Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 มิถุนายน 2547
อาร์.เอ็น.ที.รุกทีวีดาวเทียม5ภาษา             
 


   
www resources

โฮมเพจ ททบ.5

   
search resources

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
วิษณุ เครืองาม
อาร์ เอ็น ที กรุ๊ป
ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
สถานีโทรทัศน์ช่อง 11/1 (11 นิวส์ วัน)
อาร์.เอ็น.ที. เทเลวิชั่น, บมจ.
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รวมนคร ทับทิมธงไชย
TV




"วิษณุ" อยากรู้ใครอนุมัติให้ช่อง 11 มีโฆษณา "อภิสิทธิ์" ชี้รัฐบาลต้องเคารพเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ด้านอาร์.เอ็น.ที.โต้กลับ สัญญาเปิดช่องกรมประชาสัมพันธ์มีผู้ร่วมผลิตรายการได้ไม่ผิด ยื่นเรื่อง ผลิตรายการ 5 ภาษากับช่อง 5 ผ่านไทยแลนด์ โกลเบิล เน็ตเวิร์ก

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 11/1 หรือ 11 นิวส์ วัน ออกมาชี้แจงว่าในสัญญาระบุว่าสามารถ มีโฆษณาได้ว่า จะไม่ขอพูดถึงเรื่องของเอกชน แต่จะขอพูดแต่เรื่องของหน่วยงานที่ตนดูแลรับผิดชอบคือกรมประชาสัมพันธ์ อยากรู้ว่าใครเป็นคนทำสัญญา ทำได้อย่างไร ขอให้ผมได้รับความชัดเจนเรื่องนี้จากเจ้าหน้าที่รัฐเสียก่อน

"ในส่วนที่ผมเห็นด้วยผมไม่แตะ แต่บางส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยคุณทำไม่ได้ คุณอย่าทำ เช่นการให้มีโฆษณา และบางส่วนที่ผมไม่แน่ใจเช่นที่บอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการส่งโทรทัศน์โดยอาศัยดาวเทียมไม่ใช่ส่งคลื่นแบบธรรมดา ซึ่งเมื่อวาน(15 มิ.ย.) นายปราโมช รัตนวินิช รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ได้นำเอกสารมาให้ผมดู บอกว่าฝ่ายกฎหมายเห็นว่าไม่จำเป็นต้องหารือ ผมก็ถามกลับไปว่าทำไมคุณถึงไม่หารือ คุณตรัสรู้เองโดยชอบด้วยพระองค์เองหรืออย่างไร" นายวิษณุ กล่าว

เมื่อถามว่าทางทีทีวีจะยื่นให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาหากกรมประชาสัมพันธ์ปล่อยให้ช่อง 11/1 มีโฆษณาได้ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เป็นไร ยื่นก็ยื่นไป ส่วนกรณีที่ทางช่อง 5 จะโอนการดำเนินการเช่าเวลาและสัญญาทั้งหมดซึ่งถือเป็นสถานีโทรทัศน์ของกองทัพบกและเป็นหน่วยงานของรัฐไปให้กับบริษัทอาร์ทีเอ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องดูก่อนว่าจะทำอย่างไร

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ปลดผู้อำนวยการสถานีวิทยุกองทัพบก ช่อง 5 เพื่อจะนำบริษัทอาร์ทีเอเข้าตลาดหลักทรัพย์ว่า อยากให้รัฐบาล กำหนดกรอบที่ชัดเจนและเคารพเจตนารมณ์ที่ชัดเจนของรัฐธรรมนูญ เพราะแนวทางของรัฐธรรมนูญชัดเจนว่า ต้องการองค์กรที่เป็นกลางเข้ามาดำเนินการ แต่บังเอิญเกิดช่องว่างขึ้นในเรื่องของการสรรหาตัวคนที่จะมาทำหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้รัฐบาลมาฉวยโอกาสจากสุญญากาศไปทำข้อผูกมัด ไปอนุญาตหรือเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของทั้ง กทช. และ กสช.

"รัฐบาลต้องตั้งโจทย์ก่อนว่ามีความจำเป็นจะต้องนำเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ เนื่องจากมีองค์กรของรัฐทำงานด้านนี้ เป็นเพราะไม่ต้องการให้ยึดแต่ประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจใช่หรือไม่ แต่ถ้าตั้งโจทย์ว่าต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ และต้องรีบเข้าเพราะภาวะตลาดก็กลายเป็น อีกเรื่องหนึ่งไปแล้ว ส่วนจะทำให้รัฐเสียหายหรือไม่ก็ต้องตรวจสอบกันต่อไป"

ส่วนการปลด ผอ.ททบ. 5 ในระยะเวลาอันรวดเร็วด้วยเหตุผลไม่สนองนโยบายนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องมีการตรวจสอบว่าเป้าหมายคืออะไร และใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ แต่ใครที่ไปดำเนินการในขณะนี้ก็ต้องรับผิดชอบ อย่างกรณีที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมา ระบุว่าหากช่อง 11 มีโฆษณาแล้วผิด เมื่อทำไปแล้วก็ต้องเอาผิดจะวางเฉยไม่ได้

พันตำรวจเอก รวมนคร ทับทิมธงไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์.เอ็น.ที.เทเลวิชั่น จำกัด กล่าวถึงกรณีที่มีข้อกล่าวหาถึงการให้เอกชนเข้ามาร่วมผลิตรายการสถานีข่าว 24 ชั่วโมง ผิดต่อ พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์นั้น ความจริงแล้วในมาตรา 4 ของกฎหมาย กำหนดไว้ชัดเจนว่ากรมประชาสัมพันธ์สามารถมีผู้ร่วมผลิตรายการได้ โดยกรมฯไม่จำเป็นต้องขออนุญาตใครทั้งสิ้น ส่วนในเรื่องคลื่นความถี่ตามสถานีวิทยุ ซึ่งข่าวที่ออกไปคือ มีการเปิดให้ช่องสัญญาณ เป็นกรณีพิเศษ แต่ความจริงแล้ว เป็นคลื่นความถี่ของบริษัท ชินแซทเทิลไลต์ ที่ประมูลได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543

ส่วนเรื่องของการโฆษณา ที่มีผู้กล่าวหาว่า ช่อง 11 ไม่สามารถมีโฆษณาได้นั้น กฎหมายกำหนดไว้ 2 ช่องทาง คือ 1.สามารถโฆษณาเชิงสร้างภาพลักษณ์องค์กรได้ ออกอากาศเฉพาะเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และ 2.ในรายการที่ส่งออกอากาศผ่านดาวเทียมในต่างจังหวัด สามารถมีโฆษณาได้เช่นกัน การที่บริษัทร่วมกับช่อง ทางกรมประชาสัมพันธ์ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งหมดบริษัทจะเป็นผู้ลงทุน และแบ่งรายได้ให้กับช่อง 11 ตามสัญญาที่ตกลงกัน

เขากล่าวด้วยว่า บริษัทฯ มีแนวคิดจะยื่นเสนอผังรายการกับทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีถึง 5 ภาษา ออกอากาศ 175 ประเทศ ทั่วโลก ผ่านไทยแลนด์ โกลเบิล เน็ตเวิร์ก แบ่งผังเป็น 4 ช่วงๆ ละ 6 ชั่วโมง ออกอากาศในช่วงไพรม์ไทม์ในประเทศนั้นๆ คาดเริ่มได้สิ้นปีนี้ ใช้เงินลงทุน 400 ล้านบาท

โดยจะร่วมกับผู้ประกอบการที่ผลิตรายการที่สนใจจะผลิตรายการที่ตัวเองมีความชำนาญ ซึ่งปัจจุบันช่อง 5 ก็มีการนำรายการทั้งของสถานีเอง และที่คัดเลือกจากสถานีช่อง 3,7,9 มาออกอากาศผ่านระบบโกลเบิล เน็ตเวิร์ก แต่เป็นภาษาไทย ทั้งหมด ซึ่งจะไม่ได้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นชาวต่างชาติ ในปีหน้า บริษัทจะร่วมกับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ผลิตรายการกีฬา เป็นช่องกีฬา 24 ชั่วโมง ในลักษณะเดียวกับช่องข่าว 24 ชั่วโมงในปัจจุบัน

ปัจจุบันบริษัทมีรายได้หลักจาก 3 ช่องทาง คือ 1.โฆษณาในรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม 2.รับผลิตรายการให้กับหน่วยงานต่างๆ 3.จากค่าลิขสิทธิ์ในการให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่น เช่ารายการที่สนใจ โดยปีที่แล้วบริษัทมีกำไร 40 ล้านบาท และเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยแต่งตั้งให้ บล. แอทเสทพลัส เป็นที่ปรึกษา

นายสมภพ ชินวัตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อาร์.เอ็น.ที. กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท ลูกของ บริษัทอาร์.เอ็น.ที.เทเลวิชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ในวันที่ 30 มิถุนายน 2547 บริษัทจะเปิดให้บริการชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านทางโทรศัพท์ มือถือและโทรศัพท์บ้านทุกระบบ โดยใช้วิธีหักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วม รวม 9 แห่ง โดยคิดอัตราค่าบริการนาทีละ 6 บาท ซึ่งได้ติดต่อหน่วยงานสาธารณูปโภคที่สำคัญแล้ว

จากข้อมูลพบว่า ผู้ใช้ไฟทั้งประเทศขณะนี้ มีทั้งสิ้น 15 ล้านครัวเรือน แบ่งเป็นต่างจังหวัด 12.6 ล้านครัวเรือน และกรุงเทพฯ 3.5 ล้านครัวเรือน ชำระด้วยการหักบัญชีเงินฝากธนาคาร 40% ส่วน อีก 60% จะผ่านบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส และหากแยกย่อยลงไป จะเห็นว่า ในตลาดต่างจังหวัดมีผู้ใช้บริการหักผ่านบัญชีธนาคารเพียง 0.6% ของจำนวนผู้ใช้ไฟ 12.6 ล้านครัวเรือน โดย บริษัทได้จัดแคมเปญชิงโชคแก่ผู้เข้ามาใช้บริการ คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท ตั้งเป้าภายในสิ้นปีจะมีลูกค้าที่เข้ามาเป็นสมาชิกประมาณ 2 ล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us