Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 มิถุนายน 2547
SCCทุ่ม6พันล.ผุดโรงปูนที่เขมรชี้ต้นทุนราคาน้ำมันพุ่งฉุดกำไรหด             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
ปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล
Cement




SCC ทุ่มอีก 6 พันล้านบาท ขยายโรงงานผลิตปูนที่กัมพูชา เล็งผุดในประเทศเพื่อนบ้าน หากประเทศนั้นมีความต้องการใช้มากพอและคุ้มกับการลงทุน ขณะที่เพิ่มกำลังการผลิตอีก 2 แสนตันต่อปี หลังพบความต้องการใช้ในประเทศมีสูง โดยจะแล้วเสร็จในกลางปี 2548 ยอมรับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น ทำให้ต้นทุนเพิ่ม 5% ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทเติบโตในอัตราที่ลดลง

นายปราโมทย์ เตชะสุพัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทยอุตสาหกรรม จำกัด ในธุรกิจซิเมนต์ เครือซิเมนต์ไทย (SCC) กล่าวว่า SCC มีแผนที่จะเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างเต็มตัวด้วย จากปัจจุบันที่มีเพียงส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น ซึ่งตลาดหลักอยู่ที่ประเทศลาว กัมพูชา และพม่า โดยพิจารณาจากเหตุผลที่ว่า หากประเทศใดมีปริมาณความต้องการใช้เพียงพอต่อการลงทุนสร้างโรงงาน ก็จะเข้าไปตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์จำหน่ายอย่างเต็มตัว

โดยคาดว่ากัมพูชาจะเป็นประเทศที่มีศักยภาพมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ปีละ 1.5-2 ล้านตัน ดังนั้น การตั้งโรงงานการผลิตเพื่อรองรับกำลังการผลิตดังกล่าวคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 6 พันล้านบาท ที่สำคัญการตั้งโรงงานในประเทศกัมพูชายังต้องรอความพร้อมด้านการเมืองในประเทศก่อน ซึ่งปัจจัยที่สำคัญคือการจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาต้องเสร็จสิ้น ความเป็นไปได้ก็จะมีสูง และบริษัทก็จะเข้าไปดำเนินการตั้งโรงงานทันที

สำหรับลาวความต้องการใช้ยังมีน้อย จึงไม่คุ้มกับการลงทุน ในขณะ ที่พม่าแม้ความต้องการใช้ในประเทศจะอยู่ในระดับที่สามารถ ตั้งโรงงานได้ แต่ปัจจุบันมีผู้ผลิตรายอื่นทำตลาดในประเทศอยู่แล้ว บริษัทจึงยังไม่จำเป็นต้องเข้าไปลงทุนในเวลานี้

นายปราโมทย์กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการปูนซีเมนต์ ในการก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะปีนี้การก่อสร้างในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่ขยายตัวมากในครึ่งปีหลัง

แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะชะลอตัวลงบ้าง แต่ก็ยังมีการก่อสร้างทั้งที่อยู่อาศัยของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการก่อสร้างบ้านใหม่และการต่อเติมซ่อมแซม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยแม้ว่าจะสูงขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ และสถาบันการเงินก็ยังปล่อยสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการปูนซีเมนต์สูงขึ้น ดังนั้น SCC จึงได้ลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มอีก 200,000 ตันต่อปี ซึ่งจะแล้วเสร็จในกลางปี 2548

"ส่วนการแข่งขันของธุรกิจในเครือนั้น จะไม่เน้นเรื่องการปรับราคา และยืนยันว่า ตลอดทั้งปีจะไม่มีการปรับขึ้นราคาปูนซีเมนต์ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่จะเน้นเรื่องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่มแทน" นายปราโมทย์ กล่าว

สำหรับสถานการณ์ปูนซีเมนต์ ไตรมาสแรกปีนี้ พบว่าตลาดมีความต้องการรวมประมาณ 6.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยไตรมาส 2 คาดว่าจะขยาย ตัวในระดับเดียวกัน ทำให้ทั้งปีคาดว่า ความต้องการจะเพิ่มขึ้น ประมาณร้อย ละ 10 ขณะที่กำลังการผลิตทุกรายรวมกันมีประมาณ 53 ล้านตัน แต่ความต้องการใช้ทั้งประเทศมีประมาณ 26-27 ล้านตัน ดังนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า หากความต้องการขยายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ต่อปี ก็จะมีความต้องการใช้ประมาณ 40 ล้านตัน ซึ่งกำลังการผลิตทั้งระบบยังสามารถรองรับได้

นายปราโมทย์ กล่าวว่า SCC สามารถผลิตปูนซีเมนต์ได้จำนวน 23 ล้านตัน ซึ่งปี 2547 จะเน้นจำหน่ายในประเทศเป็นหลักประมาณ 10 ล้านตัน เนื่องจากความต้องการในประเทศ เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่การส่งออกจะมีสัดส่วนประมาณ 5 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 20 ทำให้อัตราการ ใช้กำลังการผลิตรวมในปี 2547 จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-70 ของกำลังการผลิตรวม

อย่างไรก็ตาม ปัญหาฟองสบู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ว่ายังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจน เนื่องจากบ้านที่สร้างเสร็จแล้วมีผู้เข้าอยู่อาศัยเป็นส่วนมาก โดยมีบ้านที่ยังไม่มีผู้เข้าอาศัยประมาณร้อยละ 25 ซึ่งถือว่าเป็นการเก็งกำไรที่ไม่สูงมากนักจึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา ขณะที่บริษัทเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 5 ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับงานก่อสร้างในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังเติบโตต่อเนื่องในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้นำเชื้อเพลิงและวัตถุดิบทดแทนมา ใช้ในการผลิตเพื่อประหยัดพลังงาน โดยได้นำวัตถุดิบทดแทนมาใช้แล้ว ประมาณร้อยละ 10 ขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 โดยเฉพาะค่าระวางขนส่ง ทางเรือในการส่งปูนไปต่างประเทศ บางแห่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50

ผลกระทบของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้นั้น ส่งผลให้ต้นทุนของบริษัทสูงขึ้นประมาณ 5% ซึ่งจะมีผลให้กำไรสุทธิของบริษัท เติบโตในอัตราที่ลดลง ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจซิเมนต์มีรายได้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 5 พันล้านบาท หรือ 25% ของรายได้รวม และกำไรสุทธิของบริษัท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us