Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547
ป้ายรถเมล์ ฉลุลายด้วยแสงเลเซอร์             
 





ถ้าต้องยืนรอรถโดยสารประจำทางที่ป้ายรถเมล์ฉลุลายอ่อนช้อยอย่างที่เห็นในภาพ ความร้อนรุ่มใจในกรณีที่รถทิ้งช่วงนานก็คงทุเลาเบาบางลงไปได้บ้าง ที่สำคัญป้ายรถเมล์นี้ไม่ได้สร้างขึ้นสำหรับโชว์ แต่ใช้งานกันจริงๆ ที่เมือง Landshut ประเทศเยอรมนีโน่น

นิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนมีนาคม 2004 เล่าว่า เจ้าของผลงานออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมอันงดงามนี้คือ Hild und K แห่ง Munich เป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี 1992 โดย Andreas Hild และ Tillmann Kaltwasser จึงตั้งชื่อกิจการว่า Hild und Kaltwasser แต่เปลี่ยนชื่อเป็น Hild und K ภายหลังการเสียชีวิตของ Kaltwasser ในปี 1998

Hild พูดถึงผลงานด้านสถาปัตยกรรมของบริษัทที่เขาก่อตั้งขึ้นว่า ดูจะไม่เหมาะสมเอาเสียเลย ถ้าใช้คำว่า "สไตล์" เพราะมันสูงค่าและลึกซึ้งกว่าคำๆ นี้มาก ตัวอย่างเช่น โครงการสร้างป้ายรถเมล์ที่ Landshut เมื่อปี 1997 ซึ่งใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ฉลุลายแผ่นเหล็กเป็นลวดลายแบบ baroque แลดูอ่อนช้อยและโปร่งสบายตา "มันเรียบง่ายก็จริง แต่สะท้อนถึงการใช้สติปัญญาอย่างแท้จริง เพราะเราต้องการฉลุลายแผ่นเหล็กหนาให้ได้ คิดไปคิดมาก็มีเพียงแสงเลเซอร์ที่มีคุณสมบัติตัดทะลุทะลวงวัสดุทุกอย่างเท่านั้นที่ทำได้ จากนั้นเราก็เริ่มคิดถึงเรื่องของการตกแต่งเพื่อความสวยงาม โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในยุคศตวรรษที่ 21 อย่างนี้ เราสามารถทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ จึงให้เรื่องของการตกแต่งเพื่อความสวยงามเข้ามารองรับเทคโนโลยีแสงเลเซอร์อย่างที่เห็นนี่แหละครับ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us