- 4 มีนาคม 2511 - บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และบริษัทไทยโทรทัศน์ลงนามร่วมกิจการส่งโทรทัศน์
ในนามสถานีวิทยุ โทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- 26 มีนาคม 2513 - แพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการ
- 2514 - ทำนิตยสารรายการโทรทัศน์เพื่อแจกจ่ายฟรี
- 2515 - รื้อโครงสร้างรายการ นำรายการภาพยนตร์ชุดจากต่างประเทศมาเป็นหลัก
- 2517 - นำภาพยนตร์จีนชุดจากไต้หวัน "เปาบุ้นจิ้น" ออกอากาศ
- 2518 - ติดต่อสั่งซื้อภาพยนตร์จีนเรื่องยาวจากบริษัทผู้สร้างทั้งในฮ่องกง
และไต้หวัน แทนซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ และเจรจากับผู้สร้างภาพยนตร์ไทยขอนำฟิล์มมาอัดลงเป็นเทปโทรทัศน์ก่อนภาพยนตร์แต่ละเรื่องเข้าฉายในโรงภาพยนตร์
- 2519 - รื้อฟื้นการผลิตรายการละคร โดยเปลี่ยนวิธีทำละครใหม่ บันทึกเทปก่อนออกอากาศ
- นำภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวมาออกอากาศ
- 2520 - คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบบริษัทไทยโทรทัศน์ จัดตั้ง อ.ส.ม.ท.ขึ้นแทน ช่อง 3 ย้ายมาอยู่ในความดูแลของ อ.ส.ม.ท. แทน
- ยื่นขอขยายอายุสัญญาดำเนินการไปอีก 10 ปี
- จัดผังรายการใหม่ แบ่งช่วงเวลาและเนื้อหาหลากหลาย
- ทำนิตยสารรายการโทรทัศน์ภาษาอังกฤษ
- 2521 - ได้รับอนุมัติขยายอายุสัญญาร่วมดำเนินการกับ อ.ส.ม.ท.ไปอีก 10 ปี
- นำรายการ "ข่าวดาวเทียม" ซึ่งเป็นรายงานข่าวที่ถ่ายทอดโดยตรงจากแหล่งข่าวต่างประเทศ
- 2523 - มาตรการประหยัดไฟของรัฐบาล ทำให้ต้องหยุดออกอากาศในช่วง 18.30-20.30 น.
- จัดตั้งสถาบันศิลปะการแสดงขึ้น เพื่อผลิตนักแสดง
- 2524 - รัฐบาลมีมติให้ออกอากาศไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และเสาร์-อาทิตย์ ออกอากาศไม่เกิน 16 ชั่วโมง
- 2525 - กบว.มีมติให้ลดรายการจากต่างประเทศลง มีผลให้สถานีต้องเร่งผลิตรายการในประเทศ มีผลให้เปิดรับนักแสดงในสังกัดและริเริ่มโครงการคัดเลือกผู้เขียนบทประพันธ์และบทโทรทัศน์
- ซื้ออุปกรณ์ห้องส่ง 50 ล้าน ปรับปรุงห้องส่งโทรทัศน์
- 2528 - ครม.มีมติให้ช่อง 3 ร่วมกับ อ.ส.ม.ท.ขยายเครือข่ายโทรทัศน์ในต่างจังหวัด ใช้เงินรายได้ของ อ.ส.ม.ท.เป็นหลักที่เหลือให้กู้
- ได้รับให้เป็นตัวแทนรับลิขสิทธิ์จากบริษัทมิสเวิลด์ ประเทศอังกฤษ จัดประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์
- 2529 - ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่อาคารวานิช
- รัฐบาลอนุมัติให้ออกอากาศในช่วงเวลา 18.30-20.00 น.ได้ แต่ต้องเป็นรายการข่าว และรายการเพื่อการศึกษา เท่านั้น และเลื่อนการเสนอข่าวภาคค่ำของทุกสถานีมาเป็น 19.30 น.
- เป็นครั้งแรกที่ อ.ส.ม.ท.อนุมัติให้ช่อง 3 แยกรายการข่าวไปทำเอง หลังจากทำร่วมกันมากว่า 5 ปี
- 2530 - เซ็นสัญญากับ อ.ส.ม.ท.ร่วมขยายเครือข่ายโทรทัศน์ทั่วประเทศ 22 สถานี ใช้เวลา 2 ปี โดยสถานีได้กู้เงินจากสถาบันการเงิน 4 แห่ง วงเงิน 1,200 ล้านบาท มาใช้ขยาย
- ชาตรี โสภณพนิช รับเป็นประธานกรรมการคนใหม่
- 2532 - ลงนามขยายสัญญาสัมปทานกับ อ.ส.ม.ท.ไปจนถึงปี 2563
- ร่วมกับ อ.ส.ม.ท.จัดตั้งสถานีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก 9 สถานี จาก 22 สถานี มีผลให้สามารถแพร่ภาพครอบคลุมพื้นที่ ร้อยละ 90 ของพื้นที่ประเทศ
- ปรับปรุงเทคนิค ซื้ออุปกรณ์ห้องส่ง อุปกรณ์ผลิตรายการข่าว และเครื่องบันทึกภาพในและนอกสถานที่ ปรับปรุงระบบการออกอากาศ ใช้เงินลงทุน 70 ล้านบาท
- ปรับปรุงสถานีวิทยุ F.M.105.5 เมกะเฮิรตซ์ ออกอากาศ ดำเนินรายการเหมือนกับสถานีวิทยุทั่วไป
- 2533 - แพร่ภาพรายการทไวไลท์เป็นครั้งแรก
- 2534 - เพิ่มรายการกีฬาต่างประเทศ บาสเก็ตบอล เอ็นบีเอ, อเมริกันฟุตบอล และฟุตบอลเยอรมัน บุนเดสลีกา
- เพิ่มเวลาละคร เป็น 2 ช่วง
- ขยายเวลาสัมปทานวิทยุ F.M.105.5 ไปจนถึง 2563
- 2535-2537 - รัฐบาลยกเลิกคำสั่งเกี่ยวกับกำหนดเวลาแพร่ภาพ ส่งผลให้เกิดการตื่นตัว ขยายเวลาออกอากาศ และเพิ่มรายการ ใหม่ๆ ทอล์กโชว์ เกมโชว์
- 2538 - ขยายเวลาออกอากาศละครหลังข่าวเป็นชั่วโมงครึ่ง รวบรวมบริษัทในเครือทำธุรกิจทีวี และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
จัดตั้งกลุ่มบีอีซีเวิลด์
- 2539 - นำบริษัทบีอีซี เวิลด์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
- ริเริ่มจัดกิจกรรม "จิบน้ำชา ยามบ่าย" โปรโมตละคร เพิ่มรายการสีสันบันเทิง
- 2540 - ปรับผังรายการช่วงเช้า นำรายการภาคภาษาอังกฤษ Talk of the town
- ปรับผังรายการช่วงเวลา 22.00 น. เป็นรายการเกมโชว์ วาไรตี้ และทอล์กโชว์
ภายใต้โครงการ MAGIC 3
- ทำเว็บไซต์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรายการของช่อง 3
- ซื้อหุ้นบริษัทซีวีดี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ 20%
- 2541 - ปรับผังรายการใหม่ เน้นกีฬามากขึ้น ซื้อรายการและลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาจากทั่วโลก
และเพิ่มรายการ
- เพิ่มช่วงเวลาละครวันธรรมดาอีกช่วง 18.00-18.30 น.
- ปรับทิศทางเสนอข่าว
- เปิดภาพยนตร์จีนชุด "ซือกง" นำกลยุทธ์การตลาดและประชาสัมพันธ์สร้างความฮือฮา
- 2542 - เพิ่มปริมาณนำเสนอข่าวเช้าและเที่ยง และข่าวสั้น
- ย้ายสำนักงานจากหัวมุมวิทยุมาอยู่อาคารเอ็มโพเรียม ทาวเวอร์
- 2543 - ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด "ฟุตบอลยูโร 2000"
- เปิดตัวรายการเกมเศรษฐี
- จัดตั้งบริษัทไทยทิกเก็ตมาสเตอร์.คอม จำหน่ายตั๋วออนไลน์
- ก่อตั้งบริษัทบีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น ทำธุรกิจอินเทอร์เน็ต
- ก่อตั้งบริษัทบีอีซี มัลติมีเดีย ทำธุรกิจมัลติมีเดีย
- 2545 - ก่อตั้งบริษัทโซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์
- ก่อตั้งบริษัทรวาทุนเวอร์จิ้น บีอีซี เทโร เรดิโอ เซอร์วิสเซส บริหารคลื่นวิทยุ 4 คลื่น
- ก่อตั้งบริษัทโมบิ (ไทย)
- ก่อตั้งบริษัทพีน่า-บีอีซี เทโร ค้าปลีกจำหน่ายสินค้าลิขสิทธิ์ของ warner bros ในไทย
- 2546 - ปรับปรุงผังรายการช่วงเช้า เน้นรายการข่าว โลกยามเช้า และเรื่องเล่าเช้านี้
- ก่อตั้งบริษัทดิจิตอล แฟคเทอรี พัฒนาเนื้อหาผ่านสื่อดิจิตอล
- 2547 - ไตรภพ ลิมปพัทธ์ ผู้ผลิตรายการหลักไปร่วมหุ้นกับไอทีวี ส่งผลให้ช่อง 3 ดึงจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ผลิตรายการแทน
- ปรับผังรายการเพิ่มเวลาละครช่วงเย็นอีก 2 ช่วง และย้ายเวลาข่าวภาคค่ำจาก 19.30-20.00 น. มาออกอากาศ 17.00-18.00 น.