Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547
โทรศัพท์เคลื่อนที่ : เมื่อขั้วอำนาจเปลี่ยน             
 


   
search resources

โนเกีย (ประเทศไทย), บจก.
NTT DoCoMo
Verizon Communications Inc.
Mobile Phone




นาทีนี้ ผู้ผลิตเครื่องกำลังตกเป็นเบี้ยล่างผู้ให้บริการระบบ และยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเครื่องกำลังถูกรายเล็กจากเอเชียท้าชนอย่างไม่เกรงศักดิ์ศรี

ครั้งหนึ่ง ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่าง Nokia และ Motorola เคยครองอำนาจและอิทธิพลทั้งหมดในอุตสาหกรรมนี้ ในยุคที่ผู้บริโภคเคยเจาะจงเรียกหาแต่มือถือมียี่ห้อ

และถึงแม้อำนาจอิทธิพลของผู้ผลิตเครื่องรายใหญ่ทั้งสองจะยังไม่หมดไปในเร็ววันนี้ แต่การเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ใต้จมูกของพวกเขา

Nokia ได้รับสัญญาณเตือนแล้วในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมื่อยอดขายไตรมาส แรกเติบโตต่ำกว่าตลาด และรายได้ที่อาจลดลงมากกว่า 6% ก็เป็นสัญญาณอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่เตือนว่า ยักษ์ใหญ่กำลังเริ่มสูญเสียความได้เปรียบ

ในยุคที่ผู้บริโภคไม่สนใจจะรู้ว่า มือถือ ของตนยี่ห้ออะไร ใครเป็นผู้ผลิต และคงรู้จัก แต่ชื่อบริษัทผู้ให้บริการระบบเท่านั้น ขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการระบบอย่าง Verizon, Sprint และ AT&T Wireless ต่างก็มีบริการร้อยแปดมาเสนอ ตั้งแต่การท่องเว็บจนถึงเกมบนมือถือและการส่งเมลภาพ ซึ่งทำให้พวกเขาต้องการเครื่องที่มีคุณสมบัติรองรับบริการเฉพาะของพวกเขาได้

ผลก็คือ ขณะนี้ผู้ให้บริการระบบกำลังเป็นเบี้ยบนเหนือผู้ผลิตเครื่อง และเป็นผู้กำหนดสเป็กเครื่องทุกอย่างตามต้องการ นับตั้งแต่รูปลักษณ์ไปจนถึงประสิทธิภาพและแม้กระทั่งราคา

อิทธิพลของผู้ให้บริการระบบเริ่มแผ่มายังเอเชียแล้ว เริ่มต้นที่ NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น ตั้งแต่ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งทำให้ในตลาดญี่ปุ่น ชื่อแบรนด์ของผู้ผลิตเครื่องมักถูกตัดย่อจนเหลือเพียงตัวอักษรเดียว หรือไม่ก็ไม่ปรากฏอยู่บนตัวเครื่องเลย นอกจากนี้ DoCoMo ยังชี้นิ้วสั่งได้ด้วยว่า ต้องการเครื่องที่มีคุณสมบัติใดบ้าง

ส่วนในยุโรป แม้ว่าผู้ใช้จะยังคงเรียกหาเครื่อง Nokia อยู่ แต่ผู้ให้บริการระบบก็เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น

และเมื่อจอสีกับการรับส่งข้อมูลที่กำลังฮิตสุดขีดในเอเชีย เริ่มระบาดเข้าไปในสหรัฐฯ แล้วในขณะนี้ ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอิทธิพลของผู้ให้บริการจะเพิ่มพูนมากขึ้นเพียงใด

การเปลี่ยนขั้วอำนาจจากผู้ผลิตไปยังผู้ให้บริการนี้ เป็นข่าวดี ของผู้บริโภค เพราะหมายความว่า มีผู้ผลิตรายใหม่ๆ เกิดขึ้นมาแข่งขันท้าทายยักษ์ใหญ่เจ้าเดิมได้มากขึ้น และผู้บริโภคมีทางเลือก มากขึ้น

โดยนักวิเคราะห์ชี้ว่า ยอดขายที่ลดลงในไตรมาสแรกของ Nokia นั้น Nokia ได้สูญเสีย 2% ของส่วนแบ่งตลาดที่ตนเป็นผู้นำอยู่ ให้แก่ Samsung, LG และคู่แข่งรายเล็กอื่นๆ

การที่ผู้ผลิตเครื่องจากเอเชียยินยอมที่จะโอนอ่อนตามความต้องการของผู้ให้บริการมากกว่า ทำให้ Samsung, LG และ Sanyo ต่างก็มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น เพราะเต็มอกเต็มใจผลิตตัวเครื่องตามที่ผู้ให้บริการกำหนดสเป็กมา

เว็บ LetsTalk ซึ่งเป็นเว็บขายมือถือยอดฮิตรายงานว่า ยอดขายเครื่องของ Samsung, LG และ NEC เพิ่มขึ้นเป็น 43% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากเพียง 11% ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ยอดขายของยักษ์อย่าง Nokia, Motorola และ Sony Ericsson ในช่วงเวลาเดียวกันลดลงเหลือ 44% จาก 60% เมื่อ 1 ปีก่อน

ส่วนแบ่งในตลาดโลกของผู้ผลิตจากเอเชียยังเพิ่มขึ้นจาก 25.4% ในปี 2002 เป็น 28.3% ในปี 2003 ในขณะที่ผู้ผลิตจาก ยุโรปมีส่วนแบ่งตลาดหดตัวลง จาก 52.6% เหลือ 51.4% และ Motorola มีส่วนแบ่งตลาดหดตัวลงจาก 16.9% เหลือ 14.5%

ผู้ให้บริการอย่าง Orange และ Vodafone ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดในยุโรป ยังมุ่งมั่นที่จะลดอิทธิพลของ Nokia และให้โอกาสผู้ผลิตรายอื่นๆ

LG คือตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เพื่อสร้างยอดขายในสหรัฐฯ ผู้ผลิตจากเกาหลีรายนี้ยอมผลิตเครื่องตามสเป็กของ Verizon ทุกอย่าง ตั้งแต่การวางตำแหน่งของปุ่มต่างๆ ไปจนถึงวิธีการส่งเมลภาพ ในขณะที่ Nokia เพิ่งจะเริ่มกลับลำยอมทำตามเพียง บางอย่างที่ Verizon ต้องการ

ตอนที่ Sprint ขอให้ Motorola ออกแบบเครื่องใหม่ให้นั้น Motorola ไม่ยอมปรับตำแหน่ง logo ของตนตามที่ Sprint ต้องการ ทำให้ Sanyo และ Samsung คว้าโอกาสนี้ไปแทน ต่อมา Motorola จึงได้ยอมกลับตัวมาผลิตตามสเป็กเครื่องที่ Sprint กำหนด

ในที่สุดยักษ์ใหญ่ก็เริ่มรู้แล้วว่า อำนาจอิทธิพลเป็นสิ่งที่ไม่จีรัง

แปลและเรียบเรียงจาก
BusinessWeek, April 26, 2004
โดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us