Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547
เสน่ห์บ้านไทยในร้าน "สตาร์บัคส์"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
www resources

โฮมเพจ สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ไทยแลนด์)

   
search resources

Starbucks Corporation
สวัสดีกรุ๊ป
จอห์น ศรีประดู่




สี่งที่จอห์น ศรีประดู่ ต้องทำก็คือภาพลักษณ์ของร้านกาแฟสตาร์บัคส์ในบ้านเก่าอายุเกือบ 100 ปี บนถนนข้าวสาร ต้องสอดประสานกลมกลืนไปกับอารมณ์และบรรยากาศความเป็นไทย

การออกแบบสาขาที่ 44 บนถนนข้าวสาร จึงค่อนข้างท้าทาย ต่างกับสาขาอื่นๆ ทั่วโลก จอห์นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าคำถามแรกของผู้บริหารสตาร์บัคส์ ซึ่งบินมาจากสำนักงาน ใหญ่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา คือที่นี่มีอะไรที่เป็นสตาร์บัคส์บ้าง เพราะเขามีความรู้สึกว่าความเป็นสตาร์บัคส์ของสาขานี้มีน้อยมาก ในขณะเดียวกันก็มั่นใจ ว่าบรรยากาศอย่างนี้ลูกค้าต้องชอบแน่นอน

และที่สำคัญได้สะท้อนไปถึงแนว ทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทเอง ที่ได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมของประเทศที่เข้าไปลงทุน

วันเวลาผ่านเลยไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงบ้านหลังนี้ เดิมทีเมื่อ 97 ปีก่อน เป็นอนุสรณ์ของความรักความผูกพัน ระหว่างพ่อกับลูก คือคุณพ่อของคุณหญิงเชย กฤตราชทรงสวัสดิ์ ซึ่งในขณะนั้นดำรง ตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ได้มอบบ้านหลังนี้ให้แก่คุณหญิงเป็นของขวัญวันแต่งงาน เมื่อปี พ.ศ.2450 และเป็นที่อยู่เรื่อยมาจนกระทั่งคุณหญิงถึงแก่กรรมในเดือนเมษายน พ.ศ.2537 หลังจากนั้นบ้านก็ได้ตกอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของ กฤต ไกรจิตติ ผู้เป็นหลานชาย

เป็นบ้านตึกหลังใหญ่ 2 ชั้น ออกแบบหลักโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนในสไตล์อาร์ต นูโว และอาร์ตเดคโค ผสมผสานกัน ตามความ ต้องการของเจ้าของบ้าน บนเนื้อที่ 1 ไร่ครึ่ง ภายในตัวบ้านมีลวดลาย ปูนปั้น ปรากฏอยู่ตามโค้งประตู ห้องต่างๆ รวมทั้งงานศิลปะของมร.คอร์ราโด เฟโรจี หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งวาดไว้ที่ห้องอียิปต์ รวมทั้งการเขียนลายดอกไม้บนฝ้าเพดาน ฝีมือของคุณหญิงเอง

บริษัทสวัสดีกรุ๊ปได้เช่าบ้านหลังนี้ และที่ดิน พร้อมตึกแถวด้านหน้ามาพัฒนา โดยสตาร์บัคส์ได้เช่าช่วงต่อในส่วนของบ้านเฉพาะชั้นล่างและลานบ้านมาทำเป็นร้านกาแฟ ส่วนชั้นบน สวัสดีกรุ๊ปจะทำเป็นอาร์ตแกลเลอรี่และมิวเซียม

ส่วนชั้นล่างในร้านกาแฟนั้น แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนคือ เคาน์เตอร์บาร์ ห้องเมมฟิส (ห้องนั่งเล่น) ห้องวิกตอเรียน (ห้องรับแขก) และบริเวณชานบ้านด้านนอก

การตกแต่งบ้านเก่าเพื่ออยู่อาศัยไม่ใช่เรื่องใหม่ของจอห์น แต่เป็นครั้งแรกที่เขาต้องทำบ้านเก่าอายุเกือบ 100 ปีนี้ให้เป็นร้านกาแฟ

"โจทย์สำคัญของงานชิ้นนี้ก็คือ 1. ผมต้องดึงสภาพเดิมกลับมา 2. ต้องเอาความเป็นสตาร์บัคส์เข้ามาด้วย ซึ่งบ้านหลังนี้กับสตาร์บัคส์ มันไม่ใช่เลย สตาร์บัคส์เคยทำในบ้านเก่าสาขาที่เซี่ยงไฮ้ โดยยกบาร์ของร้านกาแฟ เข้าไปวาง ข้างนอกเป็นสไตล์จีน แต่ข้างในเป็นสตาร์บัคส์ ซึ่งเป็นอะไรที่ขัดแย้งกันมาก เราไม่อยากได้ภาพนั้น ทำอย่างไรจะคงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยไว้ให้มากที่สุด แต่ก็มีฟังก์ชัน ของสตาร์บัคส์อยู่ด้วย"

โครงสร้างหลักของบ้านยังคงแข็งแรง บางส่วนที่ทรุดก็จัดการเสริมใหม่ พื้นไม้กระดานบนชั้น 2 ซึ่งเก่ามากแล้วถูกเปลี่ยนใหม่ ส่วนพื้นไม้ปาร์เก้ชั้นล่างเปลี่ยนเป็นกระเบื้องหินอ่อนขัด "เจ้าของบ้านห้ามเจาะห้ามทุบ ดังนั้นในเรื่องระบบไฟทำยากมาก เพราะรื้อสายไฟใหม่ลำบาก เราต้องใช้เวลาในเรื่องนี้ประมาณ 2 เดือน ไฟที่เดินต้องใช้ลวดสอดขึ้นไปเรื่อยๆ มันไปโผล่ตรงไหน ก็พยายามหาไปแล้วถึงจะดึงลากสายไป บางจุดจำเป็นต้องขุดเจาะก็เอาแสงเลเซอร์มาสแกนก่อนว่า ข้างใต้มีอะไรหรือเปล่า"

โคมไฟและของตกแต่งบ้าน ส่วนใหญ่เป็นของเก่าที่หาซื้อมาใหม่ โลโกที่ทำด้วยวัสดุสีทองแดง ถูกนำมาใช้เพราะเป็นสีที่ดูคลาสสิกให้ความกลมกลืนกับตัวบ้านมากกว่าโลโกที่อยู่ในหลอดไฟสี่เหลี่ยมสีขาว เช่นเดียวกับส่วนของเคาน์เตอร์ แม้มีรูปทรงเดียวกับสาขาอื่นๆ แต่ด้านหน้าตกแต่งด้วยไม้ เพื่อความกลมกลืนกับตัวบ้าน

กาแฟต้องดื่มคู่กับบรรยากาศ บรรยากาศต้องไปกันได้กับวุฒิภาวะบนถนนข้าวสาร ซึ่งเป็นแหล่งของวัยรุ่นคนหนุ่มสาว จะตกแต่งโดยใช้โทนสีขรึม และเครื่องเรือนที่เป็นไทยมากไปก็ไม่ได้ เฟอร์นิเจอร์หนานุ่มด้วยผ้าไหมสีสดใส อบอุ่น น่านั่ง จึงถูกนำมาใช้

ส่วนสียังคงเดิมของบ้านคือเขียว ขาว แต่เพิ่มเติมในส่วนของสีเหลืองขาว ซึ่งเป็นสี โทนเดียวกับตึกกระทรวงกลาโหม และตึกอนุรักษ์บนถนนราชดำเนิน

4 เดือนผ่านไป สตาร์บัคส์บนถนนข้าวสารได้อวดโฉมใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ว่าไม่ได้เป็นแค่ร้านกาแฟอย่างเดียว แต่เป็นที่นั่งพักผ่อนเพื่อให้ผู้คนจากทั่วโลกได้ซึมซับ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยเมื่อสมัย 100 ปีก่อนด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us