Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 มิถุนายน 2547
เกษมเตือนระวังไฟขาดกฟผ.ดินหนีต้นทุนเพิ่ม             
 


   
search resources

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ปตท., บมจ.
เกษม จาติกวณิช
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
Energy
ณรงค์ศักดิ์ วิเชษฐ์พันธุ์




"เกษม จาติกวณิช" หวั่นปัญหาไฟขาด แนะ กฟผ.ดูแลเป็นเรื่องหลัก หนุนผลิตไฟส่วนหนึ่งเพื่อความมั่นคง ให้กล้าคิด กล้าทำ และกล้าถอยในสิ่งที่ถูกต้องเหมือนที่นายกฯถอยเรื่องหงส์แดง ด้าน "กฟผ." ดิ้นทุกทาง ลดภาระแบกค่าไฟยื่นหนังสือถึงหมอมิ้งเปิดประมูลน้ำมันเตา 100% พร้อมเพิ่มกำมะถัน ฟิกซ์ราคาก๊าซฯหวังเบรกค่าไฟ ต.ค.ที่จ่อ ขึ้น 10 สตางค์ต่อหน่วยให้ขึ้นน้อยสุด ด้านบิ๊กปตท.หนุนให้ใช้น้ำมันเตาที่มีกำมะถันสูงขึ้นเพื่อลดต้นทุน

วานนี้ (10 มิ.ย.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้จัดเสวนา "PDP-2004 เส้นทางสู่อนาคตกฟผ." นายเกษม จาติกวณิช อดีตผู้ว่าฯกฟผ. นายณรงค์ศักดิ์ วิเชษฐ์พันธุ์ รักษาการผู้ว่าฯกฟผ. นายแล ดิลกวิทยรัตน์ กรรมการกฟผ. และนายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานกฟผ.(สร.กฟผ.) โดยมีนายอดิศักดิ์ ศรีสม เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายเกษม จาติกวณิช อดีตผู้ว่าฯกฟผ.กล่าวว่า ในเมื่อกฟผ.ทำหน้าที่ดีอยู่แล้วในการผลิตไฟตั้งแต่อดีตจนมีวันนี้ รัฐบาลก็ไม่ควรจะไปทำอะไรให้บิดเบือน และมาที่กฟผ.ครั้งนี้ต้องการมาฝากเพราะเป็นห่วงเรื่องปัญหาไฟฟ้าขาดเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ที่กลับมาเติบโตมากขึ้นอาจรองรับไม่ทัน ซึ่ง กฟผ.เองก็ควรจะมีหน้าที่สร้างโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งตามแผน PDP ฉบับใหม่ผลิต 50% ก็ถือว่ามีความเหมาะสม

"กฟผ.ควรจะสร้างเองทั้งหมดด้วยซ้ำไปก็ได้ แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องเงินที่อาจเป็นภาระมากก็ให้เอกชน ทำอยู่แล้ววันนี้ เวลานี้อย่ามัวมาเกี่ยงกัน อย่าห่วงกำไร ขาดทุน เราต้องห่วงว่าไม่มีไฟ พยายามอย่าให้ไฟขาด เลยตั้งใจมาขอ อย่ามัวมาทะเลาะกันอยู่"

นายเกษมได้ยกตัวอย่างของการสร้างเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ของกฟผ.ในอดีตที่มีผู้ต่อต้านมากมายแต่ด้วยความกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องและยึดผลประโยชน์ภาพรวมทำให้วันนี้ทั้งสองเขื่อนไม่มีภาระหนี้ ดังนั้น ผู้บริหารกฟผ.ต้องกล้าคิด กล้าทำ ตรงกันข้ามในอดีตนั้นมีปัญหาเรื่องน้ำมันแพงมากหลายประเทศหันไปผลิตไฟฟ้าปรมาณู

"กฟผ.เองก็คิดเช่นกันแต่ไม่ได้ทำ บังเอิญโรงไฟฟ้าที่ต่างประเทศเกิดปัญหาต้นทุนสูงและเกิดระเบิดขึ้นที่รัสเซียทำให้ต้องพับแผนไว้ก่อน นี่ก็คือ หากมีเหตุการณ์อะไรที่จะทำให้ต้องทบทวนก็ต้องกล้าที่จะถอยด้วย เหมือนกับที่นายกรัฐมนตรีเองท่านก็กล้าที่จะคิดและกล้าที่จะถอยในเรื่องของ ลิเวอร์พูล"

นายเกษมกล่าวว่า กฟผ.ควรจะเป็นองค์กรเพื่อรับใช้ประชาชน ส่วนกรณีการตรึงค่าไฟฟ้าหากกฟผ.ตรึงได้หมดทั้งที่เชื้อเพลิงขึ้นไปแล้วคงจะต้องเชิญให้ผู้ว่าฯกฟผ.ไปเป็นผู้ว่าฯไฟฟ้าโลก การบริหาร งานต้องมองภาพรวมและให้สะท้อนความเป็นจริง

กฟผ.ดิ้น เร่งแผนผลิต-ลดต้นทุน

นายณรงค์ศักดิ์ วิเชษฐ์พันธุ์ รักษาการผู้ว่าฯ กฟผ.กล่าวว่า กฟผ.ยืนยันว่าจะเร่งดำเนินการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าตามแผนให้แล้วเสร็จเพื่อไม่ให้ไฟขาดอย่างแน่นอน และเมื่อเร็วๆ นี้ กฟผ.ได้ยื่นหนังสือถึง น.พ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อขอให้มีการพิจารณาเปิดประกวดราคารับซื้อน้ำมันเตาจากภาคเอกชนทั้ง 100% เพื่อให้มีการแข่งขันทางด้านราคาของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะสะท้อนทำให้ราคาค่าไฟฟ้าถูกลง จากปัจจุบันที่ส่วนใหญ่ประมาณ 80% ของปริมาณการรับซื้อน้ำมันเตาทั้งหมดจะมาจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ส่วนอีก 20% จึงจะเป็นการเปิดประมูลจากผู้ผลิตอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้มีราคาที่ถูกกว่าราว 300 ล้านบาทต่อปี

อย่างไรก็ตาม จากการเจรจาร่วมกับบริษัท ปตท. บริษัท บางจาก ไทยออยล์ และกรมควบคุมมลพิษ ในแนวทางการตรึงราคาค่าไฟฟ้าตามนโยบายของรัฐบาลนั้น กฟผ.ยังได้เสนอเพิ่มปริมาณกำมะถันในน้ำมันเตาสำหรับการผลิตในโรงไฟฟ้าบางโรง เช่น บางปะกงจาก 0.5% เป็น 2% เพื่อลดค่าใช้จ่าย รวมถึงการให้ตั้งเพดานราคาก๊าซไว้เพื่อ ไม่ให้ราคาแกว่งตัวเหมือนกับก๊าซที่ลานกระบือที่ฟิกซ์ ราคาไว้

นอกจากนี้ เสนอให้มีการเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟ โดยอาจกำหนดให้เป็นนโยบายของรัฐในการใช้ถ่านหินผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือพีดีพี ในโรงไฟฟ้าใหม่ทั้ง 4 โรง ขนาด 700 เมกะวัตต์ได้ เพื่อให้สามารถมีทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิงสำหรับในอนาคต เนื่องจากมีราคาถูก โดยปัจจุบันการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 17% ของกำลังการผลิตทั้งหมดรองจากก๊าชธรรมชาติ

ย้ำค่าไฟรอบ ต.ค.จ่อขึ้น 10 สต.

นายณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า กฟผ.ต้องแบกภาระตรึงค่าไฟตามนโยบายของรัฐในรอบเดือนมิ.ย.-ก.ย. นี้ 1 สตางค์ต่อหน่วย หรือรับภาระ 100 ล้านบาทต่อ เดือน แต่ในรอบต.ค.47-ม.ค.48 กฟผ.เองคงแบกภาระไม่ได้เพราะจะต้องแบกถึงเดือนละ 1,000 ล้านบาท เนื่องจากราคาค่าก๊าซและต้นทุนได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อรวมกับงวดนี้แล้วคงจะต้องปรับเป็น 10 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งหากข้อเสนอของกฟผ.ได้รับความร่วมมือภาระที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้นในครั้งต่อไปก็อาจจะลดลงได้บ้าง

ปตท.หนุนใช้น้ำมันเตากำมะถันสูง

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวทางที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.นั้น คือ การหันมาใช้น้ำมันเตาที่มีกำมะถันสูงขึ้นจาก 0.5% เป็น 2% เพราะมีราคาถูกกว่าลิตรละ 1.50 บาท หรือทำให้ลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงได้ถึงเดือนละ 2 พันล้านบาท คิดเป็นปีละ 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นศึกษาถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม คงต้องรอผล สรุปจากกระทรวงพลังงาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ เพราะหากทำไม่สำเร็จประชาชนทั้งประเทศต้องแบกรับภาระนี้ไป

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ปตท.พยายามเร่งปรับปรุงท่อส่งก๊าซฯเส้นที่ 1 และ 2 เพื่อให้มีปริมาณก๊าซฯป้อน กฟผ.มากยิ่งขึ้น โดยจะส่งก๊าซฯป้อนให้กฟผ.เพิ่มขึ้นจากเดิม 1.7 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็น 1.9 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน รวมทั้งพยายาม ลดการขายก๊าซฯให้บางโรงกลั่น หรือยินยอมให้บริษัท ในเครือหยุดบำรุงรักษาเพื่อให้มีก๊าซฯป้อนกฟผ. มากยิ่งขึ้น ทำให้กฟผ.ลดการใช้น้ำมันเตาลง เพราะน้ำมัน เตาเป็นเชื้อเพลิงที่มีต้นทุนสูงกว่าก๊าซฯถึงลิตรละ 2 บาท และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้น

"วันนี้พูดถึงก๊าซฯไม่พอ ไฟฟ้าไม่พอ ไม่ใช่ความผิดพลาดในการประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าของกฟผ.หรือการส่งก๊าซฯไม่ทันของปตท. แต่เนื่องจากเศรษฐกิจเราดีเกินคาดไว้ ทำให้โรงไฟฟ้าต้องหันมาใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพราะความ ต้องการใช้ไฟในประเทศเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนับจากนี้ไปจนถึงปี 2549 จะไม่เกิดโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เข้าระบบ ทำให้ต้องใช้โรงไฟฟ้าเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพเข้าไปเสริม" นายประเสริฐ กล่าว

ส่วนกรณีที่กฟผ.ระบุว่าปตท.ขายน้ำมันเตาในราคาที่สูงนั้น ปตท.ยืนยันว่า ราคาน้ำมันเตาที่ปตท. ขายให้ กฟผ.ถือว่าเป็นราคาที่สอดคล้องกับตลาดโลก และเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่าย การที่ กฟผ.ประมูลซื้อน้ำมันเตาราคาถูกได้ เพราะในช่วงนั้นเป็นช่วงราคา น้ำมันถูก อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ไม่เกิดผลในการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ได้ เพราะการเจรจาขอลดราคาน้ำมันเตาลงลิตรละ 1 สตางค์ เป็นประเด็นเล็กเมื่อเทียบกับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากกระแสไฟฟ้าดับ 1-2 วัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us