Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
ดีบีเอสไทยทนุ สรุปบทเรียน             
 


   
search resources

ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ




วันที่จอห์น โอลด์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคาร ดีบีเอสเดินทางมากรุงเทพฯ พรสนอง ตู้จินดา จดจำได้ดี

ดีบีเอสแห่งสิงคโปร์เข้ามาซื้อ หุ้น 70% ของธนาคารไทยทนุ ซึ่งประสบ ปัญหาเช่นเดียวกับสถาบันการเงินอื่นๆ "เขาให้กำลังใจผมเล็กน้อย อันที่จริง ต้องนับว่ามากทีเดียว" พรสนอง ตู้จินดา กรรมการผู้จัดการดีบีเอสไทยทนุเล่า

"เขาบอกผมว่า พรสนอง คุณยังหนุ่ม อย่าไปคิดแบบพวกวาณิชธนกิจเลย ตอนนี้ไทยกำลังล้มละลาย หนี้บางส่วนคงเอากลับคืนมาไม่ได้ คุณจะต้อง hair cut" เวลานั้น พรสนองไม่เห็น ด้วย แต่โอลด์สก็ทำตามวิธีการของเขา เมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ดีบีเอสไทยทนุขายหนี้เสียไปถึง 30.9 พันล้านบาท (756.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในราคา ที่ลด ลงจากมูลค่า ที่แท้จริง 71%

พรสนองไม่อาจคัดค้านการบันทึกบัญชีมูลค่าทรัพย์สินลดลงได้ "คิดว่าน่าจะทำเสียตั้งแต่แรก เราน่าจะพ้นจากหนี้ตายซากให้เร็วกว่านี้" ธนาคาร แบกภาระขาดทุน 284 ล้านดอลลาร์จากการขายหนี้เสียดังกล่าว ซึ่งเท่ากับ 75% ของวงเงิน 367 ล้านดอลลาร์ที่ดีบีเอสอัดฉีด เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานเงินทุน และการขายหนี้เสียทำให้ สัดส่วนหนี้เอ็นพีแอลลดลงเหลือ 10% จากเดิม 60% ก่อนหน้าการเทกโอเวอร์

ทั้งนี้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือฟิตช์ อิบคา คาดว่าสัดส่วนทุน สำรองจะเพิ่มเป็น 16% ซึ่งเป็นสัดส่วนแข็งแกร่งที่สุดในธนาคารไทยด้วยกัน "เราพร้อม ที่จะก้าวต่อไป ตอนนี้นำหน้าคู่แข่งอยู่สองปี" พรสนองกล่าว

ปัญหาของธนาคารลูกผสม คือ จะขยายตัวอย่างไรเมื่อมีสาขาอยู่น้อย ลูกค้าในไทยไม่เหมือนลูกค้าในอเมริกา ซึ่งคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆ ลูกค้าไทยยังต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้อีกมาก

ปีที่แล้วสินทรัพย์ของดีบีเอสไทย ทนุลดลง 19% อยู่ ที่ 2.9 พันล้านดอลลาร์ และปิดสาขา 35 แห่ง ปลดพนักงาน 1,350 คน ปัจจุบันมีสำนักงาน 61 แห่ง พนักงาน 1,850 คน นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับธนาคารรายใหญ่ในประเทศ

แม้ว่าดีบีเอส และไทยทนุจะมีสาย สัมพันธ์ทางธุรกิจมายาวนาน แต่เป็นคน ละเรื่องกับการที่ธนาคารสัญชาติสิงคโปร์ เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ "ดีบีเอสเป็น ธนาคาร ที่มีความไวต่อสถานการณ์ แต่นั่นหมายถึงธุรกิจ" ผลที่ตามมาคือ การปลดพนักงานทันที "คุณจะรอเวลาแล้วค่อยปลดครั้งใหญ่ หรือว่าจะทำทันที เรา ยอมรับความเจ็บปวดตั้งแต่แรกดีกว่า ซึ่งเราก็ดำเนินการอย่างเป็นธรรม ตอนนั้น ผมก็อาจจะถูกปลดเหมือนกัน"

การที่กิจการมีขนาดกะทัดรัดย่อมหมายความว่าพนักงานทุกคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น แม้แต่พรสนอง ก็ต้องดูแลในส่วนออนไลน์ของธุรกิจลูกค้ารายย่อยแทน ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหาร ที่ลาออกไป

อย่างไรก็ดี มีตำแหน่งบริหารสำคัญอีกหลายตำแหน่งอยู่ในมือของผู้บริหารชาวสิงคโปร์ และชาวตะวันตก ที่ได้รับการแต่งตั้งจากดีบีเอส "บางครั้งมีความตึงเครียดเกิดขึ้นเหมือนกัน" พรสนองยอมรับ "แต่เราพยายามทำให้ความขัดแย้งทั้งหลายกลายเป็นผลดีขึ้นมา" เขาบอกต่ออีกว่า ในแง่ของกำลังคน กระบวนการทำงานมีความพร้อม ส่วนด้านเทคโนโลยีในปีหน้านี้จะขยับขึ้นไปอยู่ในมาตรฐานของดีบีเอสระดับภูมิภาค

"วันหนึ่งลูกค้าทั้งรายย่อย และบริษัทจะลืมตาตื่นขึ้นมาพบว่า พวกเขาใช้บริการของธนาคาร ที่ยึดอยู่แต่กลยุทธ์ การอยู่รอดโดยไม่มีความสามารถ ที่จะสนองตอบความต้องการของลูกค้าในอนาคต และเราจะชิงส่วนแบ่งตลาดกลับมา"

เมื่อถึงวันนั้น ดีบีเอสไทยทนุคงได้รับผลดีของการถูกซื้อกิจการ

เรียบเรียงจาก เอเชียวีก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us