Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
15 ปี Theatre             
 

   
related stories

เสื้อผ้าดีไซน์ไทยรายย่อย เดินด้วยตัวเองมาตลอด

   
search resources

Theatre
ศิริชัย ทหรานนท์




เมื่อ 15 ปีที่แล้ว "Theatre" ถือเป็น น้องใหม่ในวงการแฟชั่นดีไซเนอร์ของเมืองไทย จากความสำเร็จในการเปิดตัวร้านแรก ณ ชาญอิสสระทาวเวอร์ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสถานที่เฟื่องมากในหมู่สังคมยุคใหม่ จากนั้น Theatre ก็ขยายสาขาไปตามแหล่งชอปปิ้งเซ็น- เตอร์ศูนย์รวมวัยรุ่นแห่งอื่นอีก จนปัจจุบันมีทั้งสิ้น 4 สาขา คือ เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์, สยามเซ็นเตอร์, เซ็นทรัล ลาดพร้าว และเซ็นทรัล บางนา

ศิริชัยเล่าว่า Theatre เกิดจากการที่เขามีโอกาสได้เข้าไปคลุกคลีอยู่ในวงการแฟชั่นแถวหน้าของเมืองไทย ตั้งแต่สมัยยังเรียนอยู่ที่เพาะช่าง เขาได้ติดตามเพื่อนเข้าไปช่วยงานสมชาย แก้วทอง เจ้าของแบรนด์ "ไข่บูติก" ที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น โดยเขาทำหน้าที่เป็นคนทำเครื่องประดับที่ใช้ในการเดินแฟชั่นของไข่บูติก ซึ่งเขาคิดว่า เป็นความโชคดี ของเขาที่ได้เข้ามาในวงการนี้ เพราะทำ ให้เขารู้จักกับผู้คนมากมาย ทั้งดีไซเนอร์ นางแบบ ช่างแต่งหน้า ช่างทำผม จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ทำให้เกิด "Theatre" ขึ้นมา แต่ในวันนั้นเขาไม่เคยคิดว่าจะต้องอยู่ในวงการนี้มาจวบจนทุกวันนี้

ระหว่างที่เขาช่วยงานไข่บูติกอยู่ได้ประมาณ 2-3 ปี เขาก็เรียนจบ และว่างงานอยู่ประมาณ 8 เดือน ดวงตา นันทขว้าง เจ้าของร้านเสื้อผ้า "โซดา" สาขาแรกที่สยามเซ็นเตอร์ ได้รับเขาเข้าทำงาน โดยให้ดูแลในส่วนของหน้าร้านทั้งหมด ขณะเดียวกันเขาก็รับจ้างทำเครื่องประดับฝากขายควบคู่ไปด้วย

หลังจากทำงานเก็บหอมรอมริบได้เงินก้อนหนึ่ง เขาก็เริ่มคิดอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง และธุรกิจที่เขาเลือกที่จะทำกลับเป็น "เสื้อผ้า" ไม่ใช่ "เครื่องประดับ" ที่คนในวงการแฟชั่นสมัยนั้นรู้จักฝีมือของเขาดี

"ผมคิดว่า เวลานั้นเป็นช่วงที่เหมาะสมที่จะทำเสื้อผ้า เพราะยังไม่มีใครลุกขึ้นมาเปิดตัวแบรนด์ใหม่ๆ เลย และประกอบกับผมรู้จักคนในแวดวงนี้ ที่พอจะให้ความสนับสนุนกันได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี" ศิริชัยกล่าวถึงที่มาของ "Theatre" ห้องเสื้อน้องใหม่เมื่อ 15 ปีที่แล้ว สำหรับชื่อของ "Theatre" นั้น เขาบอกเหตุผลที่เลือกชื่อนี้ เนื่องจากต้องการให้เป็นชื่อที่ติดปากได้ง่าย และที่สำคัญคือ ความหมายของคำนี้ที่หมาย ถึง "โรงละครหนึ่งที่มีเรื่องราวหลากหลายเกิดขึ้น" ซึ่งเขาคิดว่าเป็นความหมายที่เหมาะกับแนวเสื้อผ้าของเขา ที่เน้นในแนวโรแมนติก แฟนตาซี หวือหวา แหวกแนว ซึ่งเป็นดีไซน์จากฝีมือ เขาเองล้วนๆ "ในช่วงนั้นเสื้อจะมาแรงมาก แต่ในยุคใหม่จะไม่ค่อยมีบรรยา- กาศเหล่านั้นแล้ว" ศิริชัยเล่า พร้อมทั้งกล่าวถึงคอนเซ็ปต์ในการทำเสื้อในยุคใหม่ว่าจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เสื้อผ้าทำงาน เสื้อผ้าลำลอง และที่จะขาด ไม่ได้คือ เสื้อผ้าสำหรับงานกลางคืน ที่อยู่เคียงคู่ Theatre มาตลอด 15 ปี

"ตอนที่เราเริ่มต้นร้าน ลูกค้ายังอยู่ในวัยเดียวกับเราคือประมาณ 19-20 ปี หลังจากนั้นลูกค้ากลุ่มเดิมก็เติบโตขึ้น เข้าสู่วัยทำงาน เราก็ต้องทำเสื้อผ้าทำงาน ให้เขาใส่ ขณะเดียวกันก็มีลูกค้าใหม่ๆ ที่ เป็นวัยรุ่นเข้ามาด้วย เราก็ต้องมีเสื้อผ้าสบายๆ ที่ให้เขาเลือกใส่ได้ง่ายในวันธรรมดาด้วย" ศิริชัยกล่าว

ตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ศิริ-ชัยเล่าว่าช่วงที่เหนื่อยที่สุดคือ ช่วงที่เศรษฐกิจบูมมากๆ เมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้าสมัยนายกชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ทำให้กระแสการเงินสะพัดมาก สินค้าแบรนด์ดังจากเมืองนอกต่างไหลเข้ามาเติบโตในเมืองไทย และคนที่แย่คือ ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ไทย ที่ถูกแย่งตลาดไปเกือบหมด

"ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เราทำงานยากมาก เนื่องจากตอนที่เราทำในช่วงแรก ยังมีคู่แข่งไม่มาก แต่พอมีแบรนด์นอกเข้ามา ทุกอย่างเปลี่ยนไปมาก โจทย์เรายากขึ้น เราต้องตั้งใจทำงานมากขึ้น เพราะเจอคู่แข่งที่ชัดเจนมากทั้งในแง่ของ คุณภาพ ดีไซน์ และภาพพจน์ของแบรนด์ ทำให้สินค้าเรามีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เราจึงต้องลุกขึ้นมาปรับปรุงการทำงานขนานใหญ่ตั้งแต่การดีไซน์ ไปจนถึงการทำงานที่เป็นระบบ" ศิริชัยเล่า และสิ่งสำคัญที่ทำให้ Theatre อยู่มาได้จนทุกวันนี้คือ "ราคา" ที่สมกับ "คุณภาพ" นั่นเอง

"ในวันนั้นเรายึดคอนเซ็ปต์ว่า เราจะทำเสื้อผ้าในแนวที่คนไทยบริโภค ลูกค้าเราอาจจะเปลี่ยนกลุ่มไป คนที่ยังมีกำลังซื้อก็อาจจะไปสนใจแบรนด์นอกบ้าง แต่ขณะเดียวกันก็มีลูกค้าทั่วๆ ไปที่คงจ่ายได้ไม่มากนัก เราจึงพยายามเสนอสินค้าของเราให้กับลูกค้าในกลุ่มหลังนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในช่วงนั้นว่า เราเป็นแบรนด์ไทยที่มีคุณภาพดี ราคาสมเหตุสมผล ดีไซน์ทันสมัย และในที่สุด ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป คือ แบรนด์ไทยต่างหากที่สามารถอยู่ต่อไปได้" ศิริชัยกล่าวอย่างภูมิใจ "ผมไม่เคยท้อใจ เพราะผมคิดว่าทุกอย่างต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เราจะสามารถผ่านวิกฤติต่างๆ ไปได้หรือไม่"

และในวันนี้เขาต้องเผชิญกับวิกฤติอีกครั้ง แต่วิกฤติครั้งนี้เป็นวิกฤติที่เกิดจากการสู้รบภายในเอง มิใช่มีคู่แข่งจากต่างประเทศเป็นโจทย์หลักอย่าง ที่ผ่านมา

"วิกฤติการณ์ในครั้งนี้ ยอดขายเราลดลงประมาณ 30% แต่ไม่ถึงขั้นที่เรา ต้องปิดกิจการ เพียงแต่เราต้องพยายาม ประคับประคองธุรกิจของเราให้ผ่านพ้นไปได้ในแต่ละเดือน ด้วยการพยายามลดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด เพื่อคุมต้นทุนไม่ให้มากเกินไป ในขณะที่ราคาเราก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น เรายอมให้กำไรลดลง เพื่อรักษายอดขายให้คงไว้" ศิริชัยกล่าว

วันนี้ Theatre ยังคงเป็นธุรกิจส่วนตัวของศิริชัย 100% โดยไม่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มีพนักงานประมาณ 25 คน มีเขาดูแลในส่วนของงานดีไซน์งานผลิต และมีพี่สาว คือ สุขใจ ทหรานนท์ มาช่วยในเรื่องของการจัดการและการบริหารทั้งหมด

"ผมคิดว่า เป็นอาชีพของผมซึ่ง แต่ละคนทำธุรกิจแต่ละคนจะมีคาแรก เตอร์ของตัวเอง ซึ่งในลักษณะที่ผมทำอยู่ก็เป็นคาแรกเตอร์ของผม ผมมีแนวทางในการดำเนินงานของผมว่า ผมมีกำลังผลิตได้เท่านี้ ผมก็ทำเท่านี้ อาจจะถามผมว่า ไม่คิดจะส่งออกหรือ ผมก็บอกว่า ผมยังไม่พร้อม ณ เวลานี้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามรูปแบบการดำเนินธุรกิจของผม" เป็นมุมมองของชายหนุ่มผู้นี้ต่อการดำเนินธุรกิจของเขา พร้อมทั้งให้เหตุผลของการที่ยังไม่ทำเสื้อผ้าเพื่อการส่งออกด้วยว่า

" ผมคิดว่าเราต้องทำในประเทศให้ดีที่สุดก่อน ผมคิดว่า เราควรจะทำสินค้าเราให้ได้มาตรฐานเดียวกับสิน ค้านำเข้าแบรนด์นอกให้ได้ก่อน ซึ่งผมได้แต่หวังว่าผมจะทำให้ถึงมาตรฐานนั้น เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานานมาก โดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้าที่เป็นเรื่องที่จุกจิกละเอียดลออมาก และผมคิดว่า เป็นเรื่องยากมากที่เราจะไปเปิดร้านในย่านแฟชั่นดังๆ ของโลก แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีคนมาซื้อสินค้าเราและไปวางขายในต่างประเทศร่วมกับแบรนด์ อื่นผมว่าง่ายกว่า"

สำหรับการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อม ศิริชัยกล่าวอย่างจริงจังว่า "ผมไม่เคยหวังว่า ทางการจะมาช่วยอะไรผม เพราะผมยังไม่ประสบปัญหาอะไร เนื่องจากผมไม่ได้ส่งออก ถ้าผมส่งออก ผมอาจจะต้องการความช่วยเหลือ แต่ตอนนี้ผมคิดว่า การที่เราทำด้วยตัวเอง เราจะมีความเป็นอิสระมากกว่า ไม่ต้องรอพึ่งความช่วยเหลือจากภาครัฐซึ่งมีกระบวนการขั้นตอนที่มากมายและล่าช้า ยิ่งกว่านั้นสินค้าของผมไม่ใช่แมสโปรดักส์ที่ผลิตจำนวนมากๆ รัฐบาลเองก็คงไม่สนใจอยู่แล้ว"

แต่สิ่งที่เขาหวังคือ อยากให้โรงงานใหญ่ๆ ที่มีมาตรฐานเปิดโอกาสที่จะผลิตเสื้อผ้าที่มีดีไซน์จำนวนน้อยๆ บ้าง ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เขาก็ไม่ละความพยายามที่จะเข้าไปเจรจากับโรงงานใหญ่ๆ เพื่อผลิตเสื้อผ้าลำลอง เชิ้ต กางเกง หรือแจ๊คเก็ต และเขาก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า วันหนึ่งในอนาคต หากเขาพร้อมที่จะก้าวออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ หรือหากรัฐบาลมีนโยบายที่สนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมดีไซเนอร์ เขาอาจจำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น

ทั้งหมดนี้เป็นภาพสะท้อนเพียงส่วนหนึ่งของผู้ผลิตเสื้อผ้าที่มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมืองไทย ซึ่งพวกเขายังไม่มีพลังมากพอที่จะทำให้ภาครัฐหันมาใส่ใจอย่างจริงจังได้

ข้อสรุปของทั้ง 2 แบรนด์ในวันนี้ มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างที่คล้ายกันอยู่ คือ แตกต่างกันในเรื่องของ นโยบายการทำธุรกิจ ซึ่ง Greyhound เริ่มมองไกลไปยังตลาดในต่างประเทศ ในขณะที่ Theatre ยังคงมุ่งเน้นตลาดในประเทศให้แข็งแกร่งก่อน แต่ทั้ง 2 แบรนด์ มีความต้องการเหมือนกันคือ ต้องการการสนับสนุนอย่างแท้จริง มิใช่เป็นส่วนที่ถูกลืม เหมือนกับธุรกิจรายเล็กๆ ในอีกหลายอุตสาหกรรมเพียงเพราะไม่ได้เป็น Mass Product

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us