Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มิถุนายน 2547
"เจริญ" เล็งถอนหุ้น BJC SET โอเคเบียร์ช้างแทน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, บมจ.
เฟิร์สท์ แปซิฟิค กรุ๊ป
ไทยเบฟเวอเรจ, บมจ.
เจริญ สิริวัฒนภักดี
โสภาวดี เลิศมนัสชัย
Food and Beverage
นครชื่น, บจก.




"เจริญ สิริวัฒนภักดี" เล็งนำ BJC ออกจากตลาด หลังปรับโครงสร้างบริษัทในกลุ่มใหม่ รวบ 47 บริษัทรวมจัดตั้งเป็น "ไทยเบฟเวอร์เรจ" เข้าตลาดหุ้นไทยเสียบแทน BJC เหตุบางธุรกิจต้องรวมอยู่ในโครงสร้างใหม่ ในขณะที่ปัจจุบันฟรีโฟลต BJC เหลือแค่ 4.23% ด้านผู้บริหาร ตลท. เผยได้ไทยเบฟฯ เข้ามาเทรดแทนกับ BJC ถือว่าคุ้ม

การปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทในเครือของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ราชาน้ำเมาเมืองไทย ที่มีแผนจะนำบริษัทในกลุ่มจำนวน 47 บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ในนามของบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด ซึ่งมีธุรกิจหลักเหล้า-เบียร์ อาทิ เบียร์ช้าง โรงเหล้า ฯลฯ อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทที่นายเจริญถือหุ้นอยู่ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบันคือ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนหุ้นหมุนเวียนหรือ ฟรีโฟลตอยู่เพียง 4.23%

เล็งนำ BJC ออกจากตลาด

แหล่งข่าวจากวงการวาณิชธนกิจ ให้ความเห็นว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ประเมินว่านายเจริญจะตัดสินใจเพิกถอน BJC ออกจากตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างบริษัทในกลุ่มใหม่ เพื่อนำเข้าจดทะเบียน โดยโครงสร้างของกลุ่มบริษัทใหม่นั้น มีธุรกิจที่เป็นธุรกิจเดียวกับที่ BJC ดำเนินอยู่ด้วย อย่างเช่นการผลิตขวด ซึ่งน่าจะเข้าไปอยู่ในโครงสร้างใหม่แล้ว ส่งผลให้ BJC ต้องออกจากตลาดและนำบริษัทใหม่คือ ไทยเบฟเวอร์เรจ เข้ามาจดทะเบียนแทน

"คุณเจริญต้องเอา BJC ออกแน่ เพราะมีธุรกิจเดียวกับที่จัดกลุ่มใหม่ แล้วก็เอาไทยเบฟฯ เข้ามาแทน ซึ่งก็คงไม่ส่งผลในด้านลบกับตลาด เพราะไทยเบฟฯมีมาร์เกตแคปเยอะกว่า BJC มาก รวมทั้งยังมีกำไรในอัตราที่สูง โดยในปี 2546 ที่ผ่านมามีกำไรประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ในขณะที่มีรายได้ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท"

ได้ไทยเบฟฯ แลก BJC ตลท.คุ้ม

ในขณะที่นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์และประธานศูนย์ระดมทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตลาดหลักทรัพย์ได้เคยมีการหารือกับผู้บริหารบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ในประเด็นของฟรีโฟลทที่มีค่อนข้างน้อยและต่ำกว่าเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผู้บริหาร BJC ก็ได้รับปากว่าจะดำเนินการเพิ่มฟรีโฟลทของบริษัทให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามช่วงเวลาที่ตลาดหารือกับผู้บริหาร BJC นั้น นายเจริญยังไม่มีแผนการจัดโครงสร้างบริษัทในกลุ่มใหม่และยังไม่มีบริษัทไทยเบฟเวอร์เรจ

ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ หากมีการจัดโครงสร้างบริษัทใหม่แล้วอาจจะมีการพิจารณาเพิกถอน BJC ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในส่วนของตลาดหลักทรัพย์เองก็มีความยินดีหากกลุ่มของนายเจริญนำบริษัทไทยเบฟเวอร์เรจเข้ามาจดทะเบียนแทน เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีบริษัทในเครือรวมกันถึง 47 บริษัท ซึ่งจะช่วยเพิ่มมาร์เกตแคปของตลาด และมีความน่าสนใจในการลงทุน

รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ล่าสุด ณ วันที่ 11 มิ.ย. 2547 BJC ปิดตลาดที่ระดับ 71.50 บาท และมาร์เกตแคปอยู่ที่ 11,355.09 ล้านบาท

ย้อนรอย BJC

สำหรับ BJC ไม่ใช่ธุรกิจที่นายเจริญบุกเบิกแต่แรก นายเจริญได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในเดือน ธ.ค. 2544 ที่ผ่านมา โดยเป็นการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมคือ กลุ่มบริษัท เฟิร์ส แปซิฟิค ผ่านทางบริษัท นครชื่น จำกัด จำนวน 132,602,457 หุ้น หรือร้อยละ 83.5 ของจำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ซึ่งมีมูลค่าโดยรวมเท่ากับ 125 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ราคาซื้อขายรวมคิดเป็นมูลค่าต่อหุ้นที่ประมาณ 41.3077 บาท (คำนวณที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ ต่อ 43.82 บาท) โดยมีการระบุในหนังสือทำคำเสนอซื้อว่าผู้ทำคำเสนอซื้อเป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มบริษัท ที.ซี.ซี. ที่ดำเนินธุรกิจการให้เช่าที่ดินและการลงทุนในหุ้นสามัญ โดยมีนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

จากนั้นบริษัทได้ทำคำเสนอซื้อหรือเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ หุ้น BJC ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 2544 ถึงวันที่ 1 ก.พ. 2545 จำนวน 26,210,043 หุ้น หรือร้อยละ 16.50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ ปรากฏว่ามีผู้แสดงเจตนาขายจำนวน 19,293,725 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 12.14 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ส่งผลให้บริษัทนครชื่น จำกัด มีสัดส่วนการถือหุ้น BJC จำนวน 151,896,182 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 95.64 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

ปัจจุบัน ณ วันปิดสมุดทะเบียนล่าสุด วันที่ 11 มี.ค. 2547 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ BJC จึงประกอบด้วย บริษัท นครชื่น จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ถือหุ้นร้อยละ 83.81 บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว ถือหุ้นร้อยละ 1.15 กองทุนเปิด ไทยทวีทุน ถือหุ้นร้อยละ 1.13 ในขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นของ ผู้ถือหุ้นรายย่อยมีอยู่ร้อยละ 4.23

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us