อารียาฯ ลุยตลาดอสังหาฯ ซื้อที่ดินย่านเกษตร-นวมินทร์ 220 ไร่ ผุดบ้านเดี่ยวมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท พร้อมเปิด Call Center บริการหลังการขายตลอด 24 ชั่วโมง ในเดือนกรกฎาคมนี้
ระบุผู้บริโภคชะลอการซื้อลงเหตุมีสินค้า ให้เลือกมากขึ้น พร้อมเตือนผู้ประกอบการรายใหม่ที่สายป่านไม่ยาวพอระวังแบกรับภาระเงินกู้สูง
นายวิศิษฎ์ เลาหพูนรังษี ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัทอารียา พรอพเพอร์ตี้
จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้ซื้อที่ดินแปลงใหม่จำนวน 220 ไร่ มูลค่า 1,800
ล้านบาท ย่านเกษตร-นวมินทร์ ห่างจากแยกลาดปลาเค้า 900 เมตร โดยวางแผนพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวจำนวน
600 ยูนิต ระดับราคา 7-8 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท จับกลุ่มลูกค้าระดับ
B-A ซึ่งโครงการนี้จะเปิดขายได้ประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 2547
นอกจากนี้แผนการดำเนินงาน ในครึ่งปีหลัง นอกจากเปิดโครงการที่เกษตร-นวมินทร์ที่อยู่นอกแผน
การดำเนินงานแล้ว ยังมีโครงการที่เปิดตามแผนเดิม คือ โครงการอารียา สวน่า เฟส 3
มูลค่า 800 ล้านบาท เปิดในไตรมาส 3 โครงการอารียา สวน่า เฟส 4 มูลค่า 1,800 ล้านบาท
ส่วนที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากแยกสีสมาน 300 เมตร ในเขตติวานนท์ ซึ่งมีที่ดินหน้ากว้าง
270 เมตร ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยบริษัทซื้อที่ดินมาในราคา 550 ล้านบาท เพื่อจะพัฒนาเป็นโครงการบ้าน
เดี่ยวระดับไฮเอนด์ ราคาประมาณยูนิตละ 25-40 ล้านบาท มูลค่าโครง การทั้งหมด 1,800
ล้านบาท เปิดตัวประมาณไตรมาส 4 ของปีนี้
ปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนา 7 โครงการ ซึ่งได้แก่ โครงการอารียา
ชบา มูลค่า 427 ล้าน บาท ส่งมอบที่ดินไปแล้วรอสร้างบ้าน โครงการอารียา คาซา สุขุมวิท
มูลค่า 212 ล้านบาท ขายไปแล้ว 80% โครง การอารียา สวน่า เกษตร-นวมินทร์ เฟส 1 มูลค่า
816 ล้านบาท ขายไปแล้ว 80% โครงการอารียา ชบา เอ็กซ์ คลูซีฟ มูลค่า 440 ล้านบาท
มียอด ขายแล้ว 70% โครงการอารียา คาซา รัชดา มูลค่า 613 ล้านบาท ทั้งเฟส 1 และ
2 มียอดขายไปแล้ว 50% และโครงการอารียา บุษบา มูลค่าโครงการ 830 ล้านบาท ขายไปแล้ว
60% มูลค่า โครงการรวมทั้งหมด 3,350 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อรวมกับโครงการใหม่ที่จะเปิด
ในปีนี้ทั้งหมด จะทำให้บริษัทมีสินค้า อยู่ในมือประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถขายไปได้อีกประมาณ
2-3 ปีข้างหน้า
นายวิศิษฎ์ กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันที่ดินย่านเกษตรนวมินทร์เริ่ม หาได้ยากมาก
เพราะผู้ประกอบการซื้อกันไปจนหมดแล้ว ซึ่งในย่านดังกล่าวในส่วนของบริษัทเองมีบ้านอยู่ถึง
1,000 ยูนิต และไม่รวมกับ ผู้ประกอบการในย่านนั้น อาทิ บมจ. ควอลิตี้เฮ้าส์ ซื้อที่ดินในซอยมัยลาภ-นวลจันทร์
จำนวน 50 ไร่ บริษัท เคอี แลนด์ จำกัด บริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เฟอร์เฟค จำกัด มหาชน
อีก 80 ไร่ และรายอื่นๆ รวมทั้งหมดในย่านเกษตร ประมาณ 2,000 ยูนิต ซึ่งอารียาถือว่ามีส่วนแบ่งการตลาดมาก
ที่สุดในย่านนั้น อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าในย่านดังกล่าวมีสินค้ามากจนเกินไป เพราะจากการสำรวจความต้องการบ้านในย่านเกษตร
ลาดพร้าว มีมากถึง 4,000-5,000 ยูนิต แต่ต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ
"สำหรับในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา บริษัทมียอดรับรู้รายได้ 490 ล้านบาท และยังมีบ้านรอส่งมอบอีกประมาณ
751 ล้านบาท ดังนั้นปัจจุบันบริษัทมีรายได้อยู่ในมือแล้วจำนวน 1,241 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถทำได้ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ทั้งปี
2,600 ล้านบาท ได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังมีสินค้าใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในแผนอีกมูลค่า
5,000 ล้านบาท บริษัทจึงเชื่อว่าในปีนี้จะสามารถปันผลได้ไม่ต่ำกว่า 20% อย่างแน่นอน"
นายวิศิษฎ์ กล่าว
ปัจจุบัน ตลาดอสังหาฯ มีการแข่งขันกันอย่างมาก ซึ่งการแข่งขันใน เรื่องของสินค้าเช่นในอดีตทำไม่ได้มาก
เพราะสามารถลอกเลียนแบบกันได้ ปัจุบันผู้ประกอบการจึงหันมา แข่งขันด้านอื่นแทน
ดังนั้นบริษัทจึง ได้ริเริ่มโครงการ Call Center ขึ้น ซึ่งเป็นการให้บริการกับลูกค้าของบริษัท
ในทุกโครงการ โดยจัดทำเป็นบริการ ซ่อมบ้าน ท่อน้ำประปา ไฟฟ้า รวมถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ
ภายในบ้าน บริการยามเฝ้าบ้านหรือรักษาความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะเริ่มในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งค่าบริการจะคิดตามเนื้องานที่ให้บริการ ส่วนในปีแรกนี้บริการฟรี
เพื่อทดสอบระบบ
นอกจากนี้นายวิศิษฎ์ ได้กล่าวถึงภาวะตลาดอสังหาฯ ว่า ในช่วงที่ผ่านมาตลาดมีการชะลอตัว
เนื่อง จากผู้บริโภคมีสินค้าเลือกจำนวนมาก ทำให้ต้องดูสินค้าให้ทั่วถึง การตัดสินใจซื้อทำได้ยากขึ้น
โครงการที่ดีมีคุณภาพ และอยู่ในทำเลที่ดีเท่า นั้นจึงจะขายได้ จากภาวะการชะลอ ตัวของตลาดนี้จะส่งผลไปยังผู้ประกอบ
การรายใหม่ที่มีกระแสเงินสดไม่มาก เพียงพอหรือสายป่านไม่ยาว ต้องแบกรับภาระด้านต้นทุนทางการเงิน
ทำให้ขาดกระแสเงินสดหมุนเวียนและอาจเกิดปัญหาตามมาภายหลัง หรืออาจถึงต้องปิดกิจการไปบ้างบาง
ราย ซึ่งภาวะนี้จะไม่มีผลกระทบกับตลาดแต่อย่างไร เพราะบริษัทรายใหญ่จะมีเงินทุนมากพออยู่แล้ว
ส่วนปัญหาด้านความมั่นคง และ ราคาน้ำมัน จะทำให้ธุรกิจอสังหาฯไม่บูมอย่างที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นปี
แต่ก็ไม่กระทบมากนักเพราะส่วนใหญ่ได้เตรียมแผนรองรับกันอยู่แล้ว ส่วนราคาวัสดุที่ปรับขึ้นก็มีเพียงเหล็ก
เท่านั้นที่ปรับขึ้นสูง ซึ่งทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 3-4% แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือปัญหาฝีมือแรงงานขาดแคลน อยางไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวยังไม่เข้าขั้นวิกฤต เพียงแรงงานมีให้ เลือกน้อยลงเท่านั้น