการของสยามแฟมิลี่มาร์ท ประเทศไทย เมื่อปี 2545 มีรายได้ประมาณ 2,441 ล้านบาท ขาดทุนประมาณ 196 ล้านบาท ขณะที่ปี 2546 มีรายได้ประมาณ 3,470 ล้านบาท ขาดทุน 180 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2547 ที่มีการปรับแนวการทำงานและเพิ่มทุนแล้วจะ มีรายได้ประมาณ 5,100 ล้านบาท

"ถือเป็นรายได้ที่สูงมาก แต่มั่นใจว่าจะทำได้ เพราะเรามีความพร้อมแล้ว แต่ยอมรับว่าทุกวันนี้ยังขาดทุนสะสมอยู่จำนวนหนึ่ง โดยเป้าหมายหลังจากนี้ไป คือการขยายสาขาให้มากที่สุด การเพิ่มยอดขายให้มากที่สุด" ผู้บริหารของแฟมิลี่มาร์ทกล่าว

แผนขยายเครือข่าย

สำหรับแผนการลงทุนในปีนี้คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท โดยแบ่ง เป็นงบลงทุนเปิดสาขาใหม่ 535 ล้านบาท งบทำระบบพีโอเอส 120 ล้านบาท งบทางด้านไอที 49 ล้านบาท งบอื่นๆ 4 ล้านบาท ซึ่งบางส่วนก็เริ่มทยอยทำมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว

ด้านแผนการขยายสาขา กำหนดไว้แต่ละปีจะขยายประมาณ 200-300 สาขาจากนี้ ซึ่งในช่วง 2-3 ปีแรกนี้ จะยังคงเน้นการลงทุนเปิดสาขาเองเป็นหลักก่อน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตัดสินใจและการกำหนดแผนงาน ต่างๆ ได้ โดยปัจจุบันมีสาขาประมาณ 406 สาขา แบ่งเป็นแฟรนไชส์ประมาณ 50 สาขาเท่านั้น ซึ่งในช่วงปีกว่าที่ผ่านมามีการขยายสาขาเพิ่มเป็นจำนวนมากเกือบ 200 สาขา หลังจากที่ได้ชะลอการขยายสาขาไปนาน และมีการปิดสาขาประมาณ 5 แห่งในช่วงที่ผ่านมาเกือบปี

ทั้งนี้ ปีนี้คาดว่าจะสามารถขยายสาขาให้ได้ครบ 500 สาขา ภายในสิ้นปีนี้แน่นอน

ส่วนแผนการขายแฟรนไชส์ คาดว่าอีกประมาณ 2-3 ปีหรือหลังจากที่บริษัทขยายสาขา เองเพียงพอแล้วก็จะพิจารณาเริ่มใหม่อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการปรับเงื่อนไขแฟรนไชส์ใหม่แต่อย่างใด โดยเงื่อนไขอยู่ที่ค่าแฟรนไชส์ฟี เก็บครั้งเดียว 150,000 บาท สัญญานาน 9 ปีจ่ายครั้งเดียว

ปรับคอนเซ็ปต์ เน้นอาหาร

แฟมิลี่มาร์ทเองก็เหมือนคอนวีเนียนสโตร์อื่นที่พยายามโฟกัสตัวเองมาเน้นหนักเรื่องอาหารมากขึ้น

โดยสัดส่วนสินค้าภายในร้านเวลานี้เป็นอาหาร 75-80% ที่เหลือเป็นอุปโภคที่ไม่ใช่อาหาร จากเดิมที่สัดส่วนสินค้าอาหารประมาณ 60% และไม่ใช่อาหาร 40% โดยเฉพาะการเพิ่มสินค้า เอกซ์คลูซีฟที่ร่วมพัฒนากับซัปพลายเออร์แล้วขายที่แฟมิลี่มาร์ทที่เดียวมีเพิ่มขึ้นมาก เช่น น้ำดื่มมินาโมโตะ แต่อย่างไรก็ตามแฟมิลี่มาร์ทยังคงยืนยันว่าไม่มีนโยบายทำสินค้าเฮาส์แบรนด์ ขณะนี้สินค้าในร้านแฟมิลี่มาร์ทมีประมาณ 3,000 เอสเคยู

รวมไปถึงความพยายามที่จะปรับปรุงรูปโฉมร้านที่เปิดไปนานแล้วให้มีความทันสมัย

ในช่วง 1 ปีกว่าที่ศ.ดร.กนกบริหารงานนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงระบบไอทีและการทำงานจากเดิม เป็นระบบอีซีอาร์ เปลี่ยนมาเป็นระบบพีโอเอส ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งได้ครบทุกสาขาภายในเดือนสิงหาคมนี้ ใช้งบประมาณกว่า 110 ล้านบาท ซึ่งระบบนี้จะสามารถเก็บข้อมูลการซื้อขายของสาขาทำให้ทราบข้อมูลของลูกค้าและสินค้าได้อย่างดี

นอกจากนั้นยังได้ปรับปรุงอุปกรณ์การขาย โดยการเพิ่มตู้เย็นและตู้แช่เข้าร้านอีก จากเดิมมี 1 ตู้เพิ่มเป็น 3 ตู้ ทำให้มีพื้นที่ขายสินค้ามากขึ้นอีก 2 เท่า ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น และสร้างความหลากหลายของสินค้ามากขึ้น และการเพิ่มความสูงของชั้นวางสินค้าจาก 120 เซนติเมตร เป็น 135 เซนติเมตร

รวมไปถึงการร่วมมือกับรัฐบาลในการที่จะเป็นช่องทางการขายสินค้าโอทอปในภาคพื้นเอเชีย ซึ่งแฟมิลี่มาร์ทจะใช้เครือข่ายที่มีอยู่ในการเจาะตลาดสินค้าโอทอปให้ ซึ่งภายในกลางเดือนนี้ตัวแทนจากแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นจะไปประชุมที่ไต้หวันเพื่อหารือเรื่องนี้ด้วย

ศ.ดร.กนกกล่าวต่อว่า ตลาดคอนวีเนียนสโตร์ในไทยมีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มธุรกิจค้า ปลีก และยังขยายตัวได้อีก แต่ว่าตลาดนี้ เป็นตลาดที่บริหารยากมาก เพราะว่าจะต้องบริหารจำนวนสาขาปริมาณมาก ระบบสนับสนุนการบริหารยากมาก ลูกค้าแต่ละท้องที่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาของธุรกิจนี้อยู่ที่ 1. ในตลาดนี้มีแบรนด์ลีดเดอร์เพียงรายเดียว ซึ่งได้เปรียบมาก มีอำนาจการตลาดค่อนข้างสูง จะส่งผลเสียต่อธุรกิจ ซัปพลายเออร์ ลูกค้า เพราะว่าการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาด 2. เขตชุมชน เมือง สังคมไทยเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โครงสร้าง พื้นฐานเปลี่ยนเร็วมาก โดยเฉพาะเรื่องการจราจร ซึ่งถ้าหากมีการเปลี่ยนจะส่งผลลบต่อธุรกิจทันที เช่น ปิดถนน วันเวย์ ซ่อมถนน เป็นต้น 3. ลูกค้า มีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีต ซึ่งก่อนหน้านี้ คนไทยไม่ค่อยให้ความสนใจกับคอนวีเนียน สโตร์ แต่ว่าทุกวันนี้ธุรกิจร้านคอนวีเนียน สโตร์ เกิดเต็มไปหมดเพราะตอบสนองความสะดวกของชีวิต

ปัญหาที่ผ่านมาพบว่า การแข่งขันในธุรกิจนี้ มีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะเจ้าตลาดเดิมที่มีอยู่ แต่จากการทำงานที่ผ่านมาในรอบปี พบว่าโอกาสของแฟมิลี่มาร์ทยังมีอีกมาก ยักษ์ใหญ่อื่นๆไม่สามารถปิดกั้นการเจริญเติบโตและการขยายตัวของร้านสะดวกซื้อได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us