Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มิถุนายน 2547
กสิกรฯ ฟันธงดอกเบี้ยทรง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
บัณฑูร ล่ำซำ
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
จักรภพ เพ็ญแข
Interest Rate




"บัณฑูร-ประสาร" ประสานเสียงดอกเบี้ยยังไม่ปรับขึ้นแน่ เหตุสภาพคล่องในระบบยังล้น เงินออมเพิ่มมากกว่าการปล่อยสินเชื่อ ขณะที่เศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง แต่ต้องระวังความเสี่ยงจากน้ำมันราคาแพงที่จะขยายวงกว้างกระทบทั่วโลก ย้ำเป้าหมายสินเชื่อ "กสิกรไทย" คงเดิม 4-5% ด้านนายกรัฐมนตรี กังวลตัวเลข "จีดีพี" ที่แตกต่างของแต่ละหน่วยงาน ส่วนคลังเร่งสรุปกรอบความยั่งยืนทางการคลัง 5 ปี ภายในเดือน ก.ค.นี้

นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแนวโน้มการเคลื่อนไหวของทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยจะยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังคงล้นระบบอยู่มาก แม้ธนาคารพาณิชย์จะมีปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกัน ได้มีเงินออมจากประชาชนเข้ามาเช่นกัน รวมทั้งเม็ดเงินภายในประเทศเองก็ไม่สามารถไหลออกนอกประเทศได้

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ กล่าวให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ยังไม่มีแรงกดดันจากปัจจัยใดๆ ที่จะผลักดันให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในระยะนี้ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะยาว 3-5 ปี จะอยู่ในช่วงขาขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้เป็นการเพิ่มขึ้นจากปัจจัยต้นทุนที่ระดับราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ไม่ได้มาจากปัจจัยการเติบโตของเศรษฐกิจที่ร้อนแรงแต่อย่างใด หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะนี้ก็ไม่สามารถช่วยให้เงินเฟ้อลดลงเพราะราคาน้ำมันไม่ได้ลดลงด้วย

"หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% แล้ว ไทยยังไม่ปรับตามก็จะกระทบกับไทยมากหน่อย เนื่องจากช่องว่างอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป สภาพคล่องก็จะเพิ่มมากขึ้น แต่หากเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ก็คงไม่กระทบกับประเทศไทยมากนักเพราะสามารถช่วยควบคุมการไหลเข้าออกของเงินได้ดีขึ้น"

เตือนภัย "ราคาน้ำมัน" ปัจจัยเสี่ยง

พร้อมกันนี้ นายบัณฑูร ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของไทยว่า ภาวะเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องระมัดระวังปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และมีทีท่าจะคงอยู่ในระดับสูงอีกนาน

"ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากราคาน้ำมัน ทำให้ภาครัฐปรับเป้าหมายเศรษฐกิจลงบ้าง ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนเอกชนเองถึงแม้ว่าจะมีการเติบโตของธุรกิจบ้าง แต่ก็ต้องระมัดระวัง เพราะต้นทุนการดำเนินธุรกิจเริ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันเราต้องร่วมมือกันประหยัดพลังงาน เพื่อป้องกันตัวเองให้ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันน้อยที่สุด" นายบัณฑูร กล่าว

กสิกรไทยคงเป้าสินเชื่อ 4-5%

ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยนั้น คงต้องดำเนินธุรกิจต่อไป ทั้งเป้าหมายและกลยุทธ์ต่างๆ ยังยืนยันที่ใช้ตัวเลขเดิม โดยมีเป้าหมายขยายสินเชื่อประมาณ 4-5% ตามภาวะเศรษฐกิจ ส่วนในด้านการทำงานอาจจะต้องยากมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อเข้าถึงเป้าหมายให้ได้ ในขณะเดียวกันต้องดูแลลูกค้าให้สามารถดำเนินธุรกิจเติบโตควบคู่กับธนาคารอย่างต่อเนื่อง

พร้อมกันนี้ ธนาคารอยู่ในขั้นตอนพิจารณาขยายช่องทางดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจเช่าซื้อ หรือลีสซิ่ง ซึ่งธนาคารสนใจจะเข้าไปซื้อธุรกิจที่ดำเนินอยู่แล้วหากมีราคาที่เหมาะสม หรืออาจเป็นพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจ

นายกฯ กังวัลตัวเลขจีดีพีแตกต่าง

ด้านนายจักรภพ เพ็ญแข โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วานนี้ (8 มิ.ย.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจของไทยให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ ซึ่งที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง แต่ยอมรับว่าจีดีพีในปี 2547 ยังสามารถขยายตัวได้ในอัตราที่ 7%

อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีกหลายคน ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการประกาศออกมาไม่ตรงกัน จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระมัดระวังและทำข้อมูลให้ตรงกันมากขึ้น

เร่งตีกรอบความยั่งยืนการคลัง

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงกรณีที่ตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อยู่ที่ 7.5% และสศช. 6.5% ว่า ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้มีความแตกต่างกัน เพราะเป็นการมองคนละด้าน โดย สศค. มองในแง่ของปริมาณผลผลิตที่ออกมาแล้ว หรือด้านซัปพลายไซด์ ขณะที่ สศช.มองในแง่ของปริมาณความต้องการบริโภค หรือ ด้านดีมานด์ไซด์ ดังนั้นเมื่อภาคเกษตร อาทิ อ้อย ยางพารา และไก่ส่งออกมีปัญหา ตัวเลข สศช.จึงออกมาต่ำกว่าเล็กน้อย

พร้อมกันนี้ ในส่วนของกระทรวงการคลังพยายามดูแลฐานะการคลังอย่างดีที่สุด โดยที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้คณะทำงานประเมินภาวะเศรษฐกิจไปร่วมกันพิจารณากรอบความยั่งยืนทางการคลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2552 เพิ่มเติม โดยให้ดูดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญทุกตัว เพื่อเป็นกรอบให้เศรษฐกิจเดินไปในทิศทางที่วางไว้ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2547 นี้

กำลังการผลิตใกล้เต็ม 100%

นายประสาร กล่าวเพิ่มเติมว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีนี้น่าจะยังขยายตัวได้ถึง 7% ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้เนื่องจากภาคการส่งออกของประเทศยังอยู่ในระดับที่น่าพอใจโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย และการบริโภคในประเทศยังอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ปัจจัยอื่นที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวยังมีเรื่องการลงทุนของภาครัฐที่จะมีการสร้างระบบสาธารณูปโภคอีกมาก การบริโภคเติบโตดี กำลังการผลิตที่ใกล้เต็ม 100% โดยในปัจจุบันสูงถึงระดับ 80% แล้ว ภาคเอกชนคงมีการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต แต่ทั้งนี้ต้องดูในแต่ละภาคการผลิตด้วยเพราะกำลังการผลิตไม่ได้ใกล้เต็มที่ 100% ทุกภาคการผลิต

"ประสาร" ยันธุรกิจแบงก์ไม่เข้าข่ายผูกขาด

สำหรับกรณีที่คณะทำงานวิชาการด้านแข่งขันทางการค้า ที่ได้เห็นชอบในหลักเกณฑ์การรวมธุรกิจ ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ว่า ด้วยการห้ามมิให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจ กระทำการรวมธุรกิจ อันอาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือไม่เป็นธรรมในการแข่งขันนั้น นายประสารกล่าวว่า ในภาคธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีธนาคารใดที่เข้าข่ายเกณฑ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ เมื่อมองจากปริมาณการปล่อยสินเชื่อ ทั้งระบบที่อยู่ในระดับ 5 ล้านล้านบาท นั้น โดยที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงเทพ ซึ่งปล่อยสินเชื่อมากที่สุดในระบบ ซึ่งแต่และธนาคารก็ยังมีส่วนแบ่งการครองตลาดไม่ถึง 20% โดยธนาคารกรุงไทย มีสินเชื่อประมาณ 9 แสนล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 8 แสนล้านบาท สำหรับธนาคารกสิกรไทย มียอดสินเชื่ออยู่ที่ ประมาณ 5-6 แสนล้านบาท ซึ่งการแข่งขันนั้นสูงอยู่แล้ว จึงไม่ถือว่า เข้าข่ายการผูกขาดทางการตลาดแต่อย่างใด

ส่วนแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Master Plan) นั้นก็เป็นประเด็นที่น่าคิด เพราะนโยบายดังกล่าวต้องการให้ธนาคาร หรือสถาบันการเงินมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่กระทรวงพาณิชย์กลับกลัวว่าจะเป็นการผูกขาดทาง การตลาด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us