Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547
The Innovative Asset Management             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

ยุทธศาสตร์ผสมผสาน

   
www resources

โฮมเพจ บลจ. เอ็มเอฟซี
โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
เอ็มเอฟซี, บลจ.
บุญชัย เกียรติธนาวิทย์
Funds




แม้เอ็มเอฟซีจะเป็น บลจ.ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่เป็นจุดที่ได้เปรียบในภาวะที่การแข่งขันกำลังทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างในปัจจุบัน ในวันนี้ เอ็มเอฟซีจึงจำเป็นต้องหาจุดเด่นที่สามารถใช้เป็นจุดขายของตัวเอง

ในปีนี้ถือเป็นปีที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี (MFC) ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่บริษัทแม่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต้องไปควบรวมกับธนาคารทหารไทย และดีบีเอสไทยทนุ แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่มีผลต่อการดำเนิน งานของ MFC เท่ากับการที่ธนาคารนครหลวงไทย ประกาศตั้งบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน (บลจ.) เป็นของตัวเอง

เพราะที่ผ่านมา MFC ได้เป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับธนาคารนครหลวงไทย โดยอาศัยเครือข่ายสาขาของธนาคารนครหลวงไทยที่มีอยู่เกือบ 400 แห่ง ทั่วประเทศ เป็นช่องทางขายหน่วยลงทุนของ MFC

การจัดตั้ง บลจ.ขึ้นมาเองของธนาคารนครหลวงไทย ทำให้ช่องทางขายของ MFC แคบลงมาอย่างเห็นได้ชัด

"เรายอมรับว่าการเป็น บลจ.ที่ไม่มีธนาคารเป็นฐาน ย่อมเหนื่อยกว่า ในอดีต บลจ.ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ คือ บลจ.ที่มีแบงก์ แต่ก็ไม่ 100% มี บลจ. หลายแห่งที่ไม่มีแบงก์ แต่สามารถพัฒนาทีมขายได้เอง ก็ยังใช้ได้ ซึ่งเราก็พยายามจะไปทั้ง 2 ทาง" บุญชัย เกียรติธนาวิทย์ รองกรรมการจัดการ MFC ยอมรับกับ "ผู้จัดการ"

แนวทางของ MFC นอกจากการพัฒนาทีมขายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังต้องพัฒนาช่องทางขาย โดยอาศัย เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการเจรจาหาพันธมิตรใหม่ โดยกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับไทยธนาคาร เพื่อใช้สาขาของไทยธนาคาร เป็นช่องทางขายหน่วยลงทุนของ MFC แทนที่สาขาของธนาคารนครหลวงไทย

แต่การที่จำนวนสาขาของไทยธนาคาร ซึ่งมีอยู่เพียง 100 กว่าแห่ง น้อยกว่าจำนวนสาขาของธนาคารนครหลวงไทย ถึง 3 เท่า ย่อมทำให้การกระจายสินค้า ทำได้ไม่คล่องตัวเหมือนเช่นในอดีต

สิ่งหนึ่งที่ MFC จำเป็นต้องทำในขณะนี้คือการวาง Position ของตัวเองในตลาดให้ชัดเจน เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการ

Position ดังกล่าว สำหรับ MFC ได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจนแล้ว คือการเป็น Innovative Asset Management โดยการนำนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ หน่วยลงทุน และการบริหารกองทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงที่สุดต่อผู้ถือหน่วย

"ตลาดของกองทุนรวมต่อไป สินค้า ที่จะออกมา อย่างน้อยมันจะต้องเป็นสินค้า ที่มีจุดเด่น และมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับสินค้าของคนอื่น เพราะฉะนั้น MFC ก็พยายามจะไปเป้าหมายนั้น" บุญชัยกล่าว พร้อมเน้นย้ำว่า

"จุดขายของเราคือ พยายามจะสร้างสรรค์สินค้ารูปแบบใหม่ที่ในตลาดยังไม่มี แล้วเราจะทำเป็นเจ้าแรก แต่ว่าเราก็ยังจะมีสินค้าทั่วไปตามแต่ที่ตลาดอยากจะได้ตามปกติ"

MFC เริ่มต้นสร้างสรรค์รูปแบบสินค้าใหม่ๆ ออกมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว โดยการออก MFC Spot Fund ซึ่งเป็นกองทุนปิดอายุ 3 ปี ที่กำหนดเป้าหมายไว้ อย่างชัดเจนว่าหากกองทุนนี้สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยได้ถึง 25% จะปิดโครงการทันที

กองทุนนี้ได้ออกมาในจังหวะที่บรรยากาศการซื้อขายหุ้นมีความคึกคัก ดัชนีราคาหุ้นกำลังปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 500 จุด ไปถึงระดับ 800 จุด ดังนั้นจึงได้รับความสนใจจากนักลงทุน เพราะสามารถ สร้างผลตอบแทน 25% ได้ภายในเวลาไม่กี่เดือนและ MFC สามารถออก MFC Spot Fund มาได้ถึง 3 กองทุนด้วยกัน

นอกจาก MFC Spot Fund ซึ่งถือเป็นกองทุนรวมรูปแบบใหม่ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีที่แล้ว ปีเดียวกัน MFC ก็ได้เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารกองทุน โดยการออกกองทุนเปิดประเภทคุ้มครองเงินต้นที่มีชื่อว่า "เอ็มเอฟซีสินทรัพย์มั่นคง" กองทุนนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการใช้ความรู้ความสามารถของผู้จัดการกองทุน กับเทคโนโลยี

โดยผู้จัดการกองทุนจะเป็นผู้คัดเลือกหุ้นที่จะซื้อเข้ามาไว้ในกองทุน ส่วนการ บริหารกองทุนนั้น MFC ได้เขียนโปรแกรม ที่กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ชัดเจนว่าหากความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับราคาหุ้นในกองทุน แต่ละวัน มีผลทำให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย (NAV) ปรับตัวลงมาจนใกล้จะถึง ราคาพาร์ 10 บาท เมื่อไร ผู้จัดการกองทุน ควรจะต้องตัดสินใจอะไรบางอย่าง เพื่อให้ NAV ไม่ลดน้อยลงไปต่ำกว่า 10 บาท

ซึ่งปรากฏว่าการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีและความรู้ความสามารถ ของผู้จัดการกองทุน มีผลให้ NAV ของ กองทุนนี้ไม่เคยตกลงไปต่ำกว่า 10 บาท แม้ภาวะการซื้อขายหุ้นจะเริ่มผันผวนขึ้นมาอย่างมาก หลังจากย่างเข้าปี 2547

"ตอนดัชนีอยู่ที่ 800 จุด NAV ของ กองทุนนี้อยู่ที่ 10.50 บาท แต่หลังจากดัชนี ตกลงมาอยู่ที่ 650 จุด NAV ของกองทุนลดลงมาเหลือ 10.08 บาท ถือว่าเป็นอัตรา ส่วนที่น้อยกว่าการลดลงของราคาหุ้นโดยรวมของทั้งตลาด"

ครึ่งแรกของปี 2547 MFC มีแผนจะออกกองทุนใหม่อีก 4 กองทุน โดยยังคงเน้นย้ำจุดขายเดิม คือการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ และการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการบริหาร

ทั้ง 4 กองทุนดังกล่าวประกอบด้วย MFC Spot Fund 4 ที่เปิดขายหน่วยลงทุน ไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเมื่อเดือนพฤษภาคม MFC ได้เปิดขายกองทุนเปิด MFC Set 50 มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท

และภายในเดือนมิถุนายน MFC ยังจะเปิดขายกองทุน "เอ็มเอฟซี ตราสารหนี้คืนกำไร 1" มูลค่า 1,000 ล้านบาท เป็น กองทุนปิด อายุ 3 ปี ที่จะออกเป็นซีรี่ส์เช่นเดียวกับ MFC Spot Fund กองทุนดังกล่าวเน้นลงทุนในตราสารหนี้ โดยมีจุดขายคือการจ่ายผลตอบแทน (auto redemption) คืนทุกเดือน ซึ่งแตกต่างจากกองทุนประเภทเดียวกันของ บลจ.อื่น ที่ส่วนใหญ่จ่ายผลตอบแทนคืนทุก 3 หรือ 6 เดือน

นอกจากนี้ยังจะมีการจัดตั้งกองทุน MFC Global Bond มูลค่า 3,500 ล้านบาท เพื่อนำเงินออกไปลงทุน ซื้อตราสารหนี้ในต่างประเทศ โดยร่วมมือกับ Nikko Asset Management ของญี่ปุ่นมาเป็นที่ปรึกษา

MFC กำหนดไว้ว่าในแต่ละปีผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุน MFC Global Bond จะต้องได้รับผลตอบแทน 2.25% บวกกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีของธนาคารพาณิชย์ไทย

ทั้ง MFC Set 50 และเอ็มเอฟซี ตราสารหนี้คืนกำไร 1 จะมีการผสมผสานโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหาร นอกเหนือจากความรู้ความสามารถของ ผู้จัดการกองทุน เช่นเดียวกับกองทุนเอ็มเอฟซีสินทรัพย์มั่นคง ที่เปิดขายเมื่อปีที่แล้ว

ส่วน MFC Global Bond จะอาศัยเทคโนโลยีของ Nikko Asset Management ที่ได้รับการพัฒนามาแล้วหลายปี เข้ามาช่วยในการเลือกซื้อพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในแต่ละช่วง

Positioning และจุดขายของ MFC กำลังมีความชัดเจนเพิ่มขึ้น

"เราไม่ได้หวังว่าเราจะเป็น Asset Management ที่จะไปแซงหน้าพวกบลจ.ใหญ่ๆ ที่มีแบงก์เป็นฐานได้ แต่ว่า เราก็ต้องไม่น้อยหน้ากว่า บลจ.เหล่านั้น" บุญชัยสรุป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us