Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 มิถุนายน 2547
ประชัยจี้คลังถอนตัวTPIตั้งเงื่อนไข "ปตท." ถือหุ้น             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ปตท., บมจ.
กระทรวงการคลัง
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา




"ประชัย" เรียกร้องให้คลังถอนตัวจากผู้บริหารแผนฯ TPI หากไม่สามารถเป็นกลางได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหนี้เคลียร์กับเจ้าหนี้เอง ยืนยันไม่ปิดกั้น หาพันธมิตรร่วมทุน เพียง แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูฯฉบับผู้บริหารลูกหนี้ เสนอซื้อราคาหุ้นละ 20 บาท และให้ลูกหนี้เป็นผู้บริหารธุรกิจต่อไป ด้าน "ปกรณ์" นัดหารือสรุปแผนฯ ครั้งสุดท้ายวันนี้ก่อนเสนอคลังเห็นชอบ

ตามที่กระทรวงการคลังได้เสนอให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้ามาถือหุ้นในบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) โดยปตท.แสดงความสนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นประ-มาณ 20-30% ซึ่งจะมีการเจรจารายละเอียดในเร็วๆนี้

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน)(TPI) กล่าวว่า ยอมรับได้หากดึงพันธมิตรเข้ามาถือหุ้น TPI 30% แต่ต้องมีการเจรจาเรื่องเงื่อนไขและราคาหุ้น หากปตท.จะเข้ามาซื้อหุ้น TPI ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่ลูกหนี้เสนอไปก่อนหน้านี้ โดยจะต้องซื้อหุ้นที่ราคา 20 บาทต่อหุ้น และเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ซื้อหุ้นคืนได้ รวมทั้งอำนาจการบริหาร TPI ยังอยู่ภายใต้การดูแลของผู้บริหารลูกหนี้

"การให้พันธมิตรเข้ามาร่วมทุน เราไม่ได้ปิดกั้น บางอย่างเราคุยกันได้จนกว่าจะมีเงื่อนไขที่พอใจ เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่เห็นว่ามีอะไรคุยกันได้ ที่ผ่านมา TPI มียอดขายเดือนละกว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งเราเป็นนักธุรกิจคุยได้ เพียงแต่ต้องเปิดโอกาสให้มีการพูด คุย ไม่ใช่ไม่คุยแล้วบีบลูกเดียว ความจริงผมเป็นคนปอดในการสู้คน แต่อย่าบังคับให้ผมสู้ ผมไม่ต้องการเป็นศัตรูกับรัฐ เพียงต้องการรักษาสิทธิของประชาชนและธรรมาภิบาล"

อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงการคลังเห็นชอบตามแผนของตัวแทนคลัง ตนยืนยันจะคัดค้านต่อศาลล้มละลายตามสิทธิที่มีอยู่ เพราะถือว่ากระทรวงการคลังปล้นประชาชนผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งเป็นการขัดต่อจริยธรรม มโนธรรม และเจตนารมณ์ของกฎหมายฟื้นฟู เชื่อว่ากระทรวงการคลังคงถูกกดดันจากเจ้าหนี้ แต่เมื่อกระทรวงการคลังไม่สามารถดำรงความเป็นกลางได้ ก็อยากให้ถอนตัวจากการเป็นผู้บริหารแผนฯ TPI เพื่อให้ลูกหนี้ต่อสู้กับเจ้าหนี้เอง

"ปตท.อาศัยอภิสิทธิ์อะไรมาซื้อหุ้น TPI 30% หากรัฐยอมคนจะหมดความเชื่อถือ เพราะเท่ากับรัฐปล้นประชาชน (TPI) ไปให้กับอีกคน (ปตท.) โดยร่วมกับเจ้าหนี้มาปล้น ทำให้คนไม่เชื่อถือกฎหมายไทย ถ้าทำก็ถือว่าเป็นกฎหมายป่าเถื่อน ผมเชื่อว่ารัฐจะไม่ทำ"

นายประชัยย้ำว่า ทางผู้บริหารลูกหนี้เสนอให้ใช้แผนฟื้นฟูกิจการที่ลูกหนี้จัดทำ เพราะถือเป็นแผนที่ดีและยุติธรรมที่สุด เพราะเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมด ขณะที่ลูกหนี้ก็จะได้บริษัทคืน หากใช้แผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขของผู้บริหารแผนที่มาจากตัวแทนกระทรวงการคลังนั้น เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้คืนแล้วยังได้บริษัทไปด้วย

ส่วนข้อเสนอให้มีการลดทุนจดทะเบียน TPI จาก 10 บาทเหลือ 1 บาทต่อหุ้น ถือว่าผู้บริหารแผนฯ มีเจตนาซ่อนเร้น เพื่อให้ปตท.หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)เข้ามาถือหุ้น โดยไม่ต้องรับภาระการขาดทุนสะสมของ TPI ที่มีอยู่ถึง 8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ TPI ไม่ได้รับประโยชน์แต่จะเสียหายมากกว่า เพราะกำไรที่ได้จากการดำเนินงานจะต้องเสียภาษีนิติบุคคลทันที โดยไม่มีตัวเลขหากล้างขาดทุนสะสมหมดหักจ่าย ทำให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ช้าลง อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี เพียงแต่ขอเวลาหายใจบ้าง

แผนการปรับโครงสร้างหนี้ที่ผู้บริหารลูกหนี้เสนอ คือ เสนอให้ลดหนี้จาก 2,640 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหนี้ที่หาย ไปจำนวน 2,140 ล้านดอลลาร์พร้อมดอกเบี้ย 750 ล้านดอลลาร์ ในช่วงปี 2541-2543 รวมเป็นหนี้ 2,892 ล้านดอลลาร์นั้น ได้เสนอให้มีการแปลงหนี้เป็นทุน ในราคาหุ้นละ 20 บาท หรือเท่ากับ 5,845 ล้านหุ้น โดยมีสัดส่วนประมาณ 75% พร้อมทั้งกำหนดเวลา หนี้ที่เหลือคืนภายใน 4 ปี และกำหนดให้ลูกหนี้ซื้อหุ้นคืนในราคาหุ้นละ 20 บาทบวกดอกเบี้ย

ผู้บริหารแผนฯ TPI นัดหารือครั้งสุดท้าย

นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา หนึ่งในคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ TP กล่าวว่า ในวันนี้(22 มิ.ย.) ทางคณะผู้บริหารจะประชุมสรุปแผนปรับโครงสร้างหนี้ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเสนอเพื่อขอความเห็นชอบกับกระทรวงการคลังอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้ หากกระทรวงการคลังเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปก็จะส่งแผนฟื้นฟูฯให้คณะกรรมการเจ้าหนี้โหวตรับแผน หลังจากนั้นจะเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อส่งแผนฟื้นฟูฉบับแก้ไขให้เจ้าหนี้ทั้งหมด เพื่อพิจารณาและตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน

"คาดว่าเจ้าหนี้จะใช้เวลาดูรายละเอียดทั้งหมด ประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นทางเจ้าหนี้ 140 ราย จะร่วมกันโหวตก่อนจะส่งต่อแผนฟื้นฟูฉบับดังกล่าว ให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาต่อไป โดยกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาในเบื้องต้นคาดว่าจะเสร็จสิ้น ภายใน 3 เดือนหลังจากนี้" นายปกรณ์กล่าว

สำหรับแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขของผู้บริหารแผนฯ ที่เป็นตัวแทนจากกระทรวงการคลังนั้น จะดำเนินการลดทุนจดทะเบียนเหลือหุ้นละ 1 บาท จากปัจจุบันหุ้นละ 10 บาท หลังจากนั้นจะเพิ่มทุนใหม่เพื่อรองรับการแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้ เจ้าหนี้จะถือหุ้นใหญ่ 90% และอีก 10% เป็นผู้ถือหุ้นเดิม

นอกจากนี้ จะหาพันธมิตรร่วมทุน เพื่อซื้อหุ้นคืนจากเจ้าหนี้ ซึ่งบริษัทจะนำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่เกิดจากการลดราคาพาร์ และการแปลงหนี้เป็นทุนให้กับเจ้าหนี้ มาล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ราว 8.6 พันล้าน บาท ทำให้TPIสามารถจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้เร็วขึ้น

การคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการฯทีพีไอของผู้บริหารลูกหนี้ครั้งนี้ ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความวิตก เกี่ยวกับความชัดเจนและแผนฟื้นฟูฯอาจล่าช้าออกไป ทำให้ราคาหุ้น TPI วานนี้( 21 มิ.ย.) ปิดตลาดที่ 9.45 บาท ลดลง 5 สตางค์ เปลี่ยนแปลง 0.53% มูลค่าการซื้อขายรวม 503.40 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us