Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547
ประวิทย์ มาลีนนท์ Big brother             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

Channel 3 New Episode
34 ปี ช่อง 3
Family business
ประชุม มาลีนนท์ นักลงทุนนอกกรอบช่อง 3

   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

   
search resources

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท.
ประวิทย์ มาลีนนท์
วิชัย มาลีนนท์




ในบรรดาลูกชายคนโตทั้งสามของวิชัย ประวิทย์ มาลีนนท์ นับเป็นผู้ที่บทบาทสูงสุดในฐานะแม่ทัพของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ต่อจากผู้เป็นพ่อ

บุคลิกดูนิ่มนวล ทำให้ประวิทย์แตกต่างไปจากประสารพี่ชาย และประชุมน้องชาย ประเภทขาลุย กล้าได้กล้าเสีย

ประวิทย์เกือบจะรับราชการเป็นตำรวจ ตามความใฝ่ฝันของวิชัย ผู้เป็นพ่อ ที่ต้องการให้ลูกชายคนใดคนหนึ่งรับราชการ ตำรวจ

"พอดี คุณประสาร และคุณประชา เขาสายตาสั้น สมัครเรียนไม่ได้ ก็เหลือผม คนเดียว" ประวิทย์เล่าที่มา

ทั้งประสารและประวิทย์ เรียนอัสสัมชัญ ศรีราชาชั้นเดียวกัน โดยประวิทย์เล่าว่าพี่เหมือนครูที่ทำให้เขาสอบผ่านได้ดีเพราะทุกครั้งก่อนสอบ ประสารจะท่องหนังสือสอบดังๆ ให้ได้ยิน ทำให้คนหัวดีอย่างเขาทำคะแนนได้ดีเพราะมีครูดีนั่นเอง

หลังจบชั้นมัธยมอัสสัมชัญ ศรีราชา ประวิทย์เข้าไปเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 7 จากนั้นก็สู่รั้วโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไม่แน่ว่า หากเขาเลือกชีวิตคงได้เป็นนายพลเหมือนเพื่อนร่วมรุ่น เช่น พลตำรวจเอก ชิตชัย วรรณสถิต เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน ที่ปรึกษา ทร., พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นที่ปรึกษาของกองทัพบก แต่ประวิทย์เลือกที่จะลาออก ด้วยเหตุผลที่ไม่ชอบวิถีชีวิตและงานตำรวจ

คราวนี้เขาบินไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรี วิศวกรรมอุตสาหกรรม หรือ BS Engineering University of Illinois, Chicago, Illinois, สหรัฐอเมริกา ซึ่งประสารและประชาบินไปเรียนอยู่ก่อนแล้ว

"สาเหตุที่ไปเลือกเรียนวิศวะ เพราะผมเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบด้านคณิตศาสตร์ ตอนแรกที่ไปเรียนก็ต่างคนต่างไปอยู่ ตอนหลังก็มารวมแล้วก็แยกกันอีกที" ประวิทย์ย้อนอดีต

แม้ว่ากิจการยี่ปั๊วลอตเตอรี่ และเจ้าแห่งธุรกิจจัดสรรที่ดินรายใหญ่จะสร้างรายได้ให้กับวิชัย จนสามารถส่งเสียลูกทั้ง 3 คนให้เรียนจบเมืองนอก แต่ไม่ได้ให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

"คุณพ่อส่งเงินผ่าน ก.พ. ให้ใช้ 3,840 เหรียญ จำได้แม่นเลยช่วงนั้นก็ต้องทำงานทุกอย่าง ไปล้างจาน เสิร์ฟอาหารก็ต้องทำ"

หลังเรียนจบประวิทย์บินกลับมาเมืองไทยก่อนพี่และน้องชาย ประสารและประชาบินตามมาในภายหลัง โดยเริ่มงานในช่อง 3 ด้วยการเป็นพนักงานฝึกงานในแผนกต่างๆ ก่อนจะเข้าไปเป็นพนักงานประจำ กินเงินเดือนประจำเพียง 2,200 บาท ซึ่งขณะนั้นสปอตค่าโฆษณาตกนาทีละ 1,500 บาท

พื้นความรู้ด้านวิศวกรรมของประวิทย์มีส่วนช่วยมากต่อการเป็นผู้ริเริ่มสร้างระบบงานของช่อง 3 ให้เข้าที่เข้าทาง

"ช่วงที่เริ่มต้นกิจการช่อง 3 ใหม่ๆ ปัญหาเยอะ อย่างเวลาซื้อหนังมา ฝรั่งเขาส่งมาเป็นเทป สมมุติมี 26 ตอน ก็ส่งมา 26 ม้วน พอมาถึงก็เอากองไว้ อาทิตย์นี้คนเข้าเวรจะหยิบม้วนนี้ไปฉาย อาทิตย์หน้าพอมีอีกคนมาเป็นเวร ก็มาหยิบม้วนเดิมไป ออกอากาศซ้ำ" ประวิทย์แก้ปัญหาด้วยการ จัดตารางการฉาย สร้างระบบการเก็บเทป มีหมายเลข label ที่ยังใช้อยู่จนทุกวันนี้

ผลงานที่ประวิทย์ภูมิใจมากๆ เมื่อเอ่ยถึงการจัดผังรายการโทรทัศน์ของช่อง 3 ซึ่งเป็นต้นแบบที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่องใช้ และที่น่าทึ่งคือฝรั่งได้ก๊อบปี้ไอเดียของเขาไปใช้ด้วยเช่นกัน

"เมื่อก่อนใช้กระดาษเป็นแผ่นๆ แยกเป็นแผ่นละวันดูลำบาก ผมเลยคิดทำเป็นแผ่นใหญ่ขึ้นมา ทุกวันนี้ใช้เหมือนกันหมด ไม่ว่าช่องไหน ฝรั่งอย่างทีวีไกด์ก็ยังเอาไปใช้ ผมกล้าพูดได้เลย" ประวิทย์เล่าถึงไอเดียความคิดของการเป็นผู้ริเริ่ม และใช้ระบบเข้าจัดจนกลายเป็นโมเดลที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้

ด้วยความที่มีบุคลิกของนักวาง แผนในลักษณะของเสนาธิการบวกกับความคิดที่เป็นระบบและมีสไตล์ทำงาน แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยดูนิ่งและลึกกว่าพี่ชายและน้องชาย อันเป็นคุณสมบัติที่เหมาะกับการเป็นแม่ทัพในกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ซับซ้อน แต่ต้องการความต่อเนื่องในการมองภาพกว้าง และสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัด

"โอกาสมันเยอะ เวลานั้นผังรายการทั้งผืนเละไปหมด ไม่มีอะไรเป็นจุดเด่น งานก็เลยง่าย ลองผิดลองถูกไปเรื่อย เหมือนกับช่องอื่นเขาทำ"

หลักใหญ่ของการบริหารสไตล์ประวิทย์คือ ระมัดระวังไม่ผลีผลามและถ้อยทีถ้อยอาศัย เขาเชื่อว่า ทุกอย่างสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจกันได้

ทุกวันพุธของสัปดาห์ ประวิทย์จะร่วมรับประทานอาหารกับระดับผู้ช่วยฯ ทั้งลูกหม้อเก่าและมืออาชีพใหม่ที่ blend กันได้โดยมีประวิทย์เป็นตัวเชื่อม หัวข้อสนทนา แลกเปลี่ยนความเห็นและมีไอเดียใหม่ๆ เกิดจากการทานข้าว ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ ทำมาตั้งแต่ยุควิชัยบุกเบิกช่อง 3 แล้ว

ชีวิตส่วนตัวของประวิทย์ ราบเรียบ ไม่หวือหวาเช่นเดียวพี่ชายและน้องชายประวิทย์พบรักกับอรัญญา ภรรยาสมัยที่เรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาด้วยกัน

เมื่อเรียนจบกลับเมืองไทยมาช่วยกิจการช่อง 3 ประวิทย์ได้ชวนอรัญญามาฝึกงาน และทำงานเดียวกัน และต่อมาก็เป็นคู่แต่งงานแรกของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ทุกวันนี้ภรรยาของเขาไม่ได้ทำงานที่ไหน แต่ทำหน้าที่แม่บ้านและมักจะออกงานสังคมเคียงข้างประวิทย์เสมอๆ

"เขาเข้ากับคนได้ง่ายกว่าผม ผมคุยเรื่องงานได้ แต่พอคุยเรื่องอื่นไม่ได้"

ประวิทย์มีลูกชายหญิงรวม 4 คน อรอุมาคนโตชื่อเล่นว่า "ยุ้ย" ลูกสาวคนโตเรียนจบปริญญาตรีด้านบริหารจากสหรัฐอเมริกา เริ่มจากการทำงานในฝ่ายรายการ กินเงินเดือน 10,000 บาท

"ตอนนี้กำลังเรียนรู้และฝึกงานกับอาอัมพร และพ่อก็สอนให้หัดสังเกตว่าเวลาไปต่างจังหวัด ชาวบ้านเขาเปิดทีวีช่องไหนดู เลือกดูรายการอะไร แต่ส่วนตัวเคยคิดว่า ทำไมบางครั้งช่อง 7 หยิบละครบางเรื่องมา จึงมีผู้ชมเยอะมากๆ และส่วนตัวก็คิดอยาก จะลองทำละครดูบ้าง" ยุ้ยเล่าให้ฟัง

ส่วนวรวรรธน์ "อ๋อง" ลูกชายคนรอง เรียนต่ออยู่ศศินทร์ ล่าสุดขออนุญาตพ่อ นำเงินลงขันร่วมกับเพื่อนทำโครงการหมู่บ้านจัดสรร "ชินคาร่า" ที่กล้วยน้ำไท

ลูกสาวคนที่ 3 ชื่อ วัลลิภา กำลังเรียนต่อ "ภาษาจีน" อยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้และเป็นคนที่ชอบทำอาหาร

ส่วนลูกชายคนเล็ก "ชฎิล" เรียนอยู่โรงเรียนนานาชาติ RIS

ในระหว่างนี้ ประวิทย์อยู่ระหว่างการสร้างบ้านขนาด 5 ชั้น หลังแรก และเมื่อบ้านเสร็จ ถือเป็นการแยกครอบครัวมาอยู่กับภรรยาและลูกทั้งสี่เป็นครั้งแรก หลังจากที่อยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับพ่อมาตั้งแต่แต่งงานใหม่ๆ

สมัยที่ลูกสาวและลูกชายเรียนที่สหรัฐอเมริกา ประวิทย์เคยซื้อบ้านอยู่ที่นั่น จนเมื่อลูกเรียนจบกลับมา จึงขายบ้านหลังนั้น ส่วนบ้านอีกหลังเป็นบ้านพักตากอากาศที่พัทยา ซึ่งไม่ได้ไปบ่อยนัก

แม้บุคลิกทั่วไปจะดูอ่อนน้อม แต่ประวิทย์ก็เป็นคนที่มั่นใจในตัวเอง และมีรูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเอง

"คุณวิชัยถือเป็น role model ของคุณประวิทย์หรือไม่?" ผู้จัดการถาม

"ผมคงไม่ก๊อบปี้มาทุกอย่าง ความแตกต่างเยอะ อย่างวิธีเลี้ยงลูกก็ไม่เหมือน กัน" ประวิทย์ตอบ

ด้วยวัย 57 ชีวิตและงานของประวิทย์ เปลี่ยนไปตามภาระหน้าที่รับผิดชอบที่มากขึ้น

"ก่อนหน้าที่ผมจะมาพบพวกคุณ ผมก็เพิ่งกินข้าวและนั่งคุยกับคุณพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ระหว่างนั้นเขาพูดมาคำหนึ่ง ผมก็ถามว่าทำได้ไหม? ช้าไปหรือเปล่า? แพงหรือเปล่า? ถ้าตอบสองข้อนี้ได้ก็มีโอกาสเริ่มต้น" ประวิทย์เล่าถึงวิธีการเติมความคิดให้เป็นธุรกิจ

นี่ถือเป็นภารกิจที่ประวิทย์ ต้องปฏิบัติเป็นประจำเสมอมา เขาจะใช้เวลาในการทานข้าว พุดคุยแลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้ผลิตละครเสมอ

นอกจากนี้งานประจำที่ประวิทย์ต้องเดินทางไปทุกปี นับตั้งแต่บริษัทบีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เปลี่ยนเป็นงาน investor conference ซึ่งจัดที่ฮ่องกง นิวยอร์ก และลอนดอน เป็นการประชุมของนักลงทุนที่สนใจ ที่จัดปีละ 3 หน เป็นภารกิจใหม่สำหรับการดูแลส่วนกองทุนผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ถือไม่ต่ำกว่า 30% เป็นอันดับสองรองจากตระกูลมาลีนนท์ที่ถือ 57% ที่ประวิทย์ต้องเดินทางไปกับฉัตรชัย เทียมทอง เป็นประจำทุกปี

ด้วยวิถีชีวิตประจำวัน หากไม่มีนัดหมายที่ทำงาน ประวิทย์จะเข้าทำงานในช่วงสาย เพราะกว่าจะเข้านอนตี 2 เนื่องจากเขาจะใช้เวลาช่วงหัวค่ำจนถึงตี 2 เพื่อติดตามมอนิเตอร์การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจจากทีวีวอลล์ที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ 7 เครื่องในบ้าน

วันนี้ภารกิจบนบ่าของประวิทย์ที่เขาต้องรับผิดชอบทั้งสามส่วน คือ ธุรกิจช่อง 3, ผู้ถือหุ้น BEC และครอบครัวของเขาค่อนข้างลงตัว แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงในอนาคตที่เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐได้เสมอ ที่คนอย่างประวิทย์ไม่เคยประมาท เพราะเขาก็เป็นหนึ่งในจอมยุทธกระบี่ไร้เทียมทานในยุทธจักรวงการโทรทัศน์ไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us