Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2547
Berlin : old capital spirit             
โดย วิลาวรรณ ผคังทิว
 





จากสองเมืองแฝดริมฝั่งแม่น้ำ Spree ที่ถูกรวมเป็นเมืองเอกของอดีตอาณาจักร Prussia กับรากเหง้าวัฒนธรรมยาวนานกว่า 700 ปี ทะยานสู่ยุคเรืองรอง ดิ่งจมในความล่มสลายครั้งแล้วครั้งเล่า ผ่าน 28 ปี ที่ถูกแบ่งแยกด้วยประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ผ่าน 13 ปี ของการหวนคืนมาผนวกเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง วันนี้ชีพจรของเบอร์ลินยังคงแข็งแรง

หากสื่อมวลชนคือภาพสะท้อนค่านิยมของยุคสมัย Good bye, Lenin! ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์ นานาชาติเบอร์ลินเมื่อปีที่แล้ว โดยฝีมือกำกับของ Wolfgang Becker ซึ่งเล่าเรื่องราวครอบครัวเล็กๆ ในเบอร์ลิน ขณะเกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การทลายกำแพง และผนวกเยอรมนีเป็นหนึ่งเดียว อาจนับเป็นเสียงสะท้อนความรู้สึกและมุมมองของชาวเบอร์ลินปัจจุบันที่มีต่ออดีต ได้ส่วนหนึ่ง เมื่อ German Democratic Republic (GDR) ที่เคยยิ่งใหญ่มีอันต้องล่มสลายลง ไร้ประโยชน์ที่จะหวนไห้กับวันคืนที่ขมขื่น ท่ามกลางกระแสทุนนิยมที่ถาโถมรุนแรง แม้ Lenin ก็ไม่อาจต้านทาน Karl Marx และ Engel ต่างนิ่งงัน เป็นได้แค่เพียงประติมากรรมประดับสวน

ล่วงเลยมากว่า 13 ปีนับจากกำแพง ทลาย ภาพเบอร์ลินที่เราเห็นในวันนี้มีแต่กลิ่นอายความคึกคักเริงร่า ในขณะที่เมืองใหญ่อื่นๆ ของเยอรมนี เช่น แฟรงก์เฟิร์ต หรือฮัมบูร์ก สะท้อนความเป็นเมืองเศรษฐกิจ เต็มไปด้วยอุตสาหกรรม การค้า การลงทุน เมืองหลวงอย่างเบอร์ลินกลับอบอวลไปด้วยบรรยากาศทางศิลปะวัฒนธรรม การผสานอารยธรรมเก่า-ใหม่อย่างกลมกลืน และรองรับวิถีชีวิตที่หลากหลายของประชากรกว่า 3.5 ล้านคน

ขณะที่ปีนี้กรุงเทพฯ ฉลองครบรอบ 222 ปี เบอร์ลินนั้นมีหลักฐานเอกสารระบุความเป็นมาเก่าแก่ไม่ต่ำกว่า 774 ปี 1 ชุมชนแรกเริ่มตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ Spree ฟากตะวันออก คำว่า Berlin เป็นภาษา Germanic ที่กร่อนเสียงมาจากรากศัพท์ภาษา Slav แปลว่า sluice gate หรือประตูเลื่อนเพื่อควบคุมการไหลของแม่น้ำหรือคลอง ในขณะที่เมืองแฝดของเบอร์ลินในยุคเดียวกัน ชื่อ Coelln (Kollen) แปลว่า เกาะที่อยู่ในที่ลุ่ม ซึ่งตั้งอยู่อีกฟากของแม่น้ำ

ความเรืองรองของเมืองที่เคยยิ่งใหญ่ ในอดีต ปรากฏหลักฐานให้ประจักษ์ด้วยสถาปัตยกรรมอลังการ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยของ Friedrich II the Great แห่งอาณาจักร Prussia ที่ปกครองในปี ค.ศ. 1740-1786 เปลี่ยนผ่านสู่ยุคตกต่ำ กระทั่งต่อมา Napolean เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 18062 อาจกล่าวได้ว่าเบอร์ลินผ่านสงครามมาอย่างโชกโชน เป็นสิ่งมีชีวิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งประสบการณ์

ตั้งต้นจากริมฝั่งแม่น้ำ Spree คือที่ตั้งของ Berliner Dom ที่ประดับยอดด้วยกางเขนสีทองอร่าม บ่งบอกสถานะความเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของกษัตริย์ในอดีต บริเวณใกล้เคียงคืออาณา เขตของพระราชวัง ซึ่งปัจจุบันอาคารส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อมองไปตลอด ถนน Unter den Linden จะเห็นส่วนของพระราชวังเดิม หรือส่วนอาคารพักอาศัยของเหล่าอัศวิน ถูกปรับใช้เป็นพิพิธภัณฑ์และโอเปร่าเฮาส์ ให้เป็นสถานที่ซึ่งสามัญชนทุกคนสามารถเข้าไปเสพวิถีวัฒนธรรมที่ตนต่างพึงพอใจ และสุดปลายถนนสายราชดำเนินนี้คือ Brandenberger Tor ประตูเมืองเดิม ปัจจุบันย่านนี้คือศูนย์กลาง สถานทูตสำคัญๆ เช่น รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ และอเมริกา รวมไปถึงอาคารที่ทำการรัฐสภา (Reichstag) ซึ่งได้รับการบูรณะและออกแบบก่อสร้างโดมแก้วตรงใจกลางอาคาร และเปิดให้นักท่องเที่ยว เข้าชมตลอดวัน สามารถมองเห็นการทำงานของข้าราชการและนักการเมืองได้โดยทั่ว เหมือนจะสะท้อนแนวคิดการทำงาน ที่โปร่งใสตรวจสอบได้

และบนถนน Unter den Linden นี้ยังมีมหาวิทยาลัยอายุร่วม 200 ปี ตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน มหาวิทยาลัยเก่าแก่ในเยอรมนีนั้นมีหลายแห่ง เช่น Tuebingen, Goettingen, Marburg, Munich ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงยุคศตวรรษที่ 15-16 แต่สำหรับที่กรุงเบอร์ลินนั้น Humbodlt Universitaet นับว่าเก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1810 โดยนักธรรมชาติวิทยา Wilhelm von Humboldt ที่ขนานนามมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า "Alma mater berolensis (Mother of all modern university)" โดยตั้งใจให้เป็นสถาบันที่ริเริ่มแนวทางการเรียนการสอนแบบใหม่ ด้วยแนวคิดผนวกการสอนและการวิจัย และมีความเป็นสหสาขาวิชา ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบให้สถานศึกษาอื่นๆ จัดการเรียนการสอนตามแนว ทางนี้เช่นกัน แรกเริ่มเปิดสอน 4 คณะ คือ นิติศาสตร์ แพทยศาสตร์ ปรัชญา และเทววิทยา

เกียรติประวัติที่ผ่านมา Humboldt เป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยที่มีส่วนสร้างนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล มาแล้วถึง 29 คน และในจำนวนนี้ย่อมมีชื่อนักฟิสิกส์อย่าง Albert Einstein และ Max Planck ร่วมอยู่ด้วย และไม่ได้มีชื่อเสียงเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น สถาบันแห่งนี้ยังสร้าง นักสังคมศาสตร์เจ้าของทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่อย่าง Karl Marx ด้วย ผู้คนที่ผ่านไปมาบริเวณนี้ อาจสัมผัสบรรยากาศการแสวงหา ปัญญาความรู้ที่สะท้อนก้องออกมานอกมหาวิทยาลัย ได้จากแผงขายหนังสือมือสอง ตลอดแนวรั้ว มีหนังสือหลากหลายแนว ตั้งแต่การ์ตูน คู่มือทำสวน หนังสือบันทึกภาพประวัติศาสตร์ ทฤษฎีมาร์กซิสต์ ไปจนกระทั่งคอลเลกชั่นภาพโฆษณา Coca-Cola

ไม่ไกลนักจากประตู Branden-berger Tor คือย่านที่เรียกว่า Potsdamer Platz จากเดิมที่เคยเป็น no man's land ในยุคสงครามเย็น มีแต่กำแพงคอนกรีตเปลือยกระด้างและรั้วลวดหนาม ปัจจุบันกลับไม่เหลือเค้าความทรุดโทรม ที่ปรากฏให้เห็นคืออาคารกระจกรูปทรงล้ำสมัย ซึ่งเป็นสำนักงาน DaimlerChrysler ขนาบด้วย Sony Center ที่มีหลังคารูปเห็ดลอยตัวบนโครงสร้างเหล็กเชื่อมโยงกลุ่มอาคารด้านล่างที่เป็นสำนักงาน พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ IMAX 3D และลานน้ำพุเต้นระบำ ยามค่ำคืนลานนี้จะสว่างไสวด้วยสปอตไลต์ที่ฉาบโดมให้เปลี่ยนสีไปทุกนาที ดูเหมือนชีวิตที่นี่เคลื่อนไหวไม่เคยหยุด

ไม่เพียงแต่ความคึกคักเริงร่า เบอร์ลินยังมีบุคลิกกระฉับกระเฉงตื่นตัว โดยเฉพาะเรื่องการเมือง การประท้วงนั้นถือเป็นเหตุการณ์ปกติ กระทั่งล่าสุดวันเมย์เดย์ ที่ปรากฏรายงานการจับกุมผู้ประท้วงกว่าร้อยราย และตำรวจบาดเจ็บถึง 58 ราย นับเป็นเพียงสถิติเล็กน้อยที่เกิดขึ้น ทุกวันที่ 1 พฤษภาคม ตลอด 16 ปีที่ผ่านมา และถือว่าร้ายแรงน้อยกว่าที่คาด เนื่องจากเป็นวันแรกในการเข้าร่วมอย่างเป็นทางการของสมาชิกสหภาพยุโรปใหม่ 10 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศทางฝั่งยุโรปกลางและตะวันออก เช่น ฮังการี เชค โปแลนด์ ประชากรจากประเทศสมาชิกเหล่านี้สามารถเดินทางเข้า-ออกได้โดยไม่ต้องเสียเวลาขอวีซ่าอีกต่อไป

ความกระฉับกระเฉงตื่นตัวของผู้คน ในเบอร์ลิน อาจกล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งมาจาก การมีโอกาสรับข้อมูลข่าวสารอย่างเต็มที่ ซึ่งเบอร์ลินเองก็กล้าประกาศตัวว่าเป็นเมือง แห่งการสื่อสารมวลชน เป็นแหล่งรวมของสำนักงานหนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ (เบอร์ลินยกเลิกระบบอะนาล็อก และเริ่มถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ด้วยระบบดิจิตอลมาตั้งแต่ปีที่แล้ว) อุตสาหกรรม ภาพยนตร์ (เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ปัจจุบันจัดเป็นปีที่ 55) และธุรกิจ ดนตรี ซึ่งระบุตัวเลขว่ามีกว่า 430 องค์กร ในจำนวนนี้คือ Universal Music และ MTV Europe ที่เลือกมาตั้งสำนักงานอยู่ที่นี่ โดยเฉพาะธุรกิจสิ่งพิมพ์นั้นเติบโตอย่างมาก กล่าวได้ว่าเบอร์ลินผลิตสิ่งพิมพ์ป้อนตลาดเป็นสัดส่วนเกือบ 10% ของจำนวนรวมทั้งประเทศทีเดียว4

ธุรกิจหนังสือ พิมพ์เยอรมนีเติบโตเป็นอย่างมากช่วงหลังสงคราม แต่หนังสือพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุดคือ B.Z. ที่จะครบ 125 ปีในปีนี้ หนังสือพิมพ์ฉบับแรก ของเบอร์ลิน ตีพิมพ์ขึ้นในปี 1617 ซึ่งล้ำหน้าไปก่อนอังกฤษและฝรั่งเศสเสียอีก ปัจจุบันนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ยักษ์ใหญ่อย่าง Der Spiegel ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นี่ มียอดพิมพ์ราว 1 ล้านฉบับ ส่วน Berliner Zeitung มียอด 207.800 ฉบับ/สัปดาห์ ในขณะที่หนังสือพิมพ์รายวันอีกนับไม่ถ้วนหัว มียอดพิมพ์รวมกันแต่ละวันนับล้านฉบับอาทิ BILD-Zeitung 140,000 ฉบับ (3.9 ล้านฉบับ/วัน ทั่วเยอรมนี) BZ 450,000 ฉบับ Kurier 150,000 ฉบับ Berliner Morgenpost 151,623 ฉบับ Die Welt 250,000 ฉบับ Der Tagesspiegel 145,200 ฉบับ Berliner Zeitung 250,000 ฉบับ Neues Deutsch-land 80,000 ฉบับ Die Tageszeitung 60,000 ฉบับ Junge Welt 15,000 ฉบับ

นิตยสารในเยอรมนีมีมากมายหลาก หลายประเภท แต่ละเดือนมียอดพิมพ์รวมกันไม่ต่ำกว่า 125 ล้านฉบับ ตัวเลขยอดพิมพ์ ณ ไตรมาส 4 ของปี 2003 นิตยสาร วัยรุ่น Jugendzeitschriften 4.3 ล้านฉบับ นิตยสารธุรกิจ Wirtschaftspresse 3.5 แสน ฉบับ Lifestyle 1.6 ล้านฉบับ นิตยสารผู้หญิง Frauenzeitschriften 15 ล้านฉบับ นิตยสารไอที EDV und Online 4.2 ล้านฉบับ นิตยสารบ้าน Wohnen und Leben 2.8 ล้านฉบับ รถยนต์ Motorpresse 2.7 ล้านฉบับ กีฬา Sportzeitschriften 1.35 ล้านฉบับ อาหาร Ess-Zeitschriften 1.25 ล้านฉบับ อีโรติก Erotik-Zeitschriften 3.4 แสนฉบับ ครอบครัว Familienzeitschriften 2.9 แสนฉบับ วิทยาศาสตร์ Wissens-magazine 7.7 แสนฉบับ ภาพยนตร์และเพลง 6.1 แสนฉบับ Programmzeits-chriften 15.5 ล้านฉบับ และนิตยสารเฉพาะทาง 2.3 ล้านฉบับ ซึ่งนิตยสารผู้หญิง นั้น Das Magazin ยืนหยัดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 19245 นับอายุขัยล่วงเข้า 80 ปีพอดี ถือว่าเข้าขั้นอมตะ

นิตยสารแนวธุรกิจและการจัดการที่คนเยอรมันนิยมอ่าน เช่น Wirtschafts-woche มียอดพิมพ์กว่า 1.86 แสนฉบับ/สัปดาห์ Manager Magazin 1.2 แสนฉบับ/เดือน นิตยสารสำหรับผู้บริหารและคนทำงานรุนใหม่ junge Karriere 1.16 แสนฉบับ/เดือน และนิตยสาร Brand Eins 0.8 แสนฉบับ/เดือน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ บริษัท Unternehmensgruppe Dr. Eckert จำกัด, Berlin Germany ผู้จัดจำหน่ายหนังสือรายใหญ่ของเบอร์ลินได้เก็บรวบรวมไว้ นอกจากนั้นบริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของธุรกิจร้านค้าปลีกหนังสือขนาดใหญ่หลายแห่งในเบอร์ลินด้วย โดยร้านใหญ่ที่สุด Bahnhofsbuchhandlung 'Ludwig' in Koeln มีนิตยสารและหนังสือพิมพ์หัวต่างๆ ในร้านมากถึง 5,000 รายการ

ในขณะที่ความเคลื่อนไหวในกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมของชาวเบอร์ลินเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานผู้ดูแลเมืองต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้วยเช่นกัน งบประมาณของกรุงเบอร์ลินส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่โดยหลักมาจากภาษีจากประชาชนและธุรกิจต่างๆ ซึ่งรายได้เฉลี่ยของคนเบอร์ลินนั้นอยู่ที่ประมาณ 2,400 ยูโร/เดือน เยอรมนีได้ชื่อว่ามีระบบการคำนวณภาษีที่ละเอียดซับซ้อน ลูกจ้างจะต้องเสียภาษีรวมเป็นจำนวนถึง 36% ของรายรับ ซึ่งแยกย่อยออกเป็นภาษีเงินได้ 15% (และอัตราแปรตามสถานภาพการแต่งงานและการมีบุตร) ภาษีค่าใช้จ่ายการรวมประเทศ Solidaritaetszuschlag 0.8% และส่วนที่ลูกจ้างกับนายจ้างจ่ายในอัตราเท่ากัน คือ ประกันสุขภาพ 6.4% ประกันการรักษาพยาบาล 0.85% กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 9.75% ประกันการว่างงาน 3.25% นอกจากนั้นยังมีภาษีอื่นๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 16% (สำหรับหนังสือ 7%) และ interest yield tax 30%6

ดังที่ได้กล่าวแต่ต้น เบอร์ลินเองไม่ใช่เมืองอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันมีอัตราการว่างงานสูง (อัตราการว่างงานในเยอรมนี อยู่ที่ระดับสูงกว่า 8%) 7 แม้มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่สถานะ ทางการเงินของเบอร์ลินง่อนแง่นเต็มที การจัดกิจกรรมบางอย่างต้องเปิดให้เอกชน เข้ามารับหน้าเสื่อ เช่น Love Parade การ เดินขบวนที่เคยมีผู้คนจากทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 1 ล้านคนเมื่อปี ค.ศ.20008 ซึ่งปีที่แล้วบริษัทออร์กาไนเซอร์คือ Messe Berlin ก็ขาดทุนย่อยยับและปฏิเสธที่จะลงทุนจัดอีก เพราะค่าใช้จ่ายในการจัดการสูงเกินจะทำกำไรได้ หรือกรณีนิทรรศการศิลปะสมัยใหม่ จากนิวยอร์ก MoMa in Berlin ที่ได้ Deutsche Bank มาเป็นสปอนเซอร์หลัก เบอร์ลินทำได้เพียงสนับสนุนสถานที่ให้ใช้พิพิธภัณฑ์เป็นที่แสดงงานเท่านั้น แต่งานนี้ประสบความสำเร็จท่วมท้น เฉพาะช่วงวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์ 4 วัน มีผู้เข้าชมกว่า 6,000 คน (ค่าเข้าชม 10-12 ยูโร หูฟัง 4 ยูโร และหนังสือรวมภาพ 29 ยูโร)

ในฐานะของหน่วยงานผู้รับผิดชอบการดูแลเมือง ผู้ว่าการนครเบอร์ลิน Klaus Wowereit ซึ่งเคยชนะใจชาวเบอร์ลินมาแล้วด้วยการประกาศตัวอย่างเปิดเผย "Ich bin schwul und das ist auch gut so!" (I'm homosexual and this is good.) ประโยคเด็ดเปี่ยมความจริงใจ ที่สร้างคะแนนนิยมให้เขาอย่างท่วมท้น เอาชนะคู่แข่งอดีตนายกเทศมนตรีที่มีข่าวอื้อฉาวเรื่องคอร์รัปชั่น มาบัดนี้เขาจะสามารถจูงใจ ชาวเบอร์ลินผู้รักความบันเทิงและนิยมการประท้วง และจะกระเบียดกระเสียรการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไร เพื่อให้เบอร์ลินยังคงไว้ซึ่งความอลังการทางศิลปะและวัฒนธรรมเช่นที่เคยเป็น

และเมื่อหันกลับมามองกรุงเทพฯ กรณีศึกษาของกรุงเบอร์ลินน่าจะเป็นรูปแบบการบริหารที่น่าสนใจ ในการปรับใช้ในด้านต่างๆ ทั้งการจัดการเชิงวัฒนธรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการสาธารณูปโภค สำหรับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ในอนาคต แต่ในการหาเสียงที่นี่ คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ อาจไม่ปลื้มหากจะมีผู้สมัครคนใดประกาศตัวว่า "Ich bin schwul" (ประโยคคุ้นหูจากภาพยนตร์โฆษณา Happy Dprompt International Service แปลได้ว่า "ผมเป็นเกย์")

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us