Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
กลุ่มบี. กริม รุกคืบสร้างโรง spp phase 2             
 


   
search resources

บีกริม กรุ๊ป
อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์, บจก.
หรัณ เลขนะสมิทธิ์




สร้างโรง SPP Phase 2 โครงการผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชน ซึ่งริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2535 ได้มีการก่อสร้าง เสร็จและจำหน่ายกระแสไฟฟ้ากันบ้างแล้ว ส่วนมากเป็นโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กหรือ Small Power Producer : SPP ซึ่งผู้ผลิตจะขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ (MW) ส่วนไฟฟ้าที่เหลือสามารถขายให้ผู้บริโภคที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้โดยตรง กำลังการผลิตของ SPP เหล่านี้อยู่ในระดับ 120-150 MW

กลุ่มบี.กริม (B.Grimm) ซึ่งเป็นกิจการค้า (trading firm) ต่างชาติสัญชาติเยอรมันที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนานมากแล้ว ผู้บริหารปัจจุบันคือมร.ฮาราลด์ ลิงค์ นั้นถือได้ ว่าเป็นเจเนอเรชั่นที่ 3 ของตระกูลลิงค์ที่บรรพบุรุษรุ่นแรกได้เข้ามาบุกเบิกขุดคูคลองในโครงการชลประทานรังสิต ตั้งแต่ช่วงปี 2440 ปัจจุบันกลุ่มบี.กริมมีบทบาทการลงทุนในธุรกิจด้านสื่อสารและโทรคมนาคม พลังงาน งานติดตั้งระบบและการขนส่ง บริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกิจการในประเทศเยอรมนี ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินและบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ และมีการชักนำเข้ามาเป็นผู้ร่วมลงทุนในกิจการต่างๆ ในไทยเรื่อยมา เช่น กลุ่มซีเมนส์, Electro-watt, Bayernwerk, KfW, Energie Baden Wuerttemberg เป็นต้น

ในการลงทุนด้านการพลังงานคือการผลิตไฟฟ้านั้น กลุ่มบี.กริมได้ชัก นำผู้ร่วมทุนหลายรายเข้ามาร่วมกันก่อตั้งบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำกัด ใช้เป็นบริษัทโฮลดิ้งเพื่อไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าหลายแห่ง (ดูตารางโครงสร้างบริษัท อมตะ-เพาเวอร์ จำกัด) ซึ่งโครงการลงทุนแต่ละโรงจะมีบริษัทขึ้นมาดูแลรับผิดชอบโรงละแห่ง

โครงการที่เพิ่งเปิดดำเนินการผลิตไฟฟ้าล่าสุดคือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมอมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ เป็นโรงไฟฟ้าชนิดโคเจนเนอเรชั่น มีกำลังการผลิต 165 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 28 ตันต่อชั่วโมง โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีทุนจดทะเบียน 1,500 ล้านบาท ใช้เงินลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท โดยมีเงินกู้ระยะยาวจากสถาบัน Kreditanstalt fur Wieder-aufbau (KfW) จำนวน 100 ล้านเหรียญ และเงินกู้ที่เป็นเงินบาทระยะยาวและระยะสั้นจากธนาคารกรุงเทพ จำนวน 800 ล้านบาท

โรงไฟฟ้าฯ นี้ใช้เครื่องกังหันก๊าซ ขนาด 56 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องกังหันไอน้ำขนาด 53 เมกะวัตต์ 1 เครื่อง โดยบริษัท ซีเมนส์ เอจี จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นผู้ดำเนินการด้านการออกแบบ จัดหาเครื่องจักรและการก่อสร้างทั้งหมด โรงไฟฟ้าแห่งนี้จำหน่ายไฟให้กฟผ. 90 เมกะ วัตต์ ส่วนกำลังผลิตที่เหลือและไอน้ำจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม อมตะนครกว่า 40 ราย

มร.ลิงค์กล่าวว่า "ตอนนี้โรงไฟฟ้าอมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ 130 เมกะวัตต์ เพราะรอลูกค้าอยู่ประมาณ 28 ราย คาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะผลิตไฟฟ้าได้ครบ 165 เมกะ วัตต์ ซึ่งจะสร้างรายได้ประมาณเดือนละ 150-160 ล้านบาท"

นอกเหนือจากโครงการโรงไฟฟ้าอมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์แล้ว อมตะ เพาเวอร์ยังมีโครงการลงทุนอีกหลายโรงทั้งในและนอกประเทศกล่าวคือ

-โครงการอมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) ซึ่งเป็น Phase 2 ต่อจากโครงการอมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ มีขนาด 110 เมกะวัตต์ ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร อยู่ระหว่างดำเนินงานด้านวิศวกรรม โดยเป็นโครงการ SPP จำหน่ายไฟให้กฟผ. 90 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตที่เหลือขายให้ผู้ประกอบการในนิคมฯ กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2544 โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท โดย อยู่ระหว่างการขอความสนับสนุนเงินกู้จาก KfW จำนวน 60 ล้านเหรียญฯ และธนาคารกรุงเทพอีก 660 ล้านบาท

มร.ลิงค์กล่าวถึงโครงการในเฟส 2 ว่า "เมื่อตอนที่เศรษฐกิจกำลังดีนั้น ผมจะทำ 160 เมกะวัตต์ แต่เศรษฐกิจไม่ดีเลยทำแค่ 110 เมกะวัตต์ แต่มาตอนนี้เริ่มคิดว่าจะสร้างเฟส 3 ต่ออีก"

เขายอมรับด้วยว่ามีความสนใจขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าอย่างมาก แต่การที่จะไปซื้อโรงไฟฟ้าอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือก่อสร้างเสร็จแล้วนั้น ต้องพิจารณาหลายเรื่อง "หากทำแบบ monopoly ได้ก็จะทำ เพราะเรามีทีมงานดี ผู้ร่วมทุนก็ดี หากทำเองจะดีกว่าไปซื้อโรงที่ทำสำเร็จแล้ว เพราะต้องเสียค่าพรีเมียมแพง เราสนใจแต่โรงที่ใช้ก๊าซธรรม ชาติเป็นเชื้อเพลิง ดังนั้นเราจึงต้องลงทุนในบริเวณที่มีท่อก๊าซผ่าน" เมื่อถามความสนใจเรื่องโรงไฟฟ้าระยอง มร. ลิงค์กล่าวว่า "ใหญ่เกินไป ต้องยักษ์ใหญ่ แบบ EGCO จึงจะเข้าได้"

-โครงการอมตะ เพาเวอร์ (ระยอง) ขนาด 8 เมกะวัตต์ และ ไอน้ำขนาด 30 ตันต่อชั่วโมง ณ นิคมอุตสาห-กรรมอมตะซิตี้ระยอง ซึ่งกำลังดำเนินการจะแล้วเสร็จปลายปี 2542 มูลค่าเงิน ลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท

-โครงการอมตะ เพาเวอร์ (เบียนหัว) กำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 20 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการระยะที่ 1 ของโรงไฟฟ้าขนาด 120 เมกะวัตต์ ณ อมตะซิตี้ เวียดนาม ซึ่งบริษัทได้ก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรชุดแรกขนาด 6.4 เมกะวัตต์แล้วเสร็จ และจำหน่ายไฟให้แก่ลูกค้าตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

รวมแล้วบริษัทฯ มีโครงการลงทุนด้านการผลิตไฟฟ้า 4 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตรวม 403 เมกะวัตต์ โดยตอนนี้ผลิตได้ 171.4 เมกะวัตต์ (นับโครงการอมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ และโครงการอมตะ เพาเวอร์(เบียนหัว) รวมรายได้จากไฟฟ้าและไอน้ำที่ผลิตได้ตอนนี้มีประมาณ 3,500 ล้านบาทต่อปี

ถือได้ว่ากลุ่มบี.กริมเล็งการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคนิคมอุตสาหกรรมเป็นด้านหลัก ก่อนหน้านี้ กลุ่มฯ เคยยื่นประมูลเพื่อเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระในโครงการ IPP แต่ไม่ได้รับเลือก อย่างไรก็ดี การทำโครงการ SPP กลายเป็นผลดี เพราะกลุ่มสามารถดำเนินการได้ง่ายกว่า ด้วย งบการลงทุนต่ำกว่าโครงการ IPP ที่ตอน นี้เพิ่งสำเร็จไปเพียงโครงการเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us