Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547
เดินทางค้นหาสำนึกร่วมสมัย             
โดย วิษณุ โชลิตกุล
 





นักเดินทางกับนักท่องเที่ยว มีความแตกต่างและมีเป้าหมาย (ของชีวิต) แตกต่างกัน

พอล โบวล์ส นักเขียนอเมริกันยุค "หลบหนีเพื่อแสวงหา" (Beat Generation) เคยให้คำนิยามในเรื่องนี้ไว้ในนวนิยายเรื่อง Sheltering Sky อันโด่งดังของเขาว่า นักเดินทางคือนักแสวงหาที่เปล่าเปลี่ยว ส่วนนักท่องเที่ยวคือ คนที่เดินตามแผนที่และไกด์อย่างเซื่องๆ พร้อมกับหว่านความร่ำรวยอย่างไร้ค่า

พอล เธอรูส์ นักเขียนเรื่องการเดินทางร่วมสมัยชาวอเมริกันเชื้อสายฝรั่งเศสคนนี้ เป็นมากกว่านักเดินทางและนักเขียนนวนิยาย เขาคือคนเขียนเรื่องชีวิตบนการเดินทางร่วมสมัยที่ดีที่สุดคนหนึ่งของโลกในทุกวันนี้

เขาเป็นหนึ่งในนักเขียนคนโปรดของพันศักดิ์ วิญญรัตน์ คนสร้างฝันสำคัญของเมืองไทยร่วมสมัยยามนี้

ด้วยงานเขียนนวนิยายที่ฮอลลีวูดต้องการเรื่องไปสร้างภาพยนตร์จำนวนมาก งานเขียนเรื่องการเดินทางของเธอรูส์ จึงเป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ผสมด้วยสำนวนการเขียนที่เป็นมากกว่าเรื่องเล่าธรรมดาประเภท "ขี่ม้าชมสวน"

การเดินทางของเธอรูส์ จึงเป็นการผจญภัยทางปัญญาและค้นหาจิตสำนึกแห่งยุคสมัย มากกว่าแค่การ "ขี่ม้าชมดอกไม้" แบบผ่านแล้วผ่านเลย และเก็บเอามาฝากอย่างแท้จริง

เธอรูส์ชอบการเดินทางโดยรถไฟเป็นพิเศษ นับแต่เขาเขียน The Great Railway Bazaar เรื่อยมาถึง The Old Patagonian Express, Riding on The Iron Rooster และ The Happy Isles of Oceania และเล่มนี้ เมื่อเขาเดินทางเยือนแอฟริกานับจากไคโรถึงเคปทาวน์ ก็หนีไม่พ้นการเดินทางด้วยรถไฟเป็นหลักอีกเช่นกัน แต่ก็มีบางช่วงที่เดินทางตามลำน้ำซามเบซีผ่าน 3 ประเทศ

เธอรูส์พูดถึงวัตถุประสงค์ของเขาเอาไว้ชัดเจนว่า เป็นการเดินทางสำรวจธรรมชาติของผู้คนในทวีปที่ถูกอิทธิพลของเทคโนโลยีเข้าไปเปลี่ยนวิถีชีวิตน้อยที่สุด ก่อนที่จะถูก "อารยธรรม" เข้าไปรุกล้ำในวันข้างหน้า

"ข่าวจากแอฟริกาล้วนมีแต่ความเลวร้าย เหตุนี้ทำให้ผมต้องการไปที่นั่น ไม่ใช่เพื่อมองหาความสยดสยอง การสังหารหมู่ หรือแผ่นดินไหว ซึ่งอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์และข่าวโทรทัศน์ เพื่อที่จะได้พบกับเรื่องราวที่ยังไม่มีใครบอกเล่า เกี่ยวกับความหวัง สุขนาฏกรรมและความหวานชื่น..."

สิ่งที่เธอรูส์ได้พบตรงกันข้ามกับความคาดหวังของเขาอย่างมาก แอฟริกาในสายตาของเขา ไม่โรแมนติกเหมือนภาพแห่งวันวานโดยนักเขียนตะวันตกอย่างเฮมิงเวย์ คาเรน บริกเซ่น หรือนักเขียนอังกฤษยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 อีกต่อไปแล้ว หากกำลังป่วยเป็นโรคของความเสื่อมโทรมในทุกด้าน แต่สิ่งที่เธอรูส์พบในท้ายที่สุดก็คือ จิตสำนึกแห่งการค้นหาของเขา แทนที่จะมอดไหม้เป็นเถ้าธุลี มันกลับลุกโชนมากยิ่งขึ้น และมองเห็นความหวังกับทวีปนี้มากยิ่งขึ้น

ทำไม? หรือจะเป็นแค่ ยูโตเปียของนักจริยธรรม?

ความลับข้อนี้ เป็นสิ่งที่กระตุ้นผู้อ่าน โดยเฉพาะแฟนๆ นักเขียนเรื่องเดินทางผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ให้ต้องอ่านตั้งแต่หน้าแรกจนกระทั่งหน้าสุดท้าย ชนิดวางไม่ลงกันเลยทีเดียว

บทที่น่าสนใจ มีบทที่ 5 พูดถึง โอซามา บิน ลาดิน ในซูดาน และภาพลักษณ์แบบนักบุญในสงครามญิฮาดของเขาที่กลายเป็นตำนานของคนพื้นเมือง ที่มีต่อนักก่อการร้ายในสายตาตะวันตก

ในขณะที่ บทที่ 13 เล่าเรื่องชีวิตที่ไม่โรแมนติกของผู้คนบนเชิงเขาคิริมานจาโรในทุ่งซาฟารี ซึ่งไม่เหมือนฉากในนิยายของเฮมิงเวย์ เพราะผู้คนที่นี่กำลังเผชิญภัยจากโรคเอดส์อย่างสาหัส โดยนักสังคมสงเคราะห์หญิงชาวฟินแลนด์ผู้หนึ่งเล่าว่า เธอพยายามเผยแพร่เรื่องเพศศึกษาเพื่อเตือนผู้คนให้เห็นภัยของการส้องเสพแบบมั่วซั่ว แต่ผลลัพธ์คือ พวกชาวบ้าน (ชาย) กลับขอร่วมสวาทกับเธออึงคนึง

อีกบทหนึ่งว่าด้วยการเดินทางด้วยแม่น้ำผ่าน 3 ประเทศคือ มาลาวี ซามเบีย และ โมซัมบิก ไปตามร่องน้ำ ซามเบซี บทนี้ เคยตัดทอนลงไปบางส่วนใน National Geographic Society เมื่อ 2 ปีก่อนไปแล้ว แต่เนื้อหาก็ไม่กระโดดอย่างแปลกแยกออกไปจากบทอื่นๆ

คนที่ชื่นชอบข้อเขียนของ ธีรภาพ โลหิตกุล จะต้องอ่านหนังสือที่ล้ำลึกกว่าของเธอรูส์เล่มนี้ให้ได้ ไม่งั้นน่าเสียดายยิ่งนัก

เนื้อหาในหนังสือนี้

1) Lighting Out พูดถึงแรงจูงใจหลากประการที่ชักชวนให้เริ่มการเดินทาง

2) The Mother of the World การเริ่มต้นเดินทางจากอียิปต์เข้าซูดาน ในสถานการณ์ที่แรงต่อต้านอเมริกันในแอฟริกาเหนือเข้มข้น

3) Up and Down the Nile การเดินทางผ่านเส้นทางประวัติศาสตร์นับแต่ไคโร อัสวาน จนถึง ทีบส์ พร้อมกับความหมายที่เปลี่ยนไปของผู้คน

4) The Dervishes of Omdurman การเดินทางเสมือนย้อนยุคเมื่ออยู่ในซูดาน เพราะสภาพของเมืองและจิตสำนึกของคนที่ถอยหลังไปหลายร้อยปี ยังคงดำรงอยู่หนาแน่น

5) The Osama Road to Nubia การพบปะผู้คนในแหล่งซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของโอซามา บิน ลาดิน ซึ่งผู้คนคุ้นเคยและนับถือ พร้อมกับพูดถึงความผิดพลาดของอเมริกัน

6) The Djibouti Line to Harar การเดินทางเข้าสู่ดินแดนแห่งซากของตำนานพระนางชีบาซึ่งปัจจุบันเหลือแต่ความยากไร้ในเอธิโอเปีย

7) The Longest Raod in Africa เส้นทางที่ไม่ยาว แต่แสนยากลำบากเพราะถนนขาดช่วง ต้องใช้การเดินทางหลายรูปแบบผ่าน 3 ประเทศจากเอธิโอเปีย ข้ามโซมาเลยไปยังเคนยา

8) Figawi Safari on the Bandit Road ชีวิตชายขอบของผู้คนที่อยู่บนเส้นแบ่งของธรรมชาติและอารยธรรมที่มากับธุรกิจท่องเที่ยวในเคนยา และการแพร่กระจายของเชื้อเอดส์อย่างรวดเร็ว

9) Rift Valley Days แสงสีที่เปลี่ยนไปของไนโรบี มาสู่เส้นทางไปชนบทอีกครั้งไปยังอูกานดา

10) Old Friends in Bat Valley ชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนในอูกานดายุคหลังอีดี้ อามิน ซึ่งขัดกับภาพลักษณ์ผ่านสื่อตะวันตก

11) The MV Umoja Across Lake Victoria การล่องเรือข้ามทะเลสาบวิกตอเรีย พร้อมด้วยวัฒนธรรมเปรียบเทียบระหว่างความเจริญที่เต็มไปด้วยคอร์รัปชั่นของเคนยา กับ ธรรมชาติดิบของอูกานดา

12) The Bush Train to Dar es Salaam เส้นทางรถผ่านจากชนบทกลับสู่เมืองชายทะเลในแทนซาเนีย

13) The Kirimanjaro Express to Mbeya ขึ้นสู่รถไฟอีกครั้งเข้าสู่แผ่นดินตอนในมายังชายแดนเพื่อต่อไปยังแซมเบีย ดินแดนที่ล้าหลังสุดในแอฟริกา

14) Through the Outposts of the Plateau จากแทนซาเนียที่เป็นทางผ่านเข้าสู่มาลาวี ประเทศที่สวยงามเคียงข้างทะเลสาบภายในหลายแห่งตามแนวชายแดนหลายประเทศ

15) The Back Road to Soche Hill School ชีวิตคนแอฟริกันภายใต้กำมือทางธุรกิจของคนอินเดียที่มีอิทธิพลในมาลาวี

16) River Safari to the Coast การเดินทางล่องแม่น้ำซามเบซี ผ่าน 3 ประเทศที่มีชนเผ่าหลากหลายวัฒนธรรมอาศัยอยู่

17) Invading Drummond's Farm การเดินทางเข้าสู่ซิมบับเวยุคล่มสลายทางเศรษฐกิจภายใต้การนำของมูกาเบ้ ที่ทำให้ภาพของอดีตอาณานิคมที่รุ่งเรืองของเซซีล โรดส์เปลี่ยนไปอย่างมาก

18) The Bush Border Bus to South Africa การเร่งรีบออกจากซิมบับเวเพื่อหลบหนีสภาพเลวร้ายของสงครามกลางเมืองเข้าสู่แอฟริกาใต้

19) The Hominids of Johannesburg เมืองหลวงที่ทิ้งตำนานของการเหยียดผิวมาสู่ความวุ่นวายสับสนของการแก่งแย่งผลประโยชน์

20) The Wild Things at Mala Mala ชีวิตที่ไม่สงบและสวยงามเหมือนนวนิยายในวนอุทยานแห่งแอฟริกาใต้

21) Faith, Hope and Charity on the Limpopo Line ข้ามพรมแดนกลับไปสู่มาปูโต้ เมืองที่มั่งคั่งและสงบเกินคาดหมายของโมซัมบิก

22) The Trans-Karoo Express to Cape Town กลับสู่แสงสีแห่งอารยธรรมตะวันตกอีกครั้งบนเส้นทางรถไฟที่ราบเรียบ

22) Blue Train Blues จบสิ้นเส้นทางด้วยรถไฟสายที่ "หรูหราที่สุดในโลก" จากเคป ทาวน์ ถึงเปโตรเรีย พร้อมอาการป่วยเล็กน้อย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us